แม่แบบ {{หัวสลับ 2}} ถูกยกเลิกแล้ว กรุณาใช้แม่แบบ {{หัวสลับ}} ทดแทน |
มาตรา64รายจ่ายและรายได้แผ่นดินนั้น ต้องได้รับความยินยอมจากสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิด้วยวิธีงบประมาณประจำปี
รายได้ทั้งใด ๆ ทั้งปวงที่เกินการจัดสรรอันระบุไว้ในลักษณะและวรรคต่าง ๆ ของงบประมาณก็ดี หรือที่มิได้บัญญัติไว้ในงบประมาณก็ดี ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิในภายหลัง
มาตรา65ในเบื้องแรก ให้ยื่นงบประมาณต่อสภาผู้แทนราษฎร
มาตรา66รายจ่ายของราชวงศ์นั้น ให้ท้องพระคลังแห่งชาติออกให้ทุกปี ตามจำนวนที่กำหนดไว้ให้ในปัจจุบัน และไม่ต้องได้รับความยินยอมในเรื่องนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่า จำเป็นต้องเพิ่มรายจ่าย
มาตรา67รายจ่ายทั้งหลายที่กำหนดไว้แล้วโดยรัฐธรรมนูญให้ตั้งอยู่บนอำนาจอันเป็นของจักรพรรดิก็ดี และรายจ่ายที่อาจได้เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย หรือที่ตกเป็นข้อผูกพันรัฐบาลตามกฎหมายก็ดี มิให้สภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิบอกปัดหรือลดจำนวนลงโดยปราศจากความเห็นพ้องจากรัฐบาล
มาตรา68เพื่อสอดรับกับความต้องการอันเป็นพิเศษ รัฐบาลจะขอความยินยอมจากสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นกองทุนรายจ่ายต่อเนื่องสำหรับช่วงปีที่กำหนดไว้แล้วก็ได้
มาตรา70เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดพร่องไปอันไม่อาจเลี่ยงได้ในงบประมาณ และเพื่อสอดรับกับความต้องการอันมิได้บัญญัติไว้ในงบประมาณ ให้มีการบัญญัติถึงกองทุนสำรองไว้ในงบประมาณ
มาตรา70ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนต้องรักษาความปลอดภัยสาธารณะ หากไม่อาจเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิได้เพราะเงื่อนไขภายนอกหรือภายในประเทศ รัฐบาลอาจใช้มาตราทางการคลังทั้งปวงที่จำเป็นโดยวิธีออกพระราชกำหนดก็ได้
ในกรณีที่เอ่ยไว้ในข้อบทก่อนหน้า ให้เสนอเรื่องต่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ ณ สมัยประชุมถัดไป และให้เรื่องนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภา
มาตรา71เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิมิได้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องงบประมาณก็ดี หรือเมื่องบประมาณมิได้เกิดขึ้นจริงก็ดี ให้รัฐบาลบังคับตามงบประมาณสำหรับปีที่ผ่านมา
มาตรา72บัญชีสุดท้ายสำหรับรายจ่ายและ