ทั้งสองลงบนตาชั่ง เราจะเห็นว่าความจริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันในฐานะความหนัก และจึงมีน้ำหนักเท่ากันในอัตราส่วนเท่าหนึ่ง กายของเหล็กในฐานะหน่วยวัดน้ำหนัก ต่อก้อนน้ำตาล แทนเพียงความหนัก เช่นเดียวกัน กายของเสื้อคลุมในการแสดงออกมูลค่าของเรา ต่อผ้าลินิน แทนเพียงมูลค่า
ทว่าแนวเทียบจบลงตรงนี้ ในการแสดงออกน้ำหนักของก้อนน้ำตาล เหล็กแทนสมบัติธรรมชาติที่กายทั้งสองมี คือความหนัก —— ขณะที่ในการแสดงออกมูลค่าของผ้าลินิน เสื้อคลุมแทนสมบัติเหนือธรรมชาติของทั้งสองสิ่ง นั่นคือมูลค่า ซึ่งเป็นสิ่งทางสังคมล้วน ๆ
การที่รูปมูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้า อาทิผ้าลินิน แสดงความเป็นมูลค่าของมันออกมาเป็นอะไรที่แตกต่างจากกายและสมบัติของตัวเองโดยสิ้นเชิง อาทิสิ่งที่เหมือนเสื้อคลุม ชี้ว่าแฝงความสัมพันธ์ทางสังคมไว้ ตรงข้ามกับรูปสมมูล ที่กายของสินค้าเช่นเสื้อคลุมเองดังที่เป็นอยู่แสดงออกมูลค่า จึงมีรูปมูลค่าโดยธรรมชาติ จริงอยู่ว่าเป็นอย่างนั้นเฉพาะในความสัมพันธ์มูลค่าที่ผ้าลินินมีกับเสื้อคลุมซึ่งเป็นสิ่งสมมูล[1] แต่เพราะสมบัติของสิ่งหนึ่งไม่ได้เกิดจากความสัมพันธ์ที่มีกับสิ่งอื่น เพียงแต่มีฤทธิ์ในความสัมพันธ์นั้น เสื้อคลุมจึงดูเหมือนมีรูปสมมูลหรือสมบัติการแลกเปลี่ยนได้โดยตรงโดยธรรมชาติไม่แพ้สมบัติอย่างความหนักหรือความสามารถเก็บความอบอุ่น ดังนั้น ปริศนาของรูปสมมูล ซึ่งเพิ่งเตะสายตากระฎุมพีหยาบ ๆ ของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อได้เผชิญในรูปสำเร็จเป็นเงินตรา เขาจึงพยายามอธิบายหลบเลี่ยงลักษณะเร้นลับของทองกับเงินด้วยการยัดสินค้าที่ระยิบระยับน้อยกว่าใส่แทน แล้วร่ายบัญชีสินค้าชั้นต่ำที่เคยมีบทบาทเป็นสินค้าสมมูลในยุคของมันมาก่อนด้วยหน้าชื่นตาบาน หารู้ไม่ว่าการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายที่สุด ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว ก็ได้แสดงปมปริศนาของรูปสมมูลมาให้แก้แล้ว
กายของสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลนับเป็นการปรากฏกายของแรงงานมนุษย์นามธรรมเสมอ และเป็นผลผลิตของแรงงานรูปธรรมที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่งเสมอ
- ↑ การกำหนดเชิงสะท้อนแบบนี้แปลกทีเดียว เช่น มนุษย์คนหนึ่งเป็นกษัตริย์เพียงเพราะมนุษย์คนอื่นทำตัวเป็นไพร่ให้เท่านั้น สลับกัน ที่คิดว่าตัวเองเป็นไพร่ก็เพราะเขาเป็นกษัตริย์