เขาเรียกสองชื่อ คือเขาเอาใบพลูกินกับหมากนี่แหละครับมาหั่นให้เป็นเส้นยาสูบ หั่นแล้วตากแดด พอแห้งก็เอาลงกระทะเล็ก ๆ ผัดกับฝิ่น พอฝิ่นจับใบพลูดีแล้วก็เอาใบพลูมาสูบ ตั้งชื่อว่า 'หมู' แล้วการสูบ สูบด้วยบ้องกัญชา เอาเส้นใบพลูยัดลงในพวยบ้องกัญชาจุดไฟสูบ" นายแผ้วอธิบายพร้อมกับทำมือทำไม้ประกอบ
"เอ๊ะ ! ขอโทษเถอะครับ ชาวบ้านตำบลแถวนี้คงสูบหมูกันทั้งนั้น ?"
"เปล่าครับ ! เป็นบางคนที่สูบเป็น แต่สำหรับกัญชาพอจะมีสูบกันบ้าง"
"แล้วไอ้ใบพลูนี่มันมาจากไหนล่ะครับ ?"
“โน่น ๆ มาจากป่าเหนือเราขึ้นไปนี่ เกิดจากชาวป่าเหนือน้ำโน่นครับ พวกนั้นต้องทำงานแข่งเวลา เขาจะมัวนอนสูบฝิ่นอยู่ไม่ได้ ต้องเข้าป่าตัดไม้ไผ่ให้ทันเวลา จึงคิดการสูบฝิ่นแบบใหม่ขึ้น เรื่องจะสรุปกัญชาแทนฝิ่นมันก็ไม่เหมือนฝิ่น ก็เอาฝิ่นว่าดัดแปลงสูบพอหายอยากระหว่างที่ทำงาน ต่อเมื่อหมดงานแล้วก็สูบฝิ่นธรรมดาได้ เจ้าใบพลูจึงเกิดขึ้นเป็นฝิ่นอีกแบบหนึ่ง”
“แล้วนายกลั่นไปรู้วิธีนี้มาได้อย่างไร ?”
โอ้ย ! วิธีสูบใบพลูน้ำมันรู้กันเต็มไปหมดล่ะครับในน่านน้ำนี้พวกล่องแพไม้ไผ่ไม้รวกเป็นผู้นำมาแพร่ พวกล่องแพไม้ไผ่ไม้รวกไปถึงไหน ที่นั่นก็รู้จักใบพลู พวกล่องแพนี่น่ะงานเขามันมาก เวลาล่องแพได้ก็เป็นฤดู แควนี้น้ำหลากน้ำแรงครับ การล่องแพจะต้องระวังแพ้ของตัวไม่ให้แตก ระวังที่สุด เวลาจะจอดแพพักนอนริมฝั่งน้ำก็ต้องทำการอย่างชำนาญ แม้จอดแล้วก็ตาม ต้องคอยระวังกระแสน้ำอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นพรุ่งนี้จึงนิยมสูบใบพลูมากกว่าจะนอนสูบฝิ่นเพราะการปลูกมันเร็วทันใจเท่า ๆ กับสูบกัญชาละครับ ลงพวกแพนี้ไปจอดพักที่ไหน วิชานี้ก็แพร่ไปล่ะครับ จอดพักที่ใหญ่ ๆ เช่นที่เมืองกาญจน์ ท่าม่วง ท่าเรือนี้ ลองไปเรื่อย ๆ ผ่านบ้านโป่ง โพธาราม เจ็ดเสมียน ราชบุรี ล่องไปจนถึงแม่กลอง เพราะไม้ไผ่ไม้รวกต้องใช้กันมากที่นั่นเหลือเท่าไหร่ ล่องเข้าคลองลัดที่แม่กลองเข้าไปจนผ่านคลองหมาหอนแล้วมาออกแม่น้ำนครชัยศรี คือปากน้ำท่าจีนมหาชัยนั่นแหละ ถ้าขาย