หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
119
ฎีกา
(ค)คดีที่ศาลเดิมได้พิพากษาลงโทษจำเลยไม่เกิน ๑ ปี ปรับเป็นพินัยหลวงไม่เกิน ๑๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้ไขมากก็ดี แต่คงให้ลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ (พ.ร.บ. ลักษณะฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๔๖๑ มาตรา ๖) | ||
(๒)ความแพ่ง— | ||
(ก)คดีมีทุนทรัพย์ที่ฟ้องหากันเป็นจำนวนไม่เกิน ๒๐๐๐ บาท หรือ | ||
(ข)คดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ เช่น คดีฟ้องอย่า, ฟ้องห้าม, ฟ้องขับไล่, ฟ้องให้เปิดทาง เป็นต้น | ||
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคงตามศาลเดิมหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย (พ.ร.บ. ลักษณะฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๔๖๑ มาตรา ๔) | ||
ตามข้อความที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ห้ามมิให้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นไว้แต่— | ||
(ก)ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งซึ่งได้พิจารณาในชั้นศาลเดิมและศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีเป็นปัณหาสำคัญอันควรยกขึ้นสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ถวายฎีกา หรือ | ||
(ข)อธิบดีกรมอัยยการได้ลงชื่อรับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันสมควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย |