ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Phra Ratcha Lanchakon 2493.djvu/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓

ก็มี (ดู รูปที่ ๙ และรูปที่ ๑๐) ใช้สำหรับประทับพระราชสาส์นและประกาศตั้งกรม เดิมเป็นตราประจำชาด ในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างใหม่เป็นตราประจำชาด ๓ องค์ คือ องค์ใหญ่ ๑ องค์กลาง ๑ และองค์น้อย ๑ (ดู พระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ปรารภ ๓) องค์ใหญ่รูปกลม ทำด้วยโลหะสีเงิน เป็นรูปช้างสามเศียร บนหลังช้างมีบุษบก ในบุษบกมีอุณาโลมแวดล้อมด้วยฉัตร ๔ คัน (ดู รูปที่ ๑๑) ด้ามไม้ดำ แล้วเปลี่ยนเป็นงาช้าง องค์กลางรูปกลมรี ทำด้วยหินโมราสีน้ำผึ้ง แกะสองด้าน ด้านหน้าเป็นรูปไอราพตอย่างที่กล่าวมาข้างต้น (ดู รูปที่ ๑๒) ด้านหลังเป็นหนังสือฝรั่งหลายบรรทัด ด้ามโลหะสีทองกุดั่น มีควงขันคาบโมราไว้ เป็นฝีมือฝรั่งทำ ทั้งสองดวงนี้อยู่ที่กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่วนองค์น้อยทำด้วยทองคำ รูปกลมรี (ดู รูปที่ ๑๓) ด้ามแก้วขาว อยู่ในราชพิพิธภัณฑ์ นอกจากที่กล่าวมานี้ ในราชพิพิธภัณฑ์ยังมีพระราชลัญจกรไอราพตของเก่าอยู่อีก ๓ องค์ องค์หนึ่งเป็นรูปช้างสามเศียร บนหลังมีบุษบก มีฉัตรขนาบสองข้าง องค์หนึ่งเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมากเศียรอยู่บนวิมาน (ดู รูปที่ ๑๔) อีกองค์หนึ่งเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างสามเศียร มีฉัตรขนาบสองข้าง

ในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ กำหนดใช้พระราชลัญจกรไอราพตองค์ใหญ่สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่ในระหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองการและพระครุฑพ่าห์ พระราชลัญจกรองค์กลางสำหรับประทับ