อักษรขอม เพราะพระสงฆ์ชำนาญอ่านหนังสือขอม เมื่อว่าโดยย่อ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๒๘ เป็นต้นมา ไทยเราใช้อักษร ๒ อย่างสำหรับเขียนภาษาซึ่งนับถือในทางศาสนาอย่าง ๑ สำหรับเขียนภาษาของเราเองอย่าง ๑ ดังนี้
"พระราชลัญจกรที่มีคำว่า พระบรมราชโองการ เป็นอักษรขอมนั้น เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงใช้อักษรขอม สันนิษฐานว่า คงทรงพระราชดำริว่า คำ พระบรมราชโองการ เป็นคำภาษามคธและสันสกฤต เข้าเกณฑ์จำพวกคำภาษาอื่นซึ่งนับถือในทางศาสนา จึงทรงใช้อักษรขอม
"ตำนานเรื่องที่แปลงหนังสืออรรถภาษามคธจากอักษรขอมมาใช้ตัวอักษรไทยเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมื่อมีเครื่องพิมพ์ ๆ หนังสือไทยได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใคร่จะทรงพิมพ์หนังสือสวดมนต์และคาถาอื่น ๆ ในพระไตรปิฎกให้แพร่หลาย จะพิมพ์เป็นอักษรขอมไม่ได้ จึงโปรดให้สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ คิดวิธีเขียนอักษรไทยเป็นภาษามคธ ต้องคิดเครื่องหมายตัวอักษรเพิ่มขึ้นหลายอย่าง คือ เรียกว่า ยามักการ และวัญชการ เป็นต้น แบบนั้นพึงเห็นได้ในหนังสือพระไตรปิฎกฉะบับหลวงซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ ครั้นมาถึงในรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแก้ไขวิธีเขียนให้ใช้จุดแทนยามักการวัญชการ เป็นวิธีเขียนง่ายและ