หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สร้างพระวิหารร่มพระแท่นศิลาอาศน์
จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๗
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ[1]
ด้วยออกพระศรีราชไชยมหัยสูรินทบูรินท– |
พิริยะพาหะพระท้ายน้ำ ยกเชื้อฝ่ายปู่พระเจ้าเชียง– |
ตุง ฝ่ายย่าเปนบุตรเจ้าฝาไลค่า ได้กินเมืองละคอน |
ฝ่ายตาเปนบุตรพญาแมน ได้กินเมืองเชียงใหม่ แล |
ครั้งสมเดจพระณะรายเปนเจ้ามารบเมืองเชียงใหม่ |
ไม่ได้พระพุทธสิหิงค์ แล้วกวาดต้อนเอาแมนลาว |
ทั้งนี้ลงมาเปนข้าพระเจ้ากรุงศรีอยุทยา แลทรง |
พระมหากรุณาเปนที่สุดที่ยิ่ง ปลูกเรียงแตปูแล้ว |
มาบิดาแล้วมาน้องให้เปนพญายมราชต่อ ๆ กัน |
มา ได้เปนน้าเปนที่พึ่งแก่แมนลาวทั้งปวง แล้ว |
อยู่ณะปีขาน อัฏศก มีโกหกชื่อ อายนักโสม ตั้งตัว |
เปนใหญ่ในเมืองลานช้าง แล้วลาวลานช้างอยู่ใน |
อำนาจมันสิ้น แลให้ลาวลานช้างแขงบ้างเมือง |
แล้วจะเข้ามาณะกรุงศรีอยุธยา แล้วยกทัพเข้ามา |
เถิงตำบลณะเข้าพังเหย แขวงเมืองนพบุรี ท่าน |
ออกพระท้ายน้ำ เมื่อยังเปนหลวงทรงพลอยู่นั้น จึง |
อาสาออกไปจับ ได้สัปยุทธกับอ้ายนักโสม ๆ ฟัน |
ทุกคอ ก็หนีเข้า จึงจับเอาตัวนักโสมใส่กรงเหล็กเข้า |
มาถวาย พระราชทานบำเหน็จรังวัลเปนอันมาก |
แล้วทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นมาเปน |
พญาสวรรคโลก จึงขึ้นมาตรวจการ เหนพระวิหาร |
ร่มพระแท่นศิลาอาศน์ชำรุด จึงบอกเข้าไปขอพระ– |
ราชทานทำฉลองพระเดชพระคุณ จึงมีพระราช |
โองการมาณะพระบันทูลสูรสิงหนาฏตำรัสเหนือ– |
เกล้าฯ ให้มีตราพระราชสีห์ขึ้นมาให้ทำ และให้ |
เมืองลับแล เมืองทุงยัง ช่วย แลได้รื้อพระวิหาร |
แลกำแพงแต่ณะวัน ๗ ๑๓ ฯ ๓ ค่ำ ปีจอ ฉอศก แล |
ได้รื้อขุดก่อรากพระวิหารณะวัน ๖ ๑๐ฯ ๓ จุลศักราช |
๑๑๑๖ ปีจอ ฉอศก วันก่อผนังสำเรจแต่ณะวัน ๖ ๑๑ฯ ๕ |
ค่ำ ปีกุญ สัพศก พุทธศักราชล่วงไปแล้วได้ ๒๒๙๑๘๑๓ |
ได้ยกเครื่องบนแลได้มาทำการนั้น แลชื่น เปน |
ภรรยา ได้ช่วยเลี้ยงพระสงฆ์สามเณรแลคนเข้า |
ทำการวัดด้วย แลนายบาง เสมียร เปนนายการ แลได้ |
ฉลองณะวัน ๕ ๘ฯ ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาร สำฤทธิ |
ศก แลเดชพระบารมีปกหม แลคนทำการนั้นสดวก |
หาผู้ใดเปนอันตรายหมีได้ แลเดชะได้มาทำพระ |
เจดีย์ถาน ขอให้สำเรจแก่พระโพธิญานจงฉับพลัน |
แลผู้ใดจะเข้ามานมัสการ จงอนุโมทนา กุศลที่เข้า |
ได้สร้างหนีจงทูก ๆ คนเถิด จึงให้นายทองรัต เสมียน |
ชานนคร ผู้เปนขุนษาระพากร จารึกไว้ณะวัน ๖ ๑ฯ ๖ ค่ำ |
จุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาน สำฤทธิศก" |
หมายเหตุ — คำว่า "พุทธศักราชล่วงไปแล้ว |
ได้ ๒๒๙๑๘๑๓" หมายความว่า พุทธศักราชล่วงไป |
๒๒๙๘ ปี กับเศษ ๑๑ เดือน ๓ วัน |
- ↑ สำเนาจารึกพระแท่นศิลาอาศน์ พบในหมายรับสั่ง ร. ๓ จ.ศ. ๑๒๐๕ เล่มที่ ๑๙