ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/19

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
คำจาฤกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์เมืองด่านซ้าย

พุทธันดรกัป ๑ แล้วบ่มิให้กระทำโลภเลี้ยวแก่กันเลย ตั้งแต่วันกระทำสร้างแปลงอุทิศเจดีย์ศรีมหาธาตุ ให้เปนเอกสิมาอันเดียวกันไว้ให้เปนหลักด่านตั้งแต่หลักด่านนี้ไปน้ำของ[1] แลไปน้ำน่าน[2] กึ่งกันนี้แล น้ำของแลน้ำน่านก็ปันแดนกัน โคกไม้ติดกันนี้แล แรกกระทำสร้างแปลงอุทิศเจดีย์ศรีสองรักษ์เจ้า สร้างปีวอก โทศก เถิงปีกุญ เบญศก[3] เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ่ำว่า ได้จิตฤกษ์ราษี พระอาทิตย์สถิตย์สิงหริราช[4]มีพระมหาอุปราชเจ้าทั้ง ๒ พระยาพันหัวเมืองมันทมุขแสนหมื่นชุมนุมกันในอนาสันทสิมาสองรักษ ถึงเดือน ๖ เพ็ญวันพฤหัศบดี ก็เสี้ยงแล้วบรบวร พระพฤหัศบดีสถิตย์รื้อมังกรราษี พระอาทิตย์สถิตย์สิงหราษี[4] พระจันทร์สถิตย์ดุลราษี พระอังคารสถิตย์กุมภราษี พระพุฒสถิตย์เมษราษี พระพฤหัศบดี พระเสาร์ สถิตย์เมถุนราษี พระศุกร์สถิตย์มินราษี พระราหูสถิตย์มังกรราษี พระลักขณาสถิตย์เมถุนราษี พอเมื่อแล้ว จดนาฬิกาบาทสัญญา ๔ เล่ม[5] มีคณะสงฆ์มหานาคแลสงฆ์ฝ่ายกรุงศรีสัตนาค คือ สมเด็จพระสังฆราชาเปนเค้าเปนประธาน คือ พญาวัตตมหาสุวรรณคูหา ตน ๑ มหันตญาณวชิณะราษีสากยสงฆ์ทั้งหลาย แลพระมหาอุปราชราชศรีวิภักดี พระเวียงอรหัตตระญาน พญาพลเทศนายก เจ้าทิพมณฑา เจ้าศรียศสเถียร อันพญามหานามหมื่น ๓ แสน ๓ หมื่นเจ้าขุนหมื่นขุนแสนทั้งหลาย พระสงฆ์ฝ่ายกรุงศรีอโยธิยา คือ สมเด็จพระสังฆราชาธิปัติ พระสังฆ์นายก คือ พระอริยะกะสป คือ พระธรรมโคตมมุนี คือ พระอริยวงษา คือ พระมหานพภะมภาหุ คือ พระครูบรมจริยะ แลพระมหากระษัตริย์เจ้าทั้ง ๒ พระองค์ จิงปราถนาเปนพระยาพันธุมิต สมเด็จบพิตพระเจ้ากรุงพระนครศรีอโยธิยามหาดิลกกล่าวแต่อรรคชายาแก่พระรัตนบุตถธิราชเจ้า กรุงพระมหานคร คือ กรุงนาคนะหุต สืบสุริยพันธุพงษาวรรณวงษาธิราช สมเด็จพระกระษัตริย์ลี้ลาจากอันสันทสิมาในวันศุกร์ เดือน ๖ แรมค่ำ ๑ ก็แล้วนาฬิกา ๓ บาท เสด็จไปยังพระนครจันทบุรี คือ กรุงนาคนะหุตมหานครปฐมจธรรมสมันตา[6]


  1. แม่น้ำโขง
  2. แม่น้ำน่าน
  3. จุลศักราช ๙๒๕
  4. 4.0 4.1 "พระอาทิตย์สิงหราษี" นี้น่าจะไม่ถูกต้อง เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พระอาทิตย์สถิตย์ราษีพฤษภ จึงจะถูกต้องตามคัมภีร์สุริยยาตร์ และทางดาราศาสตร์ พระอาทิตย์จะอยู่ห่างจากดาวพระพุธ ดาวพระศุกร์ ถึง ๕ ราษีไม่ได้เป็นอันขาด
  5. ๔ เงาเท้า
  6. คัดจาก เทศาภิบาล เล่มที่ ๒๐ แผ่นที่ ๑๑๔ หน้า ๘–๑๑ ฉบับพิมพ์ปี ๒๔๕๘ พระยาอนุมานราชธนเสนอเพิ่มเติม