ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (2).djvu/73

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
พระไอยการทาษ[1]
1
จักกล่าวลักษณะมูลคดีวิวาทด้วยทาษสินไถ่ทาษชะเลยชาย
หญิง
เปนต้นที่จะให้เกิดคดีตามคำภีรพระธรรมสาตรว่า ทาสี จ ทาสํ ทาษอันควรจะใช้ได้มี ๗ ประการโดยพระบาฬี ดั่งนี้
  • ขนอธเนน วิกิเนยฺยวา ปุตฺตาทาสา มาตาปิตา
  • ชาติทาสา จ[2] ทินฺนกา อฏฺฏ[3] ทาสา จ ภตฺตกา
  • ธชาหตา จ ทาสกา ทาสวณฺณา ปิ สตฺตมา
อธิบายว่า ทาสวฺณณา[4] อันว่าปรเพศแห่งทาษทังหลาย สตฺตมา มีเจตจำพวก อันควรจะใช้ได้นั้น ธเนน วิกิเนยฺยวา คือทาษไถ่มาด้วยทรัพย ๑ ปุตฺตทาสา คือลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย ๑ มาตาปิตา จ ทาสกา คือทาษได้มาแต่ฝ่ายข้างบิดามานดา ๑ ทินฺนกา จ คือทาษมีผู้ให้ ๑ อฏฺฏทาสา จ คือทาษอันได้ด้วยช่วย[5] กังวลทุระทุกขแห่งคนอันต้องทันธโทษ ๑ ภตฺตกา จ คือทาษอันได้เลี้ยงไว้ในกาลเมื่อเข้าแพง ๑ ธชาหตา จ ทาสกา คือนำธงไชยไปรบศึกแล้วแลได้มาเปนทาษชะเลย ๑ 

  1. ฉะบับหลวงสูญหายทั้งสามฉะบับ จึงพิมพ์ตามฉะบับรองทรง
  2. ต้นฉะบับว่า: คำว่า จ ตกไป
  3. ต้นฉะบับ: อฏ
  4. ต้นฉะบับ: ทาวณฺณา
  5. ต้นฉะบับ: คำว่า ช่วย ตกไป
ม.ธ.ก.