ข้ามไปเนื้อหา

เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช (21 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122)

จาก วิกิซอร์ซ
เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว เสด็จออกณท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ประทับเหนือพระราชบัลลังก์ ณภายใต้พระมหาเสวตรฉัตร พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทเปนลำดับ พนักงานประโคมมโหระทึก แตรฝรั่งแตรทหารตามธรรมเนียม

เมื่อสุดเสียงประโคมแล้ว เจ้าพนักงานกระทรวงวังกระทรวงมหาดไทยนำ เจ้านายเมืองประเทศราช แลผู้ว่าราชการเมืองกรมการเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

พระยาราชวรานุกูลนำ ศุภอักษรเมืองนครลำปาง ขึ้นอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้านรนันทไชยชวลิต พร้อมด้วยเจ้านายพยาลาว ท้าวแสนเมืองนครลำปาง ได้จัดต้นไม้ทองเงิน จำนวนศก ๑๑๑ ต้นไม้ทองต้น ๑ สูง ๒ ศอกคืบ มีชั้น ๕ ชั้น ดอก ๑๐๒ ดอก ยอด ๑ ยอด ทองคำหนัก ๖ ตำลึง ๑ บาท ต้นไม้เงินต้น ๑ สูง ๓ ศอก มีชั้น ๕ ชั้น กิ่ง ๓๖ กิ่ง ดอก ๑๑๐ ดอก ยอด ๑ ยอด เงินหนัก ชั่ง ๘ ตำลึง ๒ สลึง แต่งให้เจ้าราชวงษ์ เจ้าบุรีรัตน์ นายน้อยแก้วมงคล นายน้อยศรีวิไลย นายน้อยศรีวิไชย นายน้อยชื่น พระยาไชยวัง พระยาอินตคุมลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วกราบบังคมทูล เบิกเจ้าราชวงษ์ เจ้าบุรีรัตน์ เปนต้น ที่ได้ออกนามมาแล้ว เมืองนครลำปาง แลเจ้าราชวงษ์ว่าที่เจ้าอุปราช ๑ นายน้อยรัตนรังษี ๑ นายน้อยยอดฟ้า ๑ นายเกวียนทอง ๑ พระยาพรหมเสนา ๑ รวมเมืองน่าน ๕ พระอภัยพิทักษ์ ๑ หลวงอนุรักษราชฤทธิ ๑ หลวงวินิจภักดี ๑ รวมเมืองพระตะบอง ๓ พระประสิทธิสมบัติปลัด ๑ หลวงวิเศษมนตรีมหาดไทย ๑ รวมเมืองพนมศก ๒ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควร

แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร ให้เจ้าอุปราชเมืองนครลำพูน เปนเจ้าเหมพินทุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภณ วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุระธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน ๑ ให้เจ้าราชวงษ์ว่าที่เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน เปนเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ๑ พระราชทาน พานทอง ๑ ประคำทอง ๑ คนโททอง ๑ กระโถนทอง ๑ โต๊ะเงินท้าวช้างคู่ ๑ ปืนคาบศิลาคร่ำเงิน ๑ ตอลาย ๒ หอกคอทองคำ ๑ กระบี่บั้งทอง ๑ มาลากำมหยี่เกี้ยวยอดทองคำ ๑ สัปทน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าเหมพินทุไพจิตร พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๒ จุลสุราภรณ์ แก่เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช แล้วพระราชทานสัญญาบัตร ให้เจ้าสุริยวงษ์เมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยคำตื้อเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าราชภาคิไนย ๑ นายหนานแก้วมหาวงษเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าอุตรการโกศล ๑ นายหนานมหายศเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าทักษิณนิเกตน์ ๑ นายน้อยดาวแก้วเมืองนครลำพูน เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยสุริยเมืองนครลำพูน เปนเจ้าบุรีรัตน ๑ นายน้อยเมืองแก้วเมืองนครลำพูน เปนเจ้าสุริยวงษ ๑ นายน้อยเมืองพรหมเมืองนครลำพูน เปนพระยาไชยสงคราม ๑ เจ้าราชวงษ์นครเมืองน่าน เปนเจ้าอุปราช ๑ เจ้ามหาพรหมว่าที่เจ้าราชบุตรนครเมืองน่าน เปนเจ้าราชวงษ์ ๑ นายน้อยรัตนรังษีนครเมืองน่าน เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยรัตนบุญหลงนครเมืองน่าน เปนเจ้าสุริยวงษ์ ๑ ให้พระอภัยพิทักษผู้ช่วยเมืองพระตะบอง เปนพระยาคทาธรธรนินทร์ รามนรินทรอินทราธิบดีพิริยพาห ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ หนึ่ง

แล้วโปรดเกล้าฯให้ส่งสัญญาบัตร ออกไปพระราชทานให้เจ้าราชบุตร เมืองนครเชียงใหม่เปนเจ้าราชวงษ์ เจ้าราชภาคิไนยเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าสุริยวงษ์ นายน้อยบุญปั๋นเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้านิเวศน์อุดร เจ้าราชบุตรเมืองนครลำพูน เปนเจ้าอุปราช พระยาอุตรการโกศลเมืองนครลำพูน เปนเจ้าราชวงษ์ นายหนานมหาเทพ เมืองนครลำพูน เปนพระยาอุตรการโกศล พระราชทาน พานเงินกลีบบัวถมยาดำ ๑ ประคำทอง ๑ คนโททอง ๑ กโถนทอง ๑ ปืนคาบศิลาตอลาย ๑ หอกตอเงินคู่ ๑ กระบี่บั้งเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าราชวงษ์เมืองนครลำพูน พานกลีบบัวกลม ๑ ประคำทอง ๑ คนโทถมยาคำ ๑ กระโถนเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าบุรีรัตน์เมืองนครลำพูน พานเงินกลีบบัว ๑ คนโทเงินถมยาดำหุ้มฟองนกกระจอกเทศ ๑ กโถนเงินถมตะทอง ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าสุริยวงษ์เมืองนครลำพูน โต๊ะเงิน ๑ คนโทเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่พระยาไชยสงครามเมืองนครลำพูน เครื่องราชอิศริยาภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๓ ชื่อมัณฑณาภรณ์ แก่เจ้าราชวงษ์นครเมืองน่าน เครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓ ชื่อนิภาภรณ์ แก่พระยาคทาธรธรนินทร์

แล้วพระยาราชวรานุกูลนำ เจ้าเหมพินทุไพจิตร เจ้านครลำพูน เจ้าบุรีรัตน์ เจ้าราชบุตร พระยาไชยสงคราม พระยาอุตรการโกศล พระยาไชยวังษา พระยากาวิละ เมืองนครลำพูน กราบถวายบังคมลากลับไปรักษาราชการบ้านเมือง เวลาย่ำค่ำเศษเสด็จขึ้น


บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก