แจ้งความพระอาลักษณ์ ลงวันที่ 11 พฤษภาคม ร.ศ. 120
หน้าตา
- แจ้งความกรมพระอาลักษณ์
- บอกแก้คำผิดในพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธี
- พิจารณาความอาญา ศก ๑๒๐
ด้วยพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา ศก ๑๒๐ ซึ่งลงมาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา แผ่นที่ ๕ น่า ๕๘ วันที่ ๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ นั้น ความในมาตรา ๒ เคลื่อนคลาศอยู่ ที่ถูกนั้น ดังนี้ "มาตรา ๒ ห้ามไม่ให้ศาลประทับฟ้องราษฎรเรียกข้าราชการตลอดถึงกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้ตั้งตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เปนจำเลยในความอาญามีข้อหาในเรื่องที่เกี่ยวกับน่าที่ราชการ เว้นไว้แต่โจทย์จะได้นำพยานมาสืบบ้างแล้วพอเห็นได้ว่า จำเลยมีพิรุธ จึงให้ศาลส่งฟ้องไปให้แก่ผู้บังคับข้าราชการที่เปนจำเลยนั้นให้ทราบก่อน ๓ วัน แล้วจึงให้ออกหมายไปถึงจำเลยผู้นั้น"
แจ้งความมาณวันที่ ๑๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐
- (เซ็น) พระยาศรีสุนทรโวหาร
- เจ้ากรมพระอาลักษณ์
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "แจ้งความพระอาลักษณ์ ลงวันที่ 11 พฤษภาคม ร.ศ. 120". (2444, 19 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 18, ตอน 0 ก. หน้า 95.
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก