แถลงการณ์ของรัฐบาล ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2488

จาก วิกิซอร์ซ
แถลงการณ์ของรัฐบาล

บัดนี้ สงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว ประชาชนชาวไทยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำการร่วมมือกับสหประชาชาติในอันที่จะธำรงและรักษาสันภาพอันสถิตยสถาพรในโลก

รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พิจารณาเห็นว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันซึ่งได้รับเลือกตั้งมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ นั้น ได้มีพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาให้อยู่ในตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อมาอีกถึง ๒ ครั้ง ทั้งนี้ นับว่าเป็นเวลานานเกินควร ย่อมเป็นเหตุให้จิตต์ใจและความคิดเห็นของสมาชิกส่วนมากเหินห่างจากเจตนาและความประสงค์อันแท้จริงของราษฎร

ดังจะเห็นได้เมื่อรัฐบาลได้เสนอต่อสภาฯ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ให้มีการลงโทษการกระทำที่ก่อให้เกิดการปกครองระบอบลัทธิเผด็จการ กล่าวคือ ลัทธินาซี หรือฟัสซิสต์ อันเป็นระบอบการปกครองของผู้รุกรานทำลายสันติสุขของโลกนั้น สภาฯ กลับลงมติไม่เห็นชอบด้วย และให้ตัดออกเสีย การกระทำของสมาชิกแห่งสภาฯ เช่นนี้ อาจจะทำให้โลกภายนอกเข้าใจผิดไปว่า ประชาชนชาวไทยสนับสนุนลัทธิเผด็จการ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการผิดตรงกันข้ามกับความรู้สึกอันแท้จริงของประชาชนชาวไทยแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอีกด้วย

ฉะนั้น เพื่อให้การได้เป็นไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาให้พระมหากษัตริย์ทรงยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ตามความในมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ได้พ้นหน้าที่ไป และเปิดโอกาศให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทนของตนใหม่ ดังพระราชกฤษฎีกาที่ได้ประกาศแล้ว

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก