แบบจัดการศึกษาหัวเมือง รัตนโกสินทรศก 117
๑ทรงพระกรุณาโปรดให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเปนผู้จัดการพระสาสนาแลการศึกษาของพุทธสาสนิกชนทั้งในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ ทั้งในมณฑลหัวเมืองตลอดพระราชอาณาจักร โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเปนผู้อุดหนุน
๒แยกการศึกษาแผนกหัวเมืองเปนส่วนหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับกรมศึกษา ขึ้นฉเพาะกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส รวมทั้งโรงเรียนคฤหัษถ์ด้วย ส่วนธุระการคงตกเปนน่าที่ของเจ้าคณะแลกระทรวงธรรมการ
๓จะทรงตั้งพระสงฆ์ผู้สามารถให้เปนผู้อำนวยการมณฑลละรูป แลพระสงฆ์ผู้อำนวยการมณฑลนั้นจะมีผู้ช่วยตามสมควร
๔พระสงฆ์ผู้อำนวยการมณฑลนั้น ถ้าเจ้าคณะมณฑลมีอยู่ ก็มีน่าที่ฉเพาะฝ่ายการศึกษา ถ้าเจ้าคณะมณฑลไม่มี จะทรงพระกรุณาโปรดให้ว่าการในน่าที่ของเจ้าคณะมณฑลด้วยก็ได้
๕พระสงฆ์ผู้อำนวยการไม่จำเปนจะต้องอยู่ประจำณหัวเมือง เปนแต่ต้องเอาใจใส่ในการซึ่งเปนน่าที่ของตน
๖กระทรวงมหาดไทย ข้าหลวงเทศาภิบาล แลผู้ว่าราชการเมือง มีน่าที่อุดหนุนในการฝ่ายฆราวาศทั้งปวง
๗จะจัดวัดทั้งปวงให้เปนศึกษาสถาน มีประเภทดังต่อไปนี้
ก,รวมสอนแห่งเดียวกันเปนโรงเรียน มีประเภทเปนสอง โรงเรียนหลวง ส่วนบำรุงเปนของหลวง ๑ โรงเรียนราษฎร์ ส่วนบำรุงเปนของราษฎร์ ๑ สถานที่เปนโรงเรียนต้องจัดให้ได้ระเบียบ
ข,แยกกันสอนตามสำนักอย่างประเพณีเดิม สถานเช่นนี้ต้องปล่อยไปตามสดวก เอาแต่พอได้การ
ค,โรงเรียนหลวงจะจัดในวัดซึ่งเปนทำเลที่ประชุมคนมากเพื่อเปนแบบอย่างทุกหัวเมือง มากน้อยตามสมควร อย่างน้อยที่สุดเมืองละโรง จะจัดแต่ต้นไป โรงเรียนราษฎรตามแต่จะมีขึ้นได้ การแยกกันสอนตามสำนักมีอยู่แล้ว จะบำรุงให้เจริญขึ้นโดยลำดับ จะสำเร็จเร็วฤๅช้าต้องสุดแล้วแต่กาละ เทศะ แลกำลัง
๘หลักสูตรที่จะสอนนั้น ในเวลานี้จะมีแต่ขั้นสามัญ ปันเปน ๔ อย่าง คือ อักษรระสมัย ๑ เล็ข ๑ วิชาเครื่องเลี้ยงชีพ ๑ ธรรมปฏิบัติ ๑ เมื่อการเจริญ จะขยายขึ้นตามควร
๙ในส่วนสอนอักขระสมัย จะใช้แบบเรียนเร็ว ในส่วนเลข จะใช้แบบเลขฝรั่ง อีกสองอย่างจะแต่งขึ้นใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องมีหนังสือหัดอ่าน
๑๐ถ้าหาได้ จะต้องเลี้ยงผู้แต่งแบบไว้บ้าง ใช้ซื้อแบบที่เขาแต่งบ้าง
๑๑การพิมพ์แบบเปนน่าที่ของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แบบนั้นครั้งแรกจะจ่ายพระราชทานให้เปล่า ต่อครั้งหลังจึงจะจำหน่ายโดยราคา
๑๒การที่จะจัดนี้จะแพร่หลายทั่วไป แบบใช้ตัวอักษรที่มีหลักฐานมั่นคงว่า ใช้คลาศเคลื่อน ควรแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อให้วิชาหนังสือเจริญขึ้น
๑๓จะพยายามจัดพระสงฆ์สามเณรเปนครูสอน เว้นไว้แต่จำเปนในสมัยที่ขัดข้อง
๑๔จะจัดมหามกุฎราชวิทยาลัยให้เปนประธานศึกษาสถานของศึกษาสถานในหัวเมืองทั้งปวง
๑๕จะเอาโรงเรียนวิทยาลัยแลโรงเรียนที่เปนศาขาของวิทยาลัยบางโรงเปนสถานที่ฝึกครู ถ้าโรงเรียนหลวงในหัวเมืองเจริญแล้ว ใช้ได้ด้วย
๑๖ในวัดที่มิได้จัดเปนโรงเรียน เปนแต่แยกกันสอนตามสำนัก ครูย่อมจะมีความรู้สำหรับสอนศิษย์ยิ่งแลหย่อน จำเปนจำต้องปลูกความรู้ขึ้นในวัดที่ยังบกพร่อง วิธีปลูกความรู้มีสองประการ คือ
ก,ต้องมีครูประจำไว้ส่งไปสอน เมื่อเปนแล้ว ถอนส่งไปวัดอื่นอีก โดยนัยนี้ กว่าจะทั่วถึง ครูพวกนี้จะมีเท่าไร สุดแล้วแต่ตำบลแลกาลที่จะให้ความฝึกสอนแพร่หลาย ในเร็ว ๆ หรือค่อยเปนค่อยไป
ข,อีกอย่างหนึ่ง เลือกภิกษุสามเณรหรือแม้ศิษย์วัดผู้สมัคให้อยู่เรียนในสถานที่ฝึกครู จะมีได้มากน้อยเท่าไร ต้องสุดแล้วแต่ทุนที่จะจ่ายเปนค่าอาหารเลี้ยง
๑๗จะมีการสอบความรู้ที่หัวเมืองนั้นเองปีละครั้ง ในชั้นต้น ที่โรงเรียนหลวงตำบลในตำบลหนึ่ง เมื่อการเล่าเรียนแพร่หลายแล้ว จะแยกเปนแห่ง ๆ ตามแขวงอำเภอ เริ่มแต่สิ้นฤดูฝนแล้ว
๑๘ความรู้ที่จะสอบนั้น จะแยกสอบเปนอย่าง ๆ เมื่อนักเรียนสอบได้อย่างหนึ่ง ๆ แล้ว ผู้สอบจะให้หนังสือคู่มือไว้ฉเพาะอย่าง เมื่อสอบได้ครบหลักสูตรที่จัดไว้เช่นในบัดนี้สี่อย่าง เจ้าน่าที่จะให้ประกาศนียบัตร
๑๙การสอบความรู้นั้นเปนน่าที่ของพระสงฆ์ผู้อำนวยการมณฑลแลการเมือง เจ้าน่าที่ต้องเลือกหาผู้สอบ
๒๐การให้ประกาศนียบัตรนั้นเปนน่าที่ของผู้อำนวยการศึกษาฉเพาะเมือง เจ้าคณะเมือง แลผู้ว่าราชการเมือง ในชั้นต้น ผู้มีตำแหน่งสูงกว่า คือ ผู้อำนวยการศึกษามณฑล เจ้าคณะมณฑล แลข้าหลวงเทศาภิบาล จะทำน่าที่นี้เพื่อให้เปนที่ชวนนิยมก็ได้ ประกาศนียบัตรนั้นต้องลงชื่อประทับตราเจ้าน่าที่
๒๑จะมีประชุมนักเรียนนมัสการพระสวดมนต์แลสดับคำสอนในสาสนาทุกวันธรรมสะวะนะ
๒๒กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสจะเปนประธานในกรรมการสภาของมหามกุฎราชวิทยาลัยอำนวยการเรื่องนี้
๒๓จะเอาวิทยาลัยเปนสถานที่ว่าการ แลต้องมีผู้ดูการแลพนักงานตามสมควรแก่การ
๒๔การที่กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสจะมีตราสั่งไปถึงหัวเมืองก็ดี ผู้อำนวยการศึกษาหัวเมืองจะมีบอกหรือยื่นรายงานก็ดี ด้วยเรื่องการศึกษา ส่งทางกระทรวงมหาดไทยแลข้าหลวงเทศาภิบาล ไม่ต้องเกี่ยวทางเจ้าคณะแลกระทรวงธรรมการ เว้นไว้แต่ด้วยเรื่องธุระการซึ่งเปนน่าที่ของเจ้าคณะแลกระทรวงนั้น
๒๕เพื่อจะรวังไม่ให้น่าที่แก่งแย่งกันซึ่งเปนความยากของผู้น้อย ให้กระทรวงธรรมการส่งร่างตราซึ่งจะมีไปในน่าที่ธุระการให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสตรวจก่อน อย่างกระทรวงกระลาโหมส่งร่างตราซึ่งจะมีไปบังคับการในน่าที่พลเรือนให้กระทรวงมหาดไทยตรวจก่อนฉนั้น ถ้ามีความเห็นไม่ร่วมกัน ให้เจ้าน่าที่นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
๒๖ถึงกำหนดปีหนึ่ง ผู้อำนวยการศึกษาในมณฑลต้องทำรายงานยื่นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสผู้จะรวมถวายให้ทรงทราบ
๒๗เมื่อสิ้นฤดูฝน จะมีประชุมพระสงฆ์ผู้อำนวยการศึกษาแลเจ้าคณะหัวเมืองปฤกษาการปีละครั้ง
๒๘ผู้อำนวยการศึกษาในมณฑลที่จะไปจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง ให้มียารักษาโรคต่าง ๆ แลเครื่องที่จะประกอบทำยาไปด้วย ถ้าครู ฤๅนักเรียน ฤๅคนในหัวเมืองที่มีความต้องการด้วยยารักษาโรค จะได้อนุเคราะห์ตามสมควร
๒๙การที่จะต้องจ่ายพระราชทรัพย์บำรุงมีประเภทดังต่อไปนี้
ก,เพิ่มส่วนบำรุงวิทยาลัยให้พอเลี้ยงโรงเรียนซึ่งจะเอาเปนสถานที่ฝึกครู
ข,บำรุงโรงเรียนหลวงซึ่งจะจัดขึ้นในหัวเมืองนั้น ๆ
ค,จ่ายค่าพิมพ์แบบเรียนทั้งหลาย แลจำหน่ายเครื่องเล่าเรียนให้ในชั้นต้น
ฆ,ช่วยกำลังผู้จะออกไปจัดการศึกษา มีให้ค่าพาหนะแลอาหารเปนต้น
ง,ต้องบำรุงครูไว้สำหรับจ่ายให้ไปปลูกความรู้ในวัดนั้น ๆ
จ,เลี้ยงผู้ที่เข้ามาอยู่ศึกษาในสถานที่ฝึกครู เพื่อจะได้ความรู้กลับไปปลูกในวัดนั้น ๆ
ฉ,ถ้าจำเปน ต้องมีพนักงานออฟฟิศ แลจ่ายเบ็จเสร็จในออฟฟิศ มีพิมพ์ใบคู่มือ ประกาศนียบัตร แลแบบส่งรายงาน เปนต้น
๓๐การเบิกจ่ายเงินเปนน่าที่ของกระทรวงมหาดไทย
๓๑พระราชทรัพย์ที่จะจ่ายนั้น สุดแล้วแต่จะทรงบริจาคพระราชทานเท่าไร ก็จัดการให้ได้ผลคุ้มแก่ที่ต้องออก
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- วชิรญาณวโรรส, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น. (2441). แบบจัดการศึกษาหัวเมือง รัตนโกสินทรศก 117. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก