แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๑

จาก วิกิซอร์ซ
หมวดที่ ๑


ว่าด้วยชื่อพระราชบัญญัติ แลอธิบายคำ แลยกเลิกกฎหมายเดิม


__________________

(สารบัญ)


มาตรา ๑
ให้ใช้พระราชบัญญัติตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๔


พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกนามว่า พระราชบัญญัติลักษณพยาน ปีรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๓ แลให้ใช้เปนกฎหมายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนเมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ เปนต้นไป[1]

(สารบัญ)


มาตรา ๒
อธิบายคำว่า “ศาล”


คำที่ว่า “ศาล” ซึ่งใช้ในพระราชบัญญัตินี้ อธิบายให้เข้าใจแลถือว่า ผู้พิพากษา ตระลาการ ฤๅเจ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจพิพากษาฤๅพิจารณคดีในศาลใดศาลหนึ่ง

(สารบัญ)


มาตรา ๓
เลิกกฎหมายเดิม


บรรดามาตราต่าง ๆ ในลักษณรับฟ้อง ส่วนที่ว่าด้วยตัดพยาน แลในลักษณพยาน ในกฎหมายเล่ม ๑ แลกฎหมายรับสั่ง ในกฎหมายเล่ม ๒ แลพระราชบัญญัติลักษณพยาน ดังที่ได้กล่าวไว้ในตาตรางหมายเลข ๑ ในท้ายพระราชบัญญัตินี้นั้น ตั้งแต่นี้สืบไป ให้ยกเลิกเสีย มิให้ใช้เปนกฎหมายต่อไป

(สารบัญ)

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑/ตอน ๔๗/หน้า ๔๐๐/๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗, ค.ศ. ๑๘๙๔)