ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมจารึกสยาม/ภาคที่ 1/หลักที่ 1

จาก วิกิซอร์ซ
ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ จารึกพ่อขุนรามคำแหง

(๑) พ่ช่สรนทราทตยแม่ช่นางเสองพ่ช่บานเมอง
(๒) พ่นอ่งท๋องดยวห๋าคนผ๋ชายสามผ๋ญงโสงพ่เผอ
(๓) ผ๋อ๋ายตายจากเผออตยมแฏ่ญงงเลกเม่ออฃ๋นให่ญได๋
(๔) สบเก๋าเข๋าฃนสามชนเจ๋าเมองฉอตมาท่เมองตากพ่กไปรบ
(๕) ฃนสามชนหววซ๋ายฃนสามชนขบบมาหววฃวาฃนสาม
(๖) ชนเก่ลอนเฃ๋าไพร่ฝ๋าหน๋าใสพ่หนญญ่ายพายจแจ
(๗) (ก)บ่หนข่ช๋างเนกพลกขบบเฃ๋าก่อนพ่กฏ่
(๘) (ช๋า)งด๋วยฃนสามชนตนพ่งช๋างฃนสามชนตววช่
(๙) มาสเมองแพ่ฃนสามชนพ่ายหนพ่จ่งฃนช่
(๑๐) ช่พระรามคํแหงเพ่ออพ่งช๋างฃนสามชนเม่อ
(๑๑) อช่ววพ่บํเรอแก่พ่กบํเรอแก่แม่กได๋ตวว
(๑๒) เน๋ออตววปลากเอามาแก่พ่กได๋หมากสํ๋หมากหวา
(๑๓) นอนนใดกนอร่อยกนกเอามาแก่พ่กไป
(๑๔) หนงงวงงช๋างได๋กเอามาแก่พ่กไปท่บ๋านท่เม
(๑๕) องได๋ช๋างได๋งวงได๋ป่ววได๋นางได๋เงอนได๋ทองกเอา
(๑๖) มาเวนแก่พ่กพ่กตายญงงพ่กพรำบํเรอแก่พ่
(๑๗) กฎ่งงบํเรอแก่พ่พ่กตายจ่งได๋เมองแก่กทงง
(๑๘) (ก)ลํเม่ออช่ววพ่ขนรามคํแหงเมองษกโขไทน๋ดในน๋ำ
(๑๙) (ม)ปลาในนามเข๋าเจ๋าเมองบ่เอาจกอบในไพ่รลทางเพ่
(๒๐) (อ)นจองวววไปค๋าข่ม๋าไปฃายใครจกกใคร่ค๋าช๋างค๋าใค(ร)
(๒๑) จกกใค่รค๋าม๋าค๋าใครจกกใค่รค๋าเงอนค๋าทองค๋าไพร่ฝ๋าหน๋าใส
(๒๒) ลกเจ๋าลกฃนผ๋ใดแล๋ลํ๋ตายหายก่วาอ๋ยาวเรอนพ่เช๋ออ
(๒๓) เล๋ออฅ๋ามนนช๋างขลกมยยยยเข๋าไพรฝ๋าข๋าไทป่า
(๒๔) หมากป่าพลพ่เช๋ออมนนไว๋แก่ลกมนนส๋นไพ่รฝ๋า
(๒๕) ลกเจ๋าลกฃนผ๋แล๋ผดแผกแสกว๋างกนนสวน
(๒๖) แท๋แล๋จ่งแล่งฅวาม(แ)ก่ขาด๋วยซ่บ่เฃ๋าผ๋ลกกมกก
(๒๗) ผ๋ซ่อนเหนเข๋าท่านบ่ใคร่พนเหนสนท่านบ่ใค่รเดอ
(๒๘) ดคนไดข่ช๋างมาหาพาเมองมาศ่ช่อยเหนออเฟ่อ
(๒๙) ก๋มนนบ่มช๋างบ่มม๋าบ่มป่ววบ่มนางบ่เง(อ)
(๓๐) นบ่มทองให๋แก่มนนช่อยมนนตวงเปนบ๋านเปนเมอ
(๓๑) งได๋ข๋าเสอกข๋าเสออหววพ่งหววรบก่ดบ่ข๋าบ่ตใน
(๓๒) ปากปตมีกดงอนนณ่งแขวนไว๋ห๋นนไพร่ฝ๋าหน๋า
(๓๓) ปกกลางบ๋านกลางเมองมถ๋อยมฅวามเจบท๋อง
(๓๔) (ข๋)องใจมนนจกกก่ลาวเถงเจ๋าเถงฃนบ่ไร๋ไปลนนก
(๓๕) ด่งอนนท่านแฃวนไว๋พ่ฃนรามคํแหงเจ๋าเมองได๋
(๑) ญนรย(กเ)มออถามสวนฅวามแก่มนนด๋วยซ่ไพ่รใน
(๒) (เม)องสกโขไทน๋จ่งชํส๋างป่าหมากป่าพลท่ววเมอ
(๓) น๋ทกแห่งป่าพ๋ราวก่หลายในเมองน๋ป่าลาง
(๔) ก่หลายในเมองน๋หมากม่วงก่หลายในเมองน๋
(๕) ห(ม)ากฃามก่หลายในเมองน๋ใครส๋างได๋ไว๋แก่มนน
(๖) กลางเมองสกโขไทน๋มน๋ำตรพงงโพยสใสกน
(๗) ...(ฎ่)งงกน๋ำโขงเม่ออแล๋งรอบเมองสกโขไทน๋ตร
(๘) บ(ร)ได๋สามพนนศ่ร๋อยวาคนในเมองสกโขไทน๋
(๙) มก(ก)ทานมกกทรงสลมกกโอยทานพ่ฃนรามคํแหง
(๑๐) เจ๋าเมองสกโขไทน๋ทงงชาวแม่ชาวเจ๋าทวยป่ววท่วยนา
(๑๑) ล(ก)เจ๋าลกฃนทงงซ่นทงงหลายทงงผ๋ชายผ๋ญีง
(๑๒) ฝงท่วยมสรธาในพระพทธสาสน(า)ทรงสลเม่ออพรน
(๑๓) ษาทกคนเม่ออโอกพรนษากรานกถนเดอนณ่งจ่
(๑๔) งแล๋วเมออกรานกถนมพนํบ๋ยยมพนํหมาก
(๑๕) พนํดอกไม๋มหมอนณ่งงหมอนโนนบพารกถนโอ
(๑๖) ยทานแล่ปแล๋ญบล๋านไปสดญดดกถนเถงอ
(๑๗) ไรญกพ๋นเม่ออจกกเฃ๋ามาวยงรยงกันแฏ่อไร
(๑๘) ญก(พ๋)นเท๋าหววลานดํบงคํกลองด๋วยสยงพาดสยง
(๑๙) นสยงเล๋อนสยงฃบบใครจกกมกกเหล๋นเหล๋นใครจ
(๒๐) กกมกกหววหววใครจกกมกกเล๋อนเล๋อนเมองสุ
(๒๑) กโขไทน๋ศ่ปาก(ป)ตหลวงท๋ยนญอมคนสยดกนน
(๒๒) เฃ๋ามาดท่านเผาทย(น)ท่านเหล๋นไฟเมองสโขไทน๋
(๒๓) มฎ่งงจกกแตกกล(าง)เมองสโขไทน๋พหาร
(๒๔) พระพทธรบทองมพระอฎฐารศพระ(พ)ทธรบ
(๒๔) พระพทธรบอนนใหญ่มพระพทธรบอนน
(๒๖) รามพหารอนนใหญ่พหารอนนรามป่
(๒๗) ครน่สไ...ดมเ(ถร)มมหาเถรเบ๋องตวนนตก
(๒๘) เมองสโข(ไท)น๋มอ(ไร)ญญกพ่ฃนรามคํแหงกทํ
(๒๙) โอยทานแก่มหาเถรส(งงฆ)ราชปราชญรยนจบบดกไตร
(๓๐) หลวกกกว่าป่ครในเมองน๋ทกคนลกแฏ่เมองสรธ
(๓๑) รมมราชมาใ(นก)ลางอรญญกพหารอนนณ่งมน
(๓๒) ใหญ่สงงามแก่กํมพระอฎฐารศอนนณ่งลกอย
(๓๓) เบ๋องตวน(น)โอกเมอ(ง)ส(โ)ขไทน๋พหารป่คร
(๓๔) มทเลหลวง(มป่)าหมากป่าพลมไร่มนาถ่นถ๋าน
(๓๕) มบ๋านใหญ่บ๋า(นเ)ลกมป่าม(ว่)งมป่าฃามดงามฎงงแกล๋
(๑) (ง)...เบ๋องตนนอนเมองสโขไทน๋มตลาดป
(๒) (สา)นมพระอจนมปราสาทมป่าหมากพ๋ราวปาหมาก
(๓) ลางมไร่มนาถ่นถ๋านมบ๋านให่ญบ๋านเลกเบ๋
(๔) องหววนอนเมองสโขไทน๋พหารป่คร
(๕) อ่ยสรดภงสมป่าพราวปาลางมปาม่วงป่าฃาม
(๖) น๋ำโคกมพระขพงผเทพดาในเฃาอนนน๋นน
(๗) เปนใหญ่กว่าทกผในเมองน๋ฃนผ๋ใดเมอง
(๘) สโขไทน๋แล๋ไหว๋พลถกเมองน๋ท่ยงเมอง
(๙) น๋ผ๋ไหว๋บ่พลบ่ถกผในเฃาอนนบ่ฅ๋มบ่
(๑๐) เกรงเมองน๋หาย๑๒๑๔สกปมโรงพ่ฃนรามคํ
(๑๑) แหงเจ๋าเมองศรสชชนาไลสโขไทน๋ปลกไม๋ตา
(๑๒) น๋ได๋สบศ่เข๋าจ่งให๋ช่างฟนนขดารหนฏ๋งงหว่าง
(๑๓) กลางไม๋ตานน๋วนนเดอนดบบเดอนโอกแปดวนนวน
(๑๔) เดอนเตมเดอนบ๋างแปดวนนฝงป่ครเถรมหาเถ
(๑๕) เดอนเตมเดอนบ๋างแปดวนนฝงป่ครเถรมหาเถ
(๑๖) งท่วยจำสลผ๋ใช่วนนสดธรรมพ่ฃนรามคํแหง
(๑๗) เจ๋าเมองศรสชชนาไลสโขไทฃ๋นณ่งงเหนอขดา
(๑๘) หนให๋ฝงท่วยลกเจ๋าลกฃนฝงท่วยถบ๋าน
(๑๙) เมองคนนวนนเดอนดบบเดอนเตมท่านแฏ่งช๋างเผ
(๒๐) (อ)กกรพดดลยางท๋ยนญ่อมทองงา...ฃวารจาคร
(๒๑) (พ่)ฃนรามคํแหงฃ๋นข่ไปนบพร(ะ)...อรญญกแล๋
(๒๒) (วเฃ๋)ามาจารกอนนณ่งมในเมองชลยงสถาบกไว๋
(๒๓) (ด๋ว)ยพระศรรดนธาดจารกอนนณ่งมในถ๋ำชถ๋ำ
(๒๔) (พ)ระรามอย่ฝ่งงน๋ำสํพายจารกอนนณ่งมในถ๋ำ
(๒๕) (รด)นธารในกลวงป่าตานน๋มษาลาสองอนนอนนณ่งช่
(๒๖) (ษา)ลาพระมาสอนนณ่งช่พทธษาลา(ข)ดารหนน๋ช่ม
(๒๗) นงงษลาบาตรสถาบกไว๋หน๋(จ่ง)ทงงหลายเหน
(๑) พ่ฃนพระ(รา)มคำแหงลกพ่ฃนษรนทราทตยเป
(๒) (น)ฃน(ใ)นเมองษรสชชน(นาไ)ลสโขไททงงมากาวลาว
(๓) (แ)ล๋ไทเมองใต๋หล๋าฟ้าฎ...ไทชาวชาวของมาออ
(๔) ก๑๒๐๗สกกรให๋ขด(เอา)พระธาดออกทงงหลาย
(๕) เหนกทำบชาบํเรอแก่พระธาดได๋เดอนหกวนนจ่
(๖) งเอาลงฝงงในกลาง(เมอ)งษรสชชนาไลก่พระเจ
(๗) เหนอหกเข๋าจ่แล๋วต๋งงวยงผาลอ๋มพระม
(๘) หาธาดสามเข๋าจ่งแล้วเม่อก่อนลายสไทน๋บ่
(๙) ม๑๒๐๕สกมแมพ่ฃนรามคํแหงหาใคร่ใจ
(๑๐) ในใจแล่ใศ่สายสไทน๋ลายสไทน๋จ่งเพ่
(๑๑) ฃนผ๋น๋นนใศ่ไว๋พ่ฃนพระรามคํแหงน๋นนหา
(๑๒) เปนท๋าวเปนพรญาแก่ไททงงหลายหาเปน
(๑๓) ครอาจารยสงงสอนไททงงหลายให๋ร๋
(๑๔) บนร๋ธรมมแทแต่คนอนนมในเมองไทดว๋ย
(๑๕) ร๋ดว๋ยหลวกกดว๋ยแก๋ลวดว๋ยหานดว๋ยแคะ
(๑๖) ดว๋ยแรงหาคนจกกเสมอม่ได๋อาจปราบฝงข๋า
(๑๗) เสกเมองกว๋างช๋างหลายปราบเบ๋องตวนนอ
(๑๘) อกรอดสรลวงสองแฅวลํบาจายสคาเท๋าฝงงขอ
(๑๙) เถงวยงจนนวยงคำเปนทแล๋วเบ๋องหวว
(๒๐) นอนรอดคนทพระบางแพรกสพรณณ
(๒๑) มราชรเพช(บ)รศรธรมมราชฝงงทเล
(๒๒) มทรเปนท(แล๋ว)เบ๋องตวนนตกรอดเมอ
(๒๓) งฉอดเมอง...นหงศาพดสมทรหาเป
(๒๔) นแดน๐เบ๋อง(ตน)นอนรอดเมองแพลเม
(๒๕) องม่านเมองน..เมองพลววพ๋นฟงงของ
(๒๖) เมองชวาเป(นท)แล๋ว๐ปลกลย๋งฝงลกบ๋า
(๒๗) ลกเมอง(นน๋)นชอบดว๋ยธรมมทกคน

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียว ๕ คน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูชี่ข้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน

เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอะหร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปที่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงินได้ทอง กูเอามาเวรแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดังบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ๑๐ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า๑๑ เหย้าเรือนพ่อเชื่อเสื้อค้า๑๒มัน ช้างฃลูกเมียเยีย๑๓ข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทย ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื่อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแหละผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน๑๔ เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหนือเฟื้อกู๑๕มัน บ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงินบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่วยมันตวง๑๖เป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี

ในปากประตูมีกะดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น๑๗ ไพร่ฟ้าหน้า.ก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง๑๘ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพย๑๙สีใสกินดี ดังกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร๒๐ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน๒๑ พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยมีพนม๒๒หมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบ๒๓ล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวสานดํบงคํกลอย? ด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่นเล่น ใครจักมักหัวหัว ใครจักมักเลื่อนเลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนญอม๒๔คนเสียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก

กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม๒๕ มีปู่ครู.....มีเถร มีมหาเถร

เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก๒๖ พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชเรียนจบปิฎกไตร หลวก๒๗กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่๒๘เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่ง มนใหญ่สูงงามแก่กม๒๙ มีพระอัฏฐารศอันหนึ่งลุกยืน

เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนา มีถิ่นมีถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกล้

เบื้องตีนนอน๓๐เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน๓๑ มีพระอัจนะ มีปราสาท๓๒ มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่นมีถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก

เบื้องหัวนอน๓๓เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส๓๔ มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วงป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขะพุงผี เทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอัน บ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย

๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขะดารหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนออก๓๕แปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้าง๓๖แปดวัน ฝูงปู่ครูเถรมหาเถรขึ้นนั่งเหนือขะดารนี้สวดธรรมแก่อุบาสกฝูงท่วยจำศีล ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขะดารหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองกัน วันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัด๓๗ลยาง๓๘ เทียนย่อมทองงา...ขวาชื่อรูจาศรี๓๙ พ่อขุนรามคำแหงขึ้นขี่ไปนบพระ...อรัญญิกแล้วเข้ามา

จารึกอันหนึ่ง มีในเมืองชเลียง สฐาบกไว้ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำ ชื่อถ้ำพระราม อยู่ฝั่งน้ำสัมพาย จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำรัตนธาร๔๐ ในกลวง๔๑ป่าตาลนี้มีศาลาสองอัน อันหนึ่งชื่อศาลาพระมาส อันหนึ่งชื่อพุทธศาลา ขะดารหินนี้ชื่อมะนังคศิลาบาตร สฐาบกไว้หนี้ จึงทั้งหลายเห็น

พ่อขุนรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากาวลาวและไทย เมืองใต้หล้าฟ้า...ไทยชาวอูชาวของ๔๒มาออก๔๓ ๑๒๐๗ ศก ปีกุน๔๔ ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึงแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึงแล้ว

เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนพระรามคำแหงนั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลาย ให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทย ด้วยรู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าศึก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด๔๕สระหลวงสองแควลุมบาจายสคาเท้าฝั่งของถึงเวียงจันทร์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคนทีพระบางแพรกสุพรรณภูมิราชบุรีเพ็ชร์บุรีศรีธรรมราชฝั่งทะเลสมุทเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอดเมือง...หงสาวดีสมุทห้าเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่เมืองน่านเมือง...เมืองพลั่วพ้นฝั่งของเมืองชะวาเป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน

เตียมแต่ – ตั้งแต่
เข้า – ปี
ฉอด – อำเภอแม่สอด อยู่ในจังหวัดตาก
หนีญญ่ายพายจะแจ – หนีกระจัดกระจาย
เนกพล – ชื่อช้าง คือ อเนกพล – มีกำลังมิใช่น้อย
มาส – คำเขมร แปลว่า ทอง
ตีหนังวังช้าง – คล้องช้าง
ปั่ว – ชาย
ทั้งกลม – ทั้งปวง
๑๐ จกอบ คำเขมร – ภาษีชะนิดหนึ่งที่เก็บแก่ผู้นำสัตว์และเข้าของไปเที่ยวขายในที่ต่าง ๆ คำนี้มีใช้ในหนังสือสัญญาต่าง ๆ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า
๑๑ กว่า – ไทยโบราณที่อยู่ริมแม่น้ำซีเจียง มณฑลกุยจิว ในประเทศจีน หมายความว่า เสีย เช่น คำว่า ตายเสียปล้ว เขาพูดว่า "ตายกว่าแล้ว"
๑๒ เสื้อค้า – เสื้อติดตัว คำว่า ค้า – ติด
๑๓ เยีย ภาษาเงี้ยวหรือไทยโบราณ – ฉางข้าว
๑๔ พิน – ยินดี
๑๕ ช่วยเหนือเฟื้อคู – ช่วยเอื้อเฟื้อบำรุง
๑๖ ตวง – นับ ในศิลาจารึกนครชุม หลักที่ ๓ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๔ มีคำโบราณว่า นับ ตวง ถ้วน, ภาษาลาวทุกวันนี้ ตวงเบิ่ง แปลว่า ดู หรือพิจารณา ถ้าเช่นนั้นแล้ว คำว่า ตวงเป็นบ้านเป็นเมือง = ดูประหนึ่งเป็นบ้านเมืองของตน หรือนับว่าเมืองสุโขทัยเป็นเหมือนบ้านเมืองของตน
๑๗ หั้น – นั้น
๑๘ ลาง ภาษาเงี้ยว – ขนุน
๑๙ ตระพังโพย – บ่ออัศจรรย์
๒๐ ตรีบูร – กำแพงสามชั้น
๒๑ โอยทาน – ให้ทาน
๒๒ พนม คำเขมร – ภูเขา
๒๓ ญิบ – สอง ญิบล้าน – สองล้าน
๒๔ เทียนยอม – ย่อม
๒๕ ราม – ขนาดกลาง ไม่ใหญ่นักไม่เล็กนัก
๒๖ อรัญญิก – ทุกวันนี้เรียก วัดสพานหิน ยังมีพระอัฏฐารศลุกขึ้นยืน
๒๗ หลวก – รู้หลัก
๒๘ ลุกแต่ – มาแต่
๒๙ แก่กม – ที่สุด
๓๐ เบื้องตีนนอน – ทิศเหนือ
๓๑ ปสาน – ตลาดมีห้องแถว ภาษาเปอร์เซียว่า บาซาร์
๓๒ ปราสาทนี้ เข้าใจว่า ปราสาทหินซึ่งเป็นวัดพระพายหลวงบัดนี้
๓๓ เบื้องหัวนอน – ทิศใต้
๓๔ สรีดภงค์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า สริทฺภงฺค แปลว่า ทำนบ
๓๕ เดือนออก – ข้างขึ้น
๓๖ เดือนบ้าง – ข้างแรม
๓๗ กระพัด คำเขมร – สายรัดกูบบนหลังช้าง
๓๘ ลยาง คำเขมร – ภู่ เครื่องประดับหัวช้าง
๓๙ รูจาศรี – ชื่อช้าง
๔๐ ถ้ำพระรามแลถ้ำรัตนธาร ดูหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง หน้า ๑๑๕
๔๑ ในกลวง – ในภายใน
๔๒ ชาวอูชาวของ – ผู้ที่อยู่ตามริมแม่น้ำอูและแม่น้ำของ
๔๓ มาออก – มาขึ้น
๔๔ ที่จริง พ.ศ. ๑๒๐๗ เป็นปีระกา ไม่ใช่ปีกุน
๔๕ รอด – ตลอด