หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/67

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม 3]
57
ภาคผนวก

มาตรา7จักรพรรดิทรงเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ ทรงเปิด ปิด และเลื่อนการประชุมนั้น และทรงยุบสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา8เนื่องจากมีความจำเป็นรีบด่วนในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จักรพรรดิย่อมจะทรงออกพระราชกำหนดแทนกฎหมาย ในเมื่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิไม่อยู่ในสมัยประชุม

พระราชกำหนดเช่นว่านั้น จะได้ยื่นต่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิในสมัยประชุมถัดไป และเมื่อสภานิติบัญญัติไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว ให้รัฐบาลประกาศว่า พระราชกำหนดนั้นจะเป็นอันสิ้นผลสืบไปในอนาคต

มาตรา9จักรพรรดิทรงออกหรือจัดให้มีการออกพระราชกำหนดที่จำเป็นต่อการบังคับตามกฎหมาย หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยสาธารณะ หรือการส่งเสริมสวัสดิภาพของพสกนิกร แต่ห้ามมิให้ใช้พระราชกำหนดแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายใด ๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าในทางใด

มาตรา10จักรพรรดิทรงกำหนดการจัดองค์กรสำหรับฝ่ายต่าง ๆ ในการปกครอง และเงินตอบแทนสำหรับเจ้าพนักงานพลเรือนและทหารทั้งปวง และทรงแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลเหล่านั้น ข้อยกเว้นอันบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้หรือในกฎหมายอื่น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติ (ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ) ตามลำดับ

มาตรา11จักรพรรดิทรงมีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดต่อกองทัพบกและกองทัพเรือ

มาตรา12จักรพรรดิทรงกำหนดการจัดองค์กรและท่าทีในทางสันติของกองทัพบกและกองทัพเรือ

มาตรา13จักรพรรดิทรงประกาศสงคราม ทรงระงับศึก และทรงกระทำสนธิสัญญา

มาตรา14จักรพรรดิทรงประกาศกฎหมายภาวะปิดล้อม[1]

เงื่อนไขและผลแห่งกฎหมายภาวะปิดล้อมนั้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

มาตรา15จักรพรรดิพระราชทานบรรดาศักดิ์ ยศ อิสริยาภรณ์ และเครื่องหมายเกียรติยศอย่างอื่น

มาตรา16จักรพรรดิทรงบัญชาให้มีการนิรโทษกรรม อภัยโทษ ลดโทษ และล้างมลทิน

มาตรา17การสำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ให้มีขึ้นโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายราชวงศ์

ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใช้อำนาจอันเป็นของจักรพรรดิในพระนามาภิไธยจักรพรรดิ

  1. คือ กฎอัยการศึก ดูตัวอย่างในกฎหมาย ลงวันที่ 9 สิงหาคม 1849 ว่าด้วยภาวะปิดล้อม ของฝรั่งเศส (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(377)