งานแปล:กฎหมาย ลงวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1849
หน้าตา
Loi du 9 août 1849 sur l'état de siège.
|
กฎหมาย ลงวันที่ 9 สิงหาคม 1849 ว่าด้วยภาวะปิดล้อม
|
Chapitre I: Cas où l'état du siège peut être déclaré. | หมวด 1 กรณีที่สามารถประกาศภาวะปิดล้อม |
---|---|
Article 1 | มาตรา 1 |
---|---|
L'état de siège ne peut être déclaré qu'en cas de péril imminent pour la sécurité intérieure ou extérieure. | ภาวะปิดล้อมสามารถประกาศได้แต่ในกรณีที่มีภยันตรายอันใกล้จะถึงต่อความมั่นคงภายในหรือภายนอก |
Chapitre II: Des formes de la déclaration de l'état de siège. | หมวด 2 ว่าด้วยรูปแบบการประกาศภาวะปิดล้อม |
---|---|
Article 2 | มาตรา 2 |
---|---|
L'Assemblée nationale peut seule déclarer l'état de siège, sauf les exceptions ci-après. | สมัชชาแห่งชาติเท่านั้นที่ประกาศภาวะปิดล้อมได้ โดยมีข้อยกเว้น[ตามที่บัญญัติไว้]ถัดจากนี้ |
La déclaration de l'état de siège désigne les communes, les arrondissements ou départements auxquels il s'applique et pourra être étendu. | ประกาศภาวะปิดล้อม ย่อมกำหนดตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ที่ประกาศนั้นจะใช้บังคับและอาจขยายไปถึง |
Article 3 | มาตรา 3 |
---|---|
Dans le cas de prorogation de l'Assemblée nationale, le Président de la République peut déclarer l'état de siège, de l'avis du Conseil des ministres. | ในกรณีที่สมัชชาแห่งชาติปิดสมัยประชุม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจะประกาศภาวะปิดล้อมตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีก็ได้ |
Le Président, lorsqu'il a déclaré l'état de siège, doit immédiatement en informer la commission instituée en vertu de l'article 32 de la Constitution, et, selon la gravité des circonstances, convoquer l'Assemblée nationale. | เมื่อประกาศภาวะปิดล้อมแล้ว ประธานาธิบดีต้องแจ้งคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นด้วยอำนาจตามมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ[1] โดยพลัน แล้วเรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติ โดยขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของพฤติการณ์ |
La prorogation de l'Assemblée cesse de plein droit lorsque Paris est déclaré en état de siège. | การปิดสมัยประชุมสมัชชาเป็นอันสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ[2] เมื่อมีประกาศให้ปารีสอยู่ภายใต้ภาวะปิดล้อม |
L'Assemblée nationale, dès qu'elle est réunie, maintient ou lève l'état de siège. | ทันที่ที่มาประชุมกัน สมัชชาแห่งชาติย่อมจะรับรองหรือยกเลิกเสียซึ่งภาวะปิดล้อม |
Article 4 | มาตรา 4 |
---|---|
Dans les colonies françaises, la déclaration de l'état de siège est faite par le gouverneur de la colonie. | ในอาณานิคมฝรั่งเศส การประกาศภาวะปิดล้อมย่อมกระทำโดยผู้ว่าการอาณานิคม |
Il doit en rendre compte immédiatement au Gouvernement. | ผู้ว่าการต้องรายงานรัฐบาลทันที |
Article 5 | มาตรา 5 |
---|---|
Dans les places de guerre et postes militaires soit de la frontière, soit de l'intérieur, la déclaration de l'état de siège peut être faite par le commandant militaire, dans les cas prévus par la loi du 10 juillet 1791 et par le décret du 24 décembre 1811. | ณ สมรภูมิและที่ตั้งทหาร ไม่ว่าตามชายแดนหรือภายในประเทศ ผู้บัญชาการทหารจะประกาศภาวะปิดล้อมก็ได้ ในกรณีที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 1791[3] และในกฤษฎีกา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 1811[4] |
Le commandant en rend compte immédiatement au Gouvernement. | ผู้บัญชาการต้องรายงานรัฐบาลทันที |
Article 6 | มาตรา 6 |
---|---|
Dans le cas des deux articles précédents, si le Président de la République ne croit pas devoir lever l'état de siège, il en propose sans délai le maintien à l'Assemblée nationale. | ในกรณีตามมาตราทั้งสองก่อนหน้านี้ ถ้าประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไม่เชื่อว่าจะต้องยกเลิกภาวะปิดล้อม ประธานาธิบดีย่อมเสนอต่อสมัชชาแห่งชาติโดยพลันให้รับรองภาวะนั้น |
Chapitre III: Des effets de l'état de siège. | หมวด 3 ว่าด้วยผลของภาวะปิดล้อม |
---|---|
Article 7 | มาตรา 7 |
---|---|
Aussitôt l'état de siège déclaré, les pouvoirs dont l'autorité civile était revêtue pour le maintien de l'ordre et la police passent tout entiers à l'autorité militaire. | ทันทีที่มีประกาศภาวะปิดล้อม อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในการรักษาความเรียบร้อยและการรักษาความปลอดภัย ย่อมเปลี่ยนผ่านไปเป็นของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยสิ้นเชิง |
L'autorité civile continue néanmoins à exercer ceux de ces pouvoirs dont l'autorité militaire ne l'a pas dessaisie. | อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนย่อมใช้อำนาจนั้นได้ต่อไป ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมิได้เพิกถอน |
Article 8 | มาตรา 8 |
---|---|
Les tribunaux militaires peuvent être saisis de la connaissance des crimes et délits contre la sûreté de la République, contre la Constitution, contre l'ordre et la paix publique, quelle que soit la qualité des auteurs principaux et les complices. | คณะตุลาการทหารสามารถพิจารณาการแจ้งความผิดอาญาและการฝ่าฝืนกฎหมายต่อความมั่นคงแห่งสาธารณรัฐ ต่อรัฐธรรมนูญ ต่อความเรียบร้อยและความสงบสาธารณะ ไม่ว่าตัวการและผู้สนับสนุนจะมีลักษณะเช่นไร |
Article 9 | มาตรา 9 |
---|---|
L'autorité militaire a le droit: | เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีสิทธิ |
1° De faire des perquisitions, de jour et de nuit, dans le domicile des citoyens; | 1. ที่จะตรวจค้นในบ้านเรือนพลเมืองทั้งกลางวันและกลางคืน |
2° D'éloigner les repris de justice et les individus qui n'ont pas leur domicile dans les lieux soumis à l'état de siège; | 2. ที่จะขับไล่ผู้มีประวัติอาชญากรรม[5] และบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ภาวะปิดล้อม |
3° D'ordonner la remise des armes et munitions, et de procéder à leur recherche et à leur enlèvement; | 3. ที่จะสั่งให้ส่งอาวุธและเครื่องกระสุน และที่จะสืบหาหรือยึดเสียซึ่งสิ่งดังกล่าว |
4° D'interdire les publications et les réunions qu'elle juge de nature à exciter ou à entretenir le désordre. | 4. ที่จะห้ามการเผยแพร่และการชุมนุมซึ่งโดยสภาพแล้วถือได้ว่าจะทำให้ความวุ่นวายทวีขึ้นหรือคงอยู่ต่อไป |
Article 10 | มาตรา 10 |
---|---|
Dans les lieux énoncés en l'article 5, les effets de l'état de siège continuent à être déterminés par les dispositions de la loi du 10 juillet 1791 et du décret du 24 décembre 1811. | นอกจากนี้ ในกรณีมีสงครามกับต่างชาติ ณ พื้นที่ที่ระบุไว้ในมาตรา 5 ผลของภาวะปิดล้อมให้คงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติของกฎหมาย ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 1791[3] และกฤษฎีกา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 1811[4] ต่อไป |
Article 11 | มาตรา 11 |
---|---|
Les citoyens continuent, nonobstant l'état de siège, à exercer tous ceux des droits garantis par la constitution, dont la jouissance n'est pas suspendue en vertu des articles précédents. | แม้จะมีภาวะปิดล้อม พลเมืองย่อมใช้สิทธิทั้งปวงที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ได้ต่อไป ถ้าการใช้สิทธินั้นไม่ถูกระงับไปด้วยอำนาจของมาตราก่อน ๆ หน้านี้ |
Chapitre IV: De la levée de l'état de siège. | หมวด 4 ว่าด้วยการยกเลิกภาวะปิดล้อม |
---|---|
Article 12 | มาตรา 12 |
---|---|
L'Assemblée nationale a seule le droit de lever l'état de siège, lors qu'il a été déclaré ou maintenu par elle. | สมัชชาแห่งชาติเท่านั้นที่มีสิทธิยกเลิกภาวะปิดล้อม เมื่อภาวะนั้นได้รับการประกาศหรือรับรองโดยสมัชชา |
Néanmoins, en cas de prorogation, ce droit appartiendra au Président de la République. | อย่างไรก็ดี ในกรณีปิดสมัยประชุม สิทธินี้จะตกแก่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ |
L'état de siège, déclaré conformément aux articles 3, 4 et 5, peut être levé par le Président de la République, tant qu'il n'a pas été maintenu par l'Assemblée nationale. | ภาวะปิดล้อมที่ประกาศตามมาตรา 3, 4, และ 5 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจะยกเลิกเสียก็ได้ ตราบที่สมัชชาแห่งชาติยังมิได้รับรองภาวะนั้น |
L'état de siège, déclaré conformément à l'article 4, pourra être levé par les gouverneurs des colonies aussitôt qu'ils croiront la tranquillité suffisamment rétablie. | ภาวะปิดล้อมที่ประกาศตามมาตรา 4 นั้น ผู้ว่าการอาณานิคมจะยกเลิกเสียก็ได้ ในทันทีที่ผู้ว่าการเชื่อว่า ความสงบสุขได้ฟื้นคืนมาเพียงพอแล้ว |
Article 13 | มาตรา 13 |
---|---|
Après la levée de l'état de siège, les tribunaux militaires continuent de connaître des crimes et délits dont la poursuite leur avait été déférée. | ภายหลังการยกเลิกภาวะปิดล้อม คณะตุลาการทหารย่อมพิจารณาความผิดอาญาและความผิดลหุโทษที่ได้ยื่นฟ้องต่อตนแล้วต่อไป |
Le Président de la République: | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ: |
Louis-Napoleon Bonaparte. | ลูย-นาปอเลอง บอนาปาร์ต[6] |
Le garde des sceaux, ministre de la justice, Odilon Barrot. | ผู้รักษาลัญจกร,[7] รัฐมนตรียุติธรรม: ออดีลง บาโร[8] |
เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ
[แก้ไข]- ↑ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1848
- ↑ สำนวน "de plein droit" (แปลตรงตัวว่า โดยกฎหมายเต็มที่ หรือ โดยสิทธิเต็มที่) หมายความว่า โดยเป็นไปเอง โดยเกิดขึ้นเอง หรือโดยอัตโนมัติ
- ↑ 3.0 3.1 กฎหมาย ลงวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1791 เกี่ยวด้วยการรักษาและจัดประเภทสมรภูมิและที่ตั้งทหาร การรักษาความปลอดภัยป้อมปราการ และวัตถุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Loi du 10 juillet 1791 concernant la conservation et le classement des places de guerre et postes militaires, la police des fortifications et autres objets y relatifs)
- ↑ 4.0 4.1 พระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1811 เกี่ยวกับการจัดระเบียบและกิจการของกองบัญชาการประจำสถานที่ (Décret imperial du 24 décembre 1811 relatif à l’organisation et au service des états-majors des places)
- ↑ สำนวน "repris de justice" (แปลตรงตัวว่า [ผู้]ถูกส่งเข้ากระบวนการยุติธรรมซ้ำ) หมายถึง ผู้เคยถูกลงโทษหรือถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดมาก่อน
- ↑ นโปเลียนที่ 3 (Napoleon III)
- ↑ ผู้รักษามหาลัญจกรแห่งสาธารณรัฐ (Grand Sceau de la République) เป็นสถานะของรัฐมนตรียุติธรรม
- ↑ ออดีลง บาโร (Odilon Barrot)
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "Loi du 9 août 1849 sur l'état de siège". Légifrance (ภาษาFrench). 1849-08-09.
งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ: | งานนี้เป็นสาธารณสมบัติในประเทศฝรั่งเศส เนื่องจาก
|
---|---|
งานแปล: | ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก |