หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/28

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๕ –

และร่างกายของหญิงตามรัฐธรรมนูญรับรองไว้ว่ากระทําได้ นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า การกําหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ต้องกระทําโดยนายแพทย์เท่านั้น ไม่รวมบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งไม่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการใช้ยาแทนหัตถการทางการแพทย์ จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ นั้น เห็นว่า วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ คือคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของหญิงซึ่งตั้งครรภ์จากการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้วัตถุประสงค์ดังกล่าวบรรลุผล การปฏิบัติในการยุติการตั้งครรภ์ต้องมีระบบและมีมาตรฐานเพื่อให้มีความปลอดภัย จึงต้องให้นายแพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายเป็นผู้ปฏิบัติการยุติการตั้งครรภ์ของหญิง ส่วนรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ เป็นบทบัญญัติก้าหนดหน้าที่ของรัฐในการทบทวนกฎหมายโดยให้มึกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ จึงไม่มีกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมบูญ มาตรา ๓๓ ได้

ประเด็นที่สาม ไม่ว่ากรณีที่ขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม สมควรมีมาตรการปรับปรุงกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร

เห็นว่า เมื่อวินิจฉัยไว้แล้วว่า บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๕ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่จําต้องกําหนดมาตรการในการปรับปรุงกฎหมาย ส่วนกรณีตามคําร้องขอของผู้ร้องในเรื่องการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสมต่อสภาพการณ์ทางสังคมและความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันนั้น รัฐธรรมนูญได้กําหนดช่องทางการใช้สิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเสนอการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย โดยกําหนดช่องทางและวิธีการไว้แล้ว ผู้ร้องสามารถใช้สิทธิผ่านช่องทางดังกล่าวได้ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ บัญญัติให้ก่อนการตรากฎหมาย ต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณากฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๗๗ และไม่จําต้องกําหนดมาตรการในการปรับปรุงกฎหมายนี้

  • ชัช ชลวร
  • (นายชัช ชลวร)
  • ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ