หน้า:พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๒ (๒๔๕๕) b.pdf/234

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙๗

มีสินไหมแก่ผู้นั้นเปนเงินตราห้าตำลึง ขณะนั้น พระองค์เจ้าดำกอปรด้วยทิฐิมานะ กระทำการหยาบช้ากระด้างกระเดื่องลลุมลล้าว[1] เข้าไปในพระราชฐานตำแหน่งที่ห้ามเปนหลายครั้ง มิได้เกรงกลัวพระราชอาชญา จึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัศปฤกษาด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ตรัศเห็นว่า โทษพระองค์เจ้าดำนั้นผิดเปนมหันตโทษ จึงให้จับพระองค์เจ้าดำพันธนาไว้ แล้วให้เอาไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝังเสียณวัดโคกพระยา แลพระองค์เจ้าแก้วซึ่งเปนบาท[2] บริจาพระองค์เจ้าดำนั้นเปนหม้ายอยู่ จึงเสด็จไปทรงผนวชเปนพระรูปชีอยู่ณพระตำหนักวัดดุสิตกับด้วยสมเด็จพระไอยิกา[3] กรมพระเทพามาตยนั้น.

ลุศักราช ๑๐๖๙ ปีกุญ นพศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชดำรัศสั่งให้ช่างพนักงานจับการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อ ๗ วา ๒ ศอก สูง ๒ เส้น ๑๑ วา ศอกคืบ แลการเมรุทั้งปวงนั้น ๑๑ เดือนจึงสำเร็จ ครั้นถึงผัคคุณมาศ ศุกรปักษดิถี ณวันอันได้มหาพิไชยฤกษ์ จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ให้อัญเชิญพระบรมโกษฐขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิไชยราชรถ แล้วแห่เปนขบวนไปโดยรัถยาราชวัตรเข้าสู่พระเมรุมาศตามอย่างแต่ก่อน แล้วให้ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์ แลมีงานมหรศพแลดอกไม้เพลิงต่าง ๆ แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์ ๑๐๐๐๐ คำรบ ๗ วัน แล้วถวายพระเพลิง ครั้น


  1. เดิมว่า ลลาบลล้าว
  2. เดิมไม่มี
  3. เดิมว่า พระไอยกี