หน้า:สยามแพทย์ - ๒๔๖๗.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๕
สยามแพทยศาสตร์

นัก ให้กินอาหารไม่รู้จักรศ มักเปนฝีในท้อง ๗ ประการ ถ้าจะแก้ ให้เอารังมดแดงรัง ๑ ใบมัดกา ๑ เทียนดำ ๑ สมอเทศ ๑ รากตองแตก ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ ตำลึง หัวหอม ๑ ตำลึง ๑ บาท ขมิ้นอ้อยยาวองคุลี ๑ ต้ม ๓ เอา ๑ แซกดีเกลือตามธาตุหนักแลธาตุเบา ชำระปุพโพร้ายเสียก่อน แล้วจึงแต่งยาประจำธาตุในเสมหะก็ได้ ถ้ามิฟัง ให้แต่งยานี้ ให้เอารากมูกหลวง ๑ ผลราชดัด ๑ ตรีกฎุก ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ รากกะพังโหม ๑ หัวเข้าข้า ๑ หอมแห้ง ๑ เอาส่วนเท่ากัน ตำเปนผงละลายน้ำร้อนก็ได้ สุราก้ได้ น้ำต้มก็ได้ กินหายแล ฯ

โลหิตัง คือ โลหิตพิการหรือแตกก็ดี ท่านกล่าวไว้ว่า โลหิตร้าย แพทย์สมมติว่า เปนไข้กำเดาเพราะโลหิตกำเริบ ถ้าโลหิตแตก ให้ทำพิษต่าง ๆ บางทีให้ปวดสีสะ ให้ในตาแดงเปนสายโลหิต ให้งงสีสะ ให้หนักหน้าผาก เพราะโลหิตกำเริบ ถ้าผุดขึ้นภายนอกให้เปนวงแดง หรือเขียว หรือเหลือง แล้วทำพิษต่าง ๆ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง แพทย์ทั้งปวงสมมติว่า เปนไข้รากสาด อนึ่ง ปานดำ ปานแดง สายฟ้าฟาด จอมปราสาท เข้าไหม้น้อย เข้าไหม้ใหญ่ หงษ์ระทด เปลวไฟฟ้า ประกายดาด ประกายเพลิง ดาวเรือง ฟองสมุท มหาเมฆ มหานิล ลำลาบเพลิง ไฟลามทุ่ง สมมติเรียกชื่อต่าง ๆ เพราะโลหิตแตกกระจายซ่ายออกจากผิวหนังข้างนอก ฝ่ายข้างภายในนั้นเล่า ก็ทำพิษต่าง ๆ บางทีให้ลงเปนโลหิต บางทีให้อาเจียนเปนโลหิต บางทีโลหิตแล่นเข้าจับหัวใจ ให้คลั่งคลุ้มทุรนทุราย ให้เลมอเพ้อพกไป หาสติสมปฤดีมิได้ แพทย์ทั้งปวงสมมติว่า สันนิบาตโลหิต ก็ว่า ทั้งนี้ เปนเพื่อโลหิตสมุฏฐาน บางทีให้ร้อนให้หนาว บางทีให้ชักมือกำเท้ากำ บางทีให้ขัดหนักแลขัดเบา บางทีให้เบาเปนสีแดง สีเหลือง แลดำก็มี ให้เปนไปต่าง ๆ แต่ว่า โลหิตพิการแลแตกอย่างเดียว ถ้าในธาตุน้ำพิการหรือแตกก็ดี เปน