หน้า:แม่ย่า - สฐกศ นคปท - ๒๔๘๑.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๑๗ –

บทไปว่า โอละพ่อ เพราะฉะนั้น การเล่นละเบ็งบางทีจึงเรียกว่า โอละพ่อ ด้วยอีกชื่อหนึ่ง ขณะร้องไปบทหนึ่ง ก็ยกขาข้างหนึ่งทำท่ารำ แล้วเอาลูกศรตีที่คันศร เห็นจะเป็นการให้จังหวะ แล้วก็จะมีการตีฆ้อง ๓ ใบเถา เรียกว่า ฆ้องระเบง เสียหนหนึ่ง แล้วก็เปลี่ยนขารำใหม่ในทำนองเดียวกันเรื่อย ๆ ไป ถ้าท่านฟังบทร้องแล้ว ก็พอจะเดาได้ว่า ในข้อความที่ร้องนั้นเอง แสดงว่า กษัตริย์เหล่านั้นพากันออกจากเมืองไปไกรลาศ เพราะเทวดามาบอก และคงไปดูงานโสกันต์หรืออะไรอย่างนั้น เวลาไป ก็ร้องรำทำเพลง เปลี่ยนท่าเป็นซ้ายมาขวาและขวามาซ้ายออกยุ่ง แล้วก็ไปพบนัยว่า เป็นพระกาล แต่ว่า มีพาหนะเป็นนกยุง ซึ่งที่ถูกน่าจะเป็นพระขันทกุมาร เพราะพระกาลแกขี่นกแสก ไม่ใช่ขี่นกยุง แต่อย่างไรก็ตาม พระกาลขวางหน้าไว้ไม่ให้พวกกษัตริย์เดินต่อไป เมื่อห้ามไม่ฟังซ้ำจะยิงเอาพระกาล พระกาลจึงสาปให้สลบ เมื่อพอใจแล้วถอนสาปให้ฟื้น พวกกษัตริย์ก็กลับบ้านเมือง.

[ ๒]