ข้ามไปเนื้อหา

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

จาก วิกิซอร์ซ
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2526)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
------


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) และมาตรา 42 วรรคห้า แห่ง

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
`วัสดุก่อสร้างและสิ่งของ' หมายความว่า วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอน รวมทั้ง

สิ่งของที่ขนออกจากอาคารส่วนที่มีการรื้อถอน

ข้อ 2 การยึดและเก็บรักษาไว้ หรือขายซึ่งวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ และถือ

เงินไว้แทนตัวทรัพย์สิน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกระทำได้ เมื่อ

(1) ศาลได้มีคำสั่งบังคับให้มีการรื้อถอนโดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้มี

หน้าที่ในการรื้อถอน

(2) เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ในบริเวณที่จะ

รื้อถอนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

(3) เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการรื้อถอนเมื่อครบกำหนดเวลาตาม

ประกาศใน (2) แล้ว

ข้อ 3 การยึดวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
(1) ทำประกาศการยึดวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ แล้วปิดไว้โดยเปิดเผย

ณ สถานที่ที่ยึด

(2) ทำบัญชีวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ แล้วทำบันทึกการยึดไว้
(3) แจ้งการยึดวัสดุก่อสร้างและสิ่งของให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร

ผู้ดำเนินการ หรือผู้ควบคุมงานทราบ แล้วแต่กรณี

ให้นำมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับ

แก่การแจ้งยึดโดยอนุโลม

การยึดวัสดุก่อสร้างและสิ่งของครอบไปถึงดอกผลแห่งวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ

นั้นด้วย

ข้อ 4 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าวัสดุก่อสร้างและ

สิ่งของนั้นได้มีการยึดแล้ว โดยผูกแผ่นเลขหมายแล้วประทับตราครั่งหรือปิดแผ่น

เลขหมายไว้ที่วัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึด หรือทำเครื่องหมายตามที่เห็นสมควร

ให้ตรงตามบัญชีวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึด ถ้าสามารถเก็บรวมเข้าหีบหรือตู้ได้

ให้รวมไว้แล้วปิดหีบหรือตู้ประทับตราครั่งอีกชั้นหนึ่ง

ข้อ 5 บัญชีวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดให้แสดงรายละเอียด เช่น ชื่อ

ประเภท ตัวแบบ ลักษณะ จำนวน ขนาด น้ำหนัก สภาพ และราคาประมาณของ

วัสดุก่อสร้างและสิ่งของนั้น เป็นต้น

ถ้าวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดเป็นของหลายสิ่งและมีราคาเล็กน้อย จะมัด

หรือกองรวมกันแล้วลงบัญชีเป็นรายการเดียวกันก็ได้

ถ้าวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดเป็นชุดหรือสำรับ จะลงบัญชีรวมเป็นชุด

เป็นสำรับ หรือไม่รวมก็ได้

ข้อ 6 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเก็บรักษาวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดไว้

ณ สถานที่ที่ยึด หรือจะนำไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร หาก

มีความจำเป็นจะจ้างคนดูแลรักษาหรือเช่าสถานที่ที่เก็บรักษาก็ได้

ข้อ 7 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจดแจ้งไว้ในบัญชีวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึด

ว่าได้เก็บรักษาวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดนั้นไว้อย่างไร รวมทั้งค่าใช้จ่ายใน

การยึดและเก็บรักษาด้วย

ข้อ 8 ให้เจ้าของทรัพย์สินมารับวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดคืนภายใน

สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการยึดตามข้อ 3 (3) หากเจ้าของทรัพย์สินมิได้

มาขอรับคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำวัสดุก่อสร้าง

และสิ่งของที่ยึดนั้นออกขายทอดตลาดก็ได้

ในกรณีที่บุคคลหลายคนต่างคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือเงิน

ที่ได้จากการขาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้อ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกคน

ไปตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล หากไม่มีการตกลงกันหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน

หกสิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำวัสดุ

ก่อสร้างหรือสิ่งของที่ยึดนั้นออกขายทอดตลาดก็ได้

ถ้าวัสดุก่อสร้างและสิ่งของเป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็น

การเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจะเกินส่วนกับค่าวัสดุ

ก่อสร้างและสิ่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำวัสดุก่อสร้างและสิ่งของนั้นออก

ขายทอดตลาดหรือจะขายโดยวิธีอื่นก่อนวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร

ผู้ดำเนินการ หรือผู้ควบคุมงาน ได้ทราบการแจ้งการยึดตามข้อ 3 (3) ก็ได้

ข้อ 9 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินมารับวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดคืนให้เจ้าของ

ทรัพย์สินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการยึด ค่าเช่าสถานที่เก็บ ค่าจ้างดูแลรักษาและ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการยึดและเก็บรักษาทรัพย์สินให้แก่เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นก่อนที่จะรับวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดนั้นคืนไป

ถ้าเจ้าของทรัพย์สินไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามวรรคหนึ่ง

เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึดนั้นออกขายทอดตลาดก็ได้

และให้นำข้อ 19 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 10 การขายทอดตลาดวัสดุก่อสร้างและสิ่งของที่ยึด ให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นทำประกาศโดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเท่าที่

จะระบุได้ เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน วัน เวลาและสถานที่ที่จะขายทอดตลาด ชื่อ

ประเภท ตัวแบบ ลักษณะ จำนวน ขนาด น้ำหนัก และสภาพของทรัพย์สินนั้น

เป็นต้น

ข้อ 11 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นปิดประกาศการขายทอดตลาดไว้โดย

เปิดเผย ณ สถานที่ที่มีการรื้อถอน สถานที่ที่จะขายทอดตลาด และที่ทำการของ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ในกรณีที่ทราบตัวเจ้าของทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นส่งประกาศการขายทอดตลาดไปให้เจ้าของทรัพย์สินทราบก่อนวันขาย

ทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ให้นำมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาใช้

บังคับแก่การส่งประกาศการขายทอดตลาดโดยอนุโลม

ในกรณีที่เห็นสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะประกาศการขายทอดตลาด

ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงก่อนวันขายทอดตลาดก็ได้

ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอทรัพย์สินคืนก่อนหรือ

ในระหว่างการขายทอดตลาด ให้งดการขายทรัพย์สินนั้น

ข้อ 12 ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ตาม

กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นส่งประกาศการขายทอดตลาดไปยังกรมศิลปากรก่อนวัน

ขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ข้อ 13 ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นตู้นิรภัย หีบ หรือกำปั่นเหล็ก

เก็บทรัพย์สิน และปรากฏว่ายังเปิดไม่ได้ ให้จัดการเปิดก่อนจึงจะขายทอดตลาดได้

ข้อ 14 ในการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะตั้งเจ้าพนักงานคนใด

ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ขายก็ได้

ก่อนเริ่มขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานผู้ขายอ่านประกาศการขายทอดตลาด

ณ สถานที่ที่จะขายทอดตลาดโดยเปิดเผย และให้ปฏิบัติดังนี้

(1) ให้แสดงการตกลงขายด้วยวิธีเคาะไม้
(2) ให้ร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่ง 3 หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคา

สูงขึ้น ให้ร้องขานเป็นครั้งที่สองอีก 3 หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้นและ

ได้ราคาพอสมควรให้ลงคำสามพร้อมกับเคาะไม้ แต่ถ้าก่อนเคาะไม้มีผู้สู้ราคา

สูงขึ้นไปอีกให้ร้องขานราคาตั้งต้นใหม่ตามลำดับดังกล่าวแล้ว

(3) ถ้าผู้ราคาถอนคำสู้ราคาของตนก่อนเคาะไม้ ให้ตั้งต้นร้องขานใหม่
(4) เมื่อเห็นว่าราคาที่มีผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ เจ้าพนักงาน

ผู้ขายอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้

(5) เมื่อเคาะไม้ตกลงขายแล้ว ผู้ซื้อต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สิน

มีราคาตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป เจ้าพนักงานผู้ขายอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำ

ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลา

ไม่เกินสิบห้าวันก็ได้ เมื่อได้ชำระเงินครบถ้วนแล้วจึงให้โอนมอบทรัพย์สินนั้นแก่

ผู้ซื้อไป

ข้อ 15 ให้เจ้าพนักงานผู้ขายทำบันทึกเหตุการณ์อันเกี่ยวกับการขาย

ทอดตลาดไว้ ถ้าทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดมีราคาตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไปให้แสดง

จำนวนบุคคลซึ่งมาฟังการขายทอดตลาด ผู้สู้ราคา ตลอดจนจำนวนเงินที่สู้ราคากัน

เป็นลำดับไว้ด้วย

ข้อ 16 เมื่อการขายทอดตลาดบริบูรณ์แล้ว ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ไม่วาง

เงินมัดจำ หรือไม่ใช้เงินที่ค้างชำระตามสัญญา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเอาทรัพย์สิน

นั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก และแจ้งให้ผู้ซื้อทราบกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะ

ขายทอดตลาดด้วย เมื่อขายทอดตลาดครั้งหลังได้เงินเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายในการ

ขายทอดตลาดออกก่อน และถ้ายังไม่คุ้มราคาขายทอดตลาดครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นจัดการเรียกร้องให้ผู้ซื้อเดิมชำระเงินส่วนที่ยังขาดนั้น

ข้อ 17 การขายโดยวิธีอื่นตามข้อ 8 วรรคสาม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น

ขายตามวิธีที่เห็นสมควรและทำบันทึกเกี่ยวกับการขายนั้นไว้

ข้อ 18 ถ้าทรัพย์สินที่จะขายมีดอกผลเกิดในระหว่างการยึด ให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นขายดอกผลนั้นได้ด้วย

ข้อ 19 เมื่อได้เงินจากการขายแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหักค่าใช้จ่าย

ในการยึด ค่าเช่าสถานที่เก็บ ค่าจ้างดูแลรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ

การยึดและเก็บรักษาทรัพย์สินออกก่อน เหลือเท่าใดจึงคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน

ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินไม่มารับคืน ให้ถือเงินไว้แทนตัวทรัพย์สินและ

นำฝากคลังในลักษณะเงินนอกงบประมาณ โดยให้นำระเบียบกระทรวงการคลัง

ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการมาใช้บังคับโดย

อนุโลม

ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้เรียกร้องเอกเงินนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่

มีการประกาศกำหนดรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นนำส่งคลังตามระเบียบดังกล่าว

โดยมิชักช้า


ให้ไว้ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2526
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ ในกรณีที่

เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคาร วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอน

รวมทั้งสิ่งของที่ขนออกจากอาคารส่วนที่มีการรื้อถอนนั้น มาตรา 42 วรรคห้า

แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น

มีอำนาจยึดและเก็บรักษาไว้ หรือขายและถือเงินไว้แทนตัวทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์

วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้


ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"