ข้ามไปเนื้อหา

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

จาก วิกิซอร์ซ
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
------


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) และมาตรา 8 (2) และ (3)

แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
`แรงประลัย' หมายความว่า แรงขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นแตกแยกออก

ห่างจากกันเป็นส่วนหรือทลายเข้าหากัน

`แรงดึง' หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุแยกออกห่างจากกัน
`แรงอัด' หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุทลายเข้าหากัน
`แรงดัด' หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุโค้งหรือโก่งตัว
`แรงลม' หมายความว่า แรงของลมที่กระทำต่อโครงสร้าง
`แรงเฉือน' หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุขาดออกจากกันดุจกรรไกรตัด
`แรงดึงประลัย' หมายความว่า แรงดึงขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นแยกออก

ห่างจากกันเป็นส่วน

`แรงอัดประลัย' หมายความว่า แรงอัดขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นทลายเข้าหากัน
`แรงอัดประลัยของคอนกรีต' หมายความว่า แรงอัดตามแกนยาวขนาดที่จะ

ทำให้แท่งคอนกรีตทรงกระบอกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร

อายุยี่สิบแปดวันทลายเข้าหากัน

`หน่วยแรง' หมายความว่า แรงหารด้วยพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงนั้น
`หน่วยแรงพิสูจน์' หมายความว่า หน่วยแรงดึงที่ได้จากการลากเส้นตรง

ที่จุด 0.2 ใน 100 ส่วนของความเครียด ให้ขนานกับส่วนที่เป็นเส้นตรงของเส้น

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงดึงและความเครียดไปตัดกับเส้นนั้น

`หน่วยแรงฝืด' หมายความว่า หน่วยแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวเข็มกับดิน
`หน่วยแรงที่ขีดปฏิภาค' หมายความว่า หน่วยแรงที่จุดสูงสุดของส่วนที่เป็น

เส้นตรงของเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงและความเครียด

`ความเครียด' หมายความว่า อัตราส่วนของส่วนยืดหรือส่วนหดของวัสดุ

ที่รับแรงต่อความยาวเดิมของวัสดุนั้น

`กำลังคราก' หมายความว่า หน่วยแรงดึงที่วัสดุเริ่มยืดโดยไม่ต้องเพิ่ม

แรงดึงขึ้นอีก

`ส่วนปลอดภัย' หมายความว่า ตัวเลขที่ใช้หารหน่วยแรงประลัยลงให้

ถึงขนาดที่จะใช้ได้ปลอดภัยสำหรับวัสดุที่มีกำลังครากหรือหน่วยแรงพิสูจน์ ให้ใช้

ค่ากำลังครากหรือหน่วยแรงพิสูจน์นั้นแทนหน่วยแรงประลัย

`น้ำหนักบรรทุกจร' หมายความว่า น้ำหนักที่กำหนดว่าจะเพิ่มขึ้นบนอาคาร

นอกจากน้ำหนักของตัวอาคารนั้นเอง

`น้ำหนักบรรทุกประลัย' หมายความว่า น้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่กำหนดให้ใช้

ในการคำนวณตามทฤษฎีกำลังประลัย

`ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร' หมายความว่า ส่วนของอาคารที่จะต้องแสดง

รายการคำนวณการรับน้ำหนักและกำลังต้านทาน เช่น แผ่นพื้น คาน เสา และ

รากฐาน เป็นต้น

`คอนกรีต' หมายความว่า วัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของปูนซีเมนต์

มวลผสมละเอียด เช่น ทราย มวลผสมหยาบ เช่น หินหรือกรวด และน้ำ

`คอนกรีตเสริมเหล็ก' หมายความว่า คอนกรีตที่มีเหล็กเสริมฝังภายใน

ให้ทำหน้าที่รับแรงได้มากขึ้น

`คอนกรีตอัดแรง' หมายความว่า คอนกรีตที่มีเหล็กเสริมอัดแรงฝังภายใน

ที่ทำให้เกิดหน่วยแรงที่มีปริมาณพอจะลบล้างหน่วยแรงอันเกิดจากน้ำหนักบรรทุก

`เหล็กเสริม' หมายความว่า เหล็กที่ใช้ฝังในเนื้อคอนกรีตเพื่อเสริมกำลังขึ้น
`เหล็กเสริมอัดแรง' หมายความว่า เหล็กเสริมกำลังสูงที่ใช้ฝังในเนื้อ

คอนกรีตอัดแรง อาจเป็นลวดเส้นเดียว ลวดพันเกลียว หรือลวดเหล็กกลุ่มก็ได้

`เหล็กข้ออ้อย' หมายความว่า เหล็กเสริมที่มีบั้งและหรือมีครีบที่ผิว
`เหล็กขวั้น' หมายความว่า เหล็กเสริมที่บิดเป็นเกลียว
`เหล็กหล่อ' หมายความว่า เหล็กที่มีธาตุถ่านผสมอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 2 ขึ้นไป

โดยน้ำหนัก

`เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ' หมายความว่า เหล็กที่ผลิตออกมามีหน้าตัด

เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ใช้ในงานโครงสร้าง

`ไม้เนื้ออ่อน' หมายความว่า ไม้ที่ไม่คงทนต่อดินฟ้าอากาศและตัวสัตว์ เช่น

มอด ปลวก เป็นต้น และหรือมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 14 เช่น ไม้ยาง หรือ

ไม้ตะแบก เป็นต้น

`ไม้เนื้อปานกลาง' หมายความว่า ไม้ที่คงทนต่อดินฟ้าอากาศและตัวสัตว์

เช่น มอด ปลวก เป็นต้น ได้ดีตามสภาพอันสมควร และหรือมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้

ในข้อ 14 เช่น ไม้สน เป็นต้น

`ไม้เนื้อแข็ง' หมายความว่า ไม้ที่คงทนต่อดินฟ้าอากาศและตัวสัตว์ เช่น

มอด ปลวก เป็นต้น ได้ดีตามสภาพอันสมควร และหรือมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ใน

ข้อ 14 เช่น ไม้เต็ง หรือไม้ตะเคียนทอง เป็นต้น

`ดิน' หมายความว่า วัสดุธรรมชาติที่ประกอบเป็นเปลือกโลก เช่น หิน

กรวด ทราย ดินเหนียว เป็นต้น

`กรวด' หมายความว่า ก้อนหินที่เกิดตามธรรมชาติขนาดโตเกิน 3 มิลลิเมตร
`ทราย' หมายความว่า ก้อนหินเม็ดเล็กละเอียดที่มีขนาดโตไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
`ดินดาน' หมายความว่า ดินตะกอนของกรวด ทราย ดินเหนียว มีน้ำปูน

เป็นเชื้อประสาน มีลักษณะแข็งยากแก่การขุด

`หินดินดาน' หมายความว่า หินที่มีเนื้อละเอียดมาก ประกอบด้วยดินเหนียว

หรือทรายอัดตัวแน่นเป็นชั้นบาง ๆ จะมีเชื้อประสานหรือไม่ก็ได้

`หินปูน' หมายความว่า หินเนื้อแน่นละเอียดทึบมีสีต่าง ๆ กัน ประกอบด้วย

แร่แคลไซท์

`หินทราย' หมายความว่า หินเนื้อหยาบ ประกอบด้วยเม็ดทรายยึดตัวแน่น

ด้วยเชื้อประสาน

`หินอัคนี' หมายความว่า หินเนื้อหยาบเกิดจากการเย็นตัวของหินละลาย

ใต้พื้นโลก ประกอบด้วยแร่เฟลด์สปาร์ แร่ควอตซ์ เป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะแข็งแกร่ง

`เสาเข็ม' หมายความว่า เสาที่ตอกหรือหล่ออยู่ในดินเพื่อรับน้ำหนักบรรทุก

ของอาคาร

`พื้นผิวประสิทธิผลของเสาเข็ม' หมายความว่า ผลคูณของความยาวของ

เสาเข็มกับความยาวของเส้นล้อมรูปที่สั้นที่สุดของหน้าตัดปกติของเสาเข็มนั้น

`ฐานราก' หมายความว่า ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายน้ำหนักอาคารลงสู่ดิน
`กำลังแบกทานของดิน' หมายความว่า ความสามารถที่ดินจะรับน้ำหนักได้

โดยมีการทรุดตัวขนาดที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคาร

`กำลังแบกทานของเสาเข็ม' หมายความว่า ความสามารถที่เสาเข็มจะ

รับน้ำหนักได้ โดยมีการทรุดตัวไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้

`สถาบันที่เชื่อถือได้' หมายความว่า ส่วนราชการ หรือนิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร

ประเภทวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็น

ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาและลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม

ข้อ 2 อาคารและส่วนต่าง ๆ ของอาคารจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงพอ

ที่จะรับน้ำหนักตัวอาคารเอง และน้ำหนักบรรทุกที่อาจเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นจริงได้โดยไม่ให้ส่วนใด ๆ ของอาคารต้องรับหน่วยแรง

มากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่มีเอกสารแสดงผลการทดสอบความมั่นคง

แข็งแรงของวัสดุที่รับรองโดยสถาบันที่เชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงหน่วยแรงที่

กำหนดไว้ในข้อ 6

ข้อ 3 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยอิฐหรือคอนกรีตบล็อก

ประสานด้วยวัสดุก่อ ให้ใช้หน่วยแรงอัดได้ไม่เกิน 0.8 เมกาปาสกาล (8 กิโลกรัมแรง

ต่อตารางเซนติเมตร)

ข้อ 4 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก

ให้ใช้หน่วยแรงอัดได้ไม่เกินร้อยละ 33.3 ของหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีต แต่ต้อง

ไม่เกิน 6 เมกาปาสกาล (60 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

ข้อ 5 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ตามทฤษฎีอีลาสติกหรือหน่วยแรงปลอดภัย ให้ใช้ค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตไม่เกิน

ร้อยละ 37.5 ของหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีต แต่ต้องไม่เกิน 6.5 เมกาปาสกาล

(65 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

ข้อ 6 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ตามทฤษฎีอีลาสติกหรือหน่วยแรงปลอดภัย เหล็กเสริมคอนกรีตที่ใช้ต้องมีกำลังคราก

ตั้งแต่ 240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) และให้ใช้

ค่าหน่วยแรงของเหล็กเสริมคอนกรีตได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้

(1) แรงดึง
(ก) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบที่มีกำลังครากตั้งแต่ 240 เมกาปาสกาล

(2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ขึ้นไปให้ใช้ไม่เกิน 120 เมกาปาสกาล

(1,200 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(ข) เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังครากตั้งแต่ 240 เมกาปาสกาล

(2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 350 เมกาปาสกาล

(3,500 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ให้ใช้ร้อยละ 50 ของกำลังคราก

แต่ต้องไม่เกิน 150 เมกาปาสกาล (1,500 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(ค) เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังครากตั้งแต่ 350 เมกาปาสกาล

(3,500 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 400 เมกาปาสกาล

(4,000 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ให้ใช้ไม่เกิน 160 เมกาปาสกาล

(1,600 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(ง) เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังครากตั้งแต่ 400 เมกาปาสกาล

(4,000 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ขึ้นไป ให้ใช้ไม่เกิน 170 เมกาปาสกาล

(1,700 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(จ) เหล็กขวั้น ให้ใช้ร้อยละ 50 ของหน่วยแรงพิสูจน์ แต่ต้องไม่เกิน

240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ทั้งนี้ จะต้องมี

ผลการทดสอบการดัดเย็นโดยมีสถาบันที่เชื่อถือได้รับรอง

(2) แรงอัดในเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
(ก) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบตามเกณฑ์ที่กำหนดใน (1) (ก)
(ข) เหล็กข้ออ้อย ให้ใช้ร้อยละ 40 ของกำลังคราก แต่ต้องไม่เกิน

210 เมกาปาสกาล (2,100 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(ค) เหล็กขวั้น ให้ใช้ร้อยละ 40 ของกำลังคราก แต่ต้องไม่เกิน

210 เมกาปาสกาล (2,100 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ทั้งนี้ จะต้องมี

ผลการทดสอบการดัดเย็นโดยมีสถาบันที่เชื่อถือได้รับรอง

(ง) เสาแบบผสมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ให้ใช้ไม่เกิน

125 เมกาปาสกาล (1,250 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(จ) เหล็กหล่อ ให้ใช้ไม่เกิน 70 เมกาปาสกาล (700 กิโลกรัมแรง

ต่อตารางเซนติเมตร)

(3) ในการคำนวณคานและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้เหล็กเสริมรับแรงอัด

ให้ใช้หน่วยแรงของเหล็กเสริมรับแรงอัดที่คำนวณได้ตามทฤษฎีอีลาสติกหรือหน่วยแรง

ปลอดภัยได้ไม่เกินสองเท่า แต่หน่วยแรงที่คำนวณได้ต้องไม่เกินหน่วยแรงดึงตาม (1)

ข้อ 7 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตามทฤษฎี

กำลังประลัย ให้ใช้น้ำหนักบรรทุกประลัย ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับส่วนของอาคารที่ไม่คิดแรงลม ให้ใช้น้ำหนักบรรทุกประลัย ดังนี้
นป. = 1.7 นค.+ 2.0 นจ.
(2) สำหรับส่วนของอาคารที่คิดแรงลมด้วยให้ใช้น้ำหนักบรรทุกประลัย ดังนี้
นป. = 0.75 (1.7 นค.+ 2.0 นจ.+ 2.0 รล.)
หรือ
นป. = 0.9 นค.+ 1.3 รล.
โดยให้ใช้ค่าน้ำหนักบรรทุกประลัยที่มากกว่า แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่า

ค่าน้ำหนักบรรทุกประลัยใน (1) ด้วย

นป. = น้ำหนักบรรทุกประลัย
นค. = น้ำหนักบรรทุกคงที่ของอาคาร
นจ. = น้ำหนักบรรทุกจร รวมด้วยแรงกระแทก
รล. = แรงลม
ข้อ 8 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตามทฤษฎี

กำลังประลัย ให้ใช้ค่าหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีตไม่เกิน 15 เมกาปาสกาล

(150 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

ข้อ 9 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตามทฤษฎี

กำลังประลัย ให้ใช้กำลังครากของเหล็กเสริม ดังต่อไปนี้

(1) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ ให้ใช้ไม่เกิน 240 เมกาปาสกาล

(2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(2) เหล็กเสริมอื่น ให้ใช้เท่ากำลังครากของเหล็กชนิดนั้น แต่ต้องไม่เกิน

400 เมกาปาสกาล (4,000 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

ข้อ 10 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตอัดแรงตามทฤษฎี

กำลังประลัย ให้ใช้น้ำหนักบรรทุกประลัยเช่นเดียวกับข้อ 7

ข้อ 11 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตอัดแรงให้ใช้ค่าหน่วย

แรงอัดของคอนกรีต ดังต่อไปนี้

(1) หน่วยแรงอัดในคอนกรีตชั่วคราวทันทีที่ถ่ายแรงมาจากเหล็กเสริมอัดแรง

ก่อนการเสื่อมสูญการอัดแรงของคอนกรีต ต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของหน่วยแรงอัด

ประลัยของคอนกรีต

(2) หน่วยแรงอัดที่ใช้ในการคำนวณออกแบบหลังการเสื่อมสูญการอัดแรงของ

คอนกรีต ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีต

ข้อ 12 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยคอนกรีตอัดแรง

ให้ใช้ค่าหน่วยแรงดึงของเหล็กเสริมอัดแรง ดังต่อไปนี้

(1) หน่วยแรงขณะดึงต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของหน่วยแรงดึงประลัยของ

เหล็กเสริมอัดแรง หรือร้อยละ 90 ของหน่วยแรงพิสูจน์ แล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า

(2) หน่วยแรงในทันทีที่ถ่ายแรงไปให้คอนกรีตต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของ

หน่วยแรงดึงประลัยของเหล็กเสริมอัดแรง

(3) หน่วยแรงใช้งานต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของหน่วยแรงดึงประลัย หรือ

ร้อยละ 80 ของหน่วยแรงพิสูจน์ของเหล็กเสริมอัดแรง แล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า

ข้อ 13 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยเหล็กโครงสร้าง

รูปพรรณ ให้ใช้ค่าหน่วยแรงของเหล็ก ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ไม่มีผลการทดสอบกำลังสำหรับเหล็กหนาไม่เกิน 40 มิลลิเมตร

ให้ใช้กำลังครากไม่เกิน 240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตาราง

เซนติเมตร) สำหรับเหล็กซึ่งหนาเกิน 40 มิลลิเมตร ให้ใช้กำลังครากไม่เกิน

220 เมกาปาสกาล (2,200 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

(2) หน่วยแรงดึง แรงอัด และแรงดัด ให้ใช้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ

กำลังครากตาม (1)

(3) หน่วยแรงเฉือน ให้ใช้ไม่เกินร้อยละ 40 ของกำลังครากตาม (1)
ข้อ 14 ในการคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยไม้ชนิดต่าง ๆ

ให้ใช้ค่าหน่วยแรงไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้


+----------+----------+----------+-----------

|หน่วยแรงดัด |หน่วยแรงอัด |หน่วยแรงอัด |หน่วยแรงเฉือน
| และแรงดึง | ขนานเสี้ยน | ขนานเสี้ยน | ขนานเสี้ยน
ชนิดไม้ |เมกาปาสกาล|เมกาปาสกาล|เมกาปาสกาล|เมกาปาสกาล
|(กิโลกรัมแรง|(กิโลกรัมแรง|(กิโลกรัมแรง|(กิโลกรัมแรง
| ต่อตาราง | ต่อตาราง | ต่อตาราง | ต่อตาราง
|เซนติเมตร) |เซนติเมตร) |เซนติเมตร) |เซนติเมตร)

+----------+----------+----------+-----------

(1) ไม้เนื้ออ่อน| 8 (80) | 6 (60) | 1.6 (16) | 0.8 (8)

(2) ไม้เนื้อ | | | |

ปานกลาง | 10 (100) | 7.5 (75) | 2.2 (22) | 1 (10)

(3) ไม้เนื้อแข็ง| 12 (120) | 9 (90) | 3 (30) | 1.2 (12)


+----------+----------+----------+-----------

ในกรณีที่มีผลการทดสอบของไม้ ให้ใช้ส่วนปลอดภัยโดยใช้กำลังไม่เกิน

1 ใน 8 ของหน่วยแรงดัดประลัย หรือไม่เกิน 1 ใน 6 ของหน่วยแรงที่ขีดปฏิภาค

แล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า

ข้อ 15 หน่วยน้ำหนักบรรทุกจรสำหรับประเภทและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

นอกเหนือจากน้ำหนักของตัวอาคารหรือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อย่างอื่น ให้คำนวณ

โดยประมาณเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้


+-----------

| หน่วยน้ำหนัก
ประเภทและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร | บรรทุกจร
| เป็นกิโลกรัม
|ต่อตารางเมตร

+-----------

(1) หลังคา | 30

(2) กันสาดหรือหลังคาคอนกรีต | 100

(3) ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ ห้องส้วม | 150

(4) ห้องแถว ตึกแถวที่ใช้พักอาศัย อาคารชุด หอพัก |

โรงแรม และห้องคนไข้พิเศษของโรงพยาบาล | 200

(5) สำนักงาน ธนาคาร | 250

(6) (ก) อาคารพาณิชย์ ส่วนของห้องแถว ตึกแถวที่ใช้ |

เพื่อการพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย |
โรงเรียน และโรงพยาบาล | 300
(ข) ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของอาคารชุด |
หอพัก โรงแรม สำนักงาน และธนาคาร | 300

(7) (ก) ตลาด อาคารสรรพสินค้า หอประชุม |

โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องประชุม ห้องอ่าน |
หนังสือในห้องสมุดหรือหอสมุด ที่จอดหรือเก็บ |
รถยนต์นั่งหรือรถจักรยานยนต์ | 400
(ข) ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของอาคารพาณิชย์|
มหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียน | 400

(8) (ก) คลังสินค้า โรงกีฬา พิพิธภัณฑ์ อัฒจันทร์ |

โรงงานอุตสาหกรรม โรงพิมพ์ ห้องเก็บ |
เอกสารและพัสดุ | 500
(ข) ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของตลาด อาคาร|
สรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร |
ห้องสมุดหรือหอสมุด | 500

(9) ห้องเก็บหนังสือของห้องสมุดหรือหอสมุด | 600

(10) ที่จอดหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่า | 800


+-----------

ข้อ 16 ในการคำนวณออกแบบ หากปรากฏว่าพื้นที่ส่วนใดต้องรับน้ำหนัก

เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ หรือหน่วยน้ำหนักบรรทุกจรอื่น ๆ ที่มีค่ามากกว่าหน่วย

น้ำหนักบรรทุกจรซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 15 ให้ใช้หน่วยน้ำหนักบรรทุกจรค่าที่

มากกว่าเฉพาะส่วนที่ต้องรับหน่วยน้ำหนักเพิ่มขึ้น

ข้อ 17 ในการคำนวณออกแบบโครงสร้งอาคาร ให้คำนึงถึงแรงลมด้วย

หากจำเป็นต้องคำนวณและไม่มีเอกสารที่รับรองโดยสถาบันที่เชื่อถือได้ ให้ใช้

หน่วยแรงลม ดังต่อไปนี้


+----------------

|หน่วยแรงลมอย่างน้อย
ความสูงของอาคารหรือส่วนของอาคาร |กิโลปาสกาล(กิโลกรัม
|แรงต่อตารางเมตร

+----------------

(1) ส่วนของอาคารที่สูงไม่เกิน 10 เมตร | 0.5 (50)

(2) ส่วนของอาคารที่สูงเกิน 10 เมตร แต่ไม่เกิน |

20 เมตร | 0.8 (80)

(3) ส่วนของอาคารที่สูงเกิน 20 เมตร แต่ไม่เกิน |

40 เมตร | 1.2 (120)

(4) ส่วนของอาคารที่สูงเกิน 40 เมตร | 1.6 (160)


+----------------

ในการนี้ยอมให้ใช้ค่าหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

ตลอดจนความต้านทานของดินใต้ฐานรากเกินค่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้

ได้ร้อยละ 33.3 แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของอาคารนั้นมีความมั่นคง

น้อยไปกว่าเมื่อคำนวณตามปกติโดยไม่คิดแรงลม

ข้อ 18 น้ำหนักบรรทุกบนดินที่ฐานรากของอาคารนั้น ต้องคำนวณให้

เหมาะสมเพื่อความมั่นคงและปลอดภัย ถ้าไม่มีเอกสารที่รับรองโดยสถาบันที่

เชื่อถือได้แสดงผลการทดลองหรือการคำนวณ จะต้องไม่เกินกำลังแบกทาน

ของดินประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ดินอ่อนหรือดินถมไว้แน่นตัวเต็มที่ 2 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(2) ดินปานกลางหรือทรายร่วน 5 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(3) ดินแน่นหรือทรายแน่น 10 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(4) กรวดหรือดินดาน 20 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(5) หินดินดาน 25 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(6) หินปูนหรือหินทราย 30 เมตริกตันต่อตารางเมตร
(7) หินอัคนีที่ยังไม่แปรสภาพ 100 เมตริกตันต่อตารางเมตร
ข้อ 19 ในการคำนวณน้ำหนักที่ถ่ายลงเสา คาน หรือโครงที่รับเสา

และฐานราก ให้ใช้น้ำหนักของอาคารเต็มอัตรา ส่วนหน่วยน้ำหนักบรรทุกจร

ให้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15 โดยให้ลดส่วนลงได้ตามชั้นของอาคาร

ดังต่อไปนี้


+------------------

|อัตราการลดหน่วยน้ำหนัก
การรับน้ำหนักของพื้น |บรรทุกจรบนพื้นแต่ละชั้น
| เป็นร้อยละ

+------------------

(1) หลังคาหรือดาดฟ้า | 0

(2) ชั้นที่หนึ่งถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 0

(3) ชั้นที่สองถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 0

(4) ชั้นที่สามถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 10

(5) ชั้นที่สี่ถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 20

(6) ชั้นที่ห้าถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 30

(7) ชั้นที่หกถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า | 40

(8) ชั้นที่เจ็ดถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า |

และชั้นต่อลงไป | 50

+------------------

สำหรับโรงมหรสพ ห้องประชุม หอประชุม ห้องสมุด หอสมุด พิพิธภัณฑ์

อัฒจันทร์ คลังสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม อาคารจอดหรือเก็บรถยนต์หรือ

รถจักรยานยนต์ ให้คิดหน่วยน้ำหนักบรรทุกจรเด็มอัตราทุกชั้น

ข้อ 20 ในการคำนวณฐานรากบนเสาเข็มที่ตอกในชั้นดินอ่อน ถ้าไม่มี

เอกสารจากสถาบันที่เชื่อถือได้แสดงผลการทดสอบคุณสมบัติของดินและกำลัง

แบกทานสูงสุดของเสาเข็ม ให้ใช้ค่าหน่วยแรงฝืดของดินดังนี้

(1) สำหรับดินที่อยู่ในระดับลึกไม่เกิน 7 เมตร ใต้ระดับน้ำทะเลปานกลาง

ให้ใช้ค่าหน่วยแรงฝืดของดินได้ไม่เกิน 6 กิโลปาสกาล (600 กิโลกรัมแรง

ต่อตารางเมตร) ของพื้นผิวประสิทธิผลของเสาเข็ม

(2) สำหรับดินที่มีความลึกเกิน 7 เมตร ใต้ระดับน้ำทะเลปานกลาง

ให้คำนวณหาค่าหน่วยแรงฝืดของดินเฉพาะส่วนที่ลึกเกิน 7 เมตรลงไป ตาม

สูตรดังต่อไปนี้

หน่วยแรงฝืดเป็นกิโลกรัมแรงต่อตารางเมตร = 600 + 220 ย.
ย. = ความยาวของเสาเข็มเป็นเมตร เฉพาะส่วนที่ลึกเกิน 7 เมตร
ใต้ระดับน้ำทะเลปานกลาง
ข้อ 21 ในการคำนวณฐานรากบนเสาเข็มที่มีเอกสารจากสถาบันที่

เชื่อถือได้แสดงผลการทดสอบคุณสมบัติของดิน หรือมีการทดสอบหากำลังแบกทาน

ของเสาเข็มในบริเวณก่อสร้างหรือใกล้เคียง ให้ใช้กำลังแบกทานของเสาเข็ม

ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) กำลังแบกทานของเสาเข็มที่คำนวณจากการทดสอบคุณสมบัติของดิน

ให้ใช้กำลังแบกทานได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด

(2) กำลังแบกทานของเสาเข็มที่ได้จากการทดสอบให้ใช้กำลังแบกทาน

ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด

ข้อ 22 ในการทดสอบกำลังแบกทานของเสาเข็ม อัตราการทรุดตัวและ

การทรุดตัวของเสาเข็มเมื่อรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดจะต้องอยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) การทรุดตัวทั้งหมดของเสาเข็มจากรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด แล้วปล่อย

ทิ้งไว้เป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 25 มิลลิเมตร

(2) อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยของเสาเข็มหลังจากรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด

แล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 0.25 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง

(3) การทรุดตัวสุทธิของเสาเข็มหลังจากปล่อยให้รับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด

เป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แล้วคลายน้ำหนักบรรทุกจนหมดปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รบกวน

อีกยี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 6 มิลลิเมตร


ให้ไว้ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2527
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่

มาตรา 8 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522

กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารมีอำนาจออก

กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทน ตลอดจนลักษณะ

และคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือซ่อมแซมอาคาร และ

การรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคารหรือพื้นดินที่รองรับ

อาคาร จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้


ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"