ข้ามไปเนื้อหา

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

จาก วิกิซอร์ซ

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
------


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้กำหนดแบบของคำขออนุญาต ใบอนุญาต และใบรับรองตามแบบ

ท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(1) แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร

ให้ใช้แบบ ข.1

(2) แบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ใช้แบบ ข.2
(3) แบบคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ใช้แบบ ข.3
(4) แบบคำขออนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่น ให้ใช้แบบ ข.4

(5) แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอน

อาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่น ให้ใช้แบบ ข.5

(6) แบบคำขอใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้าย

อาคาร ให้ใช้แบบ ข.6

(7) แบบคำขอใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองให้ใช้แบบ ข.7
(8) แบบคำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร

เคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ใช้แบบ ข.8

(9) แบบใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร

ให้ใช้แบบ อ.1

(10) แบบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยัง

ท้องที่ภายในแนวเขตอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเดียวกัน หรือสำหรับการ

เคลื่อนย้ายอาคารจากท้องที่ที่มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ

ไปยังท้องที่ที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือ

สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารจากท้องที่ที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติควบคุม

อาคาร พ.ศ. 2522 ไปยังท้องที่ที่มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

ใช้บังคับ ให้ใช้แบบ อ.2

(11) แบบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคารสำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยัง

ท้องที่ภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอื่น ให้ใช้แบบ อ.3

(12) แบบใบอนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่นให้ใช้แบบ อ.4

(13) แบบใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ใช้แบบ อ.5
(14) แบบใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือเคลื่อนย้าย

อาคาร ให้ใช้แบบ อ.6

ข้อ 2 ให้กำหนดแบบของคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบท้าย

กฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(1) คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบ

แบบแปลน หรือรายการคำนวณตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ ค.1

(2) คำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 35 ให้ใช้แบบ ค.2
(3) คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตาม

มาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือให้ระงับการรื้อถอนอาคารตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

(กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.3

(4) คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย

ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง

เคลื่อนย้าย หรือรื้อถอนอาคารไม่ได้รับอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.4

(5) คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตาม

มาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือให้ระงับการรื้อถอนอาคารตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

(กรณีที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.5

(6) คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย

ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง

เคลื่อนย้าย หรือรื้อถอนอาคารที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.6

(7) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง (กรณีที่การก่อสร้าง

ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารกระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.7

(8) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง (ในกรณีที่การก่อสร้าง

ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.8

(9) คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้าย

อาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง (กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ

ค.9

(10) คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง

รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง (กรณีที่กระทำโดยไม่ได้

รับอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.10

(11) คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร

ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง (กรณีที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ

ค.11

(12) คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง

หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง (กรณีที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.12

(13) คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 41 และมาตรา 43

วรรคหนึ่ง (กรณีที่การรื้อถอนอาคารกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต) ให้ใช้

แบบ ค.13

(14) คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบ

แบบแปลน หรือรายการคำนวณตามมาตรา 43 วรรคสอง (กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น

สั่งให้ยื่นคำขออนุญาตตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง) ให้ใช้แบบ ค.14

(15) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 43 วรรคสาม

(กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแก้ไข

เปลี่ยนแปลงอาคาร หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับใบอนุญาต) ให้ใช้แบบ ค.15

(16) คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44 (กรณีที่ยังไม่ได้รับใบรับรอง)

ให้ใช้แบบ ค.16

(17) คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44 (กรณีที่มีการใช้อาคารเพื่อ

กิจการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร)

ให้ใช้แบบ ค.17

(18) คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44 (กรณีที่ไม่เป็นอาคารประเภท

ควบคุมการใช้ แต่ได้มีการใช้อาคารเพื่อกิจการในประเภทควบคุมการใช้) ให้ใช้แบบ

ค.18

(19) คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44 (กรณีที่เปลี่ยนการใช้อาคาร

ประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้

สำหรับอีกกิจการหนึ่ง) ให้ใช้แบบ ค.19

(20) คำสั่งให้ระงับการใช้พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการอื่นตามมาตรา 45

ในกรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทาง

เข้าออกของรถ ให้ใช้แบบ ค.20

(21) คำสั่งให้ระงับการดัดแปลงและให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือ

สิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสภาพเดิมตามมาตรา 45 (กรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้าง

ขึ้นนั้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ) ให้ใช้แบบ ค.21

(22) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 45 (กรณีที่ไม่ระงับ

การใช้พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการอื่น หรือไม่ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสภาพเดิม สำหรับพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้น

นั้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ) ให้ใช้แบบ ค.22

(23) คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง (กรณีที่

อาคารมีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน

หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อ

การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม) ให้ใช้แบบ ค.23

(24) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 46 วรรคสอง

(กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ดำเนินการแก้ไขอาคารที่มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจ

เป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจาก

อัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อม) ให้ใช้แบบ ค.24

(25) คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 77 (1) (กรณีที่ก่อสร้างอาคาร

ในที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุง

อาคารในท้องที่นั้นแล้ว) ให้ใช้แบบ ค.25

(26) คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามมาตรา 77 (2) (กรณีที่ก่อสร้าง

อาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด

เขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว) ให้ใช้แบบ ค.26

(27) คำสั่งให้ดำเนินการเพื่อขจัดหรือระงับเหตุที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด

สภาพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยการป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข

การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร

ตามมาตรา 77 (3) (กรณีที่ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว) ให้ใช้แบบ

ค.27

(28) คำสั่งให้ทำสัญญาเช่าที่ดินตามมาตรา 77 (4) (กรณีที่ก่อสร้างอาคาร

ในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุง

อาคารในท้องที่นั้นแล้ว) ให้ใช้แบบ ค.28

ข้อ 3 ให้กำหนดแบบของหนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะใช้ในการปฏิบัติ

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(1) หนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งการออกใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง

รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 26 และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารตาม

มาตรา 33 (กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สามารถแจ้งการออกใบอนุญาตให้ผู้ขอรับ

ใบอนุญาตทราบด้วยวิธีอื่น) ให้ใช้แบบ น.1

(2) หนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง

รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 26 และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร

ตามมาตรา 33 ให้ใช้แบบ น.2

(3) หนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งการขยายเวลาการออกใบอนุญาต

หรือไม่อนุญาตตามมาตรา 26 วรรคสอง และมาตรา 33 ให้ใช้แบบ น.3

(4) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน (แนบคำขอรับใบอนุญาต

ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร) ตามมาตรา 29 ให้ใช้แบบ

น.4

(5) หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 30

วรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ น.5

(6) หนังสือแจ้งการบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงานของผู้ควบคุมงานตาม

มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ น.6

(7) หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานพร้อมกับการส่งมอบหนังสือแสดง

ความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ตามมาตรา 30 วรรคสอง ให้ใช้แบบ น.7

(8) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ (แนบกับแบบ น.7)

ตามมาตรา 30 วรรคสอง ให้ใช้แบบ น.8

(9) หนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตตาม

มาตรา 36 ให้ใช้แบบ น.9

(10) หนังสือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยัง

ผู้อุทธรณ์ตามมาตรา 52 วรรคสอง ให้ใช้แบบ น.10

(11) หนังสือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยัง

เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 52 วรรคสอง ให้ใช้แบบ น.11


ให้ไว้ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2528
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


แบบ ข.1
+---------------------------+
คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร | เลขรับที่ .................. |

ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร | วันที่ ..................... |

| ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือตัวแทนเจ้าของอาคาร
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ....................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอรับใบอนุญาต ................ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ทำการก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/รื้อถอนอาคาร ที่บ้าน

เลขที่ ...... ตรอก/ซอย .............. ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ................. โดย .................. เป็นเจ้าของ

อาคาร ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1 เลขที่ ..........

เป็นที่ดินของ ........................

ข้อ 2 เป็นอาคาร
(1) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(2) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(3) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

ตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการ

คำนวณที่แนบมาพร้อมนี้

ข้อ 3 มี ............... เป็นผู้ควบคุมงาน ..............

เป็นผู้ออกแบบและคำนวณ

ข้อ 4 กำหนดแล้วเสร็จใน ....... วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ 5 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน

จำนวน ....... ชุด ชุดละ ..... แผ่น

(2) รายการคำนวณหนึ่งชุด จำนวน ..... แผ่น (กรณีที่เป็นอาคาร

สาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็น

ส่วนใหญ่

(3) หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของเจ้าของอาคาร (กรณีที่ตัวแทน

เจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต

(4) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(5) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(6) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ออกแบบและคำนวณอาคาร

จำนวน ..... ฉบับ พร้อมทั้งสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ควบคุมหรือวิชาชีสถาปัตยกรรมควบคุม จำนวน ..... ฉบับ (กรณีที่เป็นอาคาร

มีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ควบคุม แล้วแต่กรณี)

(7) สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1

เลขที่ ........... จำนวน ..... ฉบับ หรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน

จำนวน ..... ฉบับ

(8) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามข้อ 3 จำนวน ..... ฉบับ
(9) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน จำนวน ..... ฉบับ (เฉพาะ

กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ

วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี)

(10) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
...................................................

.......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขออนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยายเวลา

ภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ..................

เป็นเงิน ................. บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน

..................... เป็นเงิน ............. บาท .. สตางค์

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ............... บาท .. สตางค์ (............

.................) ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ ...... เลขที่ .....

ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบอนุญาตแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ......... ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.2
+---------------------------+
คำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร | เลขรับที่ .................. |
| วันที่ ..................... |
| ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือตัวแทนเจ้าของอาคาร
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ....................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอรับใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ทำการเคลื่อนย้ายอาคารบ้านเลขที่ ...................

ตรอก/ซอย .............. ถนน ................ หมู่ที่ .......

ตำบล/แขวง ................. อำเภอ/เขต ..................

จังหวัด ................. โดย .................. เป็นเจ้าของ

อาคาร ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1 เลขที่ ..........

เป็นที่ดินของ ..............................................

ไปในเขตท้องที่ควบคุมอาคารของ ...............................

บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ........... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด .................... ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/

ส.ค.1 เลขที่ .......... เป็นที่ดินของ ........................

ข้อ 2 เป็นอาคาร
(1) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(2) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(3) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

ตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการ

คำนวณที่แนบมาพร้อมนี้

ข้อ 3 มี ............... เป็นผู้ควบคุมงาน ..............

เป็นผู้ออกแบบและคำนวณ

ข้อ 4 กำหนดแล้วเสร็จใน ....... วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ 5 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน

จำนวน ....... ชุด ชุดละ ..... แผ่น

(2) รายการคำนวณหนึ่งชุด จำนวน ..... แผ่น (กรณีที่เป็นอาคาร

สาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็น

ส่วนใหญ่

(3) หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของเจ้าของอาคาร (กรณีที่ตัวแทน

เจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต

(4) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(5) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(6) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ออกแบบและคำนวณอาคาร

จำนวน ..... ฉบับ พร้อมทั้งสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ควบคุมหรือวิชาชีสถาปัตยกรรมควบคุม จำนวน ..... ฉบับ (กรณีที่เป็นอาคาร

มีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ควบคุม แล้วแต่กรณี)

(7) สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1

เลขที่ ........... จำนวน ..... ฉบับ หรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน

ที่จะเคลื่อนย้ายอาคารตามข้อ 1 จำนวน ..... ฉบับ

(8) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามข้อ 3 จำนวน ..... ฉบับ
(9) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน จำนวน ..... ฉบับ (กรณี

ที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ

วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี)

(10) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขออนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยายเวลา

ภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ..................

เป็นเงิน ................. บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน

..................... เป็นเงิน ............. บาท .. สตางค์

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ............... บาท .. สตางค์ (............

.................) ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ ...... เลขที่ .....

ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบอนุญาตแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ......... ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.3
+---------------------------+

คำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร | เลขรับที่ .................. |

| วันที่ ..................... |
| ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือตัวแทนเจ้าของอาคาร/

ผู้ครอบครองอาคาร

| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ....................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อาคารที่ขออนุญาตได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/

เคลื่อนย้ายอาคาร/เปลี่ยนการใช้อาคาร/ใบรับรอง เลขที่ ......./.....

ลงวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .... บ้านเลขที่ ...........

ตรอก/ซอย .............. ถนน ................ หมู่ที่ .......

ตำบล/แขวง ................. อำเภอ/เขต ..................

จังหวัด ................. โดย .................. เป็นเจ้าของ

อาคาร หรือ ...................... เป็นผู้ครอบครองอาคาร ในที่ดิน

โฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1 เลขที่ .....................

เป็นที่ดินของ ..............................................

ข้อ 2 เป็นอาคาร
(1) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(2) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(3) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

ข้อ 3 ขอเปลี่ยนการใช้อาคารเพื่อใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้

ตามรายละเอียด ดังนี้

(1) อาคารตามข้อ 1 (1) ขอเปลี่ยนการใช้ เป็น .............

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(2) อาคารตามข้อ 1 (2) ขอเปลี่ยนการใช้ เป็น .............

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

(3) อาคารตามข้อ 1 (3) ขอเปลี่ยนการใช้ เป็น .............

โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ............คัน

ตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการ

คำนวณที่แนบมาพร้อมนี้

ข้อ 4 การขออนุญาตเปลี่ยนการใช้ตามคำขอนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า

ไม่ได้ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากที่ได้รับ

อนุญาตไว้ตามข้อ 1

ข้อ 5 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคาร หรือ

ผู้ครอบครองอาคาร

(2) หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง

อาคารเป็นผู้ขออนุญาต

(3) ใบรับรองหรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร จำนวน ..... ฉบับ

(เฉพาะกรณีที่อาคารที่ขออนุญาตเปลี่ยนการใช้ ได้รับใบรับรองหรือได้รับ

ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารแล้ว)

(4) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(5) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(6) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน

จำนวน ....... ชุด ชุดละ ..... แผ่น

(7) รายการคำนวณหนึ่งชุด จำนวน ..... แผ่น (เฉพาะกรณีที่การ

เปลี่ยนแปลงการใช้อาคารนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร

มากขึ้นกว่าที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม)

(8) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ออกแบบและคำนวณอาคาร

จำนวน ..... ฉบับ พร้อมทั้งสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ควบคุม จำนวน ..... ฉบับ (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภท

เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)

(9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขออนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยายเวลา

ภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ..................

เป็นเงิน ................. บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน

..................... เป็นเงิน ............. บาท .. สตางค์

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ............... บาท .. สตางค์ (............

.................) ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ ...... เลขที่ .....

ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบอนุญาตแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ......... ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.4
+---------------------------+
คำขออนุญาตดัดแปลง หรือใช้ | เลขรับที่ .................. |

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก | วันที่ ..................... |

ของรถ เพื่อการอื่น | ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือตัวแทนเจ้าของอาคาร
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ....................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทาง

เข้าออกของรถเพื่อการอื่น ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อาคารที่ขออนุญาตได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/

เคลื่อนย้ายอาคาร/เปลี่ยนการใช้อาคาร/ใบรับรอง เลขที่ ......./.....

ลงวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .... บ้านเลขที่ ...........

ตรอก/ซอย .............. ถนน ................ หมู่ที่ .......

ตำบล/แขวง ................. อำเภอ/เขต ..................

จังหวัด ................. โดย .................. เป็นเจ้าของ

อาคาร หรือ ................... เป็นผู้ครอบครองอาคาร เป็นอาคาร

ชนิด .............. จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .............

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ จำนวน ..... คัน

ข้อ 2 ขออนุญาตดัดแปลง ใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของ

รถตามข้อ 1 ทั้งหมด/บางส่วน เพื่อ .............................

ข้อ 3 ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างพื้นที่/สิ่งที่สร้างขึ้น ชนิด ..........

จำนวน .......... เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ

จำนวน ..... คัน ตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน

และรายการคำนวณ ดังนี้

(1) ที่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ....... ถนน ..........

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด .................. อยู่ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/

ส.ค.1 เลขที่ ............... เป็นที่ดินของ ...................

(2) มี ............... เป็นผู้ควบคุมงาน ................

เป็นผู้ออกแบบและคำนวณ

(3) กำหนดแล้วเสร็จใน ....... วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ 4 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน

จำนวน ....... ชุด ชุดละ ..... แผ่น

(2) รายการคำนวณหนึ่งชุด จำนวน ..... แผ่น (กรณีที่เป็นสิ่งที่

สร้างขึ้นเป็นอาคารเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ)

(3) สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคาร หรือ

ผู้ครอบครองอาคาร

(4) หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง

อาคารเป็นผู้ขออนุญาต

(5) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(5) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(7) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ออกแบบและคำนวณ

(กรณีที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคารเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ) จำนวน ..... ฉบับ

(8) สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1

เลขที่ ........... จำนวน ..... ฉบับ หรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน

จำนวน ..... ฉบับ

(9) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน จำนวน ..... ฉบับ
(10) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

หรือวิชาชีสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน จำนวน ..... ฉบับ (กรณี

ที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคารเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถ ซึ่งเป็นอาคารที่มีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรม

ควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม)

(11) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/

เคลื่อนย้ายอาคาร/เปลี่ยนการใช้อาคาร

(12) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขออนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยายเวลา

ภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ..................

เป็นเงิน ................. บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน

..................... เป็นเงิน ............. บาท .. สตางค์

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ............... บาท .. สตางค์ (............

.................) ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ ...... เลขที่ .....

ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบอนุญาตแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ......... ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.5

คำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร+---------------------------+

ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร | เลขรับที่ .................. |

เคลื่อนย้ายอาคาร ดัดแปลงหรือใช้ | วันที่ ..................... |

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก | ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |

ของรถ เพื่อการอื่น +---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร

(ในกรณีผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ)

| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ................ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ............. ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อาคารที่ขออนุญาตได้รับใบอนุญาต ....................

ตามใบอนุญาตเลขที่ ......./..... ลงวันที่ .. เดือน .............

พ.ศ. .... ที่บ้านเลขที่ ........... ตรอก/ซอย ................

ถนน ............... หมู่ที่ ....... ตำบล/แขวง ..............

อำเภอ/เขต .................. จังหวัด .....................

โดย ................ เป็นเจ้าของอาคาร อยู่ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/

น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1 เลขที่ ........ เป็นที่ดินของ ...............

ข้อ 2 เป็นอาคาร
(1) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

(2) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

(3) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

กำหนดสิ้นอายุใบอนุญาต วันที่ .. เดือน ........... พ.ศ. ....
ข้อ 3 เหตุที่ทำการไม่เสร็จตามที่ได้รับอนุญาต เพราะ ..........

.......................................................

.......................................................

ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วถึง ..................................

.......................................................

.......................................................

จึงขอต่ออายุใบอนุญาตอีก ..... วัน

ข้อ 4 มี ............... เป็นผู้ควบคุมงาน ..............

เป็นผู้ออกแบบและคำนวณ

ข้อ 5 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคาร จำนวน ..... ฉบับ (กรณี

ที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตไม่ใช่เจ้าของอาคารที่ได้รับใบอนุญาต)

(2) เอกสารแสดงการเป็นผู้ครอบครองอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง

อาคารเป็นผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทาง

เข้าออกของรถเพื่อการอื่น)

(3) หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง

อาคารเป็นผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทาง

เข้าออกของรถเพื่อการอื่น)

(4) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(5) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(6) ใบอนุญาตตามข้อ 1 จำนวน ..... ฉบับ
(7) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามข้อ 3

จำนวน ..... ฉบับ

(8) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

หรือวิชาชีสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน จำนวน ..... ฉบับ (กรณี

ที่เป็นอาคารที่มีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ

วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม)

(9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือ

ขยายเวลาภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ....

.......................... เป็นเงิน ................. บาท

(............................) ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ ......

เลขที่ ..... ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบอนุญาตแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ......... ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.6
+---------------------------+

คำขอใบรับรองการก่อสร้างอาคาร | เลขรับที่ .................. |

ดัดแปลงอาคาร | วันที่ ..................... |
หรือเคลื่อนย้ายอาคาร | ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............. เจ้าของอาคารหรือตัวแทนเจ้าของอาคาร/

ผู้ครอบครองอาคาร

| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ....................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอใบรับรอง .................. ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อาคารที่ขอใบรับรองได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลง

อาคาร/เคลื่อนย้ายอาคารตามใบอนุญาตเลขที่ ....../...... ลงวันที่ ..

เดือน ............. พ.ศ. .... ที่บ้านเลขที่ ..................

ตรอก/ซอย ............... ถนน .............. หมู่ที่ ........

ตำบล/แขวง ................ อำเภอ/เขต ...................

จังหวัด .................. โดย ....................... เป็น

เจ้าของอาคาร และ ..................... เป็นผู้ครอบครองอาคาร

อยู่ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ส.ค.1 เลขที่ ..............

เป็นที่ดินของ ..........................

ข้อ 2 เป็นอาคาร
(1) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

(2) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

(3) ชนิด ........... จำนวน ........ เพื่อใช้เป็น .......

โดยมีที่จอดรถ จำนวน ............คัน

อาคารตาม ................. เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้
ข้อ 3 ได้ทำการ ................... อาคารตามข้อ 1 เสร็จ

เมื่อวันที่ .. เดือน ................ พ.ศ. ..... ถูกต้องตามที่ได้รับ

ใบอนุญาตแล้ว

ข้อ 4 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคาร หรือ

ผู้ครอบครองอาคาร

(2) หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง

อาคารเป็นผู้ยื่นคำขอ

(3) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ

ลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็น

ผู้ขออนุญาต)

(4) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของ

นิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(5) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตดัดแปลง

อาคาร หรือใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคารตามข้อ 1 แล้วแต่กรณี

ใบอนุญาตตามข้อ 1 จำนวน ..... ฉบับ

(6) หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงานรับรองว่าได้ควบคุมการ ......

............... อาคาร เป็นไปโดยถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต

(7) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขอใบรับรอง


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขอใบรับรองทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยาย

เวลาภายในวันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

ผู้ขอใบรับรองได้ชำระค่าธรรมเนียมใบรับรอง ................

เป็นเงิน ................. บาท ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ .......

เลขที่ ..... ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบรับรองแล้วเล่มที่ ......... ฉบับที่ ........ ลงวันที่ ..

เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.7
+---------------------------+
คำขอใบแทนใบอนุญาต | เลขรับที่ .................. |
หรือใบแทนใบรับรอง | วันที่ ..................... |
| ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
+---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ....................... ผู้ได้รับใบอนุญาต/ใบรับรอง
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ........................ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขอใบแทน

ใบอนุญาต/ใบแทนใบรับรอง อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................. หมู่ที่ ...... ตำบล/แขวง .............

อำเภอ/เขต ................. จังหวัด ......................

ขอยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาต/ใบแทนใบรับรอง .................

ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้าพเจ้าได้รับใบอนุญาต/ใบรับรอง ...................

เลขที่ ....../...... ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ที่บ้านเลขที่ .......... ตรอก/ซอย ............ ถนน ..........

หมู่ที่ ...... ตำบล/แขวง ............ อำเภอ/เขต ............

จังหวัด .................... ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/

ส.ค.1 เลขที่ ............. เป็นที่ดินของ .....................

ข้อ 2 ใบอนุญาต/ใบรับรองดังกล่าวได้สูญหาย/ถูกทลาย/ชำรุด เมื่อ

วันที่ .. เดือน .............. พ.ศ. ....

ข้อ 3 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ให้นำใบแจ้งความว่า

ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหายของสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตหรือใบรับรอง

นั้นสูญหายมาด้วย

(2) ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองถูกทำลายหรือชำรุดบางส่วน ให้

แนบใบอนุญาตหรือใบรับรองที่ถูกทำลายหรือชำรุดบางส่วนนั้นมาด้วย


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต/ใบแทนใบรับรอง


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองทราบว่าจะ

อนุญาตหรือไม่อนุญาตหรือขยายเวลาภายในวันที่ .. เดือน ............

พ.ศ. ....

ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองได้ชำระค่าธรรมเนียม

ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ...........................

เป็นเงิน ................. บาท ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ .......

เลขที่ ..... ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองแล้ว เล่มที่ ...........

ฉบับที่ ........ ลงวันที่ .. เดือน ............... พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ ข.8
+---------------------------+

คำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร | เลขรับที่ .................. |

ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร | วันที่ ..................... |
เคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยน | ลงชื่อ ............ ผู้รับคำขอ |
การใช้อาคาร +---------------------------+


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............................... ผู้ได้รับใบอนุญาต
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ................... ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอยื่นคำขอโอนใบอนุญาต ............... ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อาคารที่ขออนุญาตได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลง

อาคาร/รื้อถอนอาคาร/เคลื่อนย้ายอาคาร/เปลี่ยนการใช้อาคาร ตามใบอนุญาต

เลขที่ ......./..... ลงวันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ที่บ้านเลขที่ .......... ตรอก/ซอย ............ ถนน ..........

หมู่ที่ ...... ตำบล/แขวง ............ อำเภอ/เขต ............

จังหวัด .................... ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/

ส.ค.1 เลขที่ ............. เป็นที่ดินของ .....................

ข้อ 2 ขอโอนใบอนุญาตตามข้อ 1 ให้แก่ ....................

ตั้งแต่วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ..... เนื่องจาก ........

.......................................................

.......................................................

ข้อ 3 พร้อมคำขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาด้วยแล้ว

คือ

(1) ใบอนุญาตตามข้อ 1
(2) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
..................................................

......................................................


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้ขอโอนใบอนุญาต


สำหรับผู้รับโอนใบอนุญาต
------


เขียนที่ .......................
วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. .....


ข้าพเจ้า ............................ ผู้ขอรับโอนใบอนุญาต
| | เป็นบุคคลธรรมดา อยู่บ้านเลขที่ .... ตรอก/ซอย .........

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

| | เป็นนิติบุคคลประเภท ......... จดทะเบียนเมื่อ .........

เลขทะเบียน ....... มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .... ตรอก/ซอย .......

ถนน ................ หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ...............

อำเภอ/เขต .................... จังหวัด ...................

โดย ................ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขอรับโอนใบอนุญาต

อยู่บ้านเลขที่ ...... ตรอก/ซอย ......... ถนน ................

หมู่ที่ ..... ตำบล/แขวง ............. อำเภอ/เขต ............

จังหวัด ...................

ขอรับโอนใบอนุญาต ....................... ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้าพเจ้าขอรับโอนใบอนุญาต เลขที่ ........../........

ตั้งแต่วันที่ .. เดือน ............. พ.ศ. ....

ข้อ 2 ข้าพเจ้าขอรับรองว่า จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตตาม

ใบอนุญาตนั้นทุกประการ


(ลายมือชื่อ) .......................
(.....................)
ผู้รับโอนใบอนุญาต


หมายเหตุ :- (1) ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ขีดฆ่า

(2) ใส่เครื่องหมาย ในช่อ | | หน้าข้อความที่ต้องการ

หมายเหตุของเจ้าหน้าที่

จะต้องแจ้งให้ผู้รับโอนใบอนุญาตทราบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ภายใน

วันที่ .. เดือน ............ พ.ศ. ....

แจ้งการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตแล้ว เมื่อวันที่ .. เดือน .........

พ.ศ. ....


(ลายมือชื่อ) .......................
ตำแหน่ง .......................



แบบ อ.1
ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
------



คำเตือน
------
1. ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาต

หรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้พนักงานท้องถิ่น

ทราบ ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาต

กับผู้ควบคุมงานนั้น ในการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระงับ

การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่ และมี

หนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่

เจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

2. ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ต้องจัดให้มีพื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฉบับนี้

ต้องแสดงที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถไว้ให้ปรากฏตามแผนผัง

บริเวณที่ได้รับใบอนุญาต การดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่นนั้นต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3. ผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภท

ควบคุมการใช้ เมื่อได้ทำการตามที่ได้รับใบอนุญาตเสร็จแล้ว ต้องได้รับใบรับรอง

จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 32 ก่อนจึงจะใช้อาคารนั้นได้

4. ใบอนุญาตฉบับนี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้า

ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ


แบบ อ.2
ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร
------
(สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยังท้องที่ภายในเขตอำนาจของ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นเดียวกัน หรือสำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร
จากท้องที่ที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ
ไปยังท้องที่ที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 หรือสำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารจากท้องที่ที่ไม่อยู่
ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไปยัง
ท้องที่ที่มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ)



คำเตือน
------
1. ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาต

หรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้พนักงานท้องถิ่น

ทราบ ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาต

กับผู้ควบคุมงานนั้น ในการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระงับ

การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่ และมี

หนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอม ของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่

เจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

2. ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ต้องจัดให้มีพื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฉบับนี้

ต้องแสดงที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถไว้ให้ปรากฏตามแผนผัง

บริเวณที่ได้รับใบอนุญาต การดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่นนั้นต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3. ผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภท

ควบคุมการใช้ เมื่อได้ทำการตามที่ได้รับใบอนุญาตเสร็จแล้ว ต้องได้รับใบรับรอง

จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 32 ก่อนจึงจะใช้อาคารนั้นได้

4. ใบอนุญาตฉบับนี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้า

ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ


แบบ อ.3
ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร
------
(สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยังท้องที่ภายในเขตอำนาจของ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอื่น)



คำเตือน
------
1. ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาต

หรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้พนักงานท้องถิ่น

ทราบ ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาต

กับผู้ควบคุมงานนั้น ในการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระงับ

การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่ และมี

หนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอม ของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่

เจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

2. ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ต้องจัดให้มีพื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฉบับนี้

ต้องแสดงที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถไว้ให้ปรากฏตามแผนผัง

บริเวณที่ได้รับใบอนุญาต การดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่นนั้นต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3. ผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภท

ควบคุมการใช้ เมื่อได้ทำการตามที่ได้รับใบอนุญาตเสร็จแล้ว ต้องได้รับใบรับรอง

จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 32 ก่อนจึงจะใช้อาคารนั้นได้

4. ใบอนุญาตฉบับนี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้า

ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ


แบบ อ.4
ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ
และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น
------



คำเตือน
------
1. ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาต

หรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้พนักงานท้องถิ่น

ทราบ ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาต

กับผู้ควบคุมงานนั้น ในการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระงับ

การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่ และมี

หนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอม ของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่

เจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

2. ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ต้องจัดให้มีพื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น

ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฉบับนี้

ต้องแสดงที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถไว้ให้ปรากฏตามแผนผัง

บริเวณที่ได้รับใบอนุญาต การดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก

ของรถเพื่อการอื่นนั้นต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3. ผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภท

ควบคุมการใช้ เมื่อได้ทำการตามที่ได้รับใบอนุญาตเสร็จแล้ว ต้องได้รับใบรับรอง

จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 32 ก่อนจึงจะใช้อาคารนั้นได้

4. ใบอนุญาตฉบับนี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้า

ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ


แบบ อ.5
ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร
------



คำเตือน
------
1. ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้

อาคารเพื่อกิจการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารฉบับนี้

2. ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารเปลี่ยนการใช้อาคารประเภท

ควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่ง ไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับ

อีกกิจการหนึ่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3.ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารที่ต้องมีพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อ

ใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่นไม่ว่า

ทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

4. ผู้ได้รับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร ต้องแสดงใบอนุญาตเปลี่ยน

การใช้อาคารฉบับนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารนั้น


แบบ อ.6
ใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
------



คำเตือน
------
1. ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้

อาคารเพื่อกิจการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ในใบรับรองฉบับนี้

2. ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารเปลี่ยนการใช้อาคารประเภท

ควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่ง ไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับ

อีกกิจการหนึ่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

3.ห้ามเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารที่ต้องมีพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อ

ใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่นไม่ว่า

ทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

4. ผู้ได้รับใบรับรองต้องแสดงใบรับรองฉบับนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็น

ได้ง่าย ณ อาคารนั้น


แบบ ค.1
คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน

รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง

------



คำเตือน
------
1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยเจ้าของ

อาคารไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

หนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของ

โทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม

การศึกษา หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า

ให้เช่าซื้อ ขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิด

นั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.2
คำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 35
------



แบบ ค.3

คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 40

วรรคหนึ่ง หรือให้ระงับการรื้อถอนอาคารตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยเจ้าของอาคาร

ไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท

2. ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจาก

ต้องระวางโทษตาม 1. แล้ว ต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

4. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ


แบบ ค.4
คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย
ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง
------

(กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนอาคารไม่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยเจ้าของอาคาร

ไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท

2. ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจาก

ต้องระวางโทษตาม 1. แล้ว ต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

4. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ


แบบ ค.5

คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 40

วรรคหนึ่ง หรือให้ระงับการรื้อถอนอาคารตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจาก

ต้องระวางโทษตาม 1. แล้ว ต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

4. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. ในกรณีที่มีการกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำ

ของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น


แบบ ค.6
คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย
ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนอาคาร
กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจาก

ต้องระวางโทษตาม 1. แล้ว ต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

4. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. ในกรณีที่มีการกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำ

ของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น


แบบ ค.7
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของ

อาคารไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11) หรือ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.8
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคารให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต

ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11) หรือ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

5. ในกรณีที่มีการกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำ

ของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น

6. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.9
คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน
หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยเจ้าของอาคาร

ไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ถ้าเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้

รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้

5. ผู้ได้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.10
คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง
รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยเจ้าของอาคาร

ไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ถ้าเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้

รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้

5. ผู้ได้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.11
คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ในกรณีที่กระทำผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ควบคุมงาน

เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น

5. ถ้าเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้

รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้

6. ผู้ได้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.12
คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง
หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่กระทำผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11) หรือ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

5. ในกรณีที่มีการกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำ

ของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น

6. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.13
คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 41
และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่การรื้อถอนอาคารกระทำผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ได้รับคำสั่งนี้ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องภายใน

ระยะเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคาร
ดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้

2. ผู้ได้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.14
คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบ
แบบแปลน หรือรายการคำนวณตามมาตรา 43 วรรคสอง
------

(กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ยื่นคำขออนุญาตตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง)



คำเตือน
------

1. ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากที่ได้รับ

ใบอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

4. ในกรณีที่มีการกระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการกระทำ

ของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น

5. ถ้าเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้

รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้

6. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.15
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 43 วรรคสาม
------

(กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต

แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับใบอนุญาต)



คำเตือน
------

1. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11) หรือ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.16
คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44
------
(กรณีที่ยังไม่ได้รับใบรับรอง)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใด ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใด

ใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ก่อนที่จะได้รับใบรับรองจากเจ้าพนักงาน
ท้องถิ่นว่าการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารนั้นเป็นไปโดย
ถูกต้องตามที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับ

วันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.17
คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44
------
(กรณีที่มีการใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ให้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใด ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้

อาคารประเภทควบคุมการใช้ก่อนที่จะได้รับใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ว่าการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารนั้นเป็นไปโดยถูกต้องตามที่
ได้รับใบอนุญาตแล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้อง
ระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับ

วันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.18
คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44
------
(กรณีที่ไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้แต่ได้มีการใช้อาคาร
เพื่อกิจการในประเภทควบคุมการใช้)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งไม่เป็นอาคารประเภทควบคุม

การใช้ผู้ใด ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารดังกล่าวเพื่อกิจการ
ประเภทควบคุมการใช้ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละ
ห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับ

วันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.19
คำสั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา 44
------
(กรณีที่เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่ง
ไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้

สำหรับกิจการหนึ่งผู้ใด เปลี่ยนการใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดเปลี่ยนการใช้
อาคารดังกล่าวไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลา
ที่ยังฝ่าฝืน

2. ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับ

วันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.20
คำสั่งให้ระงับการใช้พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการอื่นตามมาตรา 45
------
(กรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อเป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ
และทางเข้าออกของรถ)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารชนิดหรือประเภทที่ต้องมีพื้นที่หรือ

สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถผู้ใด ดัดแปลง
หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่นไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละ
หนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.21
คำสั่งให้ระงับการดัดแปลงและให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสภาพเดิมตามมาตรา 45
------
(กรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อเป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ
และทางเข้าออกของรถ)



คำเตือน
------

1. เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารชนิดหรือประเภทที่ต้องมีพื้นที่หรือ

สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถผู้ใด ดัดแปลง
หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่นไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละ
หนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.22
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และตามมาตรา 45
------
(กรณีที่ไม่ระงับการใช้พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการอื่นหรือไม่ดำเนินการ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสภาพเดิม สำหรับพื้นที่
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อเป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ)



คำเตือน
------

1. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11)
หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ

ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

3. ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา

หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ
ขายหรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.23
คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง
------
(กรณีที่อาคารมีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต
ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยหรือก่อให้เกิด
เหตุรำคาญ หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม)



คำเตือน
------

1. ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและฝ่าฝืนคำสั่งนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น

มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 42

2. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.24
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และตามมาตรา 46 วรรคสอง
------
(กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ดำเนินการแก้ไขอาคารที่มีสภาพหรือ
มีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม)



คำเตือน
------

1. ผู้ได้รับคำสั่งนี้จำต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11)
หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และจะต้องระวางโทษปรับอีกวันละห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

2. ผู้รับคำสั่งผู้ใดไม่พอในคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง


แบบ ค.25
คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 77 (1)
------
(กรณีที่ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว)



คำเตือน
------
ถ้าผู้ได้รับคำสั่งนี้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด

ถ้าผู้นั้นไม่รื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องระวางโทษ

ปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าผู้นั้นยินยอมให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง


แบบ ค.26
คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามมาตรา 77 (1)
------
(กรณีที่ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว)



คำเตือน
------
ถ้าผู้ได้รับคำสั่งนี้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด

ถ้าผู้นั้นไม่รื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องระวางโทษ

ปรับเป็นรายวันอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอม

ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง


แบบ ค.27
คำสั่งให้ดำเนินการเพื่อขจัดหรือระงับเหตุที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด
สภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย
การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง
และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรตามมาตรา 77 (3)
------
(กรณีที่ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว)



คำเตือน
------
ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด

ถ้าผู้นั้นไม่รื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องระวางโทษ

ปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอมให้

เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง


แบบ ค.28
คำสั่งให้ทำสัญญาเช่าที่ดินตามมาตรา 77 (4)
------
(กรณีที่ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว)



คำเตือน
------
ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด

ถ้าผู้นั้นไม่รื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องระวางโทษ

ปรับเป็นรายวันอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอม

ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง สัญญาเช่าที่ดินที่ทำขึ้น

ให้มีระยะเวลาเช่าตามที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินสิบปี การต่อระยะเวลาเช่า

จะกระทำมิได้ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าที่ดินแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร

ผู้ใดไม่รื้อถอนขนย้ายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากบริเวณที่กำหนดใน

พระราชกฤษฎีกา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องระวางโทษปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง


แบบ น.1




แบบ น.2




แบบ น.3




แบบ น.4
หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามมาตรา 29
------
(แนบคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน
หรือเคลื่อนย้ายอาคาร)




แบบ น.5
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง
------




แบบ น.6
หนังสือแจ้งการบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงานของผู้ควบคุมงาน
ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง
------




แบบ น.7
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานพร้อมกับการส่งมอบหนังสือ
แสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ตามมาตรา 30 วรรคสอง
------




แบบ น.8

หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ตามมาตรา 30 วรรคสอง

------
(แนบกับแบบ น.7)




แบบ น.9




แบบ น.10




แบบ น.11




หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่

มาตรา 5 (2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้

แบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง ใบแทน ตลอดจนแบบคำสั่ง หรือ

แบบอื่นใดที่จะใช้ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปตามที่กำหนด

ในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้


ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"