ข้ามไปเนื้อหา

กฎข้อบังคับ ระเบียบการปกครองที่อาศรัยในพระราชฐาน พ.ศ. ๒๔๖๘

จาก วิกิซอร์ซ

กฎข้อบังคับ ระเบียบการปกครองที่อาศรัยในพระราชฐาน พ.ศ. ๒๔๖๘


เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ที่ภายในเขตต์พระราชฐานและที่ระโหฐานทั้งปวงนั้น ตามพระราชประเพณีเดิม ข้าในพระราชสำนักทั้งชายหญิง จะพาภรรยาสามีเข้าไปอยู่ร่วมด้วยได้ก็แต่ฉะเภาะที่ท้ายสนมแห่งเดียวเท่านั้น นอกกว่านี้เปนที่ต้องห้ามทั้งหมดมาในบัดนี้ปรากฏว่ามีผู้เข้าใจผิดเลอะเลือนมากขึ้น มิได้คิดถึงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสิทธิในที่พระราชฐานทั้งปวงเช่นเดียวกับเจ้าของเคหะสถานอื่น ต่างถืออำนาจพวกพ้องว่าเปนข้าในพระราชสำนัก ได้พากันเข้าไปอยู่ในเขตต์พระราชฐานมากขึ้นทุกที ซึ่งเปนการผิดต่อกฎมณเฑียรบาลและพระราชกฤษฎีกาอยู่ส่วน ๑ นอกจากนี้ผู้ที่ประพฤติชั่วก็กระทำให้มีเหตุเนือง ๆ มีลักลอบเล่นการพนัน ทำหนี้สินถึงกับศาลมายึดทรัพย์ยังที่อาศรัยภายในเขตต์พระราชฐาน ทั้งให้เช่าถือซื้อขายสิทธิให้ผู้อื่นเข้าอยู่ ไม่เคารพคารวะต่อระเบียบแบบแผนอันเปนพระราชประเพณี เช่นแต่งกายไม่สมควรเดินผ่านเข้าออกประตูพระราชฐาน ผิดลักษณของสาธุชนที่จะพึงควรประพฤติระหว่างเจ้าของเคหะสถานกับผู้อาศรัย ด้วยเหตุผลที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงได้พระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ตรากฎข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้ให้เรียกว่า “กฎข้อบังคับระเบียบการปกครองที่อาศรัยในพระราชทาน”

ข้อ ๒ ข้อความใด ๆ ที่จะได้กล่าวต่อไป ให้พึงเปนที่เข้าใจดังนี้ ก. คำว่า “ที่อาศรัย” ให้เปนที่เข้าใจว่า ที่ดิน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งนับว่าเปนเคหะสถานอันได้มีอยู่ในเขตต์พระราชฐานทั่วไป ไม่ได้หมายความถึงสถานที่ทำการซึ่งได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ข. คำว่า “ผู้อาศรัย” หมายความว่าผู้ที่ได้เข้าไปอยู่ในที่นั้นเพราะได้รับอนุญาต ไม่ได้หมายความถึงผู้ที่อยู่โดยน่าที่ราชการ ค. คำว่า “พระราชฐาน” คือที่ทั้งปวงที่ได้บรรยายในกฎมณเฑียรบาลและพระราชกฤษฎีกา ง. คำว่า “สามี ภรรยา” หมายความว่าหญิงชายที่อยู่เปนคู่ครองตามประเพณี หรือที่เปนผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ถือเอาการประเวณีเปนประมาณ

ข้อ ๓ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้เปนต้นไป ให้นายทะเบียนใหญ่ในพระราชสำนักเรียกใบอนุญาตจากผู้อาศรัยในพระราชฐานแต่เดิมคืนทั้งหมด แล้วให้จัดตามระเบียบที่ได้กำหนดใหม่

ข้อ ๔ ผู้ที่จะอาศรัยอยู่ในเขตต์พระราชฐานได้นั้น ต้องเปนข้าราชการในพระราชสำนักที่ยังประจำการอยู่ จึงจะขออนุญาตและให้อนุญาตอยู่ภายในเขตต์พระราชฐานได้

ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ที่จะขออนุญาตนั้น จะต้องยื่นเรื่องราวตามแบบ และต้องมีข้าราชการชั้นสัญญาบัตร์ซึ่งผู้ขอสังกัดอยู่เซ็นรับรอง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะถือว่าผู้นั้นได้อาศรัยอยู่โดยชอบด้วยระเบียบปกครองและพระราชกำหนดกฎหมาย

ข้อ ๖ ถ้าผู้ที่ได้รับอนุญาตมีสามี หรือภรรยา กับครอบครัวที่จะต้องอยู่กับตนในที่อาศรัย ก็ให้ลงนามโดยละเอียด เมื่อเจ้าน่าที่พิจารณาเห็นสมควรอนุญาตแล้ว ผู้ขออนุญาตจะต้องรับผิดชอบในความประพฤติของครอบครัวนั้น ๆ ในการกระทำผิดต่อระเบียบการปกครอง

ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อาศรัยรับผู้ใดผู้หนึ่ง ให้พักพิงแรมคืนในที่อยู่แห่งตนเปนอันขาด เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าน่าที่ตามครั้งคราวตามแบบใบอนุญาต

ข้อ ๘ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตอาศรัยไม่มีอำนาจที่จะโอนที่อยู่นั้นโดยอาการซื้อขาย ให้ปัน เช่าถือ แลกเปลี่ยน และไม่ใช่อาศรัยแต่ในนาม แล้วให้ผู้อื่นอยู่เปนต้น

ข้อ ๙ ถ้าผู้ที่ได้รับอนุญาตถึงแก่กรรมก็ดี ต้องออกจากประจำการก็ดี หรือถูกเรียกใบอนุญาตคืนก็ดี ผู้อาศรัยและผู้ที่เปนครอบครัวนั้น ๆ ต้องออกจากที่ไป ตามที่เจ้าน่าที่ทะเบียนจะกำหนดให้ และผู้ที่ต้องออกจากที่อาศรัยไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้อง หรือ รื้อถอนเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เปนส่วนของเคหะสถานที่เปนของหลวงไปเปนอันขาด

ข้อ ๑๐ ข้อบังคับนี้ให้ใช้ภายในเขตต์พระบรมมหาราชวังตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เปนต้นไป ส่วนเขตต์พระราชฐานแห่งอื่นโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ณ ที่ใด เมื่อใด ก็จะได้ประกาศเปนคราว ๆ

ข้อ ๑๑ ให้นายทะเบียนใหญ่ในพระราชสำนัก มีน่าที่รักษากฎข้อบังคับนี้


กระทรวงวัง ประกาศมา ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดี


งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"