กฎหมายลักษณมรดก (2455)/หมวด 1
หน้าตา
กฎหมายลักษณมรดก
หมวดหนึ่ง
มรดก, อำนาจแลความรับผิดชอบในมรดก, กรรมสิทธิ์.
มรดก, อำนาจแลความรับผิดชอบในมรดก, กรรมสิทธิ์.
มรดกอคืออะไร | มรดก คือ ทรัพย์ของผู้ตาย เช่น เมื่อ ก มีชีวิตร์ |
อยู่ ก มีรถยนต์, มีสุนักข์ แลมีบ้านเรือน แล้ว ก ตาย | |
รถยนต์, สุนักข์ แลบ้านเรือนเหล่านี้เปนมรดกของ ก. | |
ถ้าแลอำนาจหรือความรับผิดชอบได้เกิดขึ้นในระหว่าง | |
ผู้มรณภาพยังมีชีวิตร์อยู่ อำนาจแลความรับผิด | |
ชอบนี้ติดมากับทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพด้วย เช่น | |
ผู้มรณภาพเปนเจ้าหนี้ใคร ผู้จัดการแบ่งหรือผู้รับ | |
มรดกมีอำนาจบังคับลูกหนี้ให้ใช้หนี้เข้าในกองมรดก | |
ได้ หรือเช่น ผู้มรณภาพเปนลูกหนี้ใคร เจ้าหนี้มี | |
มรดก ๓. | อำนาจเรียกหนี้จากกองมรดกได้เหมือนกัน ที่กล่าว |
กู้หนี้ ๑๖, ๒๖. | นี้ประสงค์ให้เข้าใจว่า ผู้รับมรดกไม่ได้เปนผู้รับอำนาจ |
แลความรับผิดชอบแทนผู้มรณภาพด้วยตนเอง อำนาจ | |
แลความรับผิดชอบเปนแต่ติดมาในกองมรดกเท่านั้น ถ้า | |
หากว่าผู้รับมรดกต้องรับอำนาจแลความรับผิด | |
ชอบแทนผู้มรณภาพแล้ว การรับมรดกก็อาจเท่า | |
กับการรับความฉิบหาย เช่น ผู้มรณภาพมีมรดก | |
ราคา ๘๐ ชั่ง แต่เปนหนี้เขาถึง ๑๐๐ ชั่ง ผู้รับ | |
มรดกมิต้องเข้าเนื้อตนเอง ๒๐ ชั่งหรือ ตามกฎหมาย | |
การรับมรดกหาเปนเช่นนั้นไม่ ผู้รับมรดกมีแต่ได้ | |
หรือเสมอตัวเท่านั้น ไม่ต้องควักกระเป๋าตนเอง | |
กู้หนี้ ๓๓. | ถ้าเปนหนี้เขามาก แต่มรดกมีน้อย ก็ต้องใช้ตาม |
น้อย ขาดเท่าไรเปนเคราะห์ของเจ้าหนี้ แต่ส่วน | |
เปนเจ้าหนี้ใคร มีอำนาจเรียกร้องได้เต็มจำนวน | |
ที่เรียกว่า อำนาจแลความรับผิดชอบติดมาในกองมรดก | |
เปนดังกล่าวมานี้. | |
อำนาจแล | แต่มีคดีเปนอันมากที่อำนาจแลความรับผิดชอบไม่ |
ความรับผิดชอบ. | ได้ติดมาในกองมรดกด้วย ความมรณภาพ |
นั้นกระทำให้ผู้มรณภาพหมดอำนาจแลพ้นจาก | |
ความรับผิดชอบ เช่น ก มีฝีมือดีในการปั้นรูป | |
หลวงประดิษฐ์ฯ | ก รับสัญญาปั้นรูปขายให้ ข ก ปั้นยังไม่ทันแล้ว |
ว่าด้วยสัญญา | ก ตาย อำนาจของ ก ที่จะเรียกค่าจ้าง แลน่าที่ |
น. ๒๖๑, ๒๗๙. | หรือความรับผิดชอบของ ก ที่จะต้องปั้นรูปให้ ข |
ก็เปนอันระงับ หาได้ติดมากับกองมรดกไม่ แต่ถ้า | |
ก ได้ปั้นรูปให้แก่ ข เสร็จบริบูรณ์แล้วจึงตาย อำนาจ | |
ที่ ก จะได้รับค่าจ้างนั้นไม่สูญเสีย ยังติดมาใน | |
กองมรดกด้วย ผู้รับมรดกอ้างอำนาจนี้ฟ้องเรียก | |
ค่าจ้างมาบวกเข้าในกองมรดกได้. | |
คดีชนิดไร อำนาจแลความรับผิดชอบต้องหมดหรือ | |
ยังอยู่เมื่อมรณภาพนั้น ต้องศึกษากฎหมายลักษณ | |
ต่าง ๆ เปนแพนก ๆ ไป เช่น ในคดีประทุษฐร้าย | |
หลวงพินิตฯ | ส่วนแพ่ง เมื่อผู้ประทุษฐร้ายหรือผู้ถูกประทุษฐร้าย |
ว่าด้วยประทุษฐร้าย | ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ตามธรรมดามีหลักว่า คดี |
ส่วนแพ่ง น. ๗๕. | ส่วนตัวตายตามตัว แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่อำนาจ |
ฟ้องหรือน่าที่ถูกฟ้องหาได้หมดไปไม่. | |
กู้หนี้ ๑๖. | อนึ่ง ได้กล่าวแล้วว่า มรดกนั้นเปนแต่ทรัพย์ของผู้ |
ฎีกา ๔๑๙,/๑๒๙ | มรณภาพ เพราะฉนั้น เมื่ออำนาจหรือความรับผิดชอบ |
ผัน–เฉ่ง. | ติดมาด้วยแล้ว เปนน่าที่ผู้จัดการแบ่งหรือผู้รับ |
มรดกจะจัดการใช้อำนาจหรือจัดการให้เปนไปตาม | |
ความรับผิดชอบนั้น. | |
มรดกผัวเมีย | เมื่อผัวเมียมีทรัพย์สมบัติระคนปนกันอยู่ แล |
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ทรัพย์นั้นหาใช่มรดกทั้งหมด | |
ไม่ ถ้าผัวหรือเมียฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ที่จะรู้ | |
ว่า ผัวหรือเมียฝ่ายที่ตายมีมรดกเท่าไร ก็คือ ให้ดู | |
ว่า ถ้าผัวเมียอย่ากัน ทรัพย์จะเปนของฝ่ายใดเท่าไร | |
เช่น ก เปนผัว ข เปนเมีย มีสินเดิมฝ่ายละ | |
๑๐๐ บาท เกิดสมรสด้วยกัน ๓๐๐ บาท ก ตาย | |
ถ้า ก ข อย่ากัน ก จะได้ทุน ๑๐๐ บาทคืน แล | |
ได้สมรส ๒๐๐ บาท รวมเปน ๓๐๐ บาท ข จะได้ | |
ทุน ๑๐๐ บาท กับสมรส ๑๐๐ บาท รวมเปน ๒๐๐ บาท | |
เพราะฉนั้น ถ้า ก ตาย มรดกของ ก ก็คือ ๓๐๐ บาท. | |
เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ | เมื่อผู้ใดมรณภาพ ความปกครองแลกรรมสิทธิ์ใน |
มรดกนั้นย่อมเลื่อนไปอยู่ในมือบุคคลผู้อื่นคนเดียว | |
หรือหลายคนก็ดี เปนญาติ์หรือมิใช่ญาติ์ก็ดี บุคคล | |
ผู้อื่นนั้นอาจมีกรรมสิทธิ์ในมรดกของผู้ตายได้ด้วยเหตุ | |
๓ ประการ คือ | |
(๑)โดยได้รับส่วนแบ่ง | |
(๒)โดยได้เข้าปกครองแสดงตนเปนเจ้าของโดย | |
ลำพังมานาน. | |
(๓)โดยผู้ตายยกให้. | |
การแบ่งส่วน | (๑)ในกฎหมายมรดก ปัณหาในส่วนอื่นไม่ |
สู้สำคัญแลยุ่งยากเท่าในส่วนที่จะแบ่งทรัพย์ออกเปน | |
ภาคเปนส่วนให้คนชนิดนั้นเท่านั้น ชนิดนี้เท่านี้ | |
ศาลต้องพิจารณาดูประเภทผู้มรณภาพแลชนิด | |
บุคคลที่จะรับส่วนแบ่ง ด้วยกฎหมายบัญญัติวิธีแบ่ง | |
ไว้ต่างกัน. | |
รับฟ้อง ๒๑. | การฟ้องขอให้ศาลแบ่งมรดกนั้น ตามธรรมดา |
ต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับตั้งแต่มรณกาล (ดูหมวด | |
อายุความ) ถ้าญาติผู้ใดเปนผู้ที่ควรได้รับมรดก | |
ตามกฎหมาย แลญาติผู้นั้นได้ปกครองทรัพย์มรดก | |
มาโดยลำพังเกินกว่าปี ๑ ญาติอื่น ๆ ฟ้องขอให้ | |
เรียกทรัพย์นั้นมาแบ่งไม่ได้ (ดูหมวดปกครอง) แต่ | |
ถ้าญาติหลายคนได้ปกครองมรดกกองนั้นมาด้วยกัน | |
ฎีกา ๑๘๘/๑๑๘ | มรดกนั้นเปนของกลางในระหว่างญาติที่ปกครองมา |
อ. ขำ–น. โต. | ด้วยกัน แลผู้ใดฝ่ายหนึ่งฟ้องขอให้ศาลเรียกมาแบ่ง |
ได้ ถึงเดิน ๑ ปีแล้วก็ดี. | |
ฎีกา ๒๑๕/๑๒๘ | เพราะฉนั้น การแบ่งมรดกเมื่อพ้น ๑ ปีแล้ว จึงเปน |
อ. จู–น. บุตร์. | ดังนี้ คือ (๑) สิ่งใดที่ยังปกครองอยู่ด้วยกัน แบ่ง |
ได้ตามส่วนในกฎหมาย (๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ปกครอง | |
ด้วยกัน ไม่ต้องแบ่ง. | |
(กฎหมายมรดกเปนกฎหมายเก่า ซึ่งได้ตรา | |
ขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรส | |
ประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว ข้อบัญญัติในบางแห่ง เมื่อ | |
เทียบกับกาลสมัยแลขนบธรรมเนียมได้เปลี่ยนแปลงผิดกว่า | |
แต่ก่อนมาก เมื่อเอาข้อบัญญัตินั้น ๆ มาเทียบดูกับ | |
สมัยนี้ ก็กลับทำให้เห็นว่า ไม่เปนยุติธรรมแก่คู่ความ | |
เพราะฉนั้น ในคดีเรื่องใดที่ศาลเห็นว่า กฎหมายแบ่งมรดก | |
ฎีกา ๔๕๔/๑๒๑ | ผิดความยุติธรรมมาก ก็โปรดเกล้าฯ ให้ศาลมีอำนาจ |
อ. กัน–อ. แพ. | นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระ |
กฎ. ยุติ. ที่ ๑๑. | บรมราชวินิจฉัยเปนพิเศษได้.) |
มรดก ๔๕. | อนึ่ง ในการแบ่งมรดกนั้น ไม่จำเปนต้องฟ้องขอให้ |
ศาลแบ่งเสมอไป บรรดาญาติที่จะได้รับมรดกด้วย | |
กันจะตกลงแบ่งปันมรดกกันเองก็ได้ แลเมื่อแบ่ง | |
ปันกันเสร็จแล้วไปแล้ว จะเรียกคืนมาแบ่งกัน | |
ใหม่ไม่ได้ | |
ฎีกา ๓๗๑/๑๒๑ | ส่วนการตกลงจะแบ่งปันกันนั้น ไม่จำเปนต้อง |
อ. สุน–ขุนโภคา. | ทำเปนลายลักษณอักษร สัญญากันด้วยปากเปล่า |
ก็ฟ้องร้องกันได้ อีกประการหนึ่ง ส่วนที่ตกลงจะแบ่ง | |
กันนั้น ก็ไม่จำเปนต้องแบ่งตามส่วนในกฎหมาย | |
จะตกลงแบ่งกันอย่างไร ๆ ก็ได้ เว้นเสียแต่จะเปน | |
การเสียเปรียบกันเหลือเกินจนกระทำให้ศาลระแวงว่า | |
เปนสัญญาที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายหนึ่งไม่มีความตกลง | |
อันบริสุทธิ์ | |
ในการแบ่งมรดก นอกจากศาลจัดแบ่งให้ หรือ | |
ญาติตกลงจัดแบ่งกันเอง ผู้จัดการแบ่งมรดกอาจ | |
เปนผู้ที่ได้รับอำนาจจากผู้มรณภาพโดยตรงทีเดียว | |
ก็ได้ หรือโดยพวกญาติปรองดองกันมอบอำนาจ | |
ก็ได้ หรือถ้าญาติร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก | |
ก็คงได้ การตั้งผู้จัดการแบ่งมรดก จะต้องตั้งโดย | |
วิธีใด กฎหมายไม่ชัด ในคดีพระยาบริรักษ์ โจทย์ | |
ฎีกา/๕๘๖/๑๒๘ | อำแดงกิมใช้ จำเลย ผู้ตายได้ตั้งผู้หนึ่งด้วยวาจาให้ |
พระยาบริรักษ์– | เปนผู้จัดการแบ่งมรดกของตน แลผู้นั้นได้จัดการ |
อ. กิมใช้. | มรดกตามคำสั่งของผู้ตาย โดยผู้ที่จะได้รับมรดกไม่ |
ได้โต้แย้งมานาน ศาลฎีกาตัดสินว่า การที่ผู้จัดการ | |
แบ่งมรดกทำไปนั้นไม่ผิด | |
ปกครองมรดก | (๒)มรดกที่ผู้ใดปกครองมา จะเปนสิทธิ์ได้เมื่อ |
ไรนั้น จะได้อธิบายไว้ในหมวดปกครองมรดก | |
ให้มรดก | (๓)ได้กล่าวมาแล้วว่า บุคคลอาจมีกรรมสิทธิ์ |
ในทรัพย์มรดกโดยผู้มรณภาพยกให้ การให้มรดก | |
นี้ อย่าเข้าใจปนกันกับการยกทรัพย์ให้เปนสิทธิ์แก่ใคร | |
โดยเสนหาแต่ในเวลาที่ผู้ให้ยังมีชีวิตร์อยู่ การให้ | |
มรดกนั้น หมายความว่า จะให้เปนสิทธิ์ต่อเมื่อผู้ให้ | |
ตาย ในการให้ทรัพย์มรดกนั้น กฎหมายบังคับ | |
โดยเฉภาะว่า ต้องให้โดยทำพินัยกรรม์ จะให้ | |
พินัยกรรม์ | โดยวิธีอื่นไม่ได้ พุกป่วยหนัก คิดว่า ตนจะตาย |
ได้ถวายลูกกุญแจตู้ทรัพย์ให้แก่พระลด โจทย์ แต่ | |
พุกหาได้ตายในครั้งนั้นไม่ พุกหายป่วย ต่อมาอีก | |
๔ เดือนจึงตาย ในระหว่างเมื่อหายป่วยแล้วนั้น | |
ฎีกา ๖๘๓/๑๒๓ | พุกก็ดี พระลดก็ดี หาได้แสดงให้เห็นว่า พระลด |
พระลด–ขุนรักษา | มีอำนาจในทรัพย์นั้นอย่างไรไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า |
"ทางที่พระลดจะมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สมบัติของ | |
พุกนั้น ก็มีแต่จะฟ้องเรียกเหมือนอย่างว่า เปนของยก | |
ให้โดยมีพินัยกรรม์เท่านั้น แต่เมื่อไม่มีพินัยกรรม์ | |
ที่จะสืบ ดังนั้นแล้ว พระลดก็ไม่ | |
มีอำนาจฟ้องได้" | |
ฎีกา ๕๕๙/๑๒๘ | การอุทิศมรดกถวายวัดนั้น ต้องอุทิศโดยมีพินัยกรรม์ |
น. ท้วม น. ยา | เหมือนกัน ถึงผู้รับเปนวัดก็ดี |
ผู้ใดมรณภาพ ถ้าแลหาภรรยาแลญาติผู้ซึ่งควร | |
จะได้รับมรดกไม่ได้เสียเลยทีเดียว ทรัพย์มรดก | |
ไม่มีผู้รับ | ทั้งหมดนั้น ให้ส่งเข้าท้องพระคลังหลวง เช่น ก. ตาย |
มรดก ๔๘, ๑๔ | บุตร์ภรรยา ก. เปนความมรดกกันในศาล ใน |
ระหว่างพิจารณา บุตร์ภรรยา ก. ตายตามกันหมด | |
แลปรากฎว่า ตระกูลของ ก. เปนอันสาบสูญ เช่นนี้ ศาล | |
จะส่งทรัพย์มรดกทั้งหมดนั้นไว้เปนของหลวง |