ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น
ด้วยเป็นการสมควรผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เพิ่มเติมจากที่เคยผ่อนคลายไว้แล้วเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ได้รายงานผลการประเมินสถานการณ์ และการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายผู้บริโภค ประกอบกับฝ่ายสาธารณสุขได้เสนอว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันและสถิติผู้เสียชีวิตในประเทศนับแต่ต้นเดือนพฤษภาคม อันเป็นระยะเวลาที่ประกาศใช้ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔) (ฉบับที่ ๕) และ (ฉบับที่ ๖) เป็นต้นมาลดลงหรืออยู่ในระดับที่ควบคุมได้อย่างต่อเนื่อง แต่เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศ จำนวนของผู้เดินทางข้ามจังหวัดและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตลอดจนประชาชนบางกลุ่มที่ยังประมาทและละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ในขณะที่การแพร่ระบาดก็ยังปรากฏอยู่มากในต่างประเทศ จึงควรผ่อนคลายตามโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทของกิจกรรม ภายใต้เงื่อนไขว่ายังคงให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการต่อไปโดยเคร่งครัดและหากปรากฏว่าจำนวนผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มหรือโอกาสเสี่ยงมีมากขึ้น ก็อาจระงับหรือเปลี่ยนแปลงการผ่อนคลายบางส่วนหรือทั้งหมดได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น และให้ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ยังคงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๒ การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเฉพาะที่ดําเนินการในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือ การสงเคราะห์ อุปถัมภ์หรืออุปการะเด็กกําพร้าที่ประสบปัญหาครอบครัว เด็กยากไร้ หรือเด็กต้อยโอกาส และอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงได้หากปล่อยให้เด็กอาศัยอยู่ในสถานที่พักอาศัยของตนหรือที่อื่น หรือเป็นการใช้อาคารสถานที่ดังกล่าวเพื่อการทํากิจกรรมอันเป็นประโยชน์สาธารณะตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาต แต่ยังคงงดเว้นการใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอนการสอบ หรือการฝึกอบรม
ข้อ ๓ การผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกของประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่าง ภายใต้การดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดรวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้สถานที่หรือการดําเนินกิจกรรมที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเคยมีคําสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ และตามข้อกําหนด (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ สามารถเปิดดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม ดังต่อไปนี้
(๑)กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต
ก. การจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดดําเนินการได้ แต่ ยังคง ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังกล่าวนี้
ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการเพิ่มเติมได้ ในส่วนที่เป็นการจําหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคและการให้บริการ รวมทั้งร้านอาหารหรือ เครื่องดื่ม (ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน) ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผมหรือ ทําเล็บ ยกเว้นส่วนที่เป็นโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง ตู้เกมส์ เครื่องเล่นหยอดเหรียญ สถานที่เล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรดหรือการละเล่นอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน คาราโอเกะ สวนสนุก สวนน้้า สวนสัตว์ สนุกเกอร์ บิลเลียด ร้านเกมส์ สถานที่ออกกําลังกายฟิตเนส สถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สถาบันกวดวิชา สนามพระเครื่อง ศูนย์ประชุม
ทั้งนี้ พื้นที่และกิจกรรมที่เปิดดําเนินการได้ให้งดเว้นการจัดการแข่งขัน กิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดําเนินการอื่นใดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และให้เปิดดําเนินการได้จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา
ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่
ง. สถานที่บริการดูแล สถานที่พํานักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่จัดสวัสดิการให้แก่เด็กหรือผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาระพึ่งพิงให้เปิดดําเนินการได้เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ
จ. การถ่ายทํารายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ซึ่งเมื่อรวมคณะทํางานหน้าฉากและทุกแผนกแล้วต้องมีจํานวนไม่เกินห้าสิบคน และต้องไม่มีผู้ชมเข้าร่วมรายการ
ฉ. ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม ให้เปิดดําเนินการได้เฉพาะกรณีจํากัดจํานวนผู้เข้าร่วมประชุม และเป็นการประชุมคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น หรือการประชุม การอบรม การสัมมนา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมาจากหน่วยงานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบทราบแหล่งที่มา
(๒)กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ
ก. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม และร้านทําเล็บ ทั้งที่อยู่ในและนอกห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการได้เฉพาะการเสริมความงาม เรือนร่างและผิวพรรณ ไม่รวมถึงการเสริมความงามบริเวณใบหน้า
ข. สถานที่ออกกําลังกายฟิตเนสที่มิได้ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการได้เฉพาะส่วนที่เป็นการเล่นโยคะหรือฟรีเวท โดยงดเว้นการใช้เครื่องเล่น เครื่องลู่วิ่ง จักรยานปั่น หรือการเล่นแบบรวมกลุ่ม
ค. สถานที่หรือสนามออกกําลังกายในร่ม เฉพาะกีฬาประเภทที่ตามกติกาสากลที่มิได้มีการปะทะกันระหว่างผู้เล่นและต้องไม่มีผู้ชมการแข่งขัน หากเล่นเป็นทีม ให้มีผู้เล่นได้ฝั่งละไม่เกินสามคน ได้แก่ แบดมินตัน ตะกร้อ เทเบิลเทนนิส สควอช ยิมนาสติก ฟันดาบ และปืนผา
ง. สระว่ายน้้าสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม
จ. สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์
ข้อ ๕ การดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดําเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคําแนะนํา เงื่อนไข และเงื่อนเวลาทีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการกําหนด ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ แนะนํา ตักเตือน ห้ามปราม หรือดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ สังปิดสถานที่นั้นเป็นการชั่วคราวเฉพาะราย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคําสังปิดสถานทีไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อเจ้าของหรือผู้จัดการสถานทีได้ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกําหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอํานาจสังให้เปิดดําเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้
ข้อ ๕ เพื่อให้มาตรการป้องกันโรคเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคําสั่งปิดสนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามการแข่งขันอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันเพิ่มเติม เนื่องจากพบว่าเป็นสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมทั้งดําเนินการอื่นใดให้สอดคล้องกับข้อกําหนดนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
- ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563". (2563, 15 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137, ตอน พิเศษ 114 ง. หน้า 39–42.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"