คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/กรณียเมตตสูตต์
หน้านี้ขาดแหล่งที่มาของเนื้อหา ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นเอกสารต้นฉบับที่สแกนมาอัปโหลดไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์แล้วจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หรือถ้าไม่สามารถอัปโหลดต้นฉบับเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็ควรระบุแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหาได้ |
ขัดตำนาน กรณียเมตตสูตต์
๏ ยสฺสานุภาวโต ยกฺขาแม่แบบ:เว้นวรรค-1Gเนว ทสฺเสนฺติ ภิํสนํ
ยมฺหิ เจวานุยุญฺชนฺโตแม่แบบ:เว้นวรรค-1Gรตฺตินฺทิวมตนฺทิโต
สุขํ สุปติ สุตฺโต จแม่แบบ:เว้นวรรค-1Gปาปํ กิญฺจิ นปสฺสติ
เอวมาทิคุณูเปตํแม่แบบ:เว้นวรรค-1Gปริตฺตนฺตมฺภณาม เห.
ตำนานที่สาม กรณียเมตตสูตต์
พระปริตรนี้ตามตำนานเบื้องต้นกล่าวเนื้อความว่า พระภิกษุประมาณ ๕๐๐
รูปในพระนครสาวัตถี ได้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักสมเด็จพระศาสดา แล้วไปหาที่สงัดเงียบ
สำหรับเจริญวิปัสสนา ไปได้สิ้นทาง ๑๐๐ โยชน์ ถึงหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่ง
ชาวบ้านเหล่านั้นได้เห็นพระภิกษุก็มีความยินดีนมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่สมควรแล้วอังคาด
ด้วยข้าวยาคูเป็นต้น แล้วถามว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไป ณ ที่แห่งใด เมื่อได้รับคำ
ตอบว่า จะไปหาที่สบายสำหรับเจริญสมณธรรมตลอดไตรมาส ชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่าจาก
ที่นี้ไปไม่สู้ไกลนัก มีป่าชัฏเป็นที่สงัดเงียบ ขอนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงเจริญ
สมณธรรมในที่นั้นตลอดไตรมาสเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและ
รักษาศีลในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์แล้วก็ได้เข้าไป
อาศัยอยู่ในป่านั้นและเจริญสมณธรรมอยู่ในที่นั้น
พฤกษเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ในป่านั้น คิดว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมาอาศัยอยู่
ที่ดคนต้นไม้แห่งเรา ตัวเราและบุตรภรรยาของเราจะอยู่บนต้นไม้นี้ ไม่เป็นการเคารพหา
สมควรไม่ จึงพากันลงจากต้นไม้มานั่งอยู่เหนือพื้นดิน นัยหนึ่งว่าเพราะอำนาจที่ภิกษุเจริญ
สมณธรรม พฤกษเทวดาเหล่านั้นจึงไม่อาจอยู่บนต้นไม้ได้ ด้วยสำคัญว่าพระผู้เป็นเจ้า
พักอยู่ในที่นั้นคืนหนึ่งแล้วก็จะไปต่อไป ในวันรุ่งขึ้นพระภิกษุเที่ยวบิณฑบาตภายในบ้าน
แล้วก็กลับมาสู่ป่าชัฏตามเดิม เทวดาเหล่านั้นพากันคิดว่า ใครๆ เขาคงนิมนต์ท่านฉันใน
วันพรุ่งนี้ วันนี้ท่านจึงกลับมาพักในที่นี้อีก และวันหน้าต่อไปท่านก็จะไปที่อื่น แต่หมู่
เทวดาพากันคิดว่าพระภิกษุจะไปในวันหน้าและภิกษุก็ยังกลับมาพักที่เดิมอีก ดังนี้สืบๆ
ไป จนเวลาล่วงไปได้ประมาณคนึ่งเดือนเทวดาจึงมาคิดกันว่า ชะรอยพระผู้เป็นเจ้าจะอยู่ใน
ที่นี้ตลอดไตรมาสแน่ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าจะอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสแล้ว พวกเราก็ต้องอยู่
กับพื้นดินตลอดไตรมาสด้วย เป็นการลำบากนัก ควรที่เราจะทำวิการอะไรขึ้นให้
ท่านไปเสียจากที่นี้และเป็นการดี เมื่อปรารภอย่างนี้แล้ว ก็ได้แสดงวิการต่างๆ มีซากศพ
ศรีษะขาดและรูปยักษ์เป็นต้น และกระทำเป็นเสียงอมนุษย์น่าสยดสยองทั้งในเวลากลางคืน
และเวลากลางวัน กับบันดาลโรคไอและโรคจามให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายก็อยู่ไม่
เป็นผาสุกเหมือนดังแต่ก่อน มีความหวาดกลัวเกิดโรคผอมซีดเซียวลง แล้วจึงพากันออก
จากที่นั้นไปสู่ที่สำนักของสมเด็จพระศาสดา ทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่ได้ประสพต่ออารมณ์
อันน่าหวาดกลัวต่างๆ และความไม่ผาสุกที่ได้บังเกิดขึ้นแต่โรคนั้นด้วย
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพุทธประสงค์จะให้ภิกษุเหล่านั้นกลับไปเจริญสมณ
ธรรมในที่เดิมอีก จึงทรงประทานเมตตสูตรเป็นอาวุธเครื่องป้องกัน แล้วมีพระพุทธดำรัสว่า
ภิกษุทั้งหลายเธอพึงสาธยายพระสูตรนี้ ตั้งแต่ราวไพรภายนอกวิหารเข้าไปสู่ภายในวิหาร
ภิกษุเหล่านั้นก็ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกลับไป เมื่อถึงราวไพรภายนอกที่อยู่ ก็สาธยาย
พระสูตรตามพระพุทธฎีกาแล้วจึงเดินเข้าไปสู่สำนักเดิม คราวนี้หมู่เทวดาเหล่านั้นกลับมี
ความเมตตาทำการต้อนรับพระภิกษุเหล่านั้น มีการรับบาตร์จีวร และเข้านวดตัวปัดกวาด
สถานที่ ตลอดจนถึงการอารักขาในราวไพรด้วย
ภิกษุเหล่านั้น เมื่อได้อยู่เป็นผาสุกแล้ว ก็ตั้งจิตบำเพ็ญพระกัมมัฏฐานตลอด
ทั้งกลางวันและกลางคืน จิตต์ของท่านก็หยั่งลงวิปัสสนา เห็นความสิ้นความเสื่อมในตน
ว่าอัตตภาพนี้ก็เป็นเช่นภาชนะดิน คือว่าต้องแตกทำลายไม่ถาวร พระพุทธเจ้าทรงประทับ
อยู่ในพระคันธกุฎี ทราบความปรารภของภิกษุทั้งหลายนั้นแล้ว จึงแปล่งพระรัศมีในที่
ห่างประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ให้เห็นเหมือนว่าเสด็จประทับอยู่ที่เฉพาะหน้าภิกษุเหล่านั้นและ
ตรัสพระคาถาว่า:-