คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/นิจ
หน้านี้ขาดแหล่งที่มาของเนื้อหา ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นเอกสารต้นฉบับที่สแกนมาอัปโหลดไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์แล้วจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หรือถ้าไม่สามารถอัปโหลดต้นฉบับเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็ควรระบุแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหาได้ |
หลักพยากรณ์ที่ ๕ ทาย นิจ
พระเคราะห์ที่เป็นมหาอุจจ์ เมื่อโคจรไปอยู่ในที่เล็งหรือตรงข้ามกับราศีที่พระ
เคราะห์องค์นั้นเป็นมหาอุจจ์แล้ว เห็นดวงใหญ่อยู่ต่ำเรียกว่านิจ คำว่า นิจ มาจากคำว่า
นีจ ที่แปลว่าต่ำเตี้ย เมื่ออยู่ในที่ต่ำเตี้ยมีรูปดังนี้
ย่อมให้โทษแก่เจ้าชะตาคือตรงกันข้ามกับที่เป็นมหาอุจจ์ มีคาถาพยากรณ์ว่า
ดังนี้ :-
(๑) อปิเจว รวิ นิจฺจา อนึ่งพระอาทิตย์เป็นนิจ ผู้นั้นจะเป็นทาสแก่ตนเอง
มีญาติมิตรล้วนต่ำช้า ศัตรูจะเบียฬมาก
(๒) นิจฺจา จันทา พหุธนํ โรคา ผิวพระจันทร์เป็นนิจ ผู้นั้นจะมีโรคมาก
ทรัพย์จะฉิบหายด้วยภัยต่างๆ
(๓) นิจฺจา ภุมฺมา อปฺปธนํ ผิวพระอังคารเป็นนิจ ผู้นั้นหาทรัพย์มิได้
(๔) พุธ ญฺ ญาติ หิ เต ทาสี ผิวพระพุธเป็นนิจ ผู้นั้นมีญาติมักจะ
เป็นทาสท่าน
(๕) ชีวา โทสัญฺจ วาจก ผิวพฤหัสบดีเป็นนิจ ผู้นั้นจะเจรจามักจะเป็น
โทษด้วยปาก
(๖) สุกรปุตฺตวินาสนํ ผิวพระศุกร์เป็นนิจ ผู้นั้นจะมีบุตรมักตาย หาพืช-
พันธุ์บ่มิได้
(๗) เสารี พันฺธุ วินสฺสติ ผิวพระเสาร์เป็นนิจ ผู้นั้นจะเป็นคนทุศีล มี
เผ่าพันธุ์จักฉิบหาย จะพึ่งญาติบ่มิได้
(๘) ราหุ พนฺธํ จ ลพฺภติ ผิวพระราหูเป็นนิจ ผู้นั้นจะต้องพันธนาจำจอง
เนืองๆ