คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/วัน เดือน ปี วงกลม จักรราศี
หน้านี้ขาดแหล่งที่มาของเนื้อหา ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นเอกสารต้นฉบับที่สแกนมาอัปโหลดไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์แล้วจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หรือถ้าไม่สามารถอัปโหลดต้นฉบับเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็ควรระบุแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหาได้ |
โหราศาสตร์ภาคบรรยาย
ผู้ที่จะเรียนวิชาโหราศาสตร์ในทางคำนวณ จำเป็นจะต้องเรียนรู้การบัญญัติเวลา มาตราวงกลม ดวงจักรราศี นาที ตามที่ต้องใช้เสียก่อน จึงบรรยายไว้ในที่นี้เป็นเบื้องต้น
วัน หมายความว่า ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก จนตลอดเวลาที่จะ กลับมาขึ้นทางทิศเดิมอีก แบ่งเป็น ๔ ระยะ หรือ ๔ หลัก คือย่ำรุ่ง, เที่ยงวัน, ย่ำค่ำ, เที่ยงคืน เห็นดวงอาทิตย์อยู่เป็นกลางวัน ดวงอาทิตย์ลับไปแล้วมืดเป็นเวลากลางคืน หน้าร้อนกลางวันมาก กลางคืนน้อย หน้าหนาวกลางวันน้อย กลางคืนมาก จงดูตาม เวลาของพหินาทีที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
ดิถี, ดฤถี หมายความว่า ระยะทางโคจรของพระจันทร์นับแต่เวลาเที่ยงคืน วันหนึ่งไปจนถึงเวลาบรรจบรอบเที่ยงคืนอีกวันหนึ่ง และนับแต่หน้าวันพระจันทร์ดับมืด (อมาวสี) ไปจนถึงเห็นพระจันทร์เต็มดวง (บุรณมี) เรียกข้างขึ้นหรือชุณหปักษ์, นับแต่ หน้าวันพระจันทร์เต็มดวงไปจนถึงวันดับไม่เห็นพระจันทร์อีก เรียกว่าข้างแรมหรือกาฬปักษ์ รวม ๒ ปักษ์เป็นเดือนจันทรคติเดือนหนึ่ง มีดิถีแต่ ๑ ถึง ๒๙ หรือ ๓๐
เดือน หมายความว่า การโคจร บรรจบรอบหรือครบธาตุหนึ่ง, คือ พระจันทร์โคจรบรรจบรอบระหว่างกลางดวงอาทิตย์กับโลกครั้งหนึ่ง หรือพระอาทิตย์โคจร ตลอดธาตุที่จัดเป็นราศีหนึ่ง (หมายความว่าโลกโคจรไปตลอดราศีหนึ่ง)
ปี หมายความว่า กาลเป็นไปแห่งฤดูคิมหันต์, วสันต์, เหมันต์ตลอด รอบหนึ่ง หรือนับเวลาแต่พระอาทิตย์โคจรผ่านปริมณฑลกลมในท้องฟ้า แต่องศาที่ ๑ ในราษีเมษไปจนถึงสุดองศาที่ ๓๖๐ องศา
วงกลม คือ ปริมณฑลกลมโดยรอบ ในที่นี้หมายถึงทางเป็นวงกลมในท้องฟ้า แม้ทางเป็นรูปไข่ก็เรียกว่าวงกลมเหมือนกัน คือ กลมรี มีส่วนต่างๆ ของวงกลมแบ่งออก ตามชื่อดังนี้ :-
๖๐ พิลิบดา เป็น ๑ ลิบดา
๖๐ ลิบดา เป็น ๑ องศา
๓๐ องศา เป็น ๑ ราศี
๓ ราศี เป็น ๑ โกลัง หรือตรีจักร์
๒ โกลัง หรือตรีจักร์ เป็น ๑ อัฑฒจักร์
๒ อัฑฒจักร์ เป็น ๑ วงกลม
จักรราศี คือ ปริมณฑลกลมในท้องฟ้า, แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ :-
แบ่งออกโดยรอบได้ ๑๐๘ ส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่านวางศ์หนึ่ง มีเทวดา นพเคราะห์เป็นเจ้าของประจำรักษานวางศ์ๆ ละองค์ เรียกว่าตัวเกษตร เรียงลำดับ ตัวเกษตรอังคารเป็นปฐมนวางศ์เป็นต้นไป ส่วนตัวเกษตรอื่นที่ถัดไปก็เรียงตามลำดับ นวางศ์ที่ถัดไปนั้น เป็นลำดับกันไป คือ ๓, ๖, ๔, ๒, ๑, ๔, ๖, ๓, ๗, ๗, ๕ เมื่อครบ ๑๒ นวางศ์แล้วก็ตั้งต้นไปใหม่ ด้วยเกษตรตัวต้น คือ พระ ๓ อีก เมื่อได้ ๙ หน แล้ว จึงมาบรรจบรอบวงกลมที่ราศีเมษ แล้วรวม ๔ นวางศ์เข้า เป็น ๑ ฤกษ์, รวมทั้งหมดเป็น ๒๗ ฤกษ์ และนวางศ์แรกของฤกษ์เรียกปฐมบาท ที่ ๒ เรียกทุติยบาท ที่ ๓ เรียกตติยบาท ที่ ๔ เรียก จตุตถบาท พระเคราะห์ องค์ใดเป็นเกษตรประจำอยู่ในบาทของฤกษ์ใดดังต่อไปนี้ (พระ ๗ เกษตรตัวหลัง เป็นที่ ราหูมาอาศัย)
ฤกษ์ที่ | ปฐมบาท | ทุติยบาท | ตติยบาท | จตุตถบาท |
---|---|---|---|---|
๑,๑๐,๑๙ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ |
๒,๑๑,๒๐ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ |
๓,๑๒,๒๑ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
๔,๑๓,๒๒ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ |
๕,๑๔,๒๓ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ |
๖,๑๕,๒๔ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
๗,๑๖,๒๕ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ |
๘,๑๗,๒๖ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ |
๙,๑๘,๒๗ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
แล้วแบ่งฤกษ์ ๒๗ ออกเป็น ๓ ภาค ภาคละ ๙ ฤกษ์ มีเทวดา นพเคราะห์ประจำรักษาฤกษ์องค์ละฤกษ์ เรียงตามลำดับภูมิพยากรณ์ พระอาทิตย์แต่ฤกษ์ ๑ เป็นต้นไป ได้ ๓ รอบ จึงครบ ๒๗ ฤกษ์ ดังนี้ :-
พระเคราะห์ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฤกษ์ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ |
ฤกษ์ | ๑๐ | ๑๑ | ๑๒ | ๑๓ | ๑๔ | ๑๕ | ๑๖ | ๑๗ | ๑๘ |
ฤกษ์ | ๑๙ | ๒๐ | ๒๑ | ๒๒ | ๒๓ | ๒๔ | ๒๕ | ๒๖ | ๒๗ |
แล้วในภาคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ราศี ราศีละ ๙ นวางศ์ มีพระเคราะห์ รักษาทุกราศี เรียกว่าเกษตร คือ :-
ภาคที่ ๑ | ราศีเมษ พระอังคาร เป็น เกษตร | |
ราศีพฤษภ พระศุกร์ เป็น เกษตร | ||
ราศีเมถุน พระพุธ เป็น เกษตร | ||
ราศีกรกฎ พระจันทร์ เป็น เกษตร | ||
ภาคที่ ๒ | ราศีสิงห์ พระอาทิตย์ เป็น เกษตร | |
ราศีกันย์ พระพุธ เป็น เกษตร | ||
ราศีตุล พระศุกร์ เป็น เกษตร | ||
ราศี พฤศจิก พระอังคาร เป็น เกษตร | ||
ภาคที่ ๓ | ราศีธนู พระพฤหัสบดี เป็น เกษตร | |
ราศีมังกร พระเสาร์ เป็น เกษตร | ||
ราศีกุมภ์ พระราหู เป็น เกษตร | ||
ราศีมีน พระพฤหัสบดี เป็น เกษตร |
นวางศ์ทั้ง ๙ ของราศีมีชื่อดังต่อไปนี้ นวางศ์ลูกแรกของราศีเรียก ปฐมนวางศ์ ที่ ๒ เรียกทุติยนวางศ์ ที่ ๓ เรียกตติยนวางศ์ ที่ ๔ เรียก จตุตถนวางศ์ ที่ ๕ เรียกปัญจมนวางศ์ ที่ ๖ เรียกฉัฏฐมนวางศ์ ที่ ๗ เรียก สัตตมนวางศ์ ที่ ๘ เรียกอัฏฐมนวางศ์ ที่ ๙ นวมนวางศ์ และพระเคราะห์ตัว เกษตรองค์ใดประจำนวางศ์ใด ราศีใด จงดูช่องตารางต่อไปนี้
ราศี | ปฐม | ทุติย | ตติย | จตุตถ | ปัญจม | ฉัฏฐม | สัตตม | อัฏฐม | นวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เมษ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ |
พฤษภ | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ |
เมถุน | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ |
กรกฎ | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
สิงห์ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ |
กันย์ | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ |
ตุล | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ |
พฤศจิก | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
ธนู | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ |
มังกร | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ | ๒ | ๑ | ๔ |
กุมภ์ | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ | ๓ | ๖ | ๔ |
มีน | ๒ | ๑ | ๔ | ๖ | ๓ | ๕ | ๗ | ๗ | ๕ |
แล้วแบ่งลูกนวางศ์ในราศีหนึ่งนั้นแบ่งออกเป็น ๓ สามส่วน ส่วนที่หนึ่งมี ๓ นวางศ์ เรียกตรียางค์ พระเคราะห์ที่เป็นตัวเกษตรเจ้าของราศีนั้น ประจำปฐมตรียางศ์ แล้วมีตัวเกษตรอีก ๒ ตัวที่อยู่ในราศีที่มีธาตุอย่างเดียวกันกับราศีของพระเคราะห์ที่อยู่ ปฐมตรียาศ์นั้น ประจำทุติยตรียางศ์ตัว ๑ และตติยตรียางศ์ตัวหนึ่ง คือตามลำดับคู่ธาตุ ที่เรียกว่าห้าละห้า ให้นับแต่ราศีที่พระเคราะห์ตรียางศ์ปฐมอยู่นั้นไปได้ ๕ ราศี แล้วลง เคราะห์ประจำทุติยตรียางศ์ไปได้ ๕ ราศี ลงเกษตรเจ้าของราศีที่ ๕ นั้น เป็นพระ เคราะห์ประจำตติยตรียางศ์ ในราศีเมษได้พระ ๓ ปฐมตรียางศ์ พระ ๑ อยู่ ทุติยตรียางศ์ พระ ๕ อยู่ตติยตรียางศ์ ถ้าจะรู้ราศีอื่นๆ พึงตั้งเกษตร เจ้าของราศีลง เป็นปฐมตรียางศ์ แล้วทำไปโดยนัยที่กล่าวมาแล้วคงได้ผลดังนี้ :-
ราศี | ปฐมตรียางศ์ | ทุติยตรียางศ์ | ตติยตรียางศ์ |
---|---|---|---|
เมษ | ๓๐ | ๑ | ๕ |
พฤษภ | ๖ | ๔๐ | ๗ |
เมถุน | ๔ | ๖ | ๗๐ |
กรกฎ | ๒ | ๓ | ๕๐ |
สิงห์ | ๑ | ๕๐ | ๓ |
กันย์ | ๔๐ | ๗ | ๖ |
ตุล | ๖ | ๗๐ | ๔ |
พฤศจิก | ๓ | ๕ | ๒๐ |
ธนู | ๕๐ | ๓ | ๑ |
มังกร | ๗ | ๖ | ๔๐ |
กุมภ์ | ๗ | ๔๐ | ๖ |
มีน | ๕๐ | ๒ | ๓ |
เครื่องหมาย ๐ ที่อยู่ใต้เลขพระเคราะห์นั้น แปลว่าพิษ เป็นที่ให้โทษ
ปฐมตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นดาวรูปนาค เรียกพิษนาค
ทุติยตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นดาวรูปสุนัข เรียกพิษสุนัข
ตติยตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นรูปดาวครุฑ เรียกพิษครุฑ
และในราศีหนึ่งๆ คงมีรูปดาวประจำราศี, รูปดาวฤกษ์ รูปดาวตรียางศ์และมี
รูปดาวปีอยู่ด้วย, ดาวชวดอยู่ราศีสิงห์, ดาวฉลูอยู่ราศีกันย์, ขาลอยู่ราศีตุล, เถาะอยู่ราศี
พฤศจิก, มะโรงอยู่ราศีธนู, มะเส็งอยู่ราศีมังกร, มะเมียอยู่ราศีกุมภ์, มะแมอยู่ราศีมีน,
วอกอยู่ราศีเมษ, ระกาอยู่ราศีพฤษภ, จออยู่ราศีเมถุน, กุนอยู่ที่ราศีกรกฎ