คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/วิถี มณฑล

จาก วิกิซอร์ซ


วิถี มณฑล

วิถี, มณฑล พระอาทิตย์โคจรในท้องฟ้า มีรอยทางที่เรียก อิคลิปติค
(Ecliptic) จะเห็นได้ว่าส่วนเหนือที่อยู่ราศีกรกฎ ส่วนใต้ไปถึงดาวราศีมังกร ทางโคจรนี้
แบ่งออกเป็น ๓ มณฑล ฝ่ายเหนือเรียกอุตตรมณฑล ฝ่ายกลางเรียกมัชฌิมมณฑล
ฝ่ายใต้เรียกพาหิรกมณฑล แล้วแบ่งทางยาวโดยรอบท้องฟ้าออกเป็น ๓ ภาค ภาคต้น
เรียกโคณวิถี ภาคกลางเรียกอัชชวิถี ภาคปลายเรียกนาควิถี ที่เรียกว่าโคณวิถีนั้นมี
คำอธิบายว่าเป็นฤดูกาลที่มีน้ำบ้าง, แห้งบ้าง เป็นที่ชอบแห่งโค คือฤดูหนาวเดือน
๑๒/๑/๒/๓ อัชชวิถีเป็นทางที่กันดารน้ำ สัตว์จำพวกแพะอยู่ได้ดีคือ ฤดูร้อนเดือน
๔/๕/๖/๗ นาควิถีเป็นทางที่นองไปด้วยน้ำ เป็นที่ชอบใจแห่งนาค คือ ฤดูฝนเดือน
๘/๙/๑๐/๑๑ ฤดูทั้งสามนี้ ตามที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ กำหนดต้นฤดูแต่วันกลางเดือนของ
เดือนต้นภาคแล้วล้ำเข้าไปในเดือนต้นของฤดูที่ต่อกันอีก ๑๕ วัน กำหนดวิถีโคจรตามเส้น
ทางเป็นรายเดือนดังรูปต่อไปนี้ :-

เส้นทางพระอาทิตย์โคจร

อธิบายว่า ถ้าพระอาทิตย์โคจรทางนอกฝ่ายทิศทักษิณที่เรียกว่าพาหิรกมณฑล
แล้ว เห็นดวงใหญ่อยู่ต่ำเรียกนิจจ์ และไม่โคจรในอุตตรมณฑลเลย อัชชวิถีโคจรตลอด
ทั้ง ๓ มณฑล แต่อยู่ในทางมัชฌิมมณฑลเป็นส่วนมาก นาควิถีโคจรอยู่ฝ่ายเหนืออุตตร-
มณฑลเป็นส่วนมาก ไม่โคจรไปข้างใต้ในพาหิรกมณฑลเลย

ในเรื่องกำหนดเดือนตามวิถีนี้ กำหนดไว้พอเป็นประมาณ เพราะแต่ก่อนใช้
เดือนทางจันทรคติ แต่ตามความจริงในทางโหราศาสตร์หมายถึงพระอาทิตย์โคจร คือ
พระอาทิตย์โคจรแต่ฤกษ์ ๑๗ อนุราธฤกษ์ถึงฤกษ์ที่ ๒๕ บุพพาภัทท รวมเป็น ๙
ฤกษ์เป็นทางโคจรในโคณวิถี แต่ที่ ๒๖ อุตตราภัททถึงฤกษ์ที่ ๗ ปุนัพพสุรวม
๙ ฤกษ์เป็นทางในอัชชวิถี แต่ฤกษ์ที่ ๘ ปุสยฤกษ์ถึงฤกษ์ที่ ๑๖ วิสาขฤกษ์ รวม
๙ ฤกษ์เป็นทางโคจรในนาควิถี

และในที่สุดแห่งวิถีทั้ง ๓ คือ ฤกษ์บุพพาภัทท ปุนัพพสุ วิสาขเป็นตรีนิเอขัง
คือ ลูกนวางศ์ที่ ๔ ของฤกษ์ เกี่ยวไปอยู่ในราศีข้างหน้า ๑ นวางศ์เรียกว่าฤกษ์
เกี่ยว