คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑๖๔/๒๕๕๕

จาก วิกิซอร์ซ

คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ที่ ๑๖๔/๒๕๕๕

เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ

เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสมาคมการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงมีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้ยกเลิกคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๕๙/๒๕๕๕ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๕

ข้อ ๒  มอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบ

(๑) รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(๒) ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ

(๓) ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ

(๔) ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ

(๕) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ

(๖) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย

(๗) ผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ

(๘) ผู้อำนวยการสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(๙) หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด

(๑๐) นิติกรระดับชำนาญการขึ้นไปในสำนักกฎหมาย

(๑๑) นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา

ข้อ ๓  ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นิติกรระดับชำนาญการขึ้นไปในสำนักกฎหมายและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตและสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา เรียกชำระเงินค่าปรับและเปรียบเทียบความผิดที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ สำหรับกรณีความผิดที่เกิดขึ้นในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรและดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าด้วยการเปรียบเทียบตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(๒) ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ผู้อำนวยการ สำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ และผู้อำนวยการสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการออกหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาและเรียกชำระเงินค่าปรับ กรณีตรวจพบการกระทำความผิดตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

บรรยงค์  ลิ้มประยูรวงศ์

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า


[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๒๘/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖


งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"