คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๐/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๑๐/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม




เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้าง พื้นฐานการคมนาคมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชน สมควรมีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นใน เรื่องดังกล่าว รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมประกอบด้วย

(๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
(๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
(๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
(๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๖) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
(๗) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
(๘) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๙) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
(๑๐) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(๑๑) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการ
(๑๒) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการ
(๑๓) นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๔) นายกสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย กรรมการ
(๑๕) นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กรรมการ
(๑๖) นายนพพร เทพสิทธา กรรมการ
(๑๗) นายไพบูลย์ นลินทรากูร กรรมการ
(๑๘) นายมาโนช โลหเตปานนท์ กรรมการ
(๑๙) นายวิโรจน์ รุโจปการ กรรมการ
(๒๐) นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการ
(๒๑) นายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ กรรมการ
(๒๒) นายอนนต์ ศิริแสงทักษิณ กรรมการ
(๒๓) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร กรรมการและเลขานุการ

ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) เสนอความเห็นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ
(๒) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศสำหรับการ ขนส่งทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ระบบการขนส่งทั้งในระบบถนน ระบบราง ระบบคมนาคมทางน้ำ และระบบคมนาคมทางอากาศมีความเชื่อมโยงและไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและแผนการ จัดการพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศในระดับภูมิภาค
(๓) เสนอแนะแนวทางการลงทุนและการจัดหาแหล่งเงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังของรัฐ
(๔) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการคมนาคมที่มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๕) เชิญเจ้าหน้าที่หรือบุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลหรือขอ เอกสารจากหน่วยงานดังกล่าว มาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๐๙/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๑๑/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"