คำสั่งศาลอุทธรณ์ คำร้องที่ ปอ 63/2564

จาก วิกิซอร์ซ
ตราครุฑ
ตราครุฑ
ศาลอาญา
คดีหมายเลขดำที่ อ ๒๘๖/๒๕๖๔
คำร้องที่ ปอ ๖๓/๒๕๖๔
ศาลอุทธรณ์
วันที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๔
 
  • ชนาธิป เหมือนพะวงศ์
  • (นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์)
  • ได้รับคำร้องของ จำเลย
  • ลงวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
  • หมายเหตุ ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมายังศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑๒ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
ในคดีอาญา ระหว่าง 
นายพริษฐ์ หรือเพนกวิน ชิวารักษ์ จำเลย
ความว่า จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา รายละเอียดปรากฏตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง
  • คำสั่ง
  • วันที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๔

พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่า ความผิดตามฟ้องมีอัตราโทษสูง การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคล อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือวุ่นวายขึ้น และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดี อย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย นอกจากนี้ ยังปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยว่า ถูกกล่าวหาดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดในลักษณะทำนองเดียวกันในคดีอื่นอีก อีกทั้งคดีนี้ จำเลยถูกจำกุมตามหมายจับ เมื่อพิจารณาประกอบคำคัดค้านของพนักงานอัยการ โจทก์ แล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาแล้ว จำเลยอาจจะก่อให้เกิดเหตุอันตรายหรือความเสียหายประการอื่นอีก และน่าเชื่อว่า จำเลยอาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง.

[ลงชื่อ]

[ลงชื่อ]

[ลงชื่อ]

บรรณานุกรม[แก้ไข]

  • ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. (2564, 15 กุมภาพันธ์). สำหรับคดีชุมนุม Mobfest #ม็อบ14พฤศจิกา ที่มี "เพนกวิน" ชิวารักษ์ เป็นจำเลย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้น ไม่ให้ประกันตัว อ้างเหตุผลคล้ายคลึงกัน ทั้งระบุเมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนักงานอัยการโจทก์ เชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัว จำเลยอาจก่อเหตุอันตรายหรือความเสียหาย หรือหลบหนี. สืบค้นจาก https://twitter.com/TLHR2014/status/1361264189147258881

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"