ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:กฎอัยการศึก ลงวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1789

จาก วิกิซอร์ซ
กฎอัยการศึก ลงวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332)
โดย สมัชชาแห่งชาติ, แปลจากภาษาฝรั่งเศส โดย วิกิซอร์ซ
Déclaration du Roi
Portant sanction d’un décret de l’Assemblée nationale, du 21 octobre 1789, pour l’établissement d’une loi martiale.
ประกาศของพระมหากษัตริย์
พระราชทานพระราชานุมัติแก่กฤษฎีกาของสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 1789 สำหรับสถาปนากฎอัยการศึก
Vu, par le Roi, le décret de l’Assemblée nationale, de ce jour, dont la teneur suit: กฤษฎีกาของสมัชชาแห่งชาติ ฉบับลงวันนี้ ที่พระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรแล้ว มีเนื้อความตามนี้
Extrait du procès-verbal de l’Assemblée nationale, du 21 octobre 1789. คัดมาจากบันทึกวาจาของสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 1789

loi martiale contre les attroupements กฎอัยการศึกต่อต้านการชุมนุม
L’Assemblée nationale, considérant que la liberté affermit les empires, mais que la licence les détruit; que, loin d’être le droit de tout faire, la liberté n’existe que par l’obéissance aux lois; que si, dans les temps calmes, cette obeisance est suffisamment assurée par l’autorité publique ordinaire, il peut survenir des époques difficiles, où les peuples, agités par des causes souvent criminelles, deviennet l’instrument d’intrigues qu’ils ignorent; que ces temps de crise nécessitent momentanément des moyens extraordinaires pour maintenir la tranquillité publique et conserver les droits de tous, a décrété la présente loi martiale: ด้วยเห็นว่า เสรีภาพเป็นเครื่องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่จักรวรรดิต่าง ๆ[1] แต่เสรีอย่างไร้ขอบเขต[2] จักทำลายจักรวรรดิทั้งหลาย เสรีภาพ ซึ่งเป็นคนละสิ่งกับสิทธิที่จะทำการใดก็ได้นั้น จะมีอยู่ได้ก็แต่โดยการเชื่อฟังกฎหมาย ถ้าในยามสงบ จะแน่ใจได้ว่ามีการเชื่อฟังดังกล่าวก็โดยใช้อำนาจสาธารณะตามปรกติ ครั้นผู้คนถูกปลุกระดมด้วยสาเหตุที่มักเป็นเรื่องผิดกฎหมายให้กลายเป็นเครื่องมือในแผนการที่ตนเองไม่สนใจรับรู้แล้วไซร้ ก็เป็นได้ที่จะเกิดยุคเข็ญ และในช่วงวิกฤติเช่นนี้ จำจะต้องมีวิธีการพิเศษเป็นการชั่วคราวเพื่อธำรงคงไว้ซึ่งความสงบสาธารณะและพิทักษ์รักษาซึ่งสิทธิของคนทั้งปวง สมัชชาแห่งชาติจึงตรากฎอัยการศึกนี้ขึ้นไว้
Article 1er. — Dans le cas où la tranquillité publique sera en péril, les officiers municipaux des lieux seront tenus, en vertu du pouvoir qu’ils ont reçu de la Commune, de déclarer que la force militaire doit être déployée à l’instant, pour rétablir l’ordre public, à peine, par ces officiers, d’être résponsables des suites de leur négligence. มาตราแรก ในกรณีที่ความสงบสุขสาธารณะตกอยู่ในอันตราย ให้เจ้าพนักงานเทศบาลมีพันธะที่จะต้องประกาศโดยอาศัยอำนาจซึ่งได้รับจากตำบลว่า ต้องใช้กำลังทหารทันทีเพื่อฟื้นฟูความเรียบร้อยสาธารณะ โดยที่เจ้าพนักงานเหล่านี้แทบไม่ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากความประมาทของตน
II. — Cette déclaration se fera, en exposant à la principale fenêtre de la Maison de Ville et en portant dans toutes les rues et carrefours un drapeau rouge; et en même temps les officiers municipaux requerront les chefs des Gardes nationales, des troupes réglées et des maréchaussées, de prêter main-forte. 2. ประกาศเช่นนี้ให้กระทำด้วยการเผยธงแดงไว้ที่หน้าต่างบานหลักของศาลากลาง[3] และถือธงแดงไปตามถนนและทางแยกทุกสาย และขณะเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานเทศบาลร้องขอต่อผู้บัญชาการองครักษ์แห่งชาติ กองทหารประจำการ และ มาเรโชเซ[4] ให้ยื่นมือเข้าช่วย
III. — Au signal seul du drapeau rouge, tous attroupements, avec ou sans armes, deviendront criminels, et devront être dissipés par la force. 3. เมื่อมีสัญญาณธงแดงเพียงเท่านี้แล้ว การชุมนุมทั้งหมด จะมีอาวุธด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้กลายเป็นความผิดอาญา และจะต้องถูกสลายโดยใช้กำลัง
IV. — Les Gardes nationales, troupes réglées et maréchaussées, requises par les officiers municipaux, seront tenues de marcher sur-le-champ, commandées par leurs officiers, précédées d’un drapeau rouge, et accompagnées d’un officier municipal au moins. 4. องครักษ์แห่งชาติ กองทหารประจำการ และ มาเรโชเซ[4] ที่ได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงานเทศบาล ให้มีพันธะที่จะเคลื่อนพลโดยพลันภายใต้การบัญชาของเจ้าพนักงานของตน โดยให้มีธงแดงนำ และมีเจ้าพนักงานเทศบาลอย่างน้อยหนึ่งคนสมทบไปด้วย
V. — Il sera demandé, par un des officiers municipaux, aux personnes attroupées, quelle est la cause de leur réunion et le grief dont elles demandent le redressement. Elles seront autorisées à nommer six d’entre elles, pour exposer leur réclamation et présenter leur pétition, et tenues de se séparer sur-le-champ et de se retirer paisiblement. 5. ให้เจ้าพนักงานเทศบาลคนหนึ่งคนใดถามไปยังบุคคลที่ชุมนุมกันว่า สาเหตุที่มารวมตัวกันนั้นเป็นประการใด และความทุกข์ร้อนที่พวกตนเรียกร้องให้เยียวยานั้นเป็นประการใด ให้เขาเหล่านั้นมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลหกคนจากกลุ่มพวกตนเข้ามาแถลงข้อกล่าวอ้างและเสนอคำร้อง และมีพันธะที่จะต้องแยกย้ายโดยไม่ชักช้าแล้วถอนตัวไปโดยสันติ
VI. — Faute par les personnes attroupées de se retirer en ce moment, il leur sera fait à haute voix, par les officiers municipaux ou l’un d’eux, trois sommations de se retirer tranquillement dans leur domicile. La première sommation sera exprimée en ces termes: « Avis est donné que la loi martiale est proclamée, que tous attroupements sont criminels; on va faire feu; que les bons citoyens se retirent. » A la deuxième et troisième sommation, il suffira de répéter ces mots: « On va faire feu; que les bons citoyens se retirent. » L’officier municipal énoncera que c’est ou la première, ou la seconde, ou la dernière. 6. หากบุคคลที่ชุมนุมกันนั้นไม่ถอนตัวไปในเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานเทศบาลทั้งหลายหรือคนหนึ่งคนใดในบรรดาเจ้าพนักงานเทศบาลนั้นออกคำสั่งด้วยเสียงอันดังสามครั้งเพื่อให้ถอนตัวกลับภูมิลำเนาไปโดยราบรื่น คำสั่งครั้งแรกให้แสดงด้วยถ้อยคำดังนี้ "ขอแจ้งว่า ได้ประกาศกฎอัยการศึกแล้ว การชุมนุมทั้งหมดจึงเป็นความผิดอาญา เราจะยิง พลเมืองดีจงถอนตัวไป" ส่วนคำสั่งครั้งที่สองและสามนั้น ให้ทวนคำดังนี้ก็พอแล้ว "เราจะยิง พลเมืองดีจงถอนตัวไป" ให้เจ้าพนักงานเทศบาลประกาศด้วยว่า เป็นครั้งที่หนึ่ง หรือครั้งที่สอง หรือครั้งสุดท้าย
VII. — Dans le cas où, soit avant, soit pendant le prononcé des sommations, l’attroupement commettrait quelques violences, et pareillement dans le cas où, après les sommations faites, les personnes attroupées ne se retireraient pas paisiblement, la force des armes sera à l’instant déployée contre les séditieux, sans que personne soit responsable des évènements qui pourront en résulter. 7. ในกรณีที่การชุมนุมก่อความรุนแรงบางประการ ไม่ว่าก่อนหรือขณะประกาศคำสั่งก็ดี และเช่นเดียวกับในกรณีที่ได้มีคำสั่งแล้ว บุคคลที่ชุมนุมไม่ถอนตัวไปโดยสันติก็ดี ให้ใช้กองกำลังติดอาวุธต่อผู้จลาจลนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดรับผิดชอบในเหตุทั้งหลายที่อาจเป็นผลสืบเนื่อง
VIII. — Dans le cas où le peuple attroupé, n’ayant fait aucune violence, se retirerait paisiblement, soit avant, soit immédiatement après la dernière sommation, les moteurs ou instigateurs de la sédition, s’ils sont connus, pourront seuls être poursuivis extraordinairement, et condamnés, savoir: à une prison de trois ans, si l’attroupement n’était pas armé, et à la peine de mort, si l’attroupement était en armes. Il ne sera fait aucune poursuite contre les autres. 8. ในกรณีที่ผู้ชุมนุมถอนตัวไปโดยสงบโดยมิได้กระทำความรุนแรงประการใด ไม่ว่าก่อนหรือทันทีที่ได้มีคำสั่งครั้งสุดท้าย เฉพาะผู้ยุยงหรือผู้ส่งเสริมให้เกิดการจลาจล ถ้าระบุตัวได้ จะถูกดำเนินคดีด้วยวิธีพิเศษ และจะต้องระวางโทษ กล่าวคือ จำคุกสามปี ถ้าการชุมนุมไม่มีอาวุธ และประหารชีวิต ถ้าการชุมนุมมีอาวุธ ส่วนคนอื่น ๆ ทั้งหลายนั้นจะไม่ถูกดำเนินคดี
IX. — Dans le cas où le peuple attroupé ferait quelques violences, ou ne se retirerait pas après la dernière sommation, ceux qui échapperont aux coups de la force militaire et qui pourront être arrêtés seront punis d’un emprisonnement d’un an, s’ils étaient sans armes; de trois ans, s’ils étaient armés; et de la peine de mort, s’ils étaient convaincus d’avoir commis des violences. Dans le cas du présent article, les moteurs et instigateurs de la sédition seront de même condamnés à mort. 9. ในกรณีที่ผู้ชุมนุมกระทำความรุนแรงบางประการ หรือไม่ถอนตัวไปหลังจากคำสั่งครั้งสุดท้าย บรรดาผู้ที่รอดพ้นจากการปราบปรามของกองกำลังทหาร และผู้ที่ถูกจับกุมได้ ต้องถูกลงโทษจำคุกหนึ่งปี ถ้าไม่มีอาวุธ สามปี ถ้ามีอาวุธ และประหารชีวิต ถ้าถูกพิพากษาว่าได้ก่อความรุนแรง ในกรณีตามมาตรานี้ ผู้ยุยงและผู้ส่งเสริมให้เกิดการจลาจล ต้องระวางโทษประหารชีวิตดุจเดียวกัน
X. — Tous chefs, officiers et soldats des Gardes nationales, des troupes et des maréchaussées qui exciteront et fomenteront des attroupements, émeutes et séditions, seront déclarés rebelles à la nation, au Roi et à la loi, et punis de mort; et ceux qui refuseront le service, à la réquisition des officiers municipaux, seront dégradés et punis de trois ans de prison. 10. ผู้บัญชาการ เจ้าพนักงาน และพลทหารทุกคนในองครักษ์แห่งชาติ กองทหาร และ มาเรโชเซ[4] ที่กระตุ้นหรือยั่วยุให้เกิดการชุมนุม การลุกฮือ และการจลาจล จะถูกประกาศว่าเป็นกบฏต่อชาติ ต่อพระมหากษัตริย์ และต่อกฎหมาย และต้องถูกลงโทษประหารชีวิต ส่วนบรรดาผู้ไม่ยอมปฏิบัติการตามคำร้องขอของเจ้าพนักงานเทศบาล จะต้องถูกลดขั้นและถูกลงโทษจำคุกสามปี
XI. — Il sera dressé, par les officiers municipaux, procès-verbal, qui contiendra le récit des faits. 11. ให้เจ้าพนักงานเทศบาลจัดทำบันทึกวาจาโดยให้มีรายงานข้อเท็จจริง
XII. — Lorsque le calme sera rétabli, les officiers municipaux rendront un décret qui fera cesser la loi martiale, et le drapeau rouge sera retiré et remplacé, pendant huit jours, par un drapeau blanc. 12. เมื่อฟื้นฟูความสงบได้แล้ว ให้เจ้าพนักงานเทศบาลออกกฤษฎีกาซึ่งให้เลิกใช้กฎอัยการศึก และธงแดงนั้นให้ปลดลงแล้วแทนที่ด้วยธงขาวเป็นเวลาแปดวัน
Signé: Fréteau, président; Alexandre de Lameth, Feydel, Bureau de Pusy, le marquis de Rostaing, secrétaires. ลงนาม: เฟรโต, ประธาน;[5] อาแล็กซ็องดร์ เดอ ลาแม็ต,[6] เฟย์เดล,[7] บูว์โร เดอ ปูว์ซี,[8] มาร์กี เดอ โรสแต็ง, เลขานุการ

Le Roi a sanctionné et sanctionne le susdit décret, pour être exécuté dans tout son royaume. Mande et ordonne Sa Majesté, a tous les officiers municipaux, commandants de ses troupes, des troupes nationales, des maréchaussées et autres qu’il appartiendra, de la maintenir et observer, chancun en ce qui le concerne; et sera la présente Déclaration imprimée, publiée et affichée partout où besoin sera, et sur icelle expédié toutes lettres patentes nécessaires. พระมหากษัตริย์ทรงอนุมัติและได้ทรงอนุมัติแล้วซึ่งกฤษฎีกาข้างต้นเพื่อให้นำไปดำเนินการทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ พระองค์มีพระราชโองการมานพระบัณฑูรมายังบรรดาผู้เป็นเจ้าพนักงานเทศบาล ผู้บังคับการกองทหารของพระองค์ กองทหารแห่งชาติ มาเรโชเซ[4] และบุคคลอื่นทั้งหลายที่กฤษฎีกานี้จะได้เกี่ยวได้ข้อง ให้รักษาและปฏิบัติตามกฤษฎีกานี้ ตราบเท่าที่เกี่ยวข้องกับตน และประกาศอันนี้ ให้มีการพิมพ์ เผยแพร่ และปิดไว้ในทุกที่ที่ต้องมี และหนังสือตราตั้งอันจำเป็นสำหรับประกาศนี้ ให้มีการจัดส่งจงทุกฉบับไป
Fait à Paris, le vingt-un octobre mil sept cent quatre-vingt-neuf. กระทำ ณ ปารีส วันที่ยี่สิบเอ็ด ตุลาคม ปีพันเจ็ดร้อยแปดสิบเก้า
  • Signé: Louis.
  • Et plus bas: de Saint-Priest.
  • ลงพระนาม: หลุยส์[9]
  • และลงนามรับสนอง: เดอ แซ็ง-พรีแย็สต์[10]

เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ

[แก้ไข]
  1. "จักรวรรดิ" ในที่นี้ อาจมีความหมายเพียง ประเทศหรือแว่นแคว้นโดยทั่ว ๆ ไป มากกว่าจะมีความหมายเจาะจงถึงดินแดนของจักรพรรดิ ดังที่ CNRTL (2012a) ว่า คำนาม "empire" สามารถหมายถึง ระบอบของจักรพรรดิ (régime...d’un empereur), รัฐ (État), กลุ่มรัฐ (ensemble d’États), รัฐที่มีความสำคัญบางประการ ไม่ว่าจะมีจักรพรรดิเป็นประมุขหรือไม่ (État d’une certaine importance ayant ou n’ayant pas d’empereur à sa tête) ฯลฯ
  2. CNRTL (2012b) ว่า คำนาม "licence" โดยทั่วไปหมายถึง การอนุญาต (permission) หรือใบอนุญาต (document écrit correspondant à une permission) และยังสามารถหมายถึง เสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพที่มากเกินไป (liberté que se donne quelqu’un; liberté généralement excessive que se donne une personne, parfois un groupe de personnes)
  3. "Maison de ville" แปลตรงตัวว่า อาคารประจำเมือง ในปัจจุบันหมายถึง ทาวน์เฮาส์ (บ้านแถว) แต่ในสมัยโบราณหมายถึง ศาลากลาง หรือที่ว่าการเมือง CNRTL (2012c) ว่า มีความหมายเหมือนกับ "hôtel de ville"
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 CNRTL (2012d) ว่า คำนาม "maréchaussée" หมายถึง กองกำลังอัศวินที่รับผิดชอบการรักษาความเรียบร้อยและความมั่นคงสาธารณะในช่วงระบอบเก่า (corps de cavaliers chargé de maintenir l’ordre et la sécurité publique sous l’Ancien Régime)
  5. แอมานุแอล มารี มีแชล ฟีลิป เฟรโต เดอ แซ็ง-ฌุสต์ (Emmanuel Marie Michel Philippe Fréteau de Saint-Just) ประธานสมัชชาแห่งชาติ
  6. อาแล็กซ็องดร์-เตโอดอร์-วิกตอร์ กง เดอ ลาแม็ต (Alexandre-Théodore-Victor, comte de Lameth)
  7. อาจหมายถึง กราบรีแยล เฟย์เดล (Gabriel Feydel)
  8. ฌ็อง-ซาวีเยร์ บูว์โร เดอ ปูว์ซี (Jean-Xavier Bureau de Pusy)
  9. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI)
  10. ฟร็องซัว-แอมานุแอล กีญาร์ กง เดอ แซ็ง-พรีแย็สต์ (François-Emmanuel Guignard, comte de Saint-Priest)

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

ต้นฉบับ

[แก้ไข]

อ้างอิง

[แก้ไข]
  • CNRTL (2012a). "Empire". Ortolang (ภาษาFrench). 
  • CNRTL (2012b). "Licence". Ortolang (ภาษาFrench). 
  • CNRTL (2012c). "Maison". Ortolang (ภาษาFrench). 
  • CNRTL (2012d). "Maréchaussée". Ortolang (ภาษาFrench). 
  งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ:

งานนี้เป็นสาธารณสมบัติในประเทศฝรั่งเศส เนื่องจาก

  • เป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ (หรือผู้สร้างสรรค์คนสุดท้าย ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วมกันหลายคน) ถึงแก่ความตายแล้วอย่างน้อย 70 ปี (CPI art. L123-1) และไม่ได้รับประโยชน์จากการขยายอายุลิขสิทธิ์ในรูปแบบใด ๆ (CPI art. L123-8, L123-9, L123-10)
  • เป็นงานที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ หรือไม่อาจระบุตัวผู้สร้างสรรค์ หรือเป็นประมวลผลงาน ซึ่งได้เผยแพร่มาแล้วอย่างน้อย 70 ปี (CPI art. L123-3)
งานแปล:

ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก
ถ้าคำประกาศดังกล่าวไม่อาจเป็นไปได้ในทางกฎหมาย ข้าพเจ้าก็ให้ทุกคนมีสิทธิใช้งานนี้ได้ในทุกกรณี โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนด