ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 11

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
X. กำไรถูกสร้างขึ้นด้วยการขายโภคภัณฑ์ที่มูลค่าของมัน
Suppose an average hour of labour to be realized in a value equal to sixpence, or twelve average hours of labour to be realized in six shillings. Suppose, further, the value of labour to be three shillings or the produce of six hours' labour. If, then, in the raw material, machinery, and so forth, used up in a commodity, twenty-four hours of average labour were realized, its value would amount to twelve shillings. If, moreover, the workman employed by the capitalist added twelve hours of labour to those means of production, these twelve hours would be realized in an additional value of six shillings. The total value of the product would, therefore, amount to thirty-six hours of realized labour, and be equal to eighteen shillings. But as the value of labour, or the wages paid to the workman, would be three shillings only, no equivalent would have been paid by the capitalist for the six hours of surplus labour worked by the workman, and realized in the value of the commodity. By selling this commodity at its value for eighteen shillings, the capitalist would, therefore, realize a value of three shillings, for which he had paid no equivalent. These three shillings would constitute the surplus value or profit pocketed by him. The capitalist would consequently realize the profit of three shillings, not by selling his commodity at a price over and above its value, but by selling it at its real value. สมมุติแรงงานเฉลี่ยต่อชั่วโมงกลายเป็นมูลค่าเท่ากับหกเพนซ์ หรือสิบสองชั่วโมงกลายเป็นหกชิลลิง สมมุติต่อว่ามูลค่าของแรงงานจะเท่ากับสามชิลลิงหรือผลผลิตของแรงงานหกชั่วโมง แล้วหากในวัตถุดิบ เครื่องจักร และอื่น ๆ ซึ่งถูกใช้ไปกับโภคภัณฑ์มีแรงงานเฉลี่ยอยู่ยี่สิบสี่ชั่วโมง มูลค่าของมันก็จะมีปริมาณเท่ากับสิบสองชิลลิง มากไปกว่านั้นหากคนงานซึ่งนายทุนจ้างได้เพิ่มแรงงานสิบสองชั่วโมงเข้ากับปัจจัยการผลิตพวกนั้นอีก เวลาสิบสองชั่วโมงนั้นก็จะกลายรูปเป็นมูลค่าเพิ่มอีกหกชิลลิง มูลค่ารวมของผลผลิตจึงมีปริมาณเท่ากับแรงงานที่กลายเป็นจริงสามสิบหกชั่วโมงและเท่ากับสิบแปดชิลลิง แต่เมื่อมูลค่าของแรงงานหรือค่าจ้างซึ่งคนงานได้รับนั้นเท่ากับสามชิลลิงเท่านั้น แรงงานส่วนเกินอีกหกชั่วโมงที่คนงานได้ทำงานไปก็จะไม่มีค่าจ้างที่เท่ากันจากนายทุนแต่จะปรากฎตัวในมูลค่าของโภคภัณฑ์ นายทุนซึ่งขายโภคภัณฑ์นี้ที่มูลค่าของมันเท่ากับสิบแปดชิลลิงก็จึงจะทำให้มูลค่าสามชิลลิงกลายเป็นจริงขึ้นมาซึ่งเขาไม่ได้จ่ายไปเลยในปริมาณที่เท่ากัน สามชิลลิงนี้จึงประกอบตัวเป็นมูลค่าส่วนเกินหรือกำไรที่เขาเก็บเข้ากระเป๋าตัวเอง นายทุนจึงได้กำไรสามชิลลิงมา โดยไม่ได้ขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาแพงเกินไปกว่ามูลค่าของมัน แต่ขายที่มูลค่าที่แท้จริงของมัน
The value of a commodity is determined by the total quantity of labour contained in it. But part of that quantity of labour is realized in a value, for which an equivalent has been paid in the form of wages; part of it is realized in a value for which no equivalent has been paid. Part of the labour contained in the commodity is paid labour; part is unpaid labour. By selling, therefore, the commodity at its value, that is, as the crystallization of the total quantity of labour bestowed upon it, the capitalist must necessarily sell it at a profit. He sells not only what has cost him an equivalent, but he sells also what has cost him nothing, although it has cost his workman labour. The cost of the commodity to the capitalist and its real cost are different things. I repeat, therefore, that normal and average profits are made by selling commodities not above, but at their real values. มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยปริมาณโดยรวมของแรงงานซึ่งมีอยู่ภายในนั้น แต่ส่วนหนึ่งของปริมาณของแรงงานนั้นซึ่งกลายเป็นมูลค่าหนึ่งจะถูกจ่ายไปในรูปของค่าจ้างส่วนหนึ่ง และอีกส่วนกลายเป็นมูลค่าหนึ่งซึ่งไม่ได้ถูกนำไปจ่ายอะไร แรงงานส่วนหนึ่งซึ่งมีอยู่ภายในสินค้าโภคภัณฑ์นั้นส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง อีกส่วนเป็นแรงงานให้เปล่า เมื่อขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่มูลค่าของมัน กล่าวคือการตกผลึกของปริมาณโดยรวมของแรงงานที่ถูกมอบให้กับมัน นายทุนจึงจำเป็นต้องขายมันไปแล้วได้กำไรกลับมา เขาไม่ได้ขายเฉพาะสิ่งที่เป็นต้นทุนที่เขาจ่ายเท่านั้น แต่เขายังขายสิ่งที่เขาไม่ต้องจ่ายให้เลยด้วย แม้ว่าคนงานของเขาจะเป็นคนจ่ายไปด้วยแรงงานของเขา ต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ต่อนายทุน และต้นทุนที่แท้จริงของมันนั้นแตกต่างกัน ผมจึงกล่าวอีกครั้งว่ากำไรโดยเฉลี่ยและโดยทั่วไปจะได้มาจากการขายสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ใช่ที่มูลค่ามากกว่า แต่ที่มูลค่าที่แท้จริงของพวกมัน