ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 2

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
I. การผลิตและค่าจ้าง
I. Production and Wages
I. การผลิตและค่าจ้าง

Citizen Weston's argument rested, in fact, upon two premises: firstly, that the amount of national production is a fixed thing, a constant quantity or magnitude, as the mathematicians would say; secondly, that the amount of real wages, that is to say, of wages as measured by the quantity of the commodities they can buy, is a fixed amount, a constant magnitude. การอ้างเหตุผลของพลเมืองเวสตันนั้น ตามข้อเท็จจริง อยู่บนข้อตั้งสองประการ: ประการแรก ว่าปริมาณการผลิตระดับชาตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง หรือในภาษาของนักคณิตศาสตร์ ว่าเป็นปริมาณหรือขนาดที่คงตัว และประการที่สอง ว่าปริมาณของค่าจ้างจริง นั่นหมายถึงค่าจ้างซึ่งวัดด้วยปริมาณของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มันสามารถซื้อได้ เป็นปริมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีขนาดคงตัว
Now, his first assertion is evidently erroneous. Year after year you will find that the value and mass of production increase, that the productive powers of the national labour increase, and that the amount of money necessary to circulate this increasing production continuously changes. What is true at the end of the year, and for different years compared with each other, is true for every average day of the year. The amount or magnitude of national production changes continuously. It is not a constant but a variable magnitude, and apart from changes in population it must be so, because of the continuous change in the accumulation of capital and the productive powers of labour. It is perfectly true that if a rise in the general rate of wages should take place to-day, that rise, whatever its ulterior effects might be, would, by itself, not immediately change the amount of production. It would, in the first instance, proceed from the existing state of things. But if before the rise of wages the national production was variable, and not fixed, it will continue to be variable and not fixed after the rise of wages. ทีนี้ คำกล่าวอ้างประการแรกของเขานั้นผิดอย่างเห็นได้ชัด ปีต่อปี คุณจะพบว่ามูลค่าและมวลของการผลิตนั้นเพิ่มขึ้น ว่ากำลังการผลิตของแรงงานระดับชาตินั้นเพิ่มขึ้น และว่าปริมาณของตัวเงินที่จำเป็นในการหมุนเวียนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สิ่งที่เป็นจริงในทุกสิ้นปี และที่เปรียบเทียบระหว่างปีต่าง ๆ นั้นก็เป็นจริงสำหรับวันใด ๆ ในปีหนึ่ง ปริมาณหรือขนาดของการผลิตระดับชาตินั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่ค่าคงตัวแต่เป็นปริมาณที่ผันแปร และจะเป็นเช่นนี้แม้จะไม่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงในประชากร เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการสะสมทุนและในกำลังการผลิตของแรงงาน จริงแท้ว่าหากอัตราค่าจ้างทั่วไปนั้นเพิ่มขึ้นวันนี้ การเพิ่มนั้น ไม่ว่าผลสุดท้ายจะเป็นเช่นไร ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณของการผลิตในทันทีด้วยตัวมันเอง ในขณะแรก มันจะดำเนินต่อไปตามสภาวการณ์ปัจจุบัน แต่หากการผลิตระดับชาตินั้นผันแปรได้ก่อนการเพิ่มค่าจ้าง และไม่ใช่ค่าคงตัว มันก็จะเป็นค่าผันแปรและไม่ใช่ค่าคงตัวต่อไปหลังจากการเพิ่มค่าจ้าง
But suppose the amount of national production to be constant instead of variable. Even then, what our friend Weston considers a logical conclusion would still remain a gratuitous assertion. If I have a given number, say eight, the absolute limits of this number do not prevent its parts from changing their relative limits. If profits were six and wages two, wages might increase to six and profits decrease to two, and still the total amount remain eight. Thus the fixed amount of production would by no means prove the fixed amount of wages. How then does our friend Weston prove this fixity? By asserting it. แต่สมมุติว่าปริมาณของการผลิตระดับชาตินั้นเป็นค่าคงตัวแทนที่จะแปรผันได้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม สิ่งที่ เวสตัน สหายของเราถือว่าเป็นข้อสรุปอย่างเป็นตรรกะนั้นก็จะยังคงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สมเหตุสมผล หากสมมุติว่าผมมีจำนวนเท่ากับแปด ปริมาณที่จำกัดแน่นอนของจำนวนนี้ไม่ได้ห้ามไม่ให้ส่วนต่าง ๆ ของมันเปลี่ยนแปลงปริมาณที่จำกัดแบบสัมพัทธ์ได้ หากกำไรเท่ากับหกและค่าจ้างเท่ากับสอง ค่าจ้างอาจเพิ่มเป็นหกและกำไรลดเหลือสองได้ และทั้งหมดทั้งมวลก็จะยังเท่ากับแปด ดังนั้นปริมาณการผลิตที่คงตัวไม่ได้พิสูจน์ว่าปริมาณของค่าจ้างจะคงตัวด้วยเหตุใดเลย แล้ว เวสตัน สหายของเราพิสูจน์ความคงตัวนี้อย่างไร ก็ด้วยการกล่าวอ้างมันเท่านั้น
But even conceding him his assertion, it would cut both ways, while he presses it only in one direction. If the amount of wages is a constant magnitude, then it can be neither increased nor diminished. If then, in enforcing a temporary rise of wages, the working men act foolishly, the capitalists, in enforcing a temporary fall of wages, would act not less foolishly. Our friend Weston does not deny that, under certain circumstances, the working men can enforce a rise of wages, but their amount being naturally fixed, there must follow a reaction. On the other hand, he knows also that the capitalists can enforce a fall of wages, and, indeed, continuously try to enforce it. According to the principle of the constancy of wages, a reaction ought to follow in this case not less than in the former. The working men, therefore, reacting against the attempt at, or the act of, lowering wages, would act rightly. They would, therefore, act rightly in enforcing a rise of wages, because every reaction against the lowering of wages is an action for raising wages. According to Citizen Weston's own principle of the constancy of wages, the working men ought, therefore, under certain circumstances, to combine and struggle for a rise of wages. แต่ถึงเราจะยอมรับคำกล่าวอ้างของเขา มันก็เป็นได้ทั้งสองทาง แม้เขาจะผลักให้ไปทางเดียวเท่าน้น หากปริมาณของค่าจ้างมีขนาดที่คงตัว มันก็จะเพิ่มไม่ได้และลดไม่ได้เช่นกัน อย่างนั้นแล้ว ในการบังคับให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นชั่วคราว เหล่าคนทำงานได้กระทำการโง่เขลาไป ในการบังคับให้ค่าจ้างต่ำลงชั่วคราว เหล่านายทุนได้กระทำการที่โง่เขลาไม่น้อยกว่ากัน เวสตัน สหายของเรา ไม่ปฏิเสธว่าภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง คนทำงานสามารถบังคับให้เพิ่มค่าจ้างได้ แต่เพราะค่าจ้างมีปริมาณที่คงที่โดยธรรมชาติ จึงจะต้องเกิดปฏิกิริยากลับ ในทางกลับกัน เขารู้ว่านายทุนสามารถบังคับการลดค่าจ้างได้ และแน่นอนว่าจะบังคับมันอย่างต่อเนื่อง หากอิงตามหลักการว่าค่าจ้างนั้นคงที่แล้ว ปฏิกิริยาย่อมเกิดในกรณีนี้ไม่น้อยไปกว่ากรณีก่อน คนทำงานที่มีปฏิกิริยาต่อต้านความพยายามหรือการกระทำที่จะลดค่าจ้างจึงกระทำถูกต้องแล้ว พวกเขาจึงกระทำการที่ถูกต้องเมื่อบังคับให้มีการเพิ่มค่าจ้าง เพราะปฏิกิริยาที่ต่อต้านการลดค่าจ้างล้วนเป็นการกระทำเพื่อเพิ่มค่าจ้าง หากอิงตามหลักการว่าค่าจ้างนั้นคงที่ของพลเมืองเวสตันเอง คนทำงานจึงควร ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ที่จะรวมตัวกันและดิ้นรนเพื่อเพิ่มค่าจ้าง
If he denies this conclusion, he must give up the premise from which it flows. He must not say that the amount of wages is a constant quantity, but that, although it cannot and must not rise, it can and must fall, whenever capital pleases to lower it. If the capitalist pleases to feed you upon potatoes instead of upon meat, and upon oats instead of upon wheat, you must accept his will as a law of political economy, and submit to it. If in one country the rate of wages is higher than in another, in the United States, for example, than in England, you must explain this difference in the rate of wages by difference between the will of the American capitalist and the will of the English capitalist, a method which would certainly very much simplify, not only the study of economic phenomena, but of all other phenomena. หากเขาไม่ยอมรับข้อสรุปนี้ เขาก็จำต้องล้มเลิกในข้อตั้งซึ่งนำมาสู่มัน เขาจะต้องเลิกพูดว่าปริมาณของค่าจ้างเป็นปริมาณคงตัว แต่ว่า แม้จะไม่สามารถและห้ามเพิ่มขึ้น มันสามารถและจะต้องลดลงเมื่อใดก็ตามที่ทุนต้องการ หากนายทุนพึงพอใจที่จะให้อาหารคุณเป็นมันฝรั่งแทนเนื้อ และข้าวโอ๊ตแทนข้าวสาลี คุณจะต้องยอมรับความต้องการของเขาว่าเป็นกฎของเศรษฐศาสตร์การเมือง และยอมจำนนต่อมัน หากค่าจ้างในประเทศหนึ่งสูงกว่าในอีกประเทศ อย่างเช่นในอเมริกามากกว่าในอังกฤษ คุณจะต้องอธิบายความแตกต่างในอัตราค่าจ้างแบบนี้ด้วยความแตกต่างในความต้องการของนายทุนชาวอเมริกันกับความต้องการของนายทุนชาวอังกฤษ นี่เป็นวิธีการที่จะทำให้การศึกษาใช่แต่ปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ปรากฎการณ์อื่น ๆ ทั้งมวลง่ายขึ้นอย่างมากแน่นอน
But even then, we might ask, why the will of the American capitalist differs from the will of the English capitalist? And to answer the question you must go beyond the domain of will. A parson may tell me that God wills one thing in France, and another thing in England. If I summon him to explain this duality of will, he might have the brass to answer me that God wills to have one will in France and another will in England. But our friend Weston is certainly the last man to make an argument of such a complete negation of all reasoning. แต่ถึงอย่างนั้น เราอาจถามว่า ทำไมความต้องการของนายทุนชาวอเมริกันถึงต่างจากความต้องการของนายทุนชาวอังกฤษหรือ และเพื่อตอบคำถามนี้คุณต้องไปไกลเกินขอบเขตของความต้องการ พระรูปหนึ่งอาจบอกผมว่าพระเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และอีกสิ่งในประเทศอังกฤษ หากผมเรียกเขามาเพื่ออธิบายความต้องการสองแบบนี้ เขาอาจกล้าตอบผมมาว่าพระเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งในฝรั่งเศสและอีกสิ่งในอังกฤษ แต่ เวสตัน สหายของเราเป็นคนสุดท้ายอย่างแน่นอนที่จะอ้างอย่างไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้
The will of the capitalist is certainly to take as much as possible. What we have to do is not to talk about his will, but to inquire into his power, the limits of that power, and the character of those limits. ความต้องการของนายทุนคือการเอาให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แน่หละ แต่สิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่การพูดถึงความต้องการของเขา แต่เป็นการสอบสวนอำนาจของเขา ข้อจำกัดของอำนาจนั้น และคุณลักษณะของข้อจำกัดเหล่านั้น