งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
III. ค่าจ้างและเงินตรา
On the second day of the debate our friend Weston clothed his old assertions in new forms. He said: Consequent upon a general rise in money wages, more currency will be wanted to pay the same wages. The currency being fixed, how can you pay with this fixed currency increased money wages? First the difficulty arose from the fixed amount of commodities accruing to the working man, despite his increase of money wages; now it arises from the increased money wages, despite the fixed amount of commodities. Of course, if you reject his original dogma, his secondary grievance will disappear. ในวันที่สองของการโต้วาที เวสตัน สหายของเราก็จับคำกล่าวอ้างของเขาแต่งชุดใหม่ เขากล่าวว่า: จากการเพิ่มค่าจ้างตัวเงินโดยทั่วกัน จะมีความต้องการเงินตราเพื่อใช้จ่ายค่าจ้างมากขึ้น ในเมื่อเงินตราเป็นสิ่งคงที่ คุณจะจ่ายค่าจ้างตัวเงินที่เพิ่มขึ้นด้วยเงินตราที่คงที่เช่นนี้ได้อย่างไร ในตอนแรก ปัญหาเกิดจากปริมาณของโภคภัณฑ์ที่คงที่ที่มีให้กับคนทำงาน ถึงแม้ค่าจ้างตัวเงินจะเพิ่มขึ้น คราวนี้เกิดจากค่าจ้างตัวเงินที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ปริมาณของโภคภัณฑ์จะคงที่ แน่นอน หากคุณไม่ยอมรับหลักการอันเดิมของเขา การร้องทุกข์เป็นครั้งที่สองนี้ก็ย่อมสาบสูญไป
However, I shall show that this currency question has nothing at all to do with the subject before us. ทว่าผมจะแสดงให้เห็นว่าปัญหาเกี่ยวกับเงินตรานี้ ไม่เกี่ยวอะไรกับหัวข้อต่อหน้าเราเลย
In your country the mechanism of payments is much more perfected than in any other country of Europe. Thanks to the extent and concentration of the banking system, much less currency is wanted to circulate the same amount of values, and to transact the same or a greater amount of business. For example, as far as wages are concerned, the English factory operative pays his wages weekly to the shopkeeper, who sends them weekly to the banker, who returns them weekly to the manufacturer, who again pays them away to his working men, and so forth. By this contrivance the yearly wages of an operative, say of £52, may be paid by one single sovereign turning round every week in the same circle. Even in England the mechanism is less perfect than in Scotland, and is not everywhere equally perfect; and therefore we find, for example, that in some agricultural districts, as compared with the mere factory districts, much more currency is wanted to circulate a much smaller amount of values. ในประเทศของคุณ กลไกการจ่ายเงินนั้นสมบูรณ์แบบกว่าในประเทศอื่น ๆ ในยุโรปมาก เป็นเหตุจากขอบเขตและการรวมศูนย์ของระบบการธนาคาร ทำให้ต้องการเงินตราในจำนวนที่น้อยกว่าเพื่อหมุนเวียนมูลค่าในปริมาณเดียวกันและเพื่อทำธุรกรรมในปริมาณที่เท่ากันหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้าง คนงานโรงงานอังกฤษจ่ายค่าจ้างของเขาให้กับเจ้าของร้านค้า ซึ่งส่งมันรายสัปดาห์ไปให้นายธนาคาร ซึ่งส่งมันรายสัปดาห์กลับไปให้ผู้ผลิต ซึ่งก็จ่ายมันไปให้กับคนทำงานของเขาอีกครั้ง และต่อเนื่องไป ด้วยวิธีนี้ รายได้รายปีของคนงาน เช่น 52 ปอนด์ ก็สามารถใช้เหรียญหนึ่งปอนด์หนึ่งเหรียญจ่ายซ้ำ ๆ รายสัปดาห์ได้เป็นวัฏจักร ถึงแม้ว่ากลไกในอังกฤษจะสมบูรณ์แบบน้อยกว่าในสกอตแลนด์ และมันก็ไม่สมบูรณ์แบบเท่ากันทุกที่ และดังนั้นเราพบว่า ตัวอย่างเช่น ในเขตเกษตรกรรมบางแห่ง เมื่อเทียบกับเขตอุตสาหกรรม กลับต้องการจำนวนเงินตรามากกว่าเพื่อหมุนเวียนมูลค่าในปริมาณที่น้อยกว่ามาก
If you cross the Channel, you will find that the money wages are much lower than in England, but that they are circulated in Germany, Italy, Switzerland, and France by a much larger amount of currency. The same sovereign will not be so quickly intercepted by the banker or returned to the industrial capitalist; and, therefore, instead of one sovereign circulating £52 yearly, you want, perhaps, three sovereigns to circulate yearly wages to the amount of £25. Thus, by comparing continental countries with England, you will see at once that low money wages may require a much larger currency for their circulation than high money wages, and that this is, in fact, a merely technical point, quite foreign to our subject. หากคุณข้ามช่องแคบไป คุณจะพบว่าค่าจ้างตัวเงินนั้นน้อยกว่าในอังกฤษมาก แต่กลับต้องใช้เงินตราเพื่อหมุนเวียนในปริมาณที่มากกว่า อย่างในเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส เหรียญหนึ่งปอนด์นั้นจะไม่ถูกสกัดโดยนายธนาคาร หรือถูกส่งไปให้กับนายทุนอุตสาหกรรมได้เร็วเท่านี้ และดังนั้น แทนที่จะใช้เหรียญโซเวอเรนเหรียญเดียวเพื่อหมุนเวียน 52 ปอนด์ทุกปี คุณอาจจะต้องใช้สามเหรียญเพื่อหมุนเวียนค่าจ้างรายปีปริมาณ 25 ปอนด์ ดังนั้น ผ่านการเปรียบเทียบประเทศภาคพื้นทวีปกับอังกฤษ คุณจะพบในทันทีว่าค่าจ้างที่ต่ำอาจต้องการใช้เงินตราจำนวนมากกว่าเพื่อหมุนเวียนมันเมื่อเทียบกับค่าจ้างที่มากกว่า และว่าความเท็จจริงนี้เป็นเพียงข้อคิดเชิงเทคนิค และไม่คุ้นเคยกับหัวข้อเราเท่าใดนัก
According to the best calculations I know, the yearly income of the working class of this country may be estimated at £250,000,000. This immense sum is circulated by about £3,000,000. Suppose a rise of wages of 50 per cent. to take place. Then, instead of £3,000,000 of currency, £4,500,000 would be wanted. As a very considerable part of the working man's daily expenses is laid out in silver and copper, that is to say, in mere tokens, whose relative value to gold is arbitrarily fixed by law, like that of inconvertible money paper, a rise of money wages by 50 per cent. would, in the extreme case, require an additional circulation of sovereigns, say to the amount of one million. One million, now dormant, in the shape of bullion or coin, in the cellars of the Bank of England, or of private bankers, would circulate. But even the trifling expense resulting from the additional minting or the additional wear and tear of that million might be spared, and would actually be spared, if any friction should arise from the want of the additional currency. All of you know that the currency of this country is divided into two great departments. One sort, supplied by bank-notes of different descriptions, is used in the transactions between dealers and dealers, and the larger payments from consumers to dealers, while another sort of currency, metallic coin, circulates in the retail trade. Although distinct, these two sorts of currency interwork with each other. Thus gold coin, to a very great extent, circulates even in larger payments for all the odd sums under £5. If tomorrow £4 notes, or £3 notes, or £2 notes were issued, the gold filling these channels of circulation would at once be driven out of them, and flow into those channels where they would be needed from the increase of money wages. Thus the additional million required by an advance of wages by 50 per cent. would be supplied without the addition of one single sovereign. The, same effect might be produced, without one additional bank note, by an additional bill circulation, as was the case in Lancashire for a very considerable time. จากการคำนวณที่ดีที่สุด ผมรู้ว่ารายได้รายไปของชนชั้นแรงงานในประเทศนี้อาจประมาณได้ว่าเท่ากับ 250,000,000 ปอนด์ ปริมาณอันมโหฬารนี้ถูกหมุนเวียนด้วยเงินประมาณ 3,000,000 ปอนด์ สมมุติว่าค่าจ้างเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ แล้วแทนที่จะใช้เงินตรา 3,000,000 ปอนด์ ก็ต้องการเงิน 4,500,000 ปอนด์ เนื่องจากส่วนสำคัญของรายจ่ายของคนทำงานรายวันนั้นจ่ายด้วยเหรียญเงินและทองแดง กล่าวคือด้วยโทเค็นเพียงนั้น ซึ่งมูลค่าของมันสัมพัทธ์กับทองนั้นถูกกำหนดโดยกฎหมายอย่างพลการเช่นเดียวกับเงินกระดาษที่แปลงสภาพไม่ได้ การเพิ่มค่าจ้างไปอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีสุดขีด จะทำให้ต้องการเหรียญโซเวอเรนเพื่อหมุนเวียนเพิ่ม เช่นปริมาณหนึ่งล้านเหรียญ หนึ่งล้านเหรียญนี้ซึ่งจำศีลอยู่ในรูปของทองแท่งและเหรียญ ในห้องใต้ดินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษหรือธนาคารเอกชน ก็จะหมุนเวียน แต่แม้ว่าค่าใช้จ่ายอันเล็กน้อยอันเป็นผลจากการผลิตเหรียญเพิ่มหรือค่าบำรุงรักษาเพิ่มเติมจากล้านนั้นอาจถูกสงวนไว้ และจะถูกสงวนไว้จริง หากจะมีการเสียดสีเกิดขึ้นจากความต้องการเงินตราเพิ่ม พวกคุณทุกคนรู้ว่าเงินตราในประเทศนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญ ประการหนึ่งคือธนบัตรลักษณะต่าง ๆ ซึ่งถูกใช้ในธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการ และการจ่ายในปริมาณมากจากผู้บริโภคถึงผู้ค้า ในขณะที่เงินตราอีกประการคือเหรียญโลหะซึ่งถูกหมุนเวียนในการค้าขายปลีก แม้จะแยกกัน เงินตราสองแบบนี้ทำงานด้วยกัน เหรียญทองจึงถูกหมุนเวียนเป็นส่วนใหญ่แม้ในการจ่ายเงินในปริมาณมากจากผลรวมเศษ ๆ ที่ต่ำกว่า 5 ปอนด์ หากวันข้างหน้ามีการออกธนบัตร 4 ปอนด์ 3 ปอนด์ หรือ 2 ปอนด์ออกมา ทองที่ใช้ในช่องทางหมุนเวียนเหล่านี้ก็จะถูกขับออกไป และไหลไปยังช่องทางซึ่งจะต้องใช้มันเนื่องจากการเพิ่มค่าจ้างตัวเงิน เงินเป็นล้านที่ต้องการเพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มค่าจ้างขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์จึงจะหามาได้โดยไม่ต้องทำเหรียญโซเวอเรนขึ้นอีกแม้เหรียญเดียว ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจเกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้ธนบัตรเพิ่มเลย ด้วยการเอาธนบัตรออกมาหมุนเวียน ซึ่งเป็นอย่างในกรณีที่แลงคาเชอร์เป็นเวลานานพอสมควร
If a general rise in the rate of wages, for example, of 100 per cent., as Citizen Weston supposed it to take place in agricultural wages, would produce a great rise in the prices of necessaries, and, according to his views, require an additional amount of currency not to be procured, a general fall in wages must produce the same effect, on the same scale, in an opposite direction. Well! All of you know that the years 1858 to 1860 were the most prosperous years for the cotton industry, and that peculiarly the year 1860 stands in that respect unrivalled in the annals of commerce, while at the same time all other branches of industry were most flourishing. The wages of the cotton operatives and of all the other working men connected with their trade stood, in 1860, higher than ever before. The American crisis came, and those aggregate wages were suddenly reduced to about one fourth of their former amount. This would have been in the opposite direction a rise of 300 per cent. If wages rise from five to twenty, we say that they rise by 300 per cent.; if they fall from twenty to five, we say that they fall by 75 per cent., but the amount of rise in the one and the amount of fall in the other case would be the same, namely, fifteen shillings. This, then, was a sudden change in the rate of wages unprecedented, and at the same time extending over a number of operatives which, if we count all the operatives not only directly engaged in but indirectly dependent upon the cotton trade, was larger by one-half than the number of agricultural labourers. Did the price of wheat fall? It rose from the annual average of 47s. 8d. per quarter during the three years of I858-60 to the annual average of 55s. 10d. per quarter during the three years 1861-1863. As to the currency, there were coined in the mint in 1861 £8,673,232, against £3,378,102 in 1860. That is to say, there were coined £5,295,130 more in 1861 than in 1860. It is true the bank-note circulation was in 1861 less by £1,319,000 than in 1860. Take this off. There remains still an overplus of currency for the year 1861, as compared with the prosperity year, 1860, to the amount of £3,976,130, or about £4,000,000; but the bullion reserve in the Bank of England had simultaneously decreased, not quite to the same, but in an approximating proportion. หากการขึ้นอัตราค่าจ้างโดยทั่วไปในอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ตามที่พลเมืองเวสตันสมมุติให้เกิดขึ้นกับค่าจ้างเกษตรกรรม จะทำให้ราคาของสิ่งจำเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมาก และจะต้องการปริมาณเงินตราเพิ่มที่จะไม่ถูกจัดหามาเพิ่มตามมุมมองของเขา การลดค่าจ้างโดยทั่วไปจะต้องทำให้เกิดผลลัพธ์แบบเดียวกัน ในอัตราเดียวกัน และในทิศทางตรงกันข้าม อ้าว! พวกคุณทุกคนรู้ว่าช่วงปี ค.ศ. 1858 จนถึง 1860 เป็นปีที่อุตสาหกรรมฝ้ายเฟื่องฟูที่สุด และปี ค.ศ. 1860 นี้เองยืนหยัดโดยไร้คู่แข่งอยู่ในจดหมายเหตุแห่งพาณิชยกรรมในด้านดังกล่าวอย่างมหัศจรรย์ ในขณะเดียวกันที่อุตสาหกรรมสาขาอื่น ๆ ล้วนเฟื่องฟูอย่างที่สุดด้วยในเวลาเดียวกัน ค่าจ้างของคนทำงานกับฝ้ายและคนทำงานอื่น ๆ ซึ่งมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกันใน ค.ศ. 1860 ได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เกิดวิกฤตการณ์อเมริกันขึ้นมา และค่าจ้างสะสมเหล่านั้นก็ลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสี่จากเดิมโดยฉับพลัน ในทิศทางตรงกันข้ามที่จะเป็นการเพิ่มขึ้น 300 เปอร์เซ็นต์ หากค่าจ้างเพิ่มจากห้าเป็นยี่สิบ เราจะพูดว่ามันเพิ่มขึ้น 300 เปอร์เซ็นต์ หากมันลดลงจากยี่สิบเหลือห้า เราจะพูดว่ามันลดลงไป 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ปริมาณที่เพิ่มขึ้นในกรณีแรกและที่ลดลงในอีกกรณีนั้นเท่ากัน กล่าวคือสิบห้าชิลลิง อย่างนั้นแล้วนี่เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันในอัตราค่าจ้างอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และในขณะเดียวกันก็ครอบคลุมจำนวนคนทำงานซึ่งถ้าเรานับคนทำงานรวมถึงคนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงเท่านั้นแต่ที่พึ่งพาทางอ้อมต่อการค้าขายฝ้ายแล้วด้วย ก็มากกว่าจำนวนของผู้ใช้แรงงานภาคการเกษตรกว่าหนึ่งเท่ากับอีกครึ่งหนึ่ง ราคาของข้าวสาลีได้ลดลงไหม มันเพิ่มขึ้นจากราคาโดยเฉลี่ยรายปีจาก 47 ชิลลิง 8 เพนนีต่อควอเตอร์ในช่วงสามปีระหว่าง ค.ศ. 1858 - 1869 กลายเป็น 55 ชิลลิง 10 เพนนีต่อควอเจอร์ในช่วงสามปีระหว่าง ค.ศ. 1861 - 1863 ในส่วนของเงินตรา โรงกษาปณ์ได้ทำเพิ่มใน ค.ศ. 1861 มูลค่า 8,673,232 ปอนด์เทียบกับ 3,378,102 ปอนด์ใน ค.ศ. 1860 กล่าวได้ว่ามีเงินตราเพิ่มมาใน ค.ศ. 1861 มากว่าใน ค.ศ. 1860 อยู่ 5,295,130 ปอนด์ จริงอยู่ว่าการหมุนเวียนธนบัตรใน ค.ศ. 1861 น้อยกว่าใน ค.ศ. 1860 อยู่ 1,319,000 ปอนด์ เมื่อลบตัวเลขนี้ไปก็ยังมีเงินตราจำนวนส่วนเกินอยู่ในปี ค.ศ. 1861 เมื่อเทียบกับปีที่รุ่งเรือง ค.ศ. 1860 อยู่ปริมาณเท่ากับ 3,976,130 ปอนด์หรือประมาณ 4,000,000 ปอนด์ แต่ทองคำสำรองในธนาคารแห่งประเทศอังกฤษกลับลดลงไปในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่ในอัตราส่วนเดียวกันแต่ประมาณได้พอ ๆ กัน
Compare the year 1862 with 1842. Apart from the immense increase in the value and amount of commodities circulated, in 1862 the capital paid in regular transactions for shares, loans, etc., for the railways in England and Wales amounted alone to £320,000,000, a sum that would have appeared fabulous in 1842. Still, the aggregate amounts in currency in 1862 and 1842 were pretty nearly equal, and generally you will find a tendency to a progressive diminution of currency in the face of an enormously increasing value, not only of commodities, but of monetary transactions generally. From our friend Weston's standpoint this is an unsolvable riddle. เปรียบเทียบ ค.ศ. 1862 กับ 1842 แล้ว นอกจากการเพิ่มขึ้นอย่างเข้มข้นในมูลค่าและปริมาณของสินค้าโภคภัณฑ์ที่หมุนเวียนอยู่แล้ว ใน ค.ศ. 1862 ทุนซึ่งถูกจ่ายไปในธุรกรรมทั่วไปสำหรับหุ้น งานกู้ ฯลฯ สำหรับการรถไฟในอังกฤษและเวลส์อย่างเดียวมีปริมาณถึง 320,000,000 ปอนด์ เป็นจำนวนซึ่งดูเลิศเลอมากใน ค.ศ. 1842 อย่างไรก็ตามปริมาณสะสมทั้งหมดของเงินตราใน ค.ศ. 1862 กับ 1842 ก็เกือบเท่ากันทีเดียว และโดยทั่วไปแล้วคุณก็จะพบแนวโน้มที่เงินตราจะลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเผชิญหน้ากับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ใช่เพียงของสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่รวมถึงธุรกรรมทางการเงินทั่วไปด้วย จากจุดยืนของสหาย เวสตัน ของเรา นี่เป็นปริศนาที่แก้ไม่ได้
Looking somewhat deeper into this matter, he would have found that, quite apart from wages, and supposing them to be fixed, the value and mass of the commodities to be circulated, and generally the amount of monetary transactions to be settled, vary daily; that the amount of bank-notes issued varies daily; that the amount of payments realized without the intervention of any money, by the instrumentality of bills, checks, book-credits, clearing houses, varies daily; that, as far as actual metallic currency is required, the proportion between the coin in circulation and the coin and bullion in reserve or sleeping in the cellars of banks varies daily; that the amount of bullion absorbed by the national circulation and the amount being sent abroad for international circulation vary daily. He would have found that his dogma of a fixed currency is a monstrous error, incompatible with the every day movement. He would have inquired into the laws which enable a currency to adapt itself to circumstances so continually changing, instead of turning his misconception of the laws of currency into an argument against a rise of wages. เมื่อเรามองให้ลึกลงไปในเรื่องนี้ เขาจะพบว่า โดยไม่เกี่ยวข้องกับค่าจ้างเลย และหากให้มันคงที่ มูลค่าและมวลของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกหมุนเวียน หรือโดยทั่วไปก็คือปริมาณของธุรกรรมทางการเงินที่จะถูกจ่ายไป ก็เปลี่ยนแปลงรายวัน ว่าปริมาณของธนบัตรที่ออกมารายวัน ว่าปริมาณของการใช้จ่ายที่เกิดขึ่นโดยไม่ถูกแทรกแซงโดยเงินใด ๆ โดยการใช้งานบิล เช็ก สินเชื่อ สำนักหักบัญชี ก็เปลี่ยนแปลงรายวัน ว่าตราบเท่าที่เงินตราโลหะนั้นต้องถูกใช้จริง ๆ สัดส่วนระหว่างเหรียญซึ่งอยู่ในการหมุนเวียนและเหรียญกับทองแท่งซึ่งถูกสำรองหรือกำลังหลับไหลอยู่ในห้องใต้ดินของธนาคารต่าง ๆ นั้นก็เปลี่ยนแปลงรายวัน ว่าปริมาณของทองแท่งซึ่งถูกดูเข้าหมุนเวียนในประเทศและปริมาณที่ถูกส่งออกไปหมุ่นเวียนนานาชาติก็เปลี่ยนแปลงรายวัน เขาจะพบว่าหลักการของเงินตราที่คงที่นั้นเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง ซึ่งไม่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทุกวัน เข้าจะต้องสอบสวนถึงกฎซึ่งทำให้เงินตราสามารถปรับตัวเองต่อพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แทนที่จะเปลี่ยนความเข้าใจผิดของเขาเกี่ยวกับกฎของเงินตราให้กลายเป็นการอ้างเหตุผลเพื่อต่อต้านการเพิ่มค่าจ้าง