งานแปล:บัญญัติสิทธิสหรัฐ

จาก วิกิซอร์ซ
บัญญัติสิทธิสหรัฐ ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332)
โดย รัฐสภาสหรัฐ, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
"บัญญัติสิทธิ"[1] เป็นกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งมาจากการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1–10 ในช่วง ค.ศ. 1787–88 จนตกผลึกเป็นกฎหมายนี้ใน ค.ศ. 1789
Congress of the United States,
รัฐสภาสหรัฐ
begun and held at the City of New-York, on Wednesday the fourth of March, one thousand seven hundred and eighty nine. ซึ่งเริ่มต้นและจัดขึ้น ณ นครนิวยอร์กเมื่อวันพุธที่สี่ มีนาคม พันเจ็ดร้อยแปดสิบเก้า
The Conventions of a number of the States, having at the time of their adopting the Constitution, expressed a desire, in order to prevent misconstruction or abuse of its powers, that further declaratory and restrictive clauses should be added: And as extending the ground of public confidence in the Government, will best ensure the beneficent ends of its institution. ณ เวลาที่ตกลงรับรัฐธรรมนูญกันนั้น ที่ประชุมรัฐต่าง ๆ จำนวนหนึ่งแสดงความประสงค์ว่า ควรใส่บทอธิบายและจำกัดเพิ่มเข้าไป เพื่อป้องกันการนำอำนาจของรัฐธรรมนูญไปตีความผิดหรือใช้โดยมิชอบ และเพื่อจะมั่นใจได้อย่างดีที่สุดว่า สถาบันของรัฐธรรมนูญจะบรรลุเป้าหมายที่เป็นคุณประโยชน์ได้ ซึ่งจะเป็นการขยายฐานความไว้วางใจที่สาธารณชนมีต่อรัฐบาล[2]
Resolved by the Senate and House of Representatives of the United States of America, in Congress assembled, two thirds of both Houses concurring, that the following Articles be proposed to the Legislatures of the several States, as amendments to the Constitution of the United States, all, or any of which Articles, when ratified by three fourths of the said Legislatures, to be valid to all intents and purposes, as part of the said Constitution; viz. วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ณ รัฐสภาที่ชุมนุมกันนั้น จึงมีมติโดยสองในสามของสภาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่า ให้เสนอมาตราดังต่อไปนี้ต่อสภานิติบัญญัติของรัฐต่าง ๆ เป็นข้อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งมาตราเหล่านี้ทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อได้รับสัตยาบันจากสามในสี่ของสภานิติบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะสมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญดังกล่าวในทุกสถานและทุกประการ[3] คือ
Articles in addition to, and Amendment of the Constitution of the United States of America, proposed by Congress, and ratified by the Legislatures of the several States, pursuant to the fifth Article of the original Constitution. มาตราเสริมและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐสภาเสนอ และสภานิติบัญญัติของรัฐต่าง ๆ ได้ให้สัตยาบัน ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับดั้งเดิม
Article the first… After the first enumeration required by the first article of the Constitution, there shall be one Representative for every thirty thousand, until the number shall amount to one hundred, after which the proportion shall be so regulated by Congress, that there shall be not less than one hundred Representatives, nor less than one Representative for every forty thousand persons, until the number of Representatives shall amount to two hundred; after which the proportion shall be so regulated by Congress, that there shall not be less than two hundred Representatives, nor more than one Representative for every fifty thousand persons. มาตรา 1… หลังจากทำสำมะโนครั้งแรกตามที่มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว ให้มีผู้แทนราษฎรหนึ่งคนต่อ[ราษฎร]ทุก ๆ สามหมื่นคน จนกว่าจะ[ได้ผู้แทนราษฎรเป็น]จำนวนถึงหนึ่งร้อยคน ถัดจากนั้น สัดส่วนให้เป็นไปตามที่รัฐสภาจัดระเบียบ โดยมิให้มีผู้แทนราษฎรน้อยกว่าหนึ่งร้อยคน หรือมีผู้แทนราษฎรน้อยกว่าหนึ่งคนต่อผู้คนทุก ๆ สี่หมื่นคน จนกว่าจะได้ผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนถึงสองร้อยคน ถัดจากนั้น สัดส่วนให้เป็นไปตามมที่รัฐสภาจัดระเบียบ โดยมิให้มีผู้แทนราษฎรน้อยกว่าสองร้อยคน หรือมีผู้แทนราษฎรน้อยกว่าหนึ่งคนต่อผู้คนทุก ๆ ห้าหมื่นคน
Article the second… No law, varying the compensation for the services of the Senators and Representatives, shall take effect, until an election of Representatives shall have intervened. มาตรา 2… กฎหมายเปลี่ยนแปลงค่าตอบแทนการทำงานของสมาชิกวุฒิสภาและผู้แทนราษฎรนั้น จะมีผลมิได้ จนกว่าจะเกิดการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นแทรก
Article the third… Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances. มาตรา 3… การตรากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งศาสนา หรือที่ห้ามการใช้[เสรีภาพ]ในการดังกล่าว หรือที่ลิดรอนเสรีภาพในการพูด หรือ[เสรีภาพ]ของสื่อ หรือสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยสันติ หรือ[สิทธิของประชาชน]ในการร้องทุกข์ต่อรัฐบาลเพื่อให้เยียวยาความเดือดร้อนนั้น รัฐสภาจะกระทำมิได้
Article the fourth… A well regulated Militia, being necessary to the security of a free State, the right of the people to keep and bear Arms, shall not be infringed. มาตรา 4… สิทธิของประชาชนในการมีและถืออาวุธนั้น จะล่วงละเมิดมิได้ [เพราะ]กองทหารอาสาที่จัดระเบียบอย่างดีนั้นจำเป็นต่อความมั่นคงของรัฐที่เป็นอิสระ
Article the fifth… No Soldier shall, in time of peace be quartered in any house, without the consent of the Owner, nor in time of war, but in a manner to be prescribed by law. มาตรา 5… การให้ทหารเข้าอาศัยในบ้านเรือนใด ๆ โดยไร้ความยินยอมของเจ้าของนั้น จะกระทำมิได้ ไม่ว่าในยามสงบหรือยามสงคราม เว้นแต่ในประการที่กฎหมายบัญญัติ
Article the sixth… The right of the people to be secure in their persons, houses, papers, and effects, against unreasonable searches and seizures, shall not be violated, and no Warrants shall issue, but upon probable cause, supported by Oath or affirmation, and particularly describing the place to be searched, and the persons or things to be seized. มาตรา 6… สิทธิของประชาชนในอันที่จะมีหลักประกันว่า ร่างกาย บ้านเรือน เอกสาร และข้าวของของตนจะไม่ถูกค้นและยึดอย่างไร้เหตุผลนั้น จะละเมิดมิได้ และการออกหมาย[เพื่อค้นและยึด]นั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีมูลเหตุที่น่าจะเป็น มีการยืนยันด้วยการสาบานหรือปฏิญาณ และมีการพรรณนาอย่างเจาะจงถึงสถานที่ที่จะค้นและบุคคลหรือสิ่งที่จะยึด
Article the seventh… No person shall be held to answer for a capital, or otherwise infamous crime, unless on a presentment or indictment of a Grand Jury, except in cases arising in the land or naval forces, or in the Militia, when in actual service in time of War or public danger; nor shall any person be subject for the same offence to be twice put in jeopardy of life or limb; nor shall be compelled in any criminal case to be a witness against himself, nor be deprived of life, liberty, or property, without due process of law; nor shall private property be taken for public use, without just compensation. มาตรา 7… การควบคุมตัวบุคคลเพื่อเอาคำให้การในอาชญากรรมมหันตโทษหรือ[อาชญากรรม]อันเป็นที่เสื่อมเสียในทางอื่นนั้น จะกระทำมิได้ จนกว่าคณะลูกขุนใหญ่จะเสนอหรือฟ้อง[คดีต่อศาล] ยกเว้นสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในกองทัพบกหรือ[กองทัพ]เรือหรือในกองทหารอาสาซึ่งอยู่ประจำการในยามสงครามหรือสาธารณภัย และการบังคับ[บุคคล]ให้เป็นพยาน[เพื่อให้การ]เป็นปรปักษ์ต่อตนเองในคดีอาญาใด ๆ ก็ดี หรือการพราก[บุคคล]ไปจากชีวิต เสรีภาพ หรือทรัพย์สินก็ดี โดยไม่มีการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย[4] นั้น จะกระทำมิได้ และการนำทรัพย์สินเอกชนไปใช้เพื่อสาธารณะโดยไม่มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรมนั้น จะกระทำมิได้
Article the eighth… In all criminal prosecutions, the accused shall enjoy the right to a speedy and public trial, by an impartial jury of the State and district wherein the crime shall have been committed, which district shall have been previously ascertained by law, and to be informed of the nature and cause of the accusation; to be confronted with the witnesses against him; to have compulsory process for obtaining witnesses in his favor, and to have the Assistance of Counsel for his defence. มาตรา 8… ในการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ให้จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและเปิดเผยโดยคณะลูกขุนที่เป็นกลางของรัฐและเขตที่อาชญากรรมได้กระทำขึ้น อันเป็นเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนแล้ว และ[มีสิทธิ]ที่จะได้รับทราบถึงลักษณะและมูลเหตุของข้อกล่าวหา ที่จะเผชิญหน้ากับพยาน[ผู้ให้การ]เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลย ที่จะมีการดำเนินการอัน[กฎหมาย]บังคับไว้ให้ได้มาซึ่งพยานที่เป็นคุณแก่จำเลย และที่จะได้รับความช่วยเหลือจากทนายความในการสู้คดี
Article the ninth… In suits at common law, where the value in controversy shall exceed twenty dollars, the right of trial by jury shall be preserved, and no fact tried by a jury, shall be otherwise re-examined in any Court of the United States, than according to the rules of the common law. มาตรา 9… ในคดีทางกฎหมายแพ่งซึ่งมูลค่าที่[5] พิพาทนั้นเกินยี่สิบดอลลาร์ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยคณะลูกขุนนั้นให้คงไว้ และการนำข้อเท็จจริงที่คณะลูกขุนพิจารณาแล้วไปไต่สวนซ้ำอีกในศาลแห่งใด ๆ ของสหรัฐด้วย[วิธีการ]อื่นนอกเหนือจากตามหลักกฎหมายแพ่งนั้น จะกระทำมิได้
Article the tenth… Excessive bail shall not be required, nor excessive fines imposed, nor cruel and unusual punishments inflicted. มาตรา 10… การเรียกประกัน[6] เกินพอดีนั้น จะกระทำมิได้ และการลง[โทษ]ปรับเกินพอดีนั้น จะกระทำมิได้ และการลงโทษอันผิดธรรมดานั้น จะกระทำมิได้
Article the eleventh… The enumeration in the Constitution, of certain rights, shall not be construed to deny or disparage others retained by the people. มาตรา 11… การที่รัฐธรรมนูญระบุสิทธิไว้[เพียง]บางอย่าง จะนำไปตีความเพื่อปฏิเสธหรือลดทอน[สิทธิ]อย่างอื่นซึ่งประชาชนถืออยู่นั้นมิได้
Article the twelfth… The powers not delegated to the United States by the Constitution, nor prohibited by it to the States, are reserved to the States respectively, or to the people. มาตรา 12… อำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้มอบหมายให้แก่สหรัฐ หรือที่รัฐธรรมนูญมิได้ห้ามไว้แก่รัฐทั้งหลายนั้น ย่อมสงวนเป็นของรัฐทั้งหลายตามลำดับ[7] หรือเป็นของประชาชน
Attest, พยาน
Frederick Augustus Muhlenberg, Speaker of the House of Representatives เฟร็ดริก ออกัสตัส มิวลินเบิร์ก ประธานสภาผู้แทนราษฎร
John Adams, Vice-President of the United States, and President of the Senate จอห์น แอดัมส์ รองประธานาธิบดีสหรัฐและประธานวุฒิสภา
John Beckley, Clerk of the House of Representatives. จอห์น เบ็กลีย์ เสมียนสภาผู้แทนราษฎร
Sam. A Otis, Secretary of the Senate แซม. เอ โอทิส เลขานุการวุฒิสภา

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. "Bill of Rights" ราชบัณฑิตยสภา (วงเดือน นาราสัจจ์ 2558, น. 341) บัญญัติชื่อในภาษาไทยว่า "บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง" แต่ชื่อเช่นนี้เกินเลยชื่อต้นฉบับไปมาก และที่จริงก็ไม่ได้มีเพียงเรื่องสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ในที่นี้จึงตัดเหลือ "บัญญัติสิทธิ" เพื่อให้ตรงกับชื่อต้นฉบับ
  2. แปลตรงตัวว่า "ความไว้วางใจของสาธารณชนในรัฐบาล"
  3. "All intents and purposes" แปลตรงตัวว่า "ทุกเจตนาและความมุ่งหมาย" สำนวนนี้ Cambridge Academic Content Dictionary (Cambridge University Press n.d.) ระบุว่า แปลว่า "แทบทั้งหมด" (almost completely) และ Merriam-Webster (n.d.) ระบุว่า มีที่มาจากพระราชบัญญัติของประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1546 ที่เขียนข้อความ "ในทุกเจตนา [ทุก]การตีความ และ[ทุก]ความมุ่งหมาย" (to all intents, constructions, and purposes) เพื่อจำกัดพระราชอำนาจพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในการตีความกฎหมาย และข้อความนี้กลายเป็นที่นิยมชมชอบของชาวอังกฤษจนปรากฏอยู่ในเอกสารทางกฎหมายและเอกสารอื่น ๆ บ่อยครั้ง และมีการดัดแปลงเป็น "ในทุกเจตนา" (to all intents) หรือ "ในทุกเจตนาและความมุ่งหมาย" (to all intents and purposes)
  4. "Due process of law" ราชบัณฑิตยสถาน (2549, น. 9) บัญญัติศัพท์ว่า "วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย"
  5. "ที่" ในที่นี้ หมายถึง ที่ ซึ่ง อัน (that, which) มิได้หมายถึง ที่ดิน ข้อความ "มูลค่าที่พิพาท" นี้เป็นทำนองเดียวกับที่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยเขียนว่า "ราคา[ทรัพย์สิน]ที่พิพาท"
  6. หมายถึง การเรียกประกันในคดีอาญา เช่น หลักทรัพย์สำหรับประกันตัวผู้ต้องหา
  7. "ตามลำดับ" น่าจะหมายถึง ลำดับของอำนาจดังที่กล่าวไว้ คือ (1) อำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้มอบหมาย (2) อำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้ห้าม มากกว่าจะหมายถึง ลำดับของรัฐ

บรรณานุกรม[แก้ไข]

ต้นฉบับ[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

  งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ:

งานนี้เป็นเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (ดู ประมวลกฎหมายสหรัฐ ลักษณะ 17 มาตรา 105)

งานแปล:

ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก
ถ้าคำประกาศดังกล่าวไม่อาจเป็นไปได้ในทางกฎหมาย ข้าพเจ้าก็ให้ทุกคนมีสิทธิใช้งานนี้ได้ในทุกกรณี โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนด