งานแปล:รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

จาก วิกิซอร์ซ
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 1991 ฉบับปรับปรุงถึงปี 2003 (พ.ศ. 2546)
โดย สภาแห่งชาติลาว, แปลจากภาษาลาว โดย วิกิซอร์ซ
ข้อความในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวแห่งนี้ เป็นการแปลและปริวรรตอักษรจากต้นฉบับภาษาลาวในเว็บไซต์ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อยและกลาง (SMEPDO) ประเทศลาว
Emblem of Lao PDR
Emblem of Lao PDR


สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว
สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร
เลขที่ 32 /สปป
รัฐดำรัส
ของประธานประเทศ
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว


เกี่ยวกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง.




  • อิงตามรัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, หมวดที่ 5, มาตรา 53, ข้อ 1;
  • อิงตามมติตกลงของสภาแห่งชาติ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับเลขที่ 25/สพช, ลงวันที่ 6 พฤษภา 2003 เกี่ยวกับการรับรองเอารัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง;
  • อิงตามการเสนอ ของคณะประจำสภาแห่งชาติ ฉบับเลขที่ 18/คปจ, ลงวันที่ 9 พฤษภา 2003.


ประธานประเทศ
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวออกรัฐดำรัส:


มาตรา 1: ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง.

มาตรา 2: รัฐดำรัสฉบับนี้ มีผลศักดิ์สิทธิ์นับแต่วันลงลายเซ็นเป็นต้นไป.


เวียงจันทน์, วันที่ 28 พฤษภา 2003

ประธานประเทศ แห่ง สปป ลาว

(ลายเซ็น พร้อมตราประทับ)

คำไต สีพันดอน

คำนำ[แก้ไข]

นับเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ที่บรรดาบรรพบุรุษของชาติลาวได้พร้อมกับประชาชนลาวบรรดาเผ่า ดำเนินการต่อสู้เพื่อการดำรงคงตัว และขยายตัวอยู่บนดินแดนอันแสนรักแห่งนี้. เริ่มแต่กลางศตวรรษที่สิบสี่เป็นต้นมา, บรรพบุรุษของพวกเรา โดยเฉพาะเจ้าฟ้างุ่ม ได้พาประชาชนเราก่อตั้ง และสร้างประเทศล้านช้างให้เป็นเอกภาพ และเจริญรุ่งเรือง. ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปดเป็นต้นมา, แผ่นดินลาวได้ถูกบรรดาอิทธิกำลังภายนอกจ้องมอง และรุกรานอยู่เสมอ. ประชาชนเราได้พร้อมกันเสริมขยายมูลเชื้ออันวีระอาจหาญ มิยอมจำนนของบรรพบุรุษ และได้ต่อสู้อย่างต่อเนื่อง, เหนียวแน่น เพื่อกอบกู้เอกราช, อิสรภาพ.

นับแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ภายใต้การนำพาอันถูกต้องของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนในเมื่อก่อน และพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปัจจุบัน, ประชาชนลาวบรรดาเผ่าได้ดำเนินการต่อสู้อันยุ่งยากลำบาก, วีระอาจหาญที่เต็มไปด้วยความเสียสละ จนสามารถทลายแอกครอบครอง, การกดขี่ของพวกล่าเมืองขึ้น และระบอบศักดินา, ปลดปล่อยประเทศชาติอย่างสมบูรณ์, สร้างตั้งประเทศ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ในวันที่ 2 เดือน ธันวา ปี 1975, อันได้เปิดศักราชใหม่, ศักราชที่ประเทศชาติมีเอกราช และประชาชนได้มีอิสรภาพอย่างแท้จริง.

ภายหลังที่ประเทศชาติได้รับการปลดปล่อยมานี้ ประชาชนเราได้พร้อมกันปฏิบัติสองหน้าที่ยุทธศาสตร์คือ: ปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ โดยเฉพาะการดำเนินภารกิจเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อขุดค้น และเสริมขยายกำลังแรงสังรวมของชาติ เข้าในการสร้าง และบูรณะระบอบประชาธิปไตยประชาชน, สร้างปฐมปัจจัยก้าวขึ้นสู่ระบอบสังคมนิยม.

มาในระยะใหม่นี้ ชีวิตของสังคมได้เรียกร้องให้รัฐเราต้องมีรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญนี้ เป็นรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตยประชาชนอยู่ประเทศเรา ซึ่งได้รับรู้ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่ประชาชนเราเอามาได้ในภารกิจต่อสู้ปลดปล่อยชาติ, ปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ; กำหนดระบอบการเมือง, เศรษฐกิจ-สังคม, การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ, การต่างประเทศ, กำหนดสิทธิ์ และพันธะพื้นฐานของพลเมือง, ระบบการจัดตั้ง กงจักรรัฐในระยะใหม่. ในประวัติศาสตร์ของชาติเรา ครั้งที่เป็นครั้งแรก ที่ได้กำหนดสิทธิ์เป็นเจ้าของประชาชนอยู่ในกฎหมายพื้นฐานของชาติ.

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นดอกผลรวมยอดแห่งสติปัญญา และการประกอบความเห็นของประชาชนในทั่วประเทศ ที่ส่องแสงถึงเจตจำนงอันยาวนาน และความตัดสินใจอย่างแรงกล้าของวงคณาญาติแห่งชาติ ที่จะพร้อมกันสู้ชนจนบรรลุเป้าหมาย สร้างประเทศลาวให้เป็นประเทศสันติภาพ, เอกราช, ประชาธิปไตย, เอกภาพ และวัฒนาถาวร

หมวดที่ 1 ระบบการเมือง[แก้ไข]

มาตรา 1.[แก้ไข]

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเป็นประเทศเอกราช, มีอำนาจอธิปไตย และผืนแผ่นดินอันครบถ้วน รวมทั้งเขตน่านน้ำ และน่านฟ้า; เป็นประเทศเอกภาพของทุกชนเผ่า ที่ตัดแยกออกจากกันมิได้.

มาตรา 2.[แก้ไข]

รัฐแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชน. อำนาจทั้งหมดเป็นของประชาชน, โดยประชาชน และเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนบรรดาเผ่า ซึ่งประกอบด้วยบรรดาชั้นคนอยู่ในสังคม โดยได้แก่ กรรมกร, กสิกร, และนักเรียนรู้ปัญญาชนเป็นหลักแหล่ง.

มาตรา 3.[แก้ไข]

สิทธิ์เป็นเจ้าประเทศชาติ ของประชาชนบรรดาเผ่า ได้รับการปฏิบัติ และรับประกันด้วยการเคลื่อนไหว ของระบบการเมือง ซึ่งมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นแกนนำ.

มาตรา 4.[แก้ไข]

ประชาชนเป็นผู้สร้างตั้งองค์การตัวแทนแห่งสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ของตน ซึ่งมีชื่อว่า สภาแห่งชาติ.

การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ปฏิบัติตามหลักการทั่วไป, เสมอภาพ, โดยตรง และลงคะแนนเสียงปิดลับ.

ผู้หย่อนบัตรเลือกตั้งมีสิทธิ์เสนอปลดผู้แทนของตนได้ ถ้าหากเห็นว่ามีการประพฤติตนมิสมเกียรติศักดิ์ศรี และขาดความไว้วางใจจากประชาชน.

มาตรา 5.[แก้ไข]

สภาแห่งชาติ และทุกองค์การของรัฐได้รับการจัดตั้ง และเคลื่อนไหวตามหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย.

มาตรา 6.[แก้ไข]

รัฐปกป้องสิทธิอิสรภาพ และสิทธิประชาธิปไตยของประชาชน ที่ไม่มีผู้ใดล่วงละเมิดได้. ทุกองค์การ และพนักงานของรัฐ ต้องโฆษณาอบรมบรรดานโยบาย และระเบียบกฎหมายให้ประชาชน และพร้อมกันจัดตั้งปฏิบัติ เพื่อรับประกันสิทธิ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชน. ห้ามทุกการกระทำแบบอาชญาสิทธิ์, ข่มขู่ อันจะก่อความเสียหายถึงเกียรติศักดิ์ศรี, ร่างกาย, ชีวิต, จิตใจ และทรัพย์สมบัติของประชาชน.

มาตรา 7.[แก้ไข]

แนวลาวสร้างชาติ, สหพันธ์กรรมบาลลาว, คณะชาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาว, สหพันธ์แม่หญิงลาว และบรรดาองค์การจัดตั้งสังคม เป็นที่รวบรวมความสามัคคี และปลุกระดมบรรดาชั้นคนของทุกชนเผ่าเข้าร่วมในภารกิจปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ, เสริมขยายสิทธิ์เป็นเจ้าของประชาชน, ปกปักรักษาสิทธิ์ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของสมาชิกองค์การจัดตั้งของตน.

มาตรา 8.[แก้ไข]

รัฐปฏิบัตินโยบายสามัคคีและเสมอภาพระหว่างชนเผ่าต่างๆ. ทุกชนเผ่าล้วนแต่มีสิทธิ์ปกปักรักษา, เสริมขยายจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของตนและของชาติ. ห้ามทุกการกระทำแบ่งแยกและการประพฤติจำแนกระหว่างชนเผ่า.

รัฐปฎิบัติทุกมาตราเพื่อขยาย และยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมของทุกชนเผ่าให้สูงขึ้น

มาตรา 9.[แก้ไข]

รัฐเคารพและปกป้องการเคลื่อนไหวอันถูกกฎหมายของพุทธศาสนิกชนและศาสนิกชนอื่น. ปลุกระดมส่งเสริมพระภิกษุสามเณร และนักบวชของศาสนาให้เข้าร่วม ในการเคลื่อนไหวที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน. ห้ามทุกการกระทำ ที่เป็นการแบ่งแยกศาสนา, แบ่งแยกประชาชน.

มาตรา 10.[แก้ไข]

รัฐคุ้มครองสังคมด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย. องค์การจัดตั้งของพรรค, รัฐ, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม และพลเมืองทุกคน ต้องเคารพและปฏิบัติรัฐธรรมนูญและกฏหมายอย่างเข้มงวด.

มาตรา 11.[แก้ไข]

รัฐปฏิบัติแนวทาง, นโยบายป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบทั่วปวงชนและรอบด้าน; ปรับปรุงและก่อสร้างกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบให้เข้มแข็ง, มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติและต่อประชาชน, มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่ปกปักรักษาดอกผลของการปฏิวัติ, ชีวิต, ทรัพย์สิน และการออกแรงงานของประชาชน; ประกอบส่วนเข้าในภารกิจพัฒนาประเทศชาติให้มั่งคั่งเข้มแข็ง.

มาตรา 12.[แก้ไข]

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ปฏิบัตินโยบายการต่างประเทศ สันติภาพ, เอกราช, มิตรภาพ และการร่วมมือ; ขยายสายสัมพันธ์ และการร่วมมือกับทุกประเทศ บนหลักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ, เคารพเอกราช, อธิปไตย, ผืนแผ่นดินอันครบถ้วนของกัน, ไม่แทรกแซงเข้ากิจการภายในของกัน, เสมอภาพ และต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์.

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนในโลก เพื่อสันติภาพ, เอกราชแห่งชาติ, ประชาธิปไตย และความก้าวหน้าทางสังคม.


หมวดที่ 2 ระบบเศรษฐกิจ และสังคม[แก้ไข]

มาตรา 13.[แก้ไข]

เศรษฐกิจแห่งชาติ ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือเศรษฐกิจหลายภาคส่วนที่คงตัวอย่างยาวนาน ซึ่งล้วนแต่ได้รับการส่งเสริม เพื่อขยายกำลังการผลิต, เปิดกว้างการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ, หันเศรษฐกิจธรรมชาติไปสู่เศรษฐกิจสินค้า, ปฏิบัติการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย; เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของภาคพื้น และของโลก, ทำให้เศรษฐกิจแห่งชาติมีเสถียรภาพ และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง, ยกระดับชีวิตการเป็นอยู่ทางด้านวัตถุ และจิตใจของประชาชนให้สูงขึ้น.

ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจล้วนแต่มีความเสมอภาพต่อหน้ากฎหมาย และเคลื่อนไหวตามกลไกเศรษฐกิจตลาด, ทั้งแข่งขัน และร่วมมือกันขยายการผลิต, ธุรกิจภายใต้การควบคุมของรัฐตามทิศสังคมนิยม.

มาตรา 14.[แก้ไข]

รัฐส่งเสริมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศ ลงทุนเข้าในการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ, ประกอบส่วนเข้าในการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย, ทำให้เศรษฐกิจแห่งชาติเติบใหญ่เข้มแข็ง.


มาตรา 15.[แก้ไข]

รัฐส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, สร้างสิ่งแวดล้อมอำนวยความสะดวกให้แก่การนำเอาทุน, เทคโนโลยี และการคุ้มครองที่ก้าวหน้าเข้าสู่กระบวนการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ.

ทรัพย์สมบัติ และทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ลงทุนในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว จะมิถูกเก็บเกณฑ์, มิถูกยึด หรือโอนเป็นของรัฐ.

มาตรา 16.[แก้ไข]

รัฐปกป้อง และเสริมขยายบรรดารูปการกรรมสิทธิ์ของรัฐ, ของรวมหมู่, เอกเทศ, เอกชนภายใน และต่างประเทศที่ลงทุนในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.

มาตรา 17.[แก้ไข]

รัฐปกป้องสิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ (สิทธิ์ครอบครอง, สิทธิ์นำใช้, สิทธิ์ได้รับดอกผล, สิทธิ์ชี้ขาด) และสิทธิ์สืบทอดทรัพย์สมบัติของการจัดตั้ง และของบุคคล. สำหรับที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของวงคณาญาติแห่งชาติ, รัฐรับประกันสิทธิ์นำใช้, สิทธิ์โอน และสิทธิ์สืบทอดตามกฎหมาย.

มาตรา 18.[แก้ไข]

รัฐคุ้มครองเศรษฐกิจตามกลไลเศรษฐกิจตลาดที่มีการควบคุมของรัฐ, ปฎิบัติหลักการสบทบการคุ้มครองรวมศูนย์ เป็นเอกภาพของแขนงการศูนย์กลางกับการแบ่งความรับผิดชอบคุ้มครองให้ท้องถิ่น ตามระเบียบกฎหมาย.

มาตรา 19.[แก้ไข]

ทุกองค์การจัดตั้ง และพลเมืองทุกคน ต้องปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม, ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ: หน้าดิน, พื้นดิน, ป่าไม้, สัตว์, แหล่งน้ำ และอากาศ.

มาตรา 20.[แก้ไข]

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ปฏิบัตินโยบายเปิดกว้างการพัวพันร่วมมือเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยนำใช้รูปการสัมพันธ์เศรษฐกิจแบบหลายทิศ, หลายฝ่าย, หลายรูปแบบ บนหลักการเคารพเอกราช, อธิปไตยของกัน, เสมอภาพ และต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์.

มาตรา 21.[แก้ไข]

รัฐให้ความสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจ ติดพันกับการพัฒนาวัฒนธรรม-สังคม โดยใช้บุริมสิทธิ์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

มาตรา 22.[แก้ไข]

รัฐเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบายพัฒนาการศึกษา, ปฏิบัติระบอบการศึกษาชั้นประถมแบบบังคม เพื่อสร้างคนลาวให้เป็นพลเมืองดี, มีคุณสมบัติศีลธรรมปฏิวัติ, มีความรู้และความสามารถ.

รัฐและทั่วสังคม ตั้งหน้าพัฒนาการศึกษาแห่งชาติให้มีคุณภาพ, สร้างโอกาส และเงื่อนไขให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่เขตห่างไกลซอกหลีก, ชนเผ่า, แม่หญิง, เด็กน้อย และผู้ด้อยโอกาส.

รัฐส่งเสริม และผลักดันให้เอกชนลงทุนเข้าในการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติตามกฎหมาย.

มาตรา 23.[แก้ไข]

รัฐส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นมูลเชื้ออันดีงามของชาติ และของชนเผ่า สมทบกับการรับเอาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าของโลกอย่างมีการเลือกเฟ้น

รัฐส่งเสริมการเคลื่อนไหววัฒนธรรม, ศิลปะวรรณคดี, การประดิษฐ์คิดแต่ง, คุ้มครอง และปกปักรักษามรดกทางด้านวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ, บูรณะปฏิสังขรณ์วัตถุโบราณ และปูชนียสถาน.

รัฐเอาใจใส่ปรับปรุง และขยายงานสื่อมวลชน เพื่อรับใช้ภารกิจปกปักรักษา และพัฒนาประเทศชาติ.

ห้ามทุกการเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม หรือนำใช้สื่อมวลชน เพื่อก่อความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ของชาติ, ทำลายจารีตประเพณีอันดีงาม หรือเกียรติศักดิ์ศรีของคนลาว.

มาตรา 24.[แก้ไข]

รัฐเอาใจใส่ส่งเสริมสติปัญญา และหัวคิดประดิษฐ์สร้างในงานการค้นคว้า และการนำใช้วิทยาศาตร์-เทคโลยี, ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ไปเคียงคู่กับ การบำรุง และก่อสร้างนักวิทยาศาสตร์ เพื่อผลักดันการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย.

มาตรา 25.[แก้ไข]

รัฐเอาใจใส่ปรับปรุง และขยายงานสาธารณสุข เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน.

รัฐ และสังคมตั้งหน้าก่อสร้าง และปรับปรุงระบบการป้องกันโรค และรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง, สร้างเงื่อนไขให้ประชาชนทุกคนได้รับการดูแลด้านสุขภาพ โดยเฉพาะแม่ และเด็กน้อย, ประชาชนผู้ทุกยาก และผู้อยู่เขตห่างไกลซอกหลีก เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี.

รัฐส่งเสริม และผลักดันให้เอกชนลงทุน เปิดบริการด้านสาธารณสุข ตามระเบียบกฎหมาย.

ห้ามทุกการบริการด้านสาธารณสุข ที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย.

มาตรา 26.[แก้ไข]

รัฐ และสังคมเอาใจใส่ผลักดัน, ส่งเสริม และลงทุนเข้าในการกีฬากายกรรมของมหาชน นับทั้งประเภทกีฬาที่เป็นมูลเชื้ออันดีงามของเผ่าต่างๆ และกีฬาสากล เพื่อยกระดับความสามารถด้านการกีฬาให้สูงขึ้น, เสริมสร้างกำลัง และสุขภาพของประชาชน.

มาตรา 27.[แก้ไข]

รัฐ และสังคมเอาใจใส่พัฒนาฝีมือแรงงาน; ยกสูงวินัยแรงงาน, ส่งเสริมวิชาชีพ และงานทำของประชาชน; ปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ออกแรงงาน.

มาตรา 28.[แก้ไข]

รัฐ และสังคมเอาใจใส่ปฏิบัติโยบายสวัสดิการสังคมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะต่อวีรชนแห่งชาติ, นักรบแข่งขัน พนักงานบำนาญ, ผู้เสียอวัยวะ, ครอบครัวผู้เสียสละชีวิต เพื่อภารกิจปฏิวัติ และผู้มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ.

มาตรา 29.[แก้ไข]

รัฐ, สังคม และครอบครัวเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบายพัฒนา และส่งเสริมความก้าวหน้าของแม่หญิง, ปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์ของแม่หญิง และเด็กน้อย.

มาตรา 30.[แก้ไข]

รัฐ และสังคมส่งเสริม, พัฒนา และเปิดกว้างการท่องเที่ยววัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ. ห้ามการท่องเที่ยว ที่จะสร้างความเสื่อมเสียต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ หรือขัดกับระเบียบกฎหมาย ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.


หมวดที่ 3 การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ[แก้ไข]

มาตรา 31.[แก้ไข]

การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ เป็นหน้าที่ของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ, เป็นพันธะของทุกการจัดตั้ง และพลเมืองลาวทุกคน ในการปกปักรักษาความเป็นเอกราช, อำนาจอธิปไตย และผืนแผ่นดินอันครบถ้วนของประเทศชาติ; ปกปักรักษาชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน, รับประกันเสถียรภาพ และความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยประชาชน

การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องสมทบแน่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม.

มาตรา 32.[แก้ไข]

กำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องเอาใจใส่ปรับปรุง และก่อสร้างตนเองให้เติบใหญ่เข้มแข็ง, เชิดชูความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ, เป็นกำลังประกอบอาวุธของประชาชน ที่มีธาตุแท้ปฏิวัติ, ระเบียบวิไนเข้มงวด และมีแบบแผนทันสมัย, มีความสามารถในการสู้รบสูง; เป็นกำลังหลักแหล่งในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ, ความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม.

รัฐเอาใจใส่ประกอบวัตถุอุปกรณ์, เทคนิค, เทคโนโลยี, พาหนะ, เครื่องมือ และยกระดับความรู้, ความสามารถ, วิชาเฉพาะ, ยุทธศิลป์ และยุทธวิธีของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบให้สูงขึ้น.

มาตรา 33.[แก้ไข]

รัฐ และสังคมเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบาย, ดูแลชีวิตการเป็นอยู่ทางด้านวัตถุ และจิตใจ และปฏิบัตินโยบายแนวหลังต่อกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ เพื่อเพิ่มทวีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ปกปักรักษาประเทศชาติ และรักษาความสงบของสังคม.

กำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องเอาใจใส่ยกสูงจิตใจพึ่งตนเอง, กุ้มตนเอง, ออกแรงสร้างพลาธิการกับที่ เพื่อรับประกันการปฏิบัติหน้าที่ของตน และประกอบส่วนในการสร้างสาพัฒนาประเทศชาติ.

หมวดที่ 4 สิทธิ์และพันธะพื้นฐานของพลเมือง[แก้ไข]

มาตรา 34.[แก้ไข]

พลเมืองลาว คือผู้ที่มีสัญชาติลาว ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 35.[แก้ไข]

พลเมืองลาว โดยไม่จำแนกหญิงชาย, ฐานะทางด้านสังคม, ระดับการศึกษา, ความเชื่อถือ และชนเผ่า ล้วนแต่มีความเสมอภาพต่อหน้ากฎหมาย.

มาตรา 36.[แก้ไข]

พลเมืองลาวผู้ที่มีอายุแต่สิบแปดปีขึ้นไป มีสิทธิ์หย่อนบัตรเลือกตั้ง และผู้ที่มีอายุแต่ยี่สิบเอ็ดปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง เว้นเสียแต่ผู้เป็นบ้า, เสียจริต และผู้ที่ถูกศาลตัดสิทธิปลดสิทธิ์เลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง.

มาตรา 37.[แก้ไข]

พลเมืองลาวหญิงชาย มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ในด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม-สังคม และครอบครัว.

มาตรา 38.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีสิทธิ์ได้รับการศึกษาร่ำเรียน, ยกสูงความก้าวหน้า.

มาตรา 39.[แก้ไข]

พลเมืองลาวมีสิทธิ์ทำงาน และประกอบอาชีพที่มิขัดต่อกฎหมาย. ผู้ออกแรงงานมีสิทธิ์ได้รับการพักผ่อน, ได้รับการรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บป่วย, ได้รับการช่วยเหลือในกรณีที่หมดความสามารถออกแรงงาน, เสียอวัยวะ, ในเวลาเฒ่าแก่ และในกรณีอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 40.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการตั้งภูมิลำเนา และในการไปมา ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 41.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีสิทธิ์ร้องทุกข์, ร้องฟ้องและเสนอความเห็นต่อองค์การที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พัวพันถึงสิทธิ์ และผลประโยชน์รวม หรือสิทธิ์ และผลประโยชน์เฉพาะของตน.

คำร้องทุกข์, คำร้องฟ้อง และความเห็นของพลเมืองต้องได้รับการพิจารณา และแก้ไขตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 42.[แก้ไข]

พลเมืองลาวมีสิทธิ์โดยไม่มีผู้ใดจะล่วงละเมิดได้ทางร่างกาย, เกียรติศักดิ์ศรี และเคหะสถาน. พลเมืองลาวจะไม่ถูกจับตัว หรือตรวจค้นเคหะสถาน ถ้าหากไม่มีคำสั่งของอัยการ หรือศาลประชาชน เว้นเสียแต่ในกรณีที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 43.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการเชื่อถือ หรือไม่เชื่อถือศาสนา.

มาตรา 44.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการพูดคุย, ขีดเขียน, รวมชุมนุม, จัดตั้งสมาคม และเดินขบวน ที่มิขัดกับระเบียบกฎหมาย.

มาตรา 45.[แก้ไข]

พลเมืองลาวมีสิทธิ์เสรีภาพในการค้นคว้า และนำใช้ความก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์, เทคนิค และเทคโนโลยี, ประดิษฐ์สร้างศิลปะวรรณคดี และดำเนินการเคลื่อนไหววัฒนธรรม ที่มิขัดกับระเบียบกฎหมาย

มาตรา 46.[แก้ไข]

รัฐปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์อันถูกกฎหมายของพลเมืองลาวที่อยู่ต่างประเทศ.

มาตรา 47.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีพันธะเคารพรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, ปฏิบัติระเบียบการออกแรงงาน, ระเบียบการดำรงชีวิตของสังคม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง.

มาตรา 48.[แก้ไข]

พลเมืองลาวมีพันธะเสียภาษี และส่วยสาอากรตามระเบียบกฎหมาย.

มาตรา 49.[แก้ไข]

พลเมืองลาว มีพันธะปกปักรักษาประเทศชาติ และป้องกันความสงบ, ปฏิบัติพันธะการทหารตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 50.[แก้ไข]

ชาวต่างด้าว และผู้ไม่มีสัญชาติก็มีสิทธิ์ได้รับการป้องกันสิทธิ์ และเสรีภาพตามที่ได้กำหนดไว้อยู่ในกฎหมายของ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มีสิทธิ์ร้องฟ้องต่อศาล และองค์การที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มีพันธะเคารพรัฐธรรมนูญ และระเบียบกฎหมายของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.

มาตรา 51.[แก้ไข]

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว อนุญาตการลี้ภัยให้แก่คนต่างประเทศที่ถูกปราบปราม เพราะได้ทำการต่อสู้ เพื่ออิสรภาพ, ความเป็นธรรม, สันติภาพ, และภารกิจวิทยาศาสตร์.

หมวดที่ 5 สภาแห่งชาติ[แก้ไข]

มาตรา 52.[แก้ไข]

สภาแห่งชาติ คือองค์การตัวแทนแห่งสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ ของประชาชนบรรดาเผ่า, เป็นองค์การอำนาจแห่งรัฐ และทั้งเป็นองค์การนิติบัญญัติ ที่มีสิทธิ์ตกลงปัญหาพื้นฐานของประเทศชาติ, ติดตามตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน.

มาตรา 53.[แก้ไข]

สภาแห่งชาติมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:

  1. สร้าง, รับรองเอา หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.
  2. พิจารณา, รับรองเอา, เปลี่ยนแปลง หรือลบล้างกฎหมาย.
  3. พิจารณารับรองเอาการกำหนด, การเปลี่ยนแปลง หรือลบล้างภาษี และส่วยสาอากร.
  4. พิจารณา, รับรองเอาแผนยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และแผนงบประมาณแห่งรัฐ.
  5. เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธาน, รองประธาน และกรรมการคณะประจำสภาแห่งชาติ.
  6. เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธานประเทศ และรองประธานประเทศตามการเสนอของคณะประจำสภาแห่งชาติ.
  7. พิจารณา, รับรองเอาการเสนอแต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามการเสนอของประธานประเทศ, พิจารณา, รับรองเอาโครงประกอบกงจักรของรัฐบาล, การแต่งตั้ง, การโยกย้าย, หรือการปลดตำแหน่งสมาชิกรัฐบาล (คณะรัฐมนตรี) ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
  8. เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุดตามการเสนอของประธานประเทศ.
  9. ตกลงสร้างตั้ง หรือยุบเลิกกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, แขวง และนคร, ตกลงเขตแดนของแขวง และนคร ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี
  10. ตกลงให้นิรโทษกรรม.
  11. ตกลงให้สัตยาบัน หรือลบล้างสนธิสัญญา, สัญญาที่ได้เซ็นกับต่างประเทศตามกฎหมาย.
  12. ตกลงปัญหาสงคราม หรือสันติภาพ.
  13. ติดตามตรวจตราการเคารพ และปฏิบัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย.
  14. ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 54.[แก้ไข]

สภาแห่งชาติ แต่ละชุดมีอายุการห้าปี.

สมาชิกสภาแห่งชาติ คือพลเมืองลาวผู้เลือกตั้งตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

  • การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่ ต้องให้แล้วอย่างช้าหกสิบวัน ก่อนสภาแห่งชาติชุดเก่าจะหมดอายุการ.
  • ในกรณีที่เกิดสงคราม หรือด้วยสาเหตุอื่น ซึ่งก่อความยุ่งยากให้แก่การเลือกตั้งนั้น สภาแห่งชาติอาจจะต่ออายุการของตนก็ได้ แต่ต้องดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่ อย่างช้ามิให้เกิดหกเดือน ภายหลังสภาพการได้กลับคืนสู่ปกติ.
  • ในกรณีมีความจำเป็น สภาแห่งชาติจะดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติก่อนการหมดอายุการของตนก็ได้แต่ต้องได้รับความเห็นดีอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติ ที่เข้าร่วมกองประชุม.

มาตรา 55[แก้ไข]

สภาแห่งชาติเลือกตั้งคณะประจำของตน ซึ่งประกอบด้วยประธาน, รองประธาน และกรรมการจำนวนหนึ่ง.

ประธาน และรองประธานสภาแห่งชาติ เป็นทั้งประธาน และรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติ.

มาตรา 56.[แก้ไข]

คณะประจำสภาแห่งชาติ คือองค์การประจำการของสภาแห่งชาติ, ปฏิบัติหน้าที่แทนสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.

คณะประจำสภาแห่งชาติมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:

  • ตระเตรียมกองประชุมสภาแห่งชาติ และรับประกันให้สภาแห่งชาติ ปฏิบัติแผนการที่ได้กำหนดไว้.
  • ตีความหมาย และอธิบายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ.
  • ติดตามตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.
  • แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่งผู้พิพากษาของศาลประชาชนทุกขั้น และผู้พิพากษาของศาลทหาร.
  • เรียกรวมกองประชุมสภาแห่งชาติ
  • ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 57[แก้ไข]

สภาแห่งชาติเปิดกองประชุมสมัยสามัญปีละสองครั้ง โดยคณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้เรียกรวม. คณะประจำสภาแห่งชาติอาจจะเรียกรวมกองประชุมสมัยวิสามัญก็ได้ ถ้าหากเห็นว่ามีความจำเป็น.

มาตรา 58[แก้ไข]

กองประชุมสภาแห่งชาติจะดำเนินได้ ก็ต่อเมื่อหากมีสมาชิกสภาแห่งชาติเข้าร่วมมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมด.

มติของกองประชุมสภาแห่งชาติ จะมีคุณค่าได้ก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกองประชุม เว้นเสียแต่กรณีที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 54, 66 และมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญ.

มาตรา 59.[แก้ไข]

องค์การจัดตั้ง และบุคคลที่มีสิทธิ์เสนอสร้างร่างกฎหมายมีดังนี้:

  1. ประธานประเทศ.
  2. คณะประจำสภาแห่งชาติ.
  3. รัฐบาล.
  4. ศาลประชาชนสูงสุด.
  5. องค์การอัยการประชาชนสูงสุด.
  6. แนวลาวสร้างชาติ และองค์การจัดตั้งมหาชนขั้นศูนย์กลาง.

มาตรา 60[แก้ไข]

กฎหมายที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้วนั้น ต้องได้ประกาศใช้โดยประธานประเทศ อย่างช้ามิให้เกินสามสิบวัน นับแต่วันได้รับรองเป็นต้นไป. ในระยะเวลาดังกล่าวนั้น ประธานประเทศมีสิทธิ์เสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาใหม่. กฎหมายที่ได้นำมาพิจารณาใหม่นั้น ถ้าว่าสภาแห่งชาติหากยังตกลงยืนยันเอาตามเดิมแล้ว ประธานประเทศก็ต้องประกาศใช้ภายในกำหนดสิบห้าวัน.

มาตรา 61[แก้ไข]

บรรดาปัญหาที่เกี่ยวพันถึงชะตากรรมของประเทศชาติ และผลประโยชน์อันใหญ่หลวงของประชาชน ต้องผ่านสภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.

มาตรา 62.[แก้ไข]

สภาแห่งชาติสร้างตั้งบรรดากรรมาธิการของตน ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย และร่างรัฐบัญญัติ และนำเสนอต่อคณะประจำสภาแห่งชาติ และประธานประเทศ พร้อมทั้งช่วยสภาแห่งชาติ และคณะประจำสภาแห่งชาติปฏิบัติสิทธิ์ตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน.

มาตรา 63.[แก้ไข]

สมาชิกสภาแห่งชาติมีสิทธิ์ซักถามนายกรัฐมนตรี หรือสมาชิกรัฐบาล, ประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด. บุคคลที่ถูกซักถามนั้น ต้องชี้แจงต่อกองประชุมสภาแห่งชาติด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร.

มาตรา 64[แก้ไข]

สมาชิกสภาแห่งชาติ จะมิถูกดำเนินคดี หรือกักขัง ถ้าหากมิได้รับความเห็นดีของสภาแห่งชาติ หรือของคณะประจำสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.

ในกรณีที่มีการกระทำผิดซึ่งหน้า หรือรีบด่วนนั้น องค์การที่กักขังสมาชิกสภาแห่งชาติ ต้องรายงานทันทีให้สภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุมเพื่อพิจารณาตกลง. การสืบสวน-สอบสวนมิเป็นสาเหตุให้สมาชิกสภาแห่งชาติที่ถูกดำเนินคดีนั้น ขาดประชุมสภาแห่งชาติ.

หมวดที่ 6 ประธานประเทศ[แก้ไข]

มาตรา 65.[แก้ไข]

ประธานประเทศเป็นประมุขรัฐแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, เป็นผู้แทนให้ประชาชนลาวบรรดาเผ่าทั้งอยู่ภายในและต่อต่างประเทศ.

มาตรา 66.[แก้ไข]

ประธานประเทศ นั้นสภาแห่งชาติเป็นผู้เลือกตั้งโดยรับคะแนนเสียงอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมกองประชุม.

ประธานประเทศมีอายุการเท่ากับอายุการของสภาแห่งชาติ

มาตรา 67.[แก้ไข]

ประธานประเทศมีสิทธิและหน้าที่ดังนี้:

  1. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่สภาแห่งชาติได้ตกลงรับรองเอาแล้ว.
  2. ออกรัฐบัญญัติและรัฐดำรัส.
  3. เสนอการแต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อสภาแห่งชาติเพื่อพิจารณาตกลง.
  4. แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, แต่งตั้ง, โยกย้าย หรือปลดตำแหน่งสมาชิกรัฐบาลภายหลังที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้ว.
  5. แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งรองประธานศาลประชาชนสูงสุด ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด, แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งรองอัยการประชาชนสูงสุด ตามการเสนอของอัยการประชาชนสูงสุด.
  6. แต่งตั้ง โยกย้าย หรือปลดตำแหน่งเจ้าแขวง, เจ้าครองนคร ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
  7. เป็นแม่ทัพกำลังประกอบอาวุธของประชาชน.
  8. ตกลงเลื่อนชั้นหรือปลดชั้นนายพลอยู่กองกำลังป้องกันชาติ - ป้องกันความสงบ ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
  9. เรียกรวมและเป็นประธานกองประชุมพิเศษของรัฐบาล
  10. ตกลงประดับเหรียญคำแห่งชาติ, เหรียญกิตติคุณ, เหรียญชัย และนามยศสูงสุดแห่งรัฐ.
  11. ตกลงการให้อภัยโทษ.
  12. ตกลงการระดมพลทั่วไปหรือเป็นภาคส่วน, ตกลงภาวะฉุกเฉินในทั่วประเทศหรือในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
  13. ประกาศให้สัตยาบันหรือการลบล้างสนธิสัญญาที่ได้เซ็นกับต่างประเทศ
  14. แต่งตั้งผู้แทนมีอำนาจเต็มของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวไปประจำอยู่ต่างประเทศหรือเรียกกลับคืนประเทศ ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี, รับรองเอาผู้แทนที่มีอำนาจเต็มของต่างประเทศที่มาประจำอยู่สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย

มาตรา 68.[แก้ไข]

ประธานประเทศมีรองประธานประเทศซึ่งสภาแห่งเป็นผู้เลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมกองประชุม.

รองประธานประเทศปฏิบัติตามหน้าที่การมอบหมายของประธานประเทศ และทำการแทนประธานประเทศในเวลาประธานประเทศติดขัด.

หมวดที่ 7 รัฐบาล[แก้ไข]

มาตรา 69.[แก้ไข]

รัฐบาลเป็นองค์การบริหารแห่งรัฐ.

รัฐบาลคุ้มครองอย่างเป็นเอกภาพการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐในทุกด้าน: การเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม-สังคม, ป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และการต่างประเทศ.

มาตรา 70.[แก้ไข]

รัฐบาลมีสิทธิ และหน้าที่ดังนี้:

  1. ปฏิบัติรัฐธรรมนูญ, กฎหมาย และมติของสภาแห่งชาติ, รัฐบัญญัติ และรัฐดำรัสของประธานประเทศ.
  2. เสนอร่างกฎหมาย และร่างรัฐบัญญัติต่อสภาแห่งชาติ, ร่างรัฐดำรัสต่อประธานประเทศ.
  3. กำหนดแผนยุทธศาสตร์, แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และแผนงบประมาณแห่งรัฐประจำปี แล้วนำเสนอให้ สภาแห่งชาติพิจารณา และรับรองเอา.
  4. รายงานการเคลื่อนไหวทำงานของตนต่อสภาแห่งชาติ, ต่อคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติไม่ได้เปิดกองประชุม) และรายงานต่อประธานประเทศ.
  5. ออกดำรัส, มติตกลงเกี่ยวกับการคุ้มครองรัฐ, คุ้มครองเศรษฐกิจ-สังคม, วิทยาศาสตร์, เทคนิค, เทคโนโลยี, ทรัพยากแห่งชาติ, สิ่งแวดล้อม, การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และการต่างประเทศ.
  6. จัดตั้ง, ชี้นำ และตรวจตราการเคลื่อนไหวของบรรดาแขนงการ และองค์การปกครองท้องถิ่น.
  7. จัดตั้ง และตรวจตราการเคลื่อนไหวของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ.
  8. เซ็นสนธิสัญญา, สัญญากับต่างประเทศ และชี้นำการปฏิบัติสนธิสัญญา และสัญญาที่ได้เซ็นแล้ว.
  9. งดการปฏิบัติ, ลบล้าง หรือยกเลิกข้อตกลง, คำสั่งของกระทรวง, องค์กรเทียบเท่ากระทรวง, องค์การที่ขึ้นกับรัฐบาล และองค์การปกครองท้องถื่นที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย.
  10. ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 71.[แก้ไข]

รัฐบาล ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, หัวหน้าองค์การเทียบเท่ากระทรวง.

รัฐบาลมีอายุการ เท่ากับอายุการของสภาแห่งชาติ.

มาตรา 72.[แก้ไข]

นายกรัฐมนตรี นั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่ง ภายหลังที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้ว.

มาตรา 73.[แก้ไข]

นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นตัวแทนให้รัฐบาล ชี้นำ และอำนวยควบคุมงานของรัฐบาล, ชี้นำงานของกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, ทบวง และองค์การอื่นๆ ที่ขึ้นกับรัฐบาล, ชี้นำงานของแขวง และนคร

นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ, รองหัวหน้าองค์การเทียบเท่ากระทรวง, หัวหน้าทบวง, รองเจ้าแขวง, รองเจ้าครองนคร, เลี่อนชั้น หรือปลดชั้นพันเอก ของกองกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และตำแหน่งอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

บรรดารองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยงานนายกรัฐมนตรี และรับผิดชอบงานใดหนึ่งตามการมอบหมายของนายกรัฐมนตรี. เมื่อนายกรัฐมนตรีติดขัด นั้นรองนายกรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ว่าการแทน.

มาตรา 74.[แก้ไข]

รัฐบาล หรือสมาชิกรัฐบาลท่านใดท่านหนึ่ง อาจจะถูกสภาแห่งชาติพิจารณา และลงมติไม่ไว้วางใจ ถ้าว่าคณะประจำสภาแห่งชาติ หรือมีอย่างน้อยหนึ่งส่วนสี่ของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมดหากเสนอปัญหานี้ขึ้น.

ในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ภายหลังที่สภาแห่งชาติ ได้ลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว ประธานประเทศมีสิทธิ์เสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาคืนใหม่. การพิจารณาครั้งที่สองต้องห่างจากการพิจารณาครั้งที่หนึ่งสี่สิบแปดชั่วโมง. ถ้าว่า การลงมติครั้งใหม่หากไม่ได้รับความไว้วางใจอีกแล้ว รัฐบาล หรือสมาชิกรัฐบาลท่านนั้น ต้องลาออก.

หมวดที่ 8 การปกครองท้องถิ่น[แก้ไข]

มาตรา 75.[แก้ไข]

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว แบ่งการปกครองท้องถิ่น ออกเป็นสามขั้นคือ: ขั้นแขวง, ขั้นเมือง และขั้นบ้าน.

  • ขั้นแขวง มีแขวง และนคร.
  • ขั้นเมือง มีเมือง และเทศบาล.
  • ขั้นบ้าน มีบ้าน.

แขวง มีเจ้าแขวง, นคร มีเจ้าครองนคร, เมือง มีเจ้าเมือง, เทศบาล มีหัวหน้าเทศบาล, บ้านมีนายบ้าน.

เจ้าแขวง มีรองเจ้าแขวง, เจ้าครองนคร มีรองเจ้าครองนคร, เจ้าเมือง มีรองเจ้าเมือง, หัวหน้าเทศบาล มีรองหัวหน้าเทศบาล, นายบ้าน มีรองนายบ้าน เป็นผู้ช่วยงาน.

ในกรณีที่จำเป็น อาจจะต้องสร้างตั้งเขตพิเศษขึ้นตามการตกลงของสภาแห่งชาติ. เขตพิเศษมีฐานะเทียบเท่ากับแขวง.

มาตรา 76.[แก้ไข]

เจ้าแขวง, เจ้าครองนคร, เจ้าเมืองมีสิทธิ์ และหน้าที่รวมดังนี้:

  1. รับประกันการปฏิบัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, จัดตั้งปฏิบัติทุกมติคำสั่งที่ขั้นสูงวางออกอย่างเข้มงวด.
  2. ชี้นำ และตรวจตราการเคลื่อนไหว ของทุกแขนงการ, ทุกขั้นที่ขึ้นกับขอบเขตความรับผิดชอบของตน.
  3. งดการปฏิบัติ, ลบล้าง หรือยกเลิกข้อตกลงของทุกแขนงการ ที่อยู่ขั้นของตน หรือขั้นล่างที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย.
  4. คุ้มครองพลเมือง, พิจารณา และแก้ไขคำร้องทุกข์ และคำเสนอของประชาชน อยู่ในขอบเขตสิทธิ์อำนาจของตน ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
  5. ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 77.[แก้ไข]

หัวหน้าเทศบาลมีสิทธิ์ และหน้าที่ในการวางแผนการ, จัดตั้งปฏิบัติ และคุ้มครองการพัฒนาตัวเมือง, บริการสาธารณะให้ทั่วถึง, มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย, สะอาด และสวยงาม ในขอบเขตตัวเมืองตามที่ได้กำหนดไว้ในผังเมือง, ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย.

มาตรา 78.[แก้ไข]

นายบ้านมีความรับผิดชอบ จัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมาย และมติคำสั่งของรัฐ, ปกปักรักษาความสงบ, ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน และพัฒนาบ้านให้มีความหนักแน่นในทุกด้าน.

หมวดที่ 9 ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน[แก้ไข]

มาตรา 79.[แก้ไข]

ศาลประชาชนเป็นองค์การพิพากษาของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย:

  • ศาลประชาชนสูงสุด.
  • ศาลอุทธรณ์.
  • ศาลประชาชนแขวง, นคร.
  • ศาลประชาชนเมือง.
  • ศาลทหาร.

ในกรณีที่จำเป็น อาจจะสร้างตั้งศาลเฉพาะตามแขนงการขึ้นก็ได้ โดยการตกลงของคณะประจำสภาแห่งชาติ.

มาตรา 80.[แก้ไข]

ศาลประชาชนสูงสุดเป็นองค์การพิพากษาสูงสุดของรัฐ.

ศาลประชาชนสูงสุด คุ้มครองด้านบริหาร ต่อศาลประชาชนทุกขั้น, ศาลทหาร และตรวจตราคำตัดสินของศาลดังกล่าว.

มาตรา 81.[แก้ไข]

รองประธานศาลประชาชนสูงสุด นั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่ง ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด.

บรรดาผู้พิพากษาของศาลประชาชนสูงสุด, ประธาน, รองประธาน, บรรดาผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์, ประธาน และรองประธาน และบรรดาผู้พิพากษา ของศาลประชาชนแขวง, นคร, เมือง, หัวหน้า, รองหัวหน้า และบันดาผู้พิพากษาของศาลทหาร นั้นคณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่ง ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด.

มาตรา 82.[แก้ไข]

ศาลประชาชนพิจารณาตัดสินเป็นหมู่คณะ. ในเวลาพิจารณาตัดสิน ผู้พิพากษาต้องเป็นเอกราช และมีแต่ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น.

มาตรา 83.[แก้ไข]

การไต่สวนคดีในที่ประชุมศาล ต้องดำเนินอย่างเปิดเผย เว้นเสียแต่กรณีที่ได้กำนหดไว้ในกฎหมาย. ผู้ต้องหามีสิทธิ์ต่อสู้คดีที่ตนถูกกล่าวฟ้อง, ทนายความมีสิทธิ์ช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ผู้ถูกกล่าวฟ้อง.

มาตรา 84.[แก้ไข]

ผู้แทนบรรดาองค์การจัดตั้งสังคม มีสิทธิ์เข้าร่วมในการดำเนินคดีอยู่ศาล ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.

มาตรา 85.[แก้ไข]

คำตัดสินของศาลประชาชนที่ใช้ได้อย่างเด็ดขาดแล้วนั้น ทุกองค์การจัดตั้งพรรค, องค์การจัดตั้งรัฐ, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม และพลเมืองทุกคนต้องเคารพ, บุคคล และองค์การจัดตั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวด.

มาตรา 86.[แก้ไข]

องค์การอัยการประชาชนเป็นองค์กรติดตามตรวจตราการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย:

  • องค์การอัยการประชาชนสูงสุด.
  • องค์การอัยการประชาชนขั้นอุทธรณ์.
  • องค์การอัยการประชาชนแขวง, นคร.
  • องค์การอัยการประชาชนเมือง.
  • องค์การอัยการทหาร.

องค์การอัยการประชาชนมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:

  1. ติดตามตรวจตราการเคารพ ระเบียบกฎหมายอย่างถูกต้อง และเป็นเอกภาพอยู่ในทุกกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, องค์การที่ขึ้นกับรัฐบาล, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, วิสาหกิจ, รัฐกร และพลเมือง.
  2. ปฏิบัติสิทธิ์กล่าวฟ้อง.

มาตรา 87.[แก้ไข]

อัยการประชาชนสูงสุดชี้นำการเคลื่อนไหว ขององค์การอัยการประชาชนทุกขั้น.

รองอัยการประชาชนสูงสุดนั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งตามการเสนอของอัยการประชาชนสูงสุด.

อัยการประชาชน และรองอัยการประชาชนขั้นอุทธรณ์, แขวง, นคร, เมือง, อัยการทหารนั้นอัยการประชาชนสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่ง.

มาตรา 88.[แก้ไข]

ในเวลาปฏิบัติหน้าที่ของตนนั้น อัยการประชาชนมีแต่ปฏิบัติตามกฎหมาย และคำสั่งของอัยการประชาชนสูงสุดเท่านั้น.

หมวดที่ 10 ภาษา, อักษร, เครื่องหมายชาติ, ธงชาติ, เพลงชาติ, วันชาติ, สกุลเงิน และนครหลวง[แก้ไข]

มาตรา 89.[แก้ไข]

ภาษาและอักษรลาวเป็นภาษาและอักษรที่ใช้เป็นทางการ.

มาตรา 90.[แก้ไข]

เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร", ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง, อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง, ทุ่งนา, ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก.

มาตรา 91.[แก้ไข]

ธงชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือธงพื้นสีคราม, แถบแดง และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม.

มาตรา 92.[แก้ไข]

เพลงชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือเพลงที่มีชื่อว่า "ชาติลาว".

มาตรา 93..[แก้ไข]

วันชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ได้แก่วันสถาปนาสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือ: วันที่ 2 เดือนธันวาคม ปี 1975.

มาตรา 94.[แก้ไข]

สกุลเงินของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือเงินกีบ.

มาตรา 95.[แก้ไข]

นครหลวงของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือนครหลวงเวียงจันทน์.

หมวดที่ 11 บทบัญญัติสุดท้าย[แก้ไข]

มาตรา 96..[แก้ไข]

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือกฎหมายพื้นฐานของชาติ. ทุกกฎหมายต้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ.

มาตรา 97.[แก้ไข]

มีแต่กองประชุมสภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเท่านั้นจึงมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.

ในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกสภาแห่งชาติอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบ.

มาตรา 98.[แก้ไข]

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลศักดิ์สิทธิ์นับแต่ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวออกรัฐดำรัสประกาศใช้เป็นต้นไป

เวียงจันทน์, วันที่ 6 พฤษภาคม 2003
สะหมาน วิยะเกด ประธานสภาแห่งชาติ

  งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ:

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะมีลักษณะตามมาตรา 94 แห่ง "กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 38/NA ของวันที่ 15 เดือนพฤศจิก ปี 2017" ของประเทศลาว (ฉบับภาษาลาว) ซึ่งบัญญัติว่า

"สิ่งที่ไม่สามารถปกป้องเป็นลิขสิทธิ์มีดังนี้
1. ข่าวประจำวัน หรือเหตุการณ์ตัวจริงที่เกิดขึ้น ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสาร
2. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี วิธีการปฏิบัติ หรือหลักการคณิตศาสตร์
3. บรรดานิติกรรมต่าง ๆ ระเบียบการปกครอง เอกสารทางด้านตุลาการ และเอกสารเช่นนั้นที่แปลเป็นทางการ
งานแปล:

ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก
ถ้าคำประกาศดังกล่าวไม่อาจเป็นไปได้ในทางกฎหมาย ข้าพเจ้าก็ให้ทุกคนมีสิทธิใช้งานนี้ได้ในทุกกรณี โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนด