งานแปล:เจ้าหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์เตือนเรื่องความทะเยอทะยานของสนธิและความอ่อนแอของสุรยุทธ์
หน้าตา
สารบัญ
Democrat official warns of Sonthi's ambitions, Surayud's weakness
|
เจ้าหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์เตือนถึงความทะเยอทะยานของสนธิและความอ่อนแอของสุรยุทธ์
|
Summary | บทคัดย่อ |
---|---|
1. (C) There is mounting evidence of serious rifts between PM Surayud and junta leader General Sonthi. An experienced politician told us on April 23 that Sonthi has at least considered replacing Surayud. Democrat Party (DP) Secretary General Suthep Thaugsuban recounted a discussion in early April in which Sonthi recruited him for a ministerial slot, and raised the possibility of heading something like a national unity government. Although Suthep believed the tensions might have eased since then, he said that Surayud faced a hostile alliance that includes military officers and other high profile activists who organized large protests in Bangkok in 2005 and 2006. Suthep said the CNS wanted to establish its own party and therefore had a shared interest with others who would like to weaken the DP or see a change in the party's leadership. Suthep declined to predict how the Palace would react to a change in government leadership, but he claimed the King only signaled his support for the 2006 coup after the fact, when urged by the Queen. Suthep said he disagreed with some key provisions of the draft constitution, but he would be willing to accept the current draft in order that elections can be held in 2007. End Summary. | 1.(C) มีหลักฐานมากขึ้นว่า สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี กับพลเอก สนธิ หัวหน้าคณะรัฐประหาร แตกคอกันอย่างรุนแรง นักการเมืองผู้เจนสนามบอกเราเมื่อวันที่ 23 เมษายน ว่า อย่างน้อยสนธิก็ได้คิดเรื่องการเข้าแทนที่สุรยุทธ์แล้ว สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่ได้คุยกับสนธิเมื่อต้นเดือนเมษายน ซึ่งสนธิชวนให้เขารับตำแหน่งรัฐมนตรี และแสดงความเป็นไปได้ที่[สนธิ]จะขึ้นเป็นหัวหน้าคณะอะไรสักอย่าง อย่างเช่น คณะรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ ถึงแม้สุเทพจะเชื่อว่า ตั้งแต่นั้นมา ความตรึงเครียดคงคลายลงแล้ว แต่เขาก็กล่าวว่า สุรยุทธ์ต้องเจอการผนึกกำลังของนายทหารและนักกิจกรรมตัวยงคนอื่น ๆ ที่เคยจัดการประท้วงขนานใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2548 และ 2549 ซึ่งไม่เป็นคุณ[ต่อสุรยุทธ์] สุเทพบอกว่า คมช. อยากตั้งพรรค[การเมือง]เป็นของตนเอง ดังนั้น [คมช.] จึงมีผลประโยชน์ร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ ที่อยากให้ ปชป. เสื่อมถอยหรืออยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้นำพรรค สุเทพไม่ยอมคะเนว่า พระราชวังจะมีปฏิกิริยาอย่างไรในการเปลี่ยนตัวผู้นำรัฐบาล แต่เขาอ้างว่า พระเจ้าอยู่หัวเพิ่งมาส่งสัญญาณการสนับสนุนรัฐประหารปี 2549 เอาเมื่อเกิดเหตุการณ์ไปแล้ว เพราะทรงถูกพระราชินีเร่งเร้า สุเทพว่า เขาไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติหลัก ๆ บางเรื่องในร่างรัฐธรรมนูญ แต่เขาคงเต็มใจยอมรับร่างฉบับปัจจุบันนี้เพื่อให้มีการเลือกตั้งได้ในปี 2550 จบบทคัดย่อ |
Warning about Sonthi | คำเตือนเกี่ยวกับสนธิ |
---|---|
2. (C) Democrat Party Secretary General Suthep Thaugsuban warned in an April 23 meeting of serious rifts between CNS Chairman General Sonthi Boonyaratglin and PM Surayud Chulanont. While Sonthi previously appeared apolitical, Suthep said that events subsequent to the coup had affected Sonthi's ambitions. Being in a position of greater power also had stoked interest on the part of Sonthi and other CNS figures, such as CNS Secretary General Winai Phattiyakul, in using their influence to accumulate wealth. Surayud, however, remained clean, Suthep claimed. | 2.(C) ในการพบกันเมื่อวันที่ 23 เมษายน สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เตือนว่า มีการแตกคอกันอย่างรุนแรงระหว่างพลเอก สนธิ บุณยะรัตกลิน ประธาน คมช. และสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุเทพกล่าวว่า แม้เดิมทีสนธิดูจะไม่สนใจในการเมือง แต่เหตุการณ์ภายหลังรัฐประหารมีผลต่อความทะเยอทะยานของสนธิ ทางด้านสนธิและบุคคลอื่น ๆ ใน คมช. เช่น พลเอก วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการ คมช. นั้น การได้มาอยู่ในสถานะที่มีอำนาจมากยิ่งขึ้นยังกระตุ้นให้ใฝ่ใจใช้อิทธิพลสั่งสมความร่ำรวย กระนั้น สุเทพอ้างว่า ตัวสุรยุทธ์เองยังคงใจซื่อมือสะอาดอยู่ |
3. (C) Suthep said he had dined with Sonthi prior to the April 13-17 Songkran holidays. At that dinner, Sonthi invited Suthep to join a cabinet which Sonthi might form, in the event that Sonthi were to replace Surayud and install himself as Prime Minister. Suthep said he had declined Sonthi's offer, saying the Democrats would not serve any government installed by a coup. At one point in the meal, Sonthi took out a pen and paper to note down whatever names Suthep might suggest as suitable cabinet members, indicating his interest in perhaps forming some kind of national unity government. | 3.(C) สุเทพว่า เขาได้รับประทานอาหารมื้อเย็นกับสนธิก่อนช่วงวันหยุดสงกรานต์วันที่ 13–17 เมษายน ในมื้อเย็นนั้น สนธิชวนสุเทพมาร่วมคณะรัฐมนตรีที่สนธิอาจจะตั้งขึ้นในกรณีที่สนธิจะได้เข้าแทนที่สุรยุทธ์แล้วตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี สุเทพว่า เขาปฏิเสธข้อเสนอของสนธิ โดยกล่าวว่า ชาวประชาธิปัตย์จะไม่รับใช้รัฐบาลคณะใด ๆ ที่สถาปนาขึ้นด้วยรัฐประหาร ณ ช่วงหนึ่งในอาหารมื้อนั้น สนธิหยิบปากกากับกระดาษออกมาจดชื่อใด ๆ ที่สุเทพอาจเสนอว่า ควรได้เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรี ซึ่งบ่งบอกถึงความสนใจของสนธิที่บางทีอาจจะอยากตั้งคณะรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นสักแบบ |
Key figures opposing Surayud | บุคคลหลักที่ต่อต้านสุรยุทธ์ |
---|---|
4. (C) Suthep said that Surayud faced a number of prominent opponents; Sonthi was just the most prominent of these figures, who are united primarily by opposition to Surayud's relative restraint and reliance on legal procedures in efforts to punish Thaksin for abuses of power during his time in office. Included in this group were CNS Secretary General Winai, CNS Deputy Secretary General Saprang Kalayanamitr, media mogul Sondhi Limthongkul, retired General Chamlong Srimuang, and perennial plotter (and Constitution Drafting Committee Chairman) Prasong Soonsiri. (Note: Sondhi and Chamlong were the highest profile members of the People's Alliance for Democracy -- PAD -- which was instrumental in mobilizing members of the middle and upper class against PM Thaksin; the PAD has in recent weeks been publicly critical of Surayud. End Note.) Suthep believed that it would not be necessary to stage a coup to oust Surayud -- he did not want to be PM anyway, and he would be ready to resign if asked. | 4.(C) สุเทพว่า สุรยุทธ์ต้องเผชิญผู้ต่อต้านรายสำคัญจำนวนหนึ่ง สนธิเป็นเพียงตัวสำคัญที่สุดในบุคคลเหล่านี้ซึ่งเดิมทีรวมตัวกันเพราะไม่เห็นด้วยกับสุรยุทธ์ที่ยั้งมืออย่างมีนัยสำคัญแล้วหันไปอาศัยกระบวนการทางกฎหมายในการเพียรพยายามลงโทษทักษิณที่ใช้อำนาจโดยมิชอบขณะดำรงตำแหน่ง ในกลุ่มนี้รวมถึง พลเอก วินัย เลขาธิการ คมช., พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร รองเลขาธิการ คมช., สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อ, จำลอง ศรีเมือง นายพลที่เกษียณแล้ว, และประสงค์ สุ่นศิริ นักวางแผนที่อยู่ยงคงกระพัน (ทั้งเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ) (หมายเหตุ: สนธิ [ลิ้มทองกุล] กับจำลอง เป็นสมาชิกตัวยงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม. ซึ่งมีส่วนช่วยระดมสมาชิกชนชั้นกลางและชั้นบนให้ต่อต้านนายกรัฐมนตรีทักษิณ แต่เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ พธม. ได้วิพากษ์วิจารณ์สุรยุทธ์อย่างโจ่งแจ้ง จบหมายเหตุ) สุเทพเชื่อว่า คงไม่จำเป็นต้องก่อรัฐประหารเพื่อขับสุรยุทธ์ ถึงอย่างไรเขาก็ไม่อยากเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว และเขาคงพร้อมลาออกถ้ามีคนขอ |
5. (C) Suthep noted that Prasong Soonsiri hoped to become Prime Minister. In the event of Surayud's resignation, however, Suthep felt it was certain that Sonthi would take the top job for himself. Suthep claimed the anti-Surayud camp's plan for seizing power was dubbed as the "1-4-4" formula: elections would be delayed for one year, and then a CNS figure or proxy would serve as PM for two full four-year terms. | 5.(C) สุเทพหมายเหตุว่า ประสงค์ สุ่นศิริ หวังจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สุรยุทธ์ลาออก สุเทพรู้สึกว่า สนธิคงจะรับหน้าที่ผู้นำนี้เองเป็นแน่ สุเทพอ้างว่า ฝ่ายต่อต้านสุรยุทธ์มีแผนยึดอำนาจที่เรียกว่า สูตร "1-4-4" โดยจะเลื่อนเลือกตั้งออกไปหนึ่งปี แล้วให้บุคคลหรือหุ่นเชิดจาก คมช. ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีจนครบสองสมัย สมัยละสี่ปี |
6. (C) Privy Council President Prem Tinsulanonda -- widely seen as a key figure behind the September 2006 coup d'etat -- had recently signaled his displeasure with Sonthi, according to Suthep. Suthep related that Prem had spoken warmly with Surayud at a Songkran event; by contrast, when in Sonthi's presence, Prem refused to address the CNS Chairman. Suthep interpreted Prem's shunning of Sonthi as reflecting displeasure with Sonthi's growing ambitions. | 6.(C) ตามที่สุเทพเล่า เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งมองกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นบุคคลสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหารเดือนกันยายน ปี 2549 นั้น เร็ว ๆ นี้ก็ได้ส่งสัญญาณว่า ตนเองไม่พึงพอใจในสนธิ สุเทพบอกเล่าว่า เปรมสนทนาอย่างอบอุ่นกับสุรยุทธ์ในงานสงกรานต์ แต่กลับกัน เมื่อสนธิปรากฏตัว เปรมก็ไม่ยอมพูดจากับประธาน คมช. ผู้นี้ สุเทพตีความว่า การที่เปรมตีตนออกจากสนธินั้น สะท้อนถึงความไม่พึงพอใจในการที่สนธิมีความทะเยอทะยานเพิ่มพูนขึ้น |
7. (C) After the Songkran holidays, Suthep told us, he had greeted Sonthi at a wedding reception. At that event, Sonthi reportedly told Suthep that he was feeling more comfortable with the political climate. Nevertheless, Suthep felt the political situation remained unstable, and he suggested that we do what we can to bolster Surayud's position, so as to decrease the likelihood of Sonthi taking full control of the government. | 7.(C) หลังวันหยุดสงกรานต์ สุเทพเล่าให้เราฟังว่า เขาได้ทักทายสนธิที่งานเลี้ยงสมรส มีรายงานว่า ที่งานนั้น สนธิบอกสุเทพว่า ตนรู้สึกสะดวกใจมากขึ้นกับบรรยากาศทางการเมือง กระนั้น สุเทพยังรู้สึกว่า สถานการณ์การเมืองยังไม่นิ่ง และแนะให้เราทำอะไรก็ตามที่ทำได้เพื่อค้ำยันสถานะของสุรยุทธ์ จะได้ลดความน่าจะเป็นที่สนธิจะเข้าควบคุมรัฐบาลอย่างเต็มมือ |
View of the King's position | มุมมองเรื่องสถานะของพระมหากษัตริย์ |
---|---|
8. (C) We asked Suthep how he believed the Palace would view efforts by the CNS to force Surayud -- a former member of the Privy Council -- out of office. Suthep declined to speculate, but he said King Bhumibol had not favored the 2006 coup. Suthep claimed that, on the night of the coup, the King had resisted meeting with the Generals who overthrew Thaksin. In the end, the King gave in to the entreaties of Queen Sirikit, but he publicly signaled her role in the coup by approving the release of a photograph of that audience which showed the King, casually dressed, in profile, while the Queen faced the camera. | 8. (C) เราถามสุเทพว่า ตามความเชื่อของเขา การที่ คมช. เพียรพยายามบีบสุรยุทธ์ซึ่งเป็นอดีตองคมนตรีออกจากตำแหน่ง[นายกรัฐมนตรี]นั้น พระราชวังจะมองอย่างไร สุเทพไม่ยอมคาดการณ์ แต่เขาว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลไม่ลงพระทัยด้วยรัฐประหารปี 2549 สุเทพอ้างว่า ในคืนรัฐประหารนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงค้านการให้นายพลผู้โค่นล้มทักษิณเข้าเฝ้า ถึงแม้ที่สุดแล้ว พระองค์จะทรงยอมตามคำวิงวอนของพระนางเจ้าสิริกิติ์ แต่พระองค์ก็ทรงบอกใบ้ถึงบทบาทของพระนางในการรัฐประหาร โดยทรงยินยอมให้เผยแพร่รูปถ่ายการเข้าเฝ้าครั้งนั้นซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงสวมชุดลำลองและหันข้าง ส่วนพระนางหันพระพักตร์ให้กล้อง[เต็ม ๆ] |
Pressure on the DP leadership | แรงกดดันต่อตัวผู้นำ ปชป. |
---|---|
9. (C) We asked about the possible dissolution of the Democrat Party; the Constitutional Tribunal's verdict is due to be announced at the end of May. Suthep said there were many outside and even inside the DP who hoped for its dissolution. Sonthi and Winai were working with former TRT official Phinij Jarusombat to establish a new political party that would act as the CNS's political vehicle, Suthep said. (Note: Ref B reported Phinij's participation in a new political grouping. End Note.) Intending to use this new party to compete for power when elections take place, the CNS had a clear interest in weakening the Democrat Party and other rivals, Suthep said. In this respect, CNS and Thai Rak Thai (TRT) interests overlapped. | 9.(C) เราถามเรื่องความเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะถูกยุบ คำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีกำหนดประกาศปลายเดือนพฤษภาคม สุเทพว่า มีคนนอกและแม้กระทั่งคนในพรรค ปชป. หลายคนที่หวังให้พรรคถูกยุบ สุเทพว่า สนธิและวินัยร่วมมือกับพินิจ จารุสมบัติ อดีตเจ้าหน้าที่พรรค ทรท. ในการก่อตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนทางการเมืองให้แก่ คมช. (หมายเหตุ: เอกสารที่อ้างถึงในข้อ ข มีรายงานถึงการที่พินิจมีบทบาทในกลุ่มก้อนทางการเมืองกลุ่มใหม่ จบหมายเหตุ) สุเทพว่า คมช. ตั้งใจจะใช้พรรคใหม่นี้ลงแข่งชิงอำนาจเมื่อมีการเลือกตั้ง [คมช.] จึงมีผลประโยชน์อย่างชัดแจ้งในการที่พรรคประชาธิปัตย์และคู่แข่งรายอื่น ๆ จะถูกทำให้เสื่อมถอยลง ในแง่นี้ ผลประโยชน์ของ คมช. และพรรคไทยรักไทย (ทรท.) จึงเหลื่อมซ้อนกันอยู่ |
10. (C) Former PM Chuan Leekpai also had supporters who hoped for Chuan's return to preeminence in the DP, and they would welcome a Constitutional Tribunal ruling dissolving the party. Such a ruling would pave the way for Chuan, now sidelined as a senior advisor, to head a reconstituted version of the DP. Suthep -- whose allegedly improper actions lie at the core of the Constitutional Tribunal proceedings against the DP -- declined to predict the Tribunal's ruling. However, he noted that Thaksin had budgeted 500 million Baht (over 14 million USD) in order to influence the Tribunal members, and Suthep alleged that the wife of Tribunal President (and concurrently Supreme Court President) Panya Thanomrod had accepted a portion of this money. | 10.(C) ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ยังมีผู้สนับสนุนที่หวังจะให้เขาหวนคืนสู่ความสูงส่งในพรรค ปชป. อีก และคนเหล่านั้นคงจะยินดีปรีดากับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้ยุบพรรคเสีย [เพราะ]คำวินิจฉัยเช่นนั้นคงจะเปิดทางให้ชวน ซึ่งเดี๋ยวนี้ถูกกันออกไปเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ได้ขึ้นนำพรรค ปชป. ชุดที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ ส่วนสุเทพนั้น กระกระทำของเขาที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องไม่ถูกไม่ควร ได้ตกมาสู่ใจกลางกระบวนพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อยุบพรรค ปชป. จึงไม่ยอมคะเนคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ อย่างไรก็ดี เขาหมายเหตุว่า ทักษิณได้จัดสรรงบ 500 ล้านบาท (กว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาทำให้ตุลาการเขว และสุเทพยังกล่าวอ้างว่า ภริยาของปัญญา ถนอมรอด ประธานคณะตุลาการ (ควบตำแหน่งประธานศาลฎีกา) ได้ยอมรับเงินส่วนนี้แล้ว |
Constitutional issues | ประเด็นทางรัฐธรรมนูญ |
---|---|
11. (C) When asked for his views on the draft constitution, Suthep decried it as an unsatisfactory compromise product. He joked that the draft was so poor that it was almost as if the drafters themselves wanted the public to reject it. (In a more serious tone, he suggested that General Sonthi likely had an alternate constitution prepared in the event that he needed one.) | 11.(C) เมื่อขอให้เขาแสดงมุมมองเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ สุเทพก็ประณามร่างนี้ว่าเป็นผลลัพธ์ของการรอมชอมอันไม่เป็นที่น่าพอใจ เขากล่าวติดตลกว่า ร่างนี้เลวร้ายมากชนิดที่คนร่างเองก็คงอยากให้สาธารณชนปัดตกเสีย (เขาเดาด้วยน้ำเสียงเป็นจริงเป็นจังขึ้นว่า พลเอก สนธิ คงน่าจะให้จัดเตรียมรัฐธรรมนูญสำรองไว้แล้ว เผื่อจะต้องใช้สักอัน) |
12. (C) Suthep said the drafters should have abolished the Senate rather than making it an appointed body. He also expressed dissatisfaction with provisions that establish in unclear terms a new method for election to the House from one or more party lists. Suthep advocated abolishing the party list system entirely, saying that party lists improperly signal that those elected by virtue of their positions on the lists are more elite than their colleagues who are elected on a constituency basis. The party list MPs generally fail to attend community events and disregard the electorate, Suthep complained. | 12.(C) สุเทพว่า คนร่างควรจะได้เลิกวุฒิสภาเสียมากกว่าจะให้วุฒิสภาเป็นองค์กรที่มาจากการแต่งตั้ง เขายังแสดงความไม่พอใจกับบทบัญญัติที่จัดวางวิธีเลือกตั้งสภา[ผู้แทนราษฎร]แบบใหม่จากบัญชีรายชื่อหนึ่งบัญชีหรือหลายบัญชีด้วยถ้อยคำกำกวม สุเทพหนุนให้เลิกระบบบัญชีรายชื่อเสียทั้งหมด เขาว่า บัญชีรายชื่อเป็นการส่งสัญญาณอย่างไม่ถูกไม่ควรว่า บรรดาผู้ได้รับเลือกตั้งเพราะมีสถานะอยู่ในบัญชีนั้นมีสิทธิพิเศษยิ่งกว่าเพื่อนร่วมพรรคที่ได้รับเลือกตั้งจากการแบ่งเขต สุเทพยังคร่ำครวญว่า ส.ส. บัญชีรายชื่อนั้นมักไม่เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนและไม่เห็นค่าผู้เลือกตั้ง |
13. (C) The DP was currently assembling its formal reaction to the draft constitution, Suthep said. Nevertheless, despite his dissatisfaction, he told us if he had to choose today, he would vote in favor of this constitution, simply to make it more likely that elections would take place this year, as planned. After elections, the legislature could amend the constitution. | 13.(C) สุเทพว่า ขณะนี้ พรรค ปชป. กำลังรวบรวมปฏิกิริยาอย่างเป็นทางการต่อร่างรัฐธรรมนูญ กระนั้น ถึงแม้เขาจะไม่ชอบใจ[ในร่างรัฐธรรมนูญ] เขาก็บอกเราว่า ถ้าวันนี้เขาจะต้องเลือก เขาจะก็ลงคะแนนรับรัฐธรรมนูญนี้ เพียงเพื่อให้เป็นไปได้มากขึ้นที่จะมีการเลือกตั้งในปีนี้ตามกำหนด เมื่อเลือกตั้งแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติก็ไปแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ |
Comment | ความเห็น |
---|---|
14. (C) Suthep's discussion mirrors others we have been hearing here. People are worried that the political situation is precarious, and they do not trust any of their political leaders. Despite claims to the contrary, there appear to be serious differences between Surayud and Sonthi, and it is widely believed Sonthi has at least considered taking over from Surayud. (Even General Winai recently confirmed to the Ambassador that Sonthi's interest in pursuing elected politics had grown -- ref A.) In the longer term, the CNS has to be worried about how to ensure their continuing safety from reprisal from Thaksin. More immediately, it has to figure up how to shore up the public's dwindling confidence in the interim government and somehow stumble through the current transition back to elected government. The Ambassador has scheduled a dinner with Sonthi on May 2 and will use the occasion to reinforce strongly our interest in civilian governance during the interim administration, elections in 2007, and fair treatment of political parties and their constituents. | 14. (C) การพูดคุยกับสุเทพเป็นเครื่องสะท้อนถึงเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่เราได้ยินได้ฟังมา ณ ที่นี้ ผู้คนกังวลกันว่า สถานการณ์การเมืองนั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้ และไม่เชื่อถือผู้นำการเมืองคนใด ๆ เลย แม้จะมีข้ออ้างไปอีกทางหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่า สุรยุทธ์กับสนธิจะไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง และเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า อย่างน้อยสนธิก็ได้คิดจะเข้าแทนที่สุรยุทธ์ (ถึงแม้พลเอก วินัย จะยืนยันต่อเอกอัครราชทูตเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า สนธิทวีความสนใจที่จะเจริญรอยทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง[มากกว่าจะยึดอำนาจจากสุรยุทธ์]ก็ตาม -- ตามเอกสารที่อ้างถึงในข้อ ก) ในระยะยาว คมช. จะต้องวุ่นวายกับการทำให้ตนเองมั่นใจว่าจะอยู่รอดปลอดภัยต่อไปโดยไม่ถูกทักษิณคิดบัญชี แต่เรื่องด่วนกว่า คือ คมช. จะต้องคิดให้ออกว่า จะทำอย่างไรเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นที่สาธารณชนมีต่อรัฐบาลชั่วคราวซึ่งกำลังถดถอยลง และจะโซเซผ่านช่วงเวลาปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนกลับสู่รัฐบาลเลือกตั้งไปได้อย่างไร เอกอัครราชทูตได้นัดรับประทานอาหารเย็นกับสนธิในวันที่ 2 พฤษภาคม และจะอาศัยโอกาสนี้เน้นย้ำซ้ำ ๆ แรง ๆ ว่า เรามุ่งสนใจในการบริหารด้วยพลเรือนในระหว่างการปกครองชั่วคราว [รวมถึง]การเลือกตั้ง[ที่จะมี]ในปี 2550 และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อพรรคการเมืองและผู้เลือกพรรคเหล่านั้นมา |
Boyce | บอยซ์ |
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- Boyce, R L (2007-04-24). "Democrat Official Warns of Sonthi’s Ambitions, Surayud’s Weakness". WikiLeaks. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ: | งานนี้เป็นเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (ดู ประมวลกฎหมายสหรัฐ ลักษณะ 17 มาตรา 105) |
---|---|
งานแปล: | ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก |