งานแปล:เอกสารโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์จิตวิทยา
790.5/9–1453
เลขที่ 403
เอกสารโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์จิตวิทยา[1]
- ลับที่สุด
- พีเอสบี ดี–23[คัดย่อความ]
อ้างถึง:
I. พันธกิจ
เพื่อตัดสินความเชื่อมโยงและผลลัพธ์ทางจิตวิทยาของยุทธศาสตร์คอมมิวนิสต์ในประเทศไทยและพื้นที่ประชิด และเพื่อตั้งยุทธศาสตร์จิตวิทยาของสหรัฐที่สมเหตุสมผลที่อาศัยประเทศไทย
II. ข้อสรุป
1. | กิจกรรมขยายดินแดนของคอมมิวนิสต์ที่คุกคามประเทศไทยและพื้นที่ประชิดมีศักยภาพเติบโตขึ้น การพัฒนาในยุทธศาสตร์คอมมิวนิสต์ในพื้นที่อันประกอบเป็นภัยคุกคามต่อประเทศไทยซึ่งทางการไทยจะต้องเผขิญหน้าอย่างรวดเร็วด้วยโครงการการเมือง-จิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการเตรียมการทางทหารที่เพิ่มขึ้น หรือมิฉะนั้นประชาชนไทยอาจคุ้นเคยกับแรงกดันคอมมิวนิสต์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดอาจตกอยู่ในอันตรายโดยปราศจากการแทรกแซงอย่างชัดแจ้งจากกองทัพคอมมิวนิสต์จีน |
2. | นโยบายฝรั่งเศสต่ออินโดจีนในเรื่องความทะเยอทะยานของรัฐสมาคมจะต้องถือเป็นปัจจัยสำคัญในประสิทธิภาพโดยรวมของความพยายามต่อต้านที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ในทางกลับกัน โครงการของสหรัฐที่มีการขยายสำหรับเสริมกำลังแก่ประเทศไทยอาจช่วยทำให้ความพยายามของเรากับฝรั่งเศสมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และจะสนับสนุนอินโดจีนโดยการคงรักษาประเทศไทยเป็นฐานทางปีกและทุติยภูมิที่สำคัญ อย่างไรก็ดีอินโดจีนยังเป็นเขตสงครามสำคัญของการต่อต้านแรงกดดันคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยเหตุนี้ ทรัพย์สินและทรัพยากรของสหรัฐจะไม่สามารถเปลี่ยนทางไปจากที่นั้นได้ |
3. | ขึ้นกับข้อข้างต้น เอ. พฤติการณ์ทางการเมืองและภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทำให้เป็นไปได้ซึ่งการริเริ่มและพัฒนา ณ ที่นั่นซึ่งปฏิบัติการจิตวิทยาของสหรัฐขนาดใหญ่ซึ่งได้รับการออกแบบมาในเบื้องต้นเพื่อลดความเประบางของประเทศไทยต่อแรงกดดันคอมมิวนิสต์ บี. การสนับสนุนและการเปิดใช้งานปฏิบัติการจิตวิทยาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยของสหรัฐจะต้องใช้ประโยชน์และฉวยโอกาสอย่างเต็มที่จากช่องทางติดต่อปกติกับส่วนพื้นเมืองโดยการวางปัจเจกบุคคลที่มีคุณวุฒิสูงในตำแหน่งสำคัญในประเทศไทยและใช้ประโยยชน์ปฏิบัติการที่เหมาะสมทั้งหมดเพื่อเตรียมจิตใจและอารมณ์ของประชาชนให้ร่วมมือกับความพยายามดังกล่าว; การสนับสนุนนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความพยายาม ... อย่างพร้อมเพรียงกัน รวมทั้งการช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการเตรียมการทางทหารตามแบบ และขยายปฏิบัติการกึ่งทหารของประเทศ |
4. | เศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ในปัจจุบันกำลังมีความตึงเครียดจากมาตรการที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ สถานการณ์นี้ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่แรงกดดันคอมมิวนิสต์เพิ่มขึ้นกระชั้นเข้ามา เรียกร้องให้มีความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและโครงการในระดับประมาณเดียวกับปีงป. '53 เป็นอย่างน้อย เพื่อสนับสนุนโครงการพิสัยไกลที่เป็นประโยชน์ และเพื่อลดอันตรายจากความขัดแย้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
5. | ผ่านสิ่งเร้าของโครงการจิตวิทยาที่เหมาะสม พันธะชาติพันธุ์ของชาวไทยที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ลาว กัมพุชา เวียดนาม พม่าและจีนอาจสามารถมีส่วนในเวลาอันเหมาะสมต่อความพยายามจิตวิทยาและทางทหารเพื่อป้องกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์และทำให้อ่อนกำลังซึ่งศูนย์กลางความสนใจในประเทศจีน อินโดจีน และที่อื่น |
6. | การขยายกิจกรรมของสหรัฐที่อาศัยประเทศที่มีการเสนอนั้นมีความเป็นไปได้เมื่อเป็นไปตามขีดความสามารถของประเทศ โดยในทีแรกมีการเน้นย้ำต่อการลดความเประบางของประเทศไทย ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์จิตวิทยาที่แนะนำควรแบ่งออกเป็นสองระยะ: |
ระยะที่ 1
โครงการซึ่งมุ่งเสริมสร้างเจตจำนงและความสามารถของประเทศไทยในการต่อต้านการรุกรานหรือการบ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์ โดยมีเพียงโครงการสนับสนุนที่จำเป็นเช่นว่าเท่านั้นในด้านสารสนเทศในพื้นที่ประชิดตามที่สอดคล้องกับแบบรูปที่มีอยู่ของความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตร;
ระยะที่ 2
จะเริ่มโครงการขยายกึ่งทหารและอื่น ๆ ออกนอกเขตแดนประเทศไทยเมื่อพฤติการณ์อำนวย รวมทั้งการยอมรับโดยปริยายตามที่เหมาะสมโดยรัฐบาลฝรั่งเศส บริติช และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีในการฉายภาวะผู้นำของสหรัฐ เราจะต้องทำงานร่วมกันและผ่านผู้นำพื้นเมืองที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้
III. แผนยุทธศาสตร์จิตวิทยาที่มีการเสนอ
1. | ระยะที่ 1—โดยประสานงานกับโครงการความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐ ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานที่ปลอดภัย โดยการเพิ่มเสถียรภาพของมันและทำให้เขตแดนของมันป้องกันได้ดีขึ้น
เอ. วัตถุประสงค์ทางจิตวิทยา
บี. ภาระงานพื้นฐาน
|
. . . . . . . | |
2. | ระยะที่ 2—หากเมื่อใดเงื่อนไขอำนวย การใช้ประโยชน์ประเทศไทยเป็นฐาน บนความเข้าใจว่าก่อนระยะที่ 2 ใช้ปฏิบัติการได้นั้น จะต้องมีการทบทวนและมุมมองที่สอบถามสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันที่เหมาะสมของรัฐบาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทย และของรัฐบาลบริติชและฝรั่งเศสซึ่งมีผลประโยชน์ขนาดใหญ่ในการเชื่อมโยงและความเป็นไปได้ของแผนการเช่นว่า การตัดสินใจริเริ่มระยะที่ 2 จะต้องกระทำโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประสานงานปฏิบัติการ
เอ. วัตถุประสงค์ทางจิตวิทยา
บี. ภาระงานพื้นฐาน
|
[ต่อจากนี้เป็นเอกสารเต็ม "ยุทธศาสตร์จิตวิทยาสหรัฐที่อาศัยประเทศไทย" ซึ่งข้างต้นเป็นความย่อ และภาคผนวกสองภาค: ภาคผนวก "เอ" ประกอบด้วย เอสอี–45 (เอกสาร 395) และภาคผนวกการเงิน]
- ↑ ส่วนความย่อของเอกสารนี้ได้รับการอนุมัติจากสภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อ 9 ก.ย.; ดูเอกสาร 400 บันทึกโดยจอร์จ เอ. มอร์แกน รักษาการผู้อำนวยการคณะกรรมการยุทธศาสตร์จิตวิทยา 14 ก.ย. ที่แนบกับข้อความต้นฉบับ ระบุว่าเอกสารดังกล่าวรวมประโยคที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเพิ่มเข้ามาในการอนุมัติส่วนความย่อดังกล่าว
- ↑ ดูเชิงอรรถ 4 เอกสาร 398
- ↑ ดูเชิงอรรถ 9 เอกสาร 400
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ. No. 403 Paper by the Psychological Strategy Board. สืบค้นเมื่อ 28-11-63. ลิงก์: https://history.state.gov/historicaldocuments/frus1952-54v12p2/d403
งานต้นฉบับ: | งานนี้เป็นเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (ดู ประมวลกฎหมายสหรัฐ ลักษณะ 17 มาตรา 105) |
---|---|
งานแปล: | งานนี้เป็นงานที่เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ต้นฉบับ ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่หรือดัดแปลงแก้ไขงานนี้ได้อย่างเสรี ตราบเท่าที่ยังมีการระบุถึงชื่อผู้สร้างสรรค์งานหรือผู้ให้สัญญาอนุญาตของงานนี้ และผลงานดัดแปลงแก้ไขจากงานนี้จะต้องอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกับงานนี้ด้วยเช่นกัน |