จดหมายเหตุของหมอบรัดเล ปีชวด จุลศักราช ๑๑๙๐ (พ.ศ. ๒๓๗๑) ในรัชกาลที่ ๓

จาก วิกิซอร์ซ
Warning: หน้านี้ขาด {{หัวเรื่อง}}
ถ้าคุณอยากช่วย คุณสามารถเพิ่มข้อมูลตาม {{หัวเรื่อง}} เข้ามาในหน้านี้ หรือแสดงความเห็นไว้ที่ หน้าพูดคุย

หน้า ๓๒

จดหมายเหตุของหมอบรัดเล


ปีชวด จุลศักราช ๑๑๙๐ พ.ศ.๒๓๗๑ ในรัชกาลที่ ๓

๑๘๒๘ สิงหาคม ที่ ๒๓
มิชชันนารี ชื่อ ชาลส์ คุตสลัฟคน ๑ เยมส์ตอม ลินคน ๑ แรกเข้ามาสอนสาสนาคฤศตังลัทธิโปรเตสตันต์ในกรุงเทพฯ (คุตสลัฟคนนี้ ที่เรียกในหนังสือแสดงกิจจานุกิจว่า หมอกิศลับ)


ปีมเสงจุลศักราช ๑๑๙๕ พ.ศ.๒๓๗๖

๑๘๓๓ มีนาคม ที่ ๒๕
มิชชันนารี ชื่อยอน เตเลอ โยนส์ เข้ามากรุงเทพ ฯ (คนนี้เรียกในหนังสือแสดงกิจจานุกิจว่า หมอยอน อเมริกัน)


ปีมเมียจุลศักราช ๑๑๙๖ พ.ศ. ๒๓๗๗

๑๘๓๔ กรกฎาคม ที่ ๑๘
มิชชันนารี ชื่อวิลเลียม ดีน กับหมอบรัดเลเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ปีนี้แรกพวกมิชชันนารีเอาเครื่องพิมพ์เข้ามากรุงเทพฯ

สิงหาคม ที่ ๕
มิชชันนารีแรกเช่าที่นายกลิ่น (น้องชายสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จี่) ตั้งโอสถศาลาข้างใต้ท่าวัดเกาะ (หมอบรัดเลอธิบายไว้ในที่อื่น

หน้า ๓๓

ว่า เมื่อแรกมิชชันนารีเข้ามาตั้งในเมืองไทย ตั้งใจจะมาสอนสาสนาคฤศตังแก่พวกจีน ซึ่งเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ด้วยเห็นว่า สอนที่เมืองจีนได้ผลดี จึงเตรียมหนังสือสอนสาสนาที่พิมพ์ในภาษาจีนเข้ามา แลมาขออนุญาตต่อรัฐบาล เพื่อจะสอนสาสนาแก่พวกจีน
เมื่อไปตั้งโอสถศาลาที่วัดเกาะ มิชชันนารีแจกหนังสือสอนสาสนาแก่พวกจีน แลรับรักษาไข้เจ็บให้ทั้งจีนแลไทย ๆ ไปรู้จักพวกมิช ชันนารีด้วยการที่ไปให้รักษาไข้
จึงเรียกบรรดามิชชันนารีว่า "หมอ" ทั้งที่เปนแพทย์แลมิใช่แพทย์ จึงเรียกกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้)

กันยายน ที่ ๘
กัปตันเวลเลอ นายเรืออังกฤษ เกิดวิวาทกับพระวัดเกาะ เหตุด้วยเข้าไปยิงนกในวัด พระตีเอาบาดเจ็บสาหัส

ตุลาคม ที่ ๕
โอสถศาลาของพวกมิชชันนารี ถูกไล่จากวัดเกาะเนื่องในเหตุที่ฝรั่งตีพระ ต้องมาอยู่ที่กุฎีจีน
(หมอบรัดเลอธิบายในที่อื่น ว่าเมื่อแรกมิชชัน นารีเข้ามาที่กรุงเทพ ฯ มีบ้านฝรั่งแต่ ๒ แห่ง คือ บ้านซินยอคาลส ซิลไวโร กงสุลโปจุเกต ไทยเรียกว่า "คาลศ" ได้เปนขุนนางไทยตำแหน่งที่


หน้า ๓๔

หลวงอภัยวานิช อยู่ตรงสถานทูตโปจุเกตทุกวันนี้แห่ง ๑ กับรอเบิต ฮันเตอร์ พ่อค้าอังกฤษ ไทยเรียกว่า "หันแตร" พึ่งบุญค้าขายอยู่ในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์
แต่ยังเปนเจ้าพระ ยาพระคลัง ได้เปนขุนนางไทย ที่หลวงวิเศษพานิช อยู่ที่กุฎีจีนคน ๑
พวกมิชชันนารีได้อาไศรยฝรั่ง ๒ คนนี้ เมื่อโอสถศาลาถูกไล่จากวัดเกาะ จึงมาอาไศรยอยู่ที่ริมบ้านหันแตร
ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์ ปลูกเรือนให้เช่า หมอบรัดเลจึงย้ายไปอยู่ข้างใต้คลองกุฎีจีน)


ปีมแมจุลศักราช ๑๑๙๗ พ.ศ.๒๓๗๘

๑๘๓๕ ตุลาคม
ไทยแรกมีเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่ง เรือลำนี้ ๒ เสาครึ่ง ชื่อเอริล หลวงนายสิทธิ์ (คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์) ต่อถวาย

พฤศจิกายน ที่ ๑๒
หลวงนายสิทธิ์ชวนหมอบรัดเล กับมิชชันนารี ชื่อ สตีฟินยอนสัน ลงเรือเอริล ไปเมืองจันทบุรี หลวงนายสิทธิ์เปนนายเรือไปเอง

พฤศจิกายน ที่ ๒๑
หมอบรัดเล ฯลฯ ไปถึงจันทบุรี พบเจ้าพระ ยาพระคลัง (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์) กำลังสร้างเมืองใหม่ เตรียมรบ

หน้า ๓๕

กับญวน เห็นเรือกำปั่นใบหลวงนายสิทธิ์กำลังต่ออยู่ที่จันทบุรีอิก ๓ ลำ ชื่อคองเคอเรอลำ ๑ เซลีโดเนีย ลำ๑ วิกตอรีลำ ๑ มิชชันนารียอนสันอยู่จันทบุรี ๖ เดือน
แต่หมอบรัดเลอยู่เดือน ๑ กลับกรุงเทพ ฯ


ปีวอกจุลศักราช ๑๑๙๘ พ.ศ. ๒๓๗๙

๑๘๓๖ มีนาคม ที่ ๒๖
กำปั่นไฟเรือรบอเมริกัน ชื่อ ปีคอกลำ ๑ เอนเตอไปรสลำ ๑ มาทอดสันดอน เอดมอนด์รอเบิตทูตอเมริกันนำหนังสือสัญญามาแลกเปลี่ยน

มิถุนายน
มิชชันนารี ชื่อ รอบินสัน แรกตั้งเครื่องพิมพ์พิมพ์อักษรไทย ในกรุงเปนครั้งแรก
(ทราบว่าตัวพิมพ์อักษรไทยนั้น อังกฤษ ชื่อนายพันโทโล เปนผู้เริ่มคิดขึ้น ด้วยรัฐบาลอัง กฤษที่อินเดียให้แต่งไวยากรณ์ภาษาไทย แต่เมื่อในรัชกาลที่ ๒ ตัวพิมพ์นั้นหล่อที่เมืองบังกะหล่า แล้วส่งมาไว้ที่เมืองสิงคโปร์ มิชชันนารีโยนส์ได้คำแปลคัมภีร์ใหม่สาสนาคฤศตังเปนภาษาไทย ซึ่งมิชชันนารีแต่ก่อนได้ทำไว้ ยังต้องเอาออกไปพิมพ์ที่เมืองสิงคโปร์ ต่อเมื่อพวกมิชชันนารีตกลงกันจะเข้ามาตั้งเปนหลักแหล่งในเมืองไทยจึงรับซื้อตัวพิมพ์อักษรไทยเอาเข้ามากรุงเทพฯ )

หน้า ๓๖

ตุลาคม ที่ ๑๘
สมเด็จพระอรรคมเหษีในรัชกาลที่ล่วงแล้ว (คือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์) สวรรคต

๑๘๓๗ มกราคม ที่ ๑๓
ฉลองวัด เจ้าพระยาพระคลัง (คือ วัดประยูรวงษ์) ในงานฉลองนี้ ปืนใหญ่ (ทำไฟพะเนียง) แตก ถูกคนตายหลายคน
หมอบรัดเลตัดแขนพระองค์ ๑ ที่ถูกปืนแตก ว่าได้ทำการตัดผ่าอย่างฝรั่งเปนครั้งแรกในเมืองไทย


ปีรกาจุลศักราช ๑๑๙๙ พ.ศ. ๒๓๘๐

เมษายน ที่ ๒๐
ไฟไหม้ที่ใต้วัดสำเพ็ง

ธันวาคม ที่ ๒๐
พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้หมอหลวงไปหัดปลูกทรพิศม์ ที่พวกมิชชันนารี
(เรื่องนี้หมอบรัดเลอธิบายไว้ในที่อื่น ว่าพวกหมอมิชชันนารีได้ พยายามปลูกทรพิศม์มาหลายปี ใช้พันธุ์จากฝีดาดที่งาม แต่ไม่มีใครเชื่อจนพวก มิชชันนารีปลูกลูกของตนเองเปนตัวอย่างคนอื่นจึงเชื่อ ว่าปลูกได้จริง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ วิธีปลูกทรพิศม์ แลต้องพระราชประสงค์จะให้ปลูกไทยนานอยู่แล้ว ครั้นทรงทราบว่าหมอมิชชันนารีปลูกได้จริง จึงมีรับสั่งให้หมอหลวงไปหัด)

หน้า ๓๗

ปีจอจุลศักราช ๑๒๐๐ พ.ศ.๒๓๘๑


๑๘๓๙ กุมภาพันธ์ ที่ ๙
หมอริเซอสัน อังกฤษ เดินบกเข้ามาจากเมืองเมาะลำเลิง มาถึงกรุงเทพ ฯ (เรื่องนี้มีในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ)

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๘
มิชชันนารี รอบินสัน กับเตรซี พาครอบครัวไปอยู่อ่างหิน (เข้าใจว่าแรกฝรั่งไปตากอากาศรักษาตัวที่อ่างหิน)

มีนาคม
ไทยยกกองทัพเรือลงไปเมืองสงขลา (คือ กองทัพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ แต่ยังเปนพระยาศรีพิพัฒน์ คราวที่หลวงอุดมสมบัติจดหมายเหตุ)


ปีกุญจุลศักราช ๑๒๐๑พ.ศ.๒๓๘๒

มีนาคม ที่ ๒๓
แผ่นดินไหว ๓ ครั้ง ถึงน้ำในแม่น้ำลำคลองกระฉ่อน ต้นเดิมไหวในเมืองพม่า

มีนาคมที่ ๒๗
พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบำเหน็จแก่หมอหลวงแลหมอบรัดเล ที่ได้ปลูกทรพิศม์
(ว่าพระราชทานแต่คนละ ๔๐๐บาท ลงมาจนถึง ๒๐๐ บาท )

เมษายน ที่ ๒๗
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประกาศห้ามสูบฝิ่นแลค้าฝิ่น หมายประกาศนี้


หน้า ๓๘

ให้พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิชชันนารี ๙๐๐๐ ฉบับ เปนหมายประกาศฉบับแรกที่รัฐบาลให้พิมพ์

๑๘๔๐ มกราคม ที่ ๑
นายเชสสี คัสเวล มิชชันนารีอเมริกันเข้ามาถึง
(คนนี้ได้เปนครูสอนภาษาอังกฤษถวายพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ในกรุงได้ ๙ ปี ตายเมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๙ เรียกในหนังสือแสดงกิจจานุกิจว่าหมอกัศแวน)

มกราคม ที่ ๓๐
หมอบรัดเล แรกปลูกทรพิศม์ในกรุงเทพ ฯ ด้วยพันธุ์ที่ได้มาจากอเมริกาเปนครั้งแรก


ปีชวดจุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ.๒๓๘๔

ตุลาคม ที่ ๑๗
พวกมิชชันนารีอเมริกันเพิ่มเติมกันเข้ามาเปนครั้งเป็นคราว มีรวมกันอยู่ในกรุงเทพ ฯ ทั้งบุตรภรรยา ๒๔ คน


ปีฉลูจุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ.๒๓๘๕

๑๘๔๑ ตุลาคม
โรงพิมพ์มิชชันนารีหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยได้เองเปนครั้งแรก


ปีขาลจุลศักราช ๑๒๐๔ พ.ศ.๒๓๘๕

๑๘๔๒ ธันวาคม
เล่าฦๅแลตื่นกันในพวกไทยว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้วคนที่รับแจก
๓๙
หนังสือสอนสาสนาของพวกมิชชันนารี พากันทำลายหนังสือที่รับไปจากพวกมิชชันนารีเสียมาก ภายหลังปรากฎว่า หาได้กริ้วอย่างที่ฦๅไม่

ธันวาคม ที่ ๕
เกิดโรคไข้ทรพิศม์ คนมาขอให้มิชชันนารี ปลูก มิชชันนารีไม่มีพันธุ์หนองฝีที่เคยได้มาจากอเมริกา ต้องเอาหนองฝีดาดปลูกลูกของตนเองก่อนแล้วปลูกให้ผู้อื่น มีตายบ้าง

๑๘๔๓ มกราคม ที่ ๑๒
มิชชันนารีพิมพ์ปดิทินภาษาไทย ครั้งแรก


ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๐๕ พ.ศ.๒๓๘๖

พฤศจิกายน ที่ ๑๘
นายยอน ฮัสเสต ชันดเลอ มิชชันนารีเข้ามาถึง
(คนนี้ไทยเรียกว่า หมอจันดเล)

มีนาคม ที่ ๔
เห็นดาวหางเอลกี เห็นอยู่ในกรุงเทพ ฯ สักเดือน ๑ คนตื่นกัน

๑๘๔๔ มกราคม ที่ ๑๑
เรือกำปั่นไฟ ชื่อ เอ็กสเปรส ขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ เปนเรือกำปั่นไฟลำแรกที่ได้เห็นในแม่น้ำเจ้าพระยา

มีนาคม ที่ ๑๑
ไฟไหม้ที่ริมวัดเลียบ

มีนาคม ที่ ๑๕
ไฟไหม้ที่ริมวัดแจ้ง


ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๐๖ พ.ศ.๒๓๘๗

มีนาคม ที่ ๒๘
ขุนนางผู้ใหญ่ในกรมนาคน ๑ อายุ ๗๓ เปน ต้อตามืดมาช้านาน หมอบรัดเลตัดต้อ กลับแลเห็นได้

หน้า ๔๐

เมษายน
เข้าแพง เข้าสารราคาถังละบาท

กรกฎาคม ที่ ๔
พวกมิชชันนารีทำหนังสือพิมพ์ข่าวออกเปน ภาษาไทยครั้งแรก เรียกชื่อบางกอกริคอเดอ

สิงหาคม ที่ ๕
เริ่มปลูกทรพิศม์อิกครั้ง ๑ ต้องหยุดมาถึง ๔ ปี เพราะขาดพันธุ์หนอง


ปีมเมียจุลศักราช ๑๒๐๘ พ.ศ.๒๓๘๙

๑๘๔๖ เมษายน ที่ ๑๑
ได้พันธุ์หนองมาจากเมืองบอสตัน ได้ลงมือปลูก ทรพิศม์ซึ่งหยุดมาปี ๑ ปลูกคราวนี้เปนครั้งที่ ๓

๑๘๔๗ มีนาคม
พวกจีนจลาจลที่ท่าจีน

มีนาคม ที่ ๒๒
นายสตีฟิน มัตตูน มิชชันนารีกับหมอแซมยวล เฮาส์หมอในพวกมิชชันนารี เข้ามาถึง (ไทยเรียกกันว่า หมอมะตูน หมอเฮ้า)


ปีวอกจุลศักราช ๑๒๑๐ พ.ศ.๒๓๙๑

๑๘๔๙ มกราคม ที่๑๗
นายแซมยวล สมิท มิชชันนารีเข้ามาถึง(คนนี้ คือ หมอสมิท ที่บางคอแหลม)

ปีรกาจุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ.๒๓๙๒

กรกฎาคม
เกิดอหิวาตกะโรค


ปีจอจุลศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ.๒๓๙๓

หน้า ๔๑

๑๘๕๐ มีนาคม ที่ ๒๔
บาเลสเตีย ทูตอเมริกัน มาขอทำสัญญาใหม่ ไม่สำเร็จ

สิงหาคม ที่ ๒๒
เซอร์ เยมส บรุ๊ก (ไทยเรียก เย สัปรุษ) ทูตอังกฤษมาขอทำสัญญาใหม่ ไม่สำเร็จ

กันยายน
พวกไทยที่เปนลูกจ้างฝรั่ง พากันตื่นว่ากริ้ว

ตุลาคม
พวกเสมียนแลครูไทยที่ไปทำการ กับมิชชัน นารี ถูกจับขังหลายคน (เข้าใจว่าจะเปนคราวนี้ที่เกิดความ เรื่องนายโหมดอมาตยกุลพิมพ์กฎหมาย)

๑๘๕๑ มกราคม ที่ ๑๕
ไฟไหม้ที่สำเพ็ง


ปีกุญจุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ.๒๓๙๔

เมษายน ที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต


รัชกาล ที่ ๔

พฤษภาคม ที่ ๑๕
บรมราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พฤษภาคม ที่ ๒๐
เลียบพระนครทางบก

พฤษภาคม ที่ ๒๑
เลียบพระนครทางเรือ

มิถุนายน ที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เลียบพระนครทางบก


หน้า ๔๒

กรกฎาคม ที่ ๒๑
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พวกมิชชันนารี เช่าที่สำหรับทำการ พวก มิชชันนารีหา ที่มา ๒ ปี แล้วไม่สำเร็จ

สิงหาคม ที่ ๑๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี รับสั่งไปยังพวกมิชชันนารีให้จัดหาหญิงในพวกมิชชันนารีเข้าไปเปนครูสอนภาษาอังกฤษให้ข้างในพวกมิชชันนารีประชุมปฤกษากันจัดหญิงในมิชชันนารี
(๓ พวก ๓ พวกนั้น เพราะสังกัดอยู่ในสภาต่างกันในอเมริกา คือ
สภาบับติสต์พวก ๑ สภาฟอเรนมิชชันพวก ๑ สภาเปรสะบิเตอเรียน พวก ๑ แต่เปนอเมริกันเหมือนกันทั้งนั้น) ผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปสอน อาทิตย์ละ ๒ วัน สอนอยู่สัก ๓ ปี จึงได้หยุด

ตุลาคม ที่ ๑๑
กัปตันอิมเป เปนนายทหารอังกฤษ เดินบกเข้ามาจากเมืองเมาะลำเลิง เข้ารับราชการเปนครูทหารวังหลวง เปนครูของครูเล็กครูกรอบครูเชิงเลิง ที่เปนครูทหารเมื่อแรกรัชกาลที่ ๕

๑๘๕๒ กุมภาพันธ์ ที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้มิชชันนารีเช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์
(คือบ้านที่หมอบรัดเล

หน้า ๔๓

อยู่จนตายเมื่อปีชวดจุลศักราช ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ ค.ศ.๑๘๗๔)

เมษายน ที่ ๑๕
ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตุลาคม ที่ ๑๐
สมเด็จพระนางโสมนัศสิ้นพระชนม์

ธันวาคม
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง


ปีฉลูจุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ.๒๓๙๖


๑๘๕๓ มีนาคม ที่ ๑๙
พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางโสมนัศ

กรกฎาคม ที่ ๒๙
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ ราชทานที่ริมแม่น้ำข้างใต้พระนครแห่ง ๑ ให้เปน ที่ฝังศพพวกโปรเตสตันต์ (ยังฝังศพฝรั่งอยู่จนทุกวันนี้)


ปีขาลจุลศักราช ๑๒๑๖ พ.ศ.๒๓๙๗


๑๘๕๔ ธันวาคม ที่ ๔
เปิดคลองผดุงกรุงเกษม

ธันวาคม ที่ ๒๕
มีหมายประกาศให้ด่านคอยตรวจพวกมิชชัน นารี ที่จะออกไปหัวเมืองทางทเล พวกลูกจ้าง ของมิชชันนารีพากันตกใจมาก

๑๘๕๕ กุมภาพันธ์ ที่ ๒๒
นายมัว เข้ามาทางกงสุลโปจุเกต


ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ.๒๓๙๘


หน้า ๔๔

เมษายน ที่ ๓
เซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ เข้ามาขอทำหนังสือสัญญา

เมษายน ที่ ๑๘
หนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ

เมษายน ที่ ๒๓
เซอร์ยอนเบาริงกลับไป

เมษายน ที่ ๒๖
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์พิราไลย

ตุลาคม ที่ ๒๘
เรือกำปั่นใบของอเมริกันชื่อลักเนา เข้ามาถึงเรือพ่อค้าอเมริกันไม่ได้มีเข้ามาถึง ๑๗ ปี

พฤศจิกายน ที่ ๑
พระราชทานเพลิงศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ประยูรวงษ์

พฤศจิกายน ที่ ๙
เรือกลไฟพระที่นั่งลำแรกทำสำเร็จ เรือลำนี้ชื่อรอแยล ซีต (สยามอรสุมพล) พระนายไวย (คือ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์) เปนนายงาน หมอจันดเลเปนผู้ดูการ

พฤศจิกายน ที่ ๑๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาศด้วยเรือพระที่นั่งกลไฟลำใหม่

๑๘๕๖ มกราคม ที่ ๖
เรือรบอังกฤษ ชื่อ สรเซน นายเรือ ชื่อ ยอนริชาตส์ มาถึงปากน้ำ โดยได้รับอนุญาตให้ลงมือทำแผนที่ทเลอ่าวสยาม

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๔
เจ้าจอมมารดา (ปราง) ของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ถึงอนิจกรรม

มีนาคม ที่ ๑๗
นายแฮรี ปากส์ มากับภรรยา นำสัญญาอังกฤษเข้ามาแลก

หน้า ๔๕

เมษายน ที่ ๕
แลกหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ


ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙

เมษายน ที่ ๒๑
กัปตัน เตาน์เซนด์ แฮริส ทูตอเมริกันเข้ามาขอทำสัญญา

พฤษภาคม ที่ ๑๕
นายแฮรี ปากส์ กับภรรยากลับไป

พฤษภาคม ที่ ๒๙
ทำหนังสือสัญญาไทยกับยุไนส์ติดสเตต อเมริกา หมอมัตตูน มิชชันนารีอเมริกันได้เปนกงสุลคนแรก

พฤษภาคม ที่ ๓๑
กัปตัน เตาน์เซนด์แฮรสิ ทูตเอมริกันกลับไป

มิถุนายน ที่ ๑๐
นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษคนแรก เข้ามาถึง

กรกฎาคม ที่ ๑๔
มองสิเออ มองติคนี ราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาขอทำหนังสือสัญญา

สิงหาคม ที่ ๑๖
ทำหนังสือสัญญาไทยกับฝรั่งเศส

กันยายน
มองสิเออ มองติคนี ราชทูตฝรั่งเศสกลับไป

ตุลาคม ที่ ๑๘
นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษป่วยเปนบิดถึงแก่กรรม

๑๘๕๗ มกราคม ที่ ๑
มีเรือกำปั่นพ่อค้าทอดอยู่ในแม่น้ำถึง ๖๐ ลำ เพราะเหตุที่ได้ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ การค้าขายเจริญขึ้นรวดเร็ว ไม่เคยมีเหมือนเช่นนี้มาแต่ก่อน

หน้า ๔๖

มีนาคม
นายยิลคัล ผู้รั้งกงสุลอังกฤษกับภรรยา เข้ามาถึง


ปีมเสงจุลศักราช ๑๒๑๙ พ. ศ. ๒๔๐๐


มิถุนายน ที่ ๓
ดอกเตอ บรัดเล ทูต นำสัญญาทำกับอเมริกันเข้ามาแลก

มิถุนายน ที่ ๑๕
ดอกเตอ บรัดเล ทูต กลับไป

มิถุนายน ที่ ๒๕
ราชทูตไทย (คราวพระยามนตรีสุริยวงษ์)ออกไปเมืองอังกฤษ

พฤศจิกายน ที่ ๑๘
นายเฮอร์เตีย เข้ามารั้งการกงสุลฝรั่งเศส

ธันวาคม ที่ ๘
เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษเข้ามาถึง

๑๘๕๘ กุมภาพันธ์ ที่ ๘
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติพิราไลย


ปีมเมียจุลศักราช ๑๒๒๐ พ.ศ. ๒๔๐๑

๑๘๕๙ มกราคม ที่ ๒๑
เจ้าเมืองหมาเก๊า เข้ามาถึง เพื่อจะขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปจุเกต

กุมภาพันธ์
ทำหนังสือสัญญาในระหว่างไทยกับโปจุเกต


ปีมแมจุลศักราช ๑๒๒๑ พ.ศ.๒๔๐๒

พฤษภาคม ที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเลี้ยงฝรั่งที่พระที่นั่งใหม่
(คือ หมู่อภิเนาว

หน้า ๔๗

นิเวศน์ ที่ทรงสร้างตอนหลังพระที่นั่งสุทไธสวรรย์)

สิงหาคม ที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาศเมืองตวันตก กระบวนเรือตามเสด็จมาก แต่เรือไฟถึง ๖ ฤๅ ๘ ลำ

ธันวาคม ที่ ๑๒
เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แล้วเดินทางบกออกไปเมืองเมาะลำเลิง

๑๘๖๐ มีนาคม ที่ ๑๓
ช่างกลอังกฤษ ชื่อ ชาลส์ วิคส์สี ซึ่งเรียกเข้ามาตั้งเครื่องโรงกระสาปน์ ตกน้ำตาย

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๖
หมอจันดเลซึ่งได้เปนผู้รั้งกงสุลอเมริกัน กลับออกไปอเมริกา


ปีวอกจุลศักราช ๑๒๒๒ พ. ศ. ๒๔๐๓

มีนาคม ที่ ๒๗
เกิดอหิวาตกะโรค

เมษายน ที่ ๕
ชักพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร

เมษายน ที่ ๒๖
เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับมาถึง

พฤษภาคม ที่ ๑๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองเพ็ชรบุรี เปนครั้ง ที่ ๒ ในปีนี้ ไปทอดพระเนตรการสร้างพระราชวังบนยอดเขา

มิถุนายน ที่ ๑๑
ช้างเผือกมาถึงจากเมืองนครราชสิมา

มิถุนายน ที่ ๒๒
แห่พระไปเมืองเพ็ชรบุรี

หน้า ๔๘

มิถุนายน ที่ ๒๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองเพ็ชรบุรีครั้งที่ ๓

ตุลาคม ที่ ๑๙
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชัณษา ๕๖ พระราชทานเลี้ยงฝรั่งที่พระที่นั่งใหม่ รุ่งขึ้นเสด็จเมืองเพ็ชรบุรี

พฤศจิกายน ที่ ๑๙
ดองเกอร์ เดอเทียส ราชทูตฮอลันดาเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี

ธันวาคมที่ ๑๗
ทำหนังสือสัญญาระหว่างไทยกับฮอลันดา

ธันวาคม ที่ ๒๓
ราชทูตฮอลันดากลับไป

๑๘๖๑ กุมภาพันธ์ ที่ ๑๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระพุทธบาท

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๗
ไฟไหม้ที่ข้างวัดหงษ์

มีนาคม ที่ ๑
ช้างเผือกที่ได้ใหม่ล้มที่ (เขาแก้ว)


ปีรกาจุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔

มีนาคม ที่ ๑๒
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พิมพ์ปดิทิน ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเปนครั้งแรก

มีนาคม ที่ ๒๓
ราชทูตไทย (คราวพระยาศรีพิพัฒน์) ไปเมืองฝรั่งเศส

เมษายน ที่ ๑๓
ฝรั่งประชุมกันที่สถานกงสุลอังกฤษ เพื่อ

หน้า ๔๙

จะทำเรื่องราวถวาย ขอพระราชทานที่สร้างโรงสวดของพวกคฤศตัง ฝ่ายโปรเตสตันต์

พฤษภาคม ที่ ๙
พระราชทานที่ให้สร้างโรงสวด ฯ (อยู่ริมแม่น้ำในบริเวณข้างใต้อู่บางกอกด๊อกเดี๋ยวนี้)

พฤษภาคม ที่ ๑๖
อเมริกันคน ๑ ชื่อ เรดแมน พยายามจะฆ่าหมอจันดเลกงสุลอเมริกัน กับนายมิลเลอ

มิถุนายน ที่๑๕
หมอบรัดเลซื้อกรรมสิทธิหนังสือนิราศลอนดอน มาจากหม่อมราโชไทย
(ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูรณกรุงเทพฯ นับเปนการขายกรรมสิทธิหนังสือกันครั้งแรกในเมืองไทย)

มิถุนายน
กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา สิ้นพระชนม์

กรกฎาคม ที่ ๔
เห็นดาวหาง

กรกฎาคม ที่ ๑๗
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ไปเมืองสิงคโปร์ มีเรือไฟที่ต่อในเมืองไทย ลงไปส่งที่ปากน้ำถึง ๗ ลำ (คราวนี้กรมหมื่นวิศณุนารถ แลพระองค์เจ้าคัคณางคยุคลเสด็จด้วย)

สิงหาคม ที่ ๑๗
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ประชวรอัมพาตเบื้องซ้าย

สิงหาคม ที่ ๑๙
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ กลับจากไปตรวจการเมืองสิงคโปร์ เมืองมละกา เมืองปีนัง มาถึงกรุงเทพฯ


หน้า ๕๐

สิงหาคม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างถนนใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง ) ผ่านไปข้างหลังบ้านฝรั่ง

กันยายน ที่ ๙
สมเด็จพระอรรคมเหษี (คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) สวรรคต ตามสถานกงสุลแลเรือกำปั่นลดธงไว้ทุกข์หมด

ตุลาคม ที่ ๑๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชัณษา ๕๗ พระราชทานเลี้ยงฝรั่งในพระราชวัง

ตุลาคม ที่ ๒๙
เจ้าฟ้าอิศราพงษ์สิ้นพระชนม์

พฤศจิกายน ที่ ๖
เจ้าจอมมารดาแพ พระสนมเอกถึงอสัญกรรมเนื่องต่อประสูตรพระเจ้าลูกเธอ

พฤศจิกายน ที่ ๖
แรกพิมพ์นิราศลอนดอนของหม่อมราโชไทยออกจำหน่าย

พฤศจิกายน ที่ ๑๒
ดาวพระพุฒเข้าดวงพระอาทิตย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรที่เขาวังเมืองเพ็ชรบุรี

ธันวาคม ที่ ๑๐
ราชทูตไทยที่ไปเมืองฝรั่งเศสกลับมาถึง

ธันวาคม ที่ ๑๒
คอนต์เอยเลินบรูค์ ราชทูตปรุสเซีย เข้ามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี

ธันวาคม ที่ ๒๑
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินพระคลังข้างที่ ๑๐๐๐ เหรียญ ให้ส่งไปยังแหม่มแคสเวล ซึ่งเปนหม้าย ของ

หน้า ๕๑

หมอแคสเวล ผู้เปนครูสอนภาษาอังกฤษถวายแต่เมื่อยังทรงผนวช ข้อที่ทรงรฦกถึงคุณูประการนี้ ฝรั่งสรรเสริญมาก


๑๘๖๒ กุมภาพันธ์ ที่ ๓
นายเวสเตอเวลต เข้ามาถึง เข้ารั้งการกงสุลอเมริกัน แทนนายจันดเล

กุมภาพันธ์ ที่ ๗
คอนต์ เอยเลินบูรค์ ราชทูตปรุสเซีย ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๖
กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ สิ้นพระชนม์

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๙
คอนต์ เอยเลินบูรค์ ราชทูตปรุสเซียกลับไป

มีนาคม ที่ ๑๑
นายอเลกซานเดอ ลูดอน นำหนังสือสัญญามาแลกเปลี่ยน

มีนาคม ที่ ๑๖
เริ่มพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์


ปีจอจุลศักราช ๑๒๒๔ พ. ศ. ๒๔๐๕

เมษายน ที่ ๑
พระยาพิศาล ชื่น ถึงอนิจกรรม

เมษายน ที่ ๓
นางลิโอโนเวนส์ ลงมือสอนภาษาอังกฤษสมเด็จพระราชโอรส แลพระเจ้าลูกเธอ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (นางลิโอโนเวลส์นี้ในวังเรียกกันว่า "ยายแหม่ม" )

เมษายน ที่ ๑๘
พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอรรค มเหษี

เมษายน
กองโปลิศที่จัดขึ้นใหม่ ลงมือรักษาน่าที่ตอนสำเพ็ง

หน้า ๕๒

พฤษภาคม ที่ ๑๒
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จด้วยเรือกลไฟ กลับมาถึงพระนครจากเมืองเพ็ชรบุรี เสด็จคราวนี้เฉลิมพระที่ราชมณเฑียรที่พระนครคิรี แลบรรจุพระธาตุในพระเจดีย์ ศิลาที่ยอดเขามหาสมัณด้วย

มิถุนายน ที่ ๒๕
พระสังฆราชปาลกัว หัวน่าบาดหลวงคฤศตังมรณภาพ

กรกฎาคม ที่ ๙
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีงานเฉลิมพระชัณษา ๕๔ เลี้ยงฝรั่งที่วัง ในบ่ายวันนั้น พวกฝรั่งพร้อมกัน ไปจัดการแข่งเรือถวายทอดพระเนตรที่น่าวัง

สิงหาคม ที่ ๗
พวกผู้หญิงฝรั่งนัดฝรั่งประชุมเปนครั้งแรก ที่สถานกงสุลอังกฤษ เพื่อปฤกษาจัดการสมาคมของพวกฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ

กันยายน ที่ ๑
พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (แย้ม บุนนาค) ถึงอนิจกรรม

กันยายน ที่ ๓
หมู่นี้เห็นดาวหาง

กันยายน ที่ ๙
พวกผู้หญิงฝรั่งนัดประชุมอย่างคราวก่อนที่สถานกงสุลอเมริกัน

กันยายน ที่ ๑๘
ใช้อัฐดีบุกแทนเบี้ย อัฐนี้ไทยทำที่โรงกระสาปน์

ตุลาคม ที่ ๑๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชัณษา ๕๘ พระราชทานเลี้ยงฝรั่งตามเคย

หน้า ๕๓

พฤศจิกายน ที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประพาศเมืองลพบุรี กลับมาถึงพระนคร

พฤศจิกายน ที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรือกลไฟเสด็จไปประพาศอ่างหิน

พฤศจิกายน ที่ ๑๘
พวกผู้หญิงฝรั่งมีการประชุมเปนครั้งที่ ๓ ที่สถานกงสุลอังกฤษ

พฤศจิกายน ที่ ๒๖
พระราชทานเพลิงพระยาวรพงษ์พิพัฒน์

ธันวาคม ที่ ๑๔
กรมหมื่นวิศนุนารถนิภาธร สิ้นพระชนม์

๑๘๖๓ มกราคม ที่ ๑๕
เสร็จงานโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ

มกราคม ที่ ๒๕
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จด้วยเรือกลไฟไปประพาศเมืองเพ็ชรบุรี

กุมภาพันธ์ ที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากเมืองเพ็ชรบุรี

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๔
มองสิเออ ยูล์สะนล กงสุลฝรั่งเศสคนใหม่เข้ามาถึง

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๖
กงสุลฝรั่งเศสคนใหม่กับลูกจ้างไทย ๔-๕ คน ถือมีดไปเที่ยวตลาดสำเพ็ง โปลิศจับด้วยไม่รู้ว่ากงสุล เกิดเปนผลถุ้งเถียงกับรัฐบาล ลงปลายตกลงกันเรียบร้อย

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๐
เรือรบรูเซีย แรกเข้ามาเมืองไทย ๒ ลำ


หน้า ๕๔

ปีกุญจุลศักราช ๑๒๒๕ พ. ศ. ๒๔๐๖

เมษายน ที่ ๒
ช้างเผือกเข้ามาถึงอิกตัว ๑

เมษายน ที่ ๒๓
เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาถึง เชิญเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เลยอง ดอเนอร์ มาถวาย

พฤษภาคม ที่ ๑๐
นายพันริบูล ทูตฝรั่งเศส ถวายเครื่องราช อิศริยาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พฤษภาคม ที่ ๑๓
ถวายเครื่องราชอิศริยาภรณ์ฝรั่งเศส แก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

มิถุนายน ที่ ๓
เรือรบฮอลันดามาถึง เชิญพระราชสาส์นแลเครื่องราชบรรณาการ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ มาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มิถุนายน ที่ ๑๐
ราชทูตฮอลันดาเข้าเฝ้า

มิถุนายน ที่ ๒๖
ฝังศพมองสิเออ ยูล์สะนล กงสุลฝรั่งเศส

กรกฎาคม ที่ ๙
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เฉลิมพระชัณษา ๕๖ เลี้ยงโต๊ะประทานพวกฝรั่ง

กรกฎาคม ที่ ๑๑
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเรือกลไฟไปอ่างหิน แล้วเสด็จไปทรงปิดทองพระที่บางพระ

กรกฎาคม ที่ ๒๐
พวกฝรั่งโปรเตสตันต์ ประชุมเรี่ยรายเงินสร้างวัดฝรั่งซึ่งยังค้างอยู่สำเร็จได้


หน้า ๕๕

สิงหาคม
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ไปด้วยเรือกลไฟโวแลนต์ล่วงน่าไปจัดการรับเสด็จที่เมืองสงขลา

สิงหาคม ที่ ๒๓
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จด้วยเรือกลไฟประพาศเมืองสงขลา

กันยายน ที่ ๒๐
(เสด็จกลับแล้ว) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรพระโรคจุกเสียดพระอาการมากถึงตามหมอฝรั่ง แต่เมื่อหมอฝรั่งเข้าไปถึงท้องพระโรง หมอไทยแก้พระอาการหายแล้ว หมอบรัดเลทราบว่าตั้งพระโอสถประกอบด้วยดีงู

กันยายน ที่ ๒๒
ได้ข่าวว่าฝรั่งเศสลอบไปทำหนังสือสัญญากับกรุงกัมพูชา

ตุลาคม ที่ ๑๙
เฉลิมพระชัณษา ๕๙ โปรดให้เลี้ยงโต๊ะพระราชทานพวกฝรั่ง ในพระราชวัง เลี้ยงที่ใหม่กว้างขวางดีกว่าแต่ก่อน วันเฉลิมพระชัณษาที่ ๑๘ แต่เปนวันอาทิตย์จึงโปรดให้เลี้ยงวันนี้

๑๘๖๔ มกราคม ที่ ๒๐
เจ้าพระยานิกรบดินทร ที่สมุหนายกถึง อสัญกรรม

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๖
เริ่มงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล

มีนาคม ที่ ๑๖
เปิดถนนทำใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง)

มีนาคม ที่ ๓๐
เซอรอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับไปยุโรป


หน้า ๕๖

ปีชวดจุลศักราช ๑๒๒๖ พ. ศ.๒๔๐๗

มิถุนายน ที่ ๑๓
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรับช้างเผือกที่กรุงเก่า (คือ นางพระยาศิวโรจน์)

กรกฎาคม ที่ ๒๘
หนังสือพิมพ์ชื่อสยามไตมส์ออกครั้งแรก

สิงหาคม ที่ ๒๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งงานหลานเธอ หม่อมเจ้าชายบงกช ในกรมหมื่นมเหศวรกับหม่อมเจ้าหญิงจันทร ในกรมหมื่นวิศณุนารถ มีงานหลายวัน

สิงหาคม ที่ ๒๗
น้ำในแม่น้ำแดงเหมือนสีอิฐอยู่ ๓ วัน

ตุลาคม ที่ ๑๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชัณษา ๖๐ คนทั้งหลายพากันมีความยินดีแต่งประทีปจุดดอกไม้ไฟ แลมีมโหรศพหลายวัน โปรดให้เลี้ยงโต๊ะ พระราชทานฝรั่งที่ในพระบรมมหาราชวัง
กลับได้ความรำคาญพระราชหฤไทยด้วยพวกกงสุลรังเกียจ ไม่อยากนั่งโต๊ะกับพวกพ่อค้า

พฤศจิกายน ที่ ๒๑
มีกำปั่นพ่อค้าทอดอยู่ในลำแม่น้ำพร้อมกันถึง ๑๐๐ ลำ ไม่เคยมีมากเหมือนอย่างนี้มาแต่ก่อน เรือเหล่านี้มาซื้อเข้าสารจะไปขายเมืองจีน เปนเหตุให้ราคาเข้าสารขึ้นทันที จนถึงเกวียนละ

หน้า ๕๗

๑๒๐ บาท แลเกวียนละ ๑๒๕ บาท ไม่เคยมีราคาเท่านี้มาแต่ก่อน

พฤศจิกายน ที่ ๒๕
ประกาศปิดเข้าไม่ให้บรรทุกออกนอก พระราชอาณาจักรมีกำหนดเจ็ดเดือน

๑๘๖๕ มกราคม ที่ ๑๖
เสร็จงานโสกันต์พระเจ้าลูกเธอที่เมืองเพ็ชรบุรี

มกราคม ที่ ๑๖
หนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอ กลับออกใหม่เดือนละครั้ง

มกราคม ที่ ๒๕
ลงมือห้ามไม่ให้จำหน่ายเข้าออกนอกพระราชอาณาจักร กำหนด ๗ เดือน

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๓
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาศเมืองกาญจนบุรี


ปีฉลูจุลศักราช ๑๒๒๗ พ. ศ. ๒๔๐๘

เมษายน ที่ ๑๗
ไทยเลิกหนังสือสัญญากับเขมร แลทำสัญญากับฝรั่งเศสด้วยเรื่องเมืองเขมร

พฤษภาคม ที่ ๑
หนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอ พิมพ์สำเนาหนังสือสัญญา ซึ่งมองสิเออโอบะเรต์กงสุลฝรั่งเศสทำกับนายอากรสุรา (โดยพลการ) เกิดปลาดใจกันมาก ทั้ง ๒ ฝ่ายก็ไม่ทราบว่าหนังสือพิมพ์ได้สำเนามาอย่างไร


หน้า ๕๘

กรกฎาคม ที่ ๑๐
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เฉลิมพระชัณษา ๕๗ เลี้ยงโต๊ะฝรั่ง

กรกฎาคม ที่ ๑๑
ไฟไหม้ที่ตำบลคอกควาย

สิงหาคม ที่ ๒๒
เลิกห้ามเข้าออกจากพระราชอาณาจักร

กันยายน ที่ ๕
มองซิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศสไปยุโรป

กันยายน ที่ ๙
นายเยมส์ มดิสัน ฮูด กงสุลอเมริกันมาถึง

ตุลาคม ที่ ๑๕
มองสิเออ กราปิเนต์ผู้รั้งกงสุลฝรั่งเศสมาถึง

ตุลาคม ที่ ๑๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชัณษา ๖๑ โปรดให้เลี้ยงฝรั่งตามเคย ทรงได้ความรำคาญอิก คราวนี้จัดโต๊ะเลี้ยง ๒ โต๊ะ ให้พวกกงสุลนั่งโต๊ะ ๑ พวกพ่อค้านั่งโต๊ะ ๑ พวกพ่อค้าว่าเลวไปไม่พอใจ

๑๘๖๖ มกราคม ที่ ๑
วันต้นพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ สมเด็จพระบรมราชโอรส

มกราคม ที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระชัณษา ๕๘

มกราคม ที่ ๑๖
น้องหญิงของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์อสัญกรรม อายุ ๔๗ (ชื่อ เจ้าคุณหรุ่น เรียกกันว่า เจ้าคุณน้อย)

มกราคม ที่ ๓๐
เรือรบอังกฤษ ชื่อ โคเคต พาทอมัส ยอช นอกส์ เปนกงสุลเยเนอราลอังกฤษเข้ามาถึง(นายนอกส์ คนนี้เดิมเปนนายทหารอังกฤษ รับ

หน้า ๕๙

ราชการอยู่อินเดีย ละราชการทหารอังกฤษ มาเมืองไทยเมื่อค.ศ.๑๘๕๑
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จ้างไว้เปนครูทหารวังน่า จน ค.ศ.๑๘๕๗ กลับรับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล)

กุมภาพันธ์ ที่ ๑
หมอจันดเล เข้ารับราชการในรัฐบาลไทยสำหรับเปนครูสอนภาษาอังกฤษ แลเปนผู้แปลหนังสืออังกฤษ ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์


ปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๘ พ.ศ. ๒๔๐๙

มีนาคม ที่ ๓๑
เผาศพ (เจ้าคุณหรุ่น) น้องหญิงของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์

เมษายน ที่ ๓
นายปอล เลสเลอร์ กงสุลปรุสเซีย กลับมาถึง นายฮูต กงสุลอเมริกัน ขายสมบัติของหมอจันดเลที่เปนกงสุลอยู่ก่อนสำเร็จ (กงสุลฮูตคนนี้ แล้วเกิดวิวาทกับพวกอเมริกัน)

เมษายน ที่ ๑๒
เรือไฟของไทยลำ ๑ ชื่อสยาม ถึงอับปางใน ทเลระหว่างเมืองเมาะลำเลิง กับเมืองกาละกัตตา

เมษายน ที่ ๒๔
รัฐบาลไทยทำหนังสืออนุญาตให้สร้างสายโทรเลขแต่เมืองร่างกุ้งผ่านแดนไทยลงมา เมืองสิงค โปร์ แลมีสายแยกมากรุงเทพ ฯ

หน้า ๖๐

เมษายน ที่ ๒๕
สถานกงสุลอเมริกัน ย้ายเปนครั้งที่ ๑๐ เดี๋ยวนี้มาเช่าตึกของห้างปิเกนแป๊กอยู่

พฤษภาคม ที่ ๙
พระยาเพ็ชร์ปาณี (นก) ผู้พิพากษาคน ๑ ในศาลต่างประเทศ ถึงอนิจกรรม

มิถุนายน ที่ ๑๑
พระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชุ่ม) น้องเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ถึงอสัญกรรม

มิถุนายน ที่ ๓๐
มองสิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศส กลับมาถึง

กรกฎาคม ที่ ๑๗
พระยาอภัยสงคราม น้องต่างมารดาเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ถึงอนิจกรรม

กันยายน ที่ ๓
พระเจ้ากาวิโลรส พระเจ้าเชียงใหม่ กับพวกประมาณ ๑๐๐ คน ลงเรือไฟไปเที่ยวทเล เมาคลื่นไปไม่ได้ต้องกลับ

กันยายน ที่ ๑๑
กงสุลอเมริกันพาพวกมิชชันนารี ไปหาเจ้าเชียงใหม่ที่น่าวัดแจ้ง ขออนุญาตไปต้องสอนสาสนา คฤศตังที่เมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่อนุญาต

กันยายน ที่ ๑๘
โจทย์กันว่าพระบางปาฏิหาร ที่วัดสามปลื้ม

ตุลาคม ที่ ๑๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรือกลไฟเสด็จประพาศถึงเมืองนครสวรรค์ (ที่จริงเสด็จเพียงเขาธรรมามูล เมืองไชยนาท)

หน้า ๖๑

ตุลาคม ที่ ๒๕
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรือกลไฟพระที่นั่ง (อรรคราชวรเดช) เสด็จไปประพาศเมืองพิศณุโลก

ตุลาคมที่ ๒๖
นาย ร.ศ.สก๊อต นำเครื่องแก๊ส คือประทีปจุดด้วยลม เข้ามาใช้ในกรุง ฯ ครั้งแรก

พฤศจิกายน ที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากเมืองพิศณุโลก

พฤศจิกายน ที่ ๑๒
นายแดเนียล วินเซอร์ เลขานุการของเจ้าพระยาพระคลัง คุมของไทยไปตั้งแสดงพิพิธภัณฑ์ ที่ปารีส กับขุนสมุทโคจร (พุ่ม คือ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ในรัชกาลที่ ๕)

ธันวาคม ที่ ๑๐
พระยาบุรุษ (คือ เจ้าพระยามหินทร) ซื้อโรงสีไฟของห้างสก๊อต

ธันวาคม ที่ ๒๔
มองสิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศส ฟ้องหมอบรัดเล เจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอหาว่าหมิ่นประมาทโดยกล่าวว่า มองสิเออ โอบะเรต์ ขอให้รัฐบาลไทยเอาเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ออกจากอรรคมหาเสนาบดี
เรียกค่าทำขวัญจากหมอบรัดเล ๑๕๐๐ เหรียญ

๑๘๖๗ มกราคม ที่ ๒
นายร้อยเอก แบค นายทหารช่างอังกฤษเข้ามาถึง เพื่อการทำแผนที่เขตรแดนกรุงสยามต่อกับเมืองพม่าของอังกฤษ

หน้า ๖๒

มกราคม ที่ ๑๖
หนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอ ลงความขอขะมามองสิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศส ในเรื่องได้ลงพิมพ์ว่าขู่รัฐบาลสยาม อันเปนเหตุให้มองสิเออ โอบะเรต์ ฟ้องนั้น
หนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอ ออกคราวหลังนี้ ๒ ปี มาหยุดเพียงนี้

มกราคม ที่ ๑๘
พระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ เปนราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส (เรื่องกงสุลโอบะเรต์วุ่นวายทำหนังสือสัญญาเรื่องสุรา)

มกราคม ที่ ๒๕
กรมหมื่นอุดมรัตนราษี สิ้นพระชนม์

กุมภาพันธ์ ที่ ๒
นาย ฮูต กงสุลอเมริกัน เปิดศาลชำระความเรื่องมองสิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศส หาว่าหมอบรัดเลหมิ่นประมาท ในหนังสือพิมพ์บางกอกริคอเดอ เรียกค่าทำขวัญ ๑๕๐๐ เหรียญ
คดีเรื่องนี้นัดเลื่อนมา ๒ ครั้ง จำเลยแก้ว่าไม่เปนหมิ่นประมาท เพราะลงด้วยมีเหตุอันสมควร
ด้วยไทยพากันตกใจในเรื่องนี้ อ้างจดหมายของนางลิโอโนเวนส์ ครูสอนหนังสืออังกฤษในพระราชวังรับว่าได้ยินไทยโจทย์กันมาก ว่า มองสิเออ โอบะเรต์ ขู่รัฐบาลจริง
ศาลกงสุลอเมริกันตัดสิน ให้หมอบรัดเลแพ้ แต่ยกข้อกรุณาว่า เพราะหมอบรัดเลลงพิมพ์โดย

หน้า ๖๓

เชื่อว่า ความนั้นเปนความจริง มิได้แกล้งประการ ๑

  • หมอบรัดเลเปนคนชราแลยากจนประการ ๑
  • แลเปนผู้ที่ได้ทำคุณมาแก่บ้านเมืองประการ ๑
  • จึงปรับให้ทำขวัญเพียง ๑๐๐ เหรียญ

กุมภาพันธ์ ที่ ๖
ได้ข่าวว่าเกิดจลาจล ที่กรุงกัมพูชา

กุมภาพันธ์ ที่ ๘
พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) ถึงอนิจกรรม

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๗
พระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๙
ฝรั่งในกรุงเทพ ฯ เรี่ยรายกันเปนเงิน ๓๐๐ บาท ส่งไปให้หมอบรัดเล ให้เสียค่าแพ้ความกงสุลฝรั่งเศส เปนการแสดงความสงสาร แลเข้าด้วย หมอบรัดเล

มีนาคม ที่ ๘
พระราชทานเพลิงพระศพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

มีนาคม ที่ ๑๕
นายนอกส์ กงสุลอังกฤษไปเมืองนอก ( ทางนี้นายอาลบาสเตอ รักษาการแทน)

เมษายน ที่ ๑
หมอแดเนียล แมกกิลวารี มิชชันนารีขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ (มิชชันนารีอเมริกันไปตั้งเมืองเชียงใหม่เปนครั้งแรก)


หน้า ๖๔

ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๒๙ พ. ศ. ๒๔๑๐

พฤษภาคม ที่ ๒๒
หนังสือพิมพ์สยาม วีกลี มอนิเตอร์ ออกครั้งแรก


พฤษภาคม ที่ ๓๐
ราวนี้ นาย ฮูต กงสุลอเมริกัน ออกหนังสือรับจีนอยู่ในร่มธงอเมริกัน


มิถุนายน ที่ ๒๘
หมอฮอลันดา ชื่อ โฮเคนสตระเตน ( ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า หมอแก่ )
เปนหมอรักษาในตาเข้ามาถึง (หมอนี้ได้ผ่าต้อรักษาพระเนตรกรมหมื่นภูมินทรภักดี แลผ่าต้อเจ้าพระยาทิพากรวงษ์)


กรกฎาคม ที่ ๕
นางลิโอโนเวนส์ กับบุตร (คือ นายหลุย ลิโอโนเวนส์) กลับไปเมืองนอก


กรกฎาคม ที่ ๒๕
กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ สิ้นพระชนม์


กรกฎาคม ที่ ๒๙
มองสิเออ โอบะเรต์ กงสุลฝรั่งเศสไปเมืองนอก (เลยเสียจริต)


กรกฎาคม ที่ ๓๑
หม่อมราโชไทย (ม.ร.ว. กระต่าย) ถึงอนิจกรรม


สิงหาคม ที่ ๒๐
โปรดให้หมอจันดเล เปนครูสอนภาษาอังกฤษถวายสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์


กันยายน ที่ ๑๙
พระราชทานเพลิงศพ หม่อมราโชไทยที่วัดแจ้ง

หน้า ๖๕

กันยายน ที่ ๒๖
พระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ราชทูต กลับมาจากเมืองฝรั่งเศส


ตุลาคม ที่ ๑๐
กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา สิ้นพระชนม์


พฤศจิกายน ที่ ๔
มองสิเออ เดอ เบลกูรต์ ราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาถึง (มาแลกหนังสือสัญญา)


พฤศจิกายน ที่ ๑๐
ฝรั่งเศส ๒ คน ไปยิงนก ในวัดเทวราชกุญชรถูกพระตีเจ็บป่วยสาหัส


พฤศจิกายน ที่ ๑๒
ดองโยเซ ฮอรตาโปจุเกต เจ้าเมืองหมาเก๊าเข้ามา


พฤศจิกายน ที่ ๑๕
เริ่มงานโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๖ พระองค์ (ที่จริงเปน ๒ คราว คือ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ งาน ๑
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระองค์เจ้าอรุณวดี พระองค์เจ้าศิริในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ อิกงาน ๑ แต่งานต่อติดกัน)


พฤศจิกายน ที่ ๒๓
เจ้าพระยาพระคลัง (คือ เจ้าพระยาทิพากรวงษ์) แรกจำหน่ายหนังสือแสดงกิจจานุกิจฉบับพิมพ์ด้วยพิมพ์หิน


พฤศจิกายน ที่ ๒๔
แลกหนังสือสัญญาเรื่องสุรากับฝรั่งเศส เปนอันเสร็จข้อซึ่งถุ้งเถียงกันมาช้านาน


ธันวาคม ที่ ๖
เจ้าพระยาภูธราภัย ทำบุญอายุ ๖๐ มี งานใหญ่


หน้า ๖๖

ธันวาคม ที่ ๑๘
เจ้าพระยาพระคลังเปิดตึกอาไศรยสถานที่อ่างหิน

ธันวาคม ที่ ๒๓
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ทำบุญอายุ ๖๐ มีงานใหญ่

ธันวาคม ที่ ๒๕
หนังสือพิมพ์สยามวิกลีมอนิเตอร์ ลงพิมพ์ประจานความชั่วร้ายของนายฮูต กงสุลอเมริกัน

ธันวาคม ที่ ๓๐
นายฮูต กงสุลเอมริกัน ขายเลหลังสิ่งของ ๆ ตนแล้วกลับไปเมืองนอก


๑๘๖๘ มกราคม ที่ ๑๓
พระราชทานเพลิงพระศพ กรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา

มกราคม ที่ ๑๓
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เลี้ยงโต๊ะพวกกงสุลแลชาวต่างประเทศ

มกราคม ที่ ๑๕
นายร้อยเอกแบ๊ค นายทหารอังกฤษ ไปทำแผนที่กลับมาถึง

มกราคม ที่ ๑๙
พระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าดารา พระมารดาเจ้าฟ้าอิศราพงษ์

มกราคม ที่ ๒๙
เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ จักษุมืด กราบถวายบังคมลา ออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่า การต่างประเทศ โปรดให้กรมขุนวรจักรธรานุภาพเปนแทน

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๑
เรือไฟชื่อกลาโหม (ของพระยาภูเก็จ) แรกเข้ามาเดินระหว่างกรุงเทพ ฯ กับสิงคโปร์

หน้า ๖๗

มีนาคม ที่ ๑๐
ฉลองวัดหงษ์

มีนาคม ที่ ๑๕
เลื่อนกรมสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เปนกรมขุนพินิตประชานารถ


ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑

มีนาคม ที่ ๒๔
พระราชทานเลี้ยงโต๊ะฝรั่งที่รับราชการ ในงานปีใหม่

เมษายน ที่ ๕
พระยาไทรบุรี (อะหมัด) เข้ามาเฝ้า ฯ

เมษายน ที่ ๒๕
โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ หม่อมเจ้าหลานเธอองค์ ๑
(สืบได้ความว่าโสกันต์คราวนี้ พระเจ้าลูกเธอ คือ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรรค์
แต่หลานเธอนั้นเปน ๓ คือ พระองค์เจ้าพรหมเมศ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าเจ๊ก หม่อมเจ้าหญิงกลาง ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ รวม ๕ ด้วยกัน )

เมษายน ที่ ๒๙
นายมูร ออกจากตำแหน่งกงสุลโปจุเกต กลับไปเมืองนอก


พฤษภาคม ที่ ๑๑
เรือรบฝรั่งเศส ชื่อเฟริลอง ออกจากกรุงเทพ ฯ ไปเที่ยวตรวจหาที่สำหรับโหรฝรั่งเศสจะมาดูสุริยอุปราคาหมดดวง

พฤษภาคม ที่ ๒๐
เรือรบ เฟริลอง ตรวจหาที่ได้แล้ว กลับมาถึง

หน้า ๖๘

พฤษภาคม ที่ ๒๕
นายร้อยเอก ตักเกอ กับนายร้อยโทปูล ไปตรวจทำแผนที่ ( เขตรแดนไทยกับอังกฤษตอนแขวง ) เมืองเชียงใหม่ ๙ เดือนกลับมาถึง

มิถุนายน ที่ ๘
เรือรบอเมริกัน ชื่อ อุนาดิลา เข้ามาถึง เปนเรือรบอเมริกันลำแรกที่ได้เข้ามาในแม่น้ำ

มิถุนายน ที่ ๑๗
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ปลงศพภรรยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์คน ๑ ที่วัดดอกไม้(สืบได้ความว่า ชื่อ หม่อมปราง เปนมารดา พระยาราชานุประพันธ์โต)

มิถุนายน ที่ ๑๗
ชักธงเยอรมันเหนือ เปนครั้งแรกในกรุง ฯ

มิถุนายน ที่ ๒๙
พระยาเทพประชุน ( คือ เจ้าพระยาภาณุวงษ์)เปนข้าหลวงไประงับวุ่นวายที่เมืองภูเก็จ ทำการสำเร็จกลับเข้ามาถึง

กรกฎาคม ที่ ๓
ทำหนังสือสัญญากับอังกฤษ กำหนดเขตรแดนกรุงสยามกับแดนพม่าของอังกฤษ

กรกฎาคม ที่ ๑๐
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เฉลิมพระชัณษา ๖๑ พวกฝรั่งมีแข่งเรือถวายที่ปากน้ำ

กรกฎาคม ที่ ๒๐
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ถวายเรือรบสยามูปรัสดัมภ์ ซึ่งต่อขึ้นใหม่

กรกฎาคม ที่ ๒๖
มองสิเออ คอรส์ กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาถึง

กรกฎาคม ที่ ๒๙
เสด็จลงทอดพระเนตรเรือสยามูปรัสดัมภ์ แลพระราชทานบำเหน็จแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์

หน้า ๖๙

สิงหาคม ที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากกรุงเทพ ฯ ไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาหมดดวง (ที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์)

สิงหาคม ที่ ๑๘
มีสุริยอุปราคาหมดดวง มืดอยู่ถึง ๖ นาที กับ ๔๖ วินาที

สิงหาคม ที่ ๑๙
ซินยอเวียนา มาเปนกงสุลเยเนราลโปจุเกต

สิงหาคม ที่ ๒๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากหว้ากอ

สิงหาคม ที่ ๒๙
หนังสือพิมพ์สยามวิกลีมอนิเตอร์ หยุดพิมพ์

สิงหาคม ที่ ๓๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรมาหลายวัน เรียกหมอแคมเบล กับหมอบรัดเลเข้าไปปฤกษากับแพทย์หลวง แต่หาได้เข้าไปตรวจพระอาการไม่

กันยายน ที่ ๑
ได้ข่าวว่าผู้ที่ไปตามเสด็จกลับมาเปนไข้ตายสัก ๔-๕ คน

กันยายน ที่ ๑
ไฟไหม้ที่ตลาดวัดเกาะ (เนื่องในเรื่องจับฝิ่นเถื่อน)

กันยายน ที่ ๑๒
เรียกหมอแคมเบล แลหมอบรัดเล เข้าไป ปฤกษาอาการพระประชวร กับแพทย์หลวงอิก

กันยายน ที่ ๑๔
นายอาลบาสเตอ ผู้แทนกงสุลอังกฤษ เกิด

หน้า ๗๐

วิวาทกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เรื่อง (สมบัติคนในร่มธงอังกฤษต้อง) ไฟไหม้ที่วัดเกาะ

กันยายน ที่ ๑๕
หมอสมิทออกหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เรียกชื่อ สยามเดลี แอดเวอไตเซอ

กันยายน ที่ ๑๙
เรียกหมอแคมเบล แลหมอบรัดเล เข้าไป ปฤกษากับแพทย์หลวงที่ในท้องพระโรง หมอแคมเบลได้เข้าไปตรวจพระอาการ แต่ไม่ได้ตั้งพระโอสถ

กันยายน ที่ ๒๕
กรมขุนราชสีหวิกรมประชวรไข้ เนื่องมาแต่ไปตามเสด็จที่หว้ากอ สิ้นพระชนม์

ตุลาคม ที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตพระชัณษาได้ ๖๔ เสวยราชย์ได้ ๑๘ ปี
สมเด็จพระราชโอรส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จผ่านพิภพกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เปนพระมหาอุปราช


รัชกาลที่ ๕

ตุลาคม ที่ ๑๓
ออกหมายประกาศ เรียกอัฐดีบุกคืน

พฤศจิกายน ที่ ๑๑
บรมราชาภิเศก พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์

พฤศจิกายน ที่ ๑๕
เรือรบอังกฤษ ชื่อ สลามิส มาถึง นายพลเรือเกปเปล กับกงสุลเยเนราล นอกส์ มาด้วยในเรือนี้

พฤศจิกายน ที่ ๑๘
แห่เสด็จเลียบพระนคร

หน้า ๗๑

พฤศจิกายน ที่ ๒๕
อุปราชาภิเศก กรมพระราชวังบวร ฯ

ธันวาคม ที่ ๖
เจ้าพระยาภูธราภัย ทำบุญอายุ ๖๑

ธันวาคม ที่ ๙
ไฟไหม้ที่บ้านหม้อ

ธันวาคม ที่ ๒๓
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ทำบุญอายุ ๖๑ พวกฝรั่งเข้ากันทำของตั้งกลางโต๊ะ เปนรูปประภาคารเงินให้เปนของขวัญ

๑๘๖๙ มกราคม ที่ ๑
หมอสมิทออกหนังสือพิมพ์ ชื่อ สยาม เรโปสิตอรี

มกราคม ที่ ๑๙
เปิดคลองยี่สาน (แต่สมุทสงครามไปเพ็ชรบุรี)

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๑
กรมพระราชวัง ฯ เสด็จไป (ตรวจป้อม) เมืองจันทบุรี ๑๒ วัน กลับมาถึงกรุงเทพ ฯ

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๑
พระราชทานเพลิงพระศพกรม ขุนราชสีหวิกรมที่วัดแจ้ง

มีนาคม ที่ ๖
ผู้ร้ายฆ่าพระธรรมเจดีย์ อายุ ๘๗ ปี ที่วัดโพธิ์

เมษายน ที่ ๑๑
เรือสยามูปรัสดัมภ์ ไปเมืองตรังกานู (กลับวันที่ ๒๕)


ปีมเสง จุลศักราช ๑๒๓๑ พ. ศ. ๒๔๑๒


เมษายน ที่ ๒๘
เรือรบออสเตรีย ชื่อ ดองนา พาราชทูต ออสเตรียมาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี

หน้า ๗๒

เมษายน ที่ ๒๘
รับพระราชสาส์น สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียมีมาถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ วิธีรับพระราชสาส์น จัดอย่างใหม่ (เลิกแห่)

พฤษภาคม ที่ ๔
บารอน แอนทอนี เปทส์ ราชทูตออสเตรียเข้าเฝ้า ฯ

พฤษภาคม ที่ ๑๓
ประหารชีวิตรผู้ร้ายที่ฆ่าพระธรรมเจดีย์ ๕ คน

พฤษภาคม ที่ ๑๗
ทำหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับออสเตรีย

มิถุนายน ที่ ๑๘
ประหารชีวิตรอ้ายนาก อ้ายกล่อม ผู้ร้ายฆ่ากัปตันสมิท

มิถุนายน ที่ ๒๗
ประกาศตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินพร้อมกับตั้งเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ สำเร็จราชการต่างประเทศ
พระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ เปนเจ้าพระยาที่สมุหพระกลาโหม พระยาเทพประชุน เปนเจ้าพระยาภาณุวงษ์ ว่าการต่างประเทศ

กรกฎาคม ที่ ๕
พระราชทานเพลิงพระศพกรมหมื่นอมรมนตรี

กรกฎาคม ที่ ๒๙
จับฝิ่นเถื่อนได้ที่เรือใบอังกฤษชื่อควีนสแลนต์ ฝิ่นดิบ ๔๐๐ ก้อน ฝิ่นสุก ๕๘๐๐ ตำลึง

สิงหาคม ที่ ๒๐
หมอสมิทออกหนังสือพิมพ์ สยาม วิกลี แอต

หน้า ๗๓

เวอไตเซออิก หนังสือพิมพ์นี้ออกแล้วต้องหยุดมา ๓ คราว

กันยายน ที่ ๑
รับพระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินปรุสเซียแทนสมาคมเยอรมันฝ่ายเหนือ

กันยายน ที่ ๗
เรือสยามู ฯ ไปเมืองตรังกานูอิก

กันยายน ที่ ๑๒
พระเจ้าเชียงใหม่กาวิโลรสสุริยวงษ์ ประหารชีวิตรลาวที่เข้ารีตเสีย ๒ คน พวกมิชชันนารีตกใจกันมาก

กันยายน ที่ ๑๔
พระพิมลธรรม (ยิ้ม) วัดโพธิ์มรณภาพ

กันยายน ที่ ๒๐
เจ้าพระยาภาณุวงษ์เลี้ยงโต๊ะกงสุลแลฝรั่งอื่น (ในงานเฉลิมพระชัณษา)

กันยายน ที่ ๒๑
รับพระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินโปจุเกต

กันยายน ที่ ๒๗
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเลี้ยงโต๊ะกงสุลแลฝรั่งอื่น

กันยายน ที่ ๒๙
เจ้าพระยาพลเทพ (หลง) ถึงอสัญกรรม

กันยายน ที่ ๓๐
นายพล ปาตริช กงสุลอเมริกันเข้ามาถึง

ตุลาคม ที่ ๑๘
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เสด็จขึ้นไปประทานกฐินเมืองพิศณุโลก

ตุลาคม ที่ ๒๐
นายพล ปาตริช ถวายอักษรสาส์นของประธานาธิบดียุไนเตดเสตต อเมริกา

หน้า ๗๔

ตุลาคม ที่ ๒๐
จับฝิ่นเถื่อนได้ในเรือเจ้าพระยา เมื่อจับต่อสู้กันขึ้น

พฤศจิกายน ที่ ๕
พวกมิชชันนารี พร้อมกันแต่งให้นายแมกดอนัลด์ กับนายยอช มิชชันนารีขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ เพื่อขึ้นไปเยี่ยมถามข่าวพวกมิชชันนารีในเหตุที่พระเจ้ากาวิโลรสฆ่าลาวเข้ารีต

พฤศจิกายน ที่ ๑๔
มองสิเออ ดิลอง เข้ามาเปนกงสุลฝรั่งเศส

พฤศจิกายน ที่ ๑๕
รัฐบาลให้หลวงพิบูลย์สมบัติขึ้นไปเปนเพื่อน มิชชันนารี ๒ คน ที่ไปเชียงใหม่

พฤศจิกายน ที่ ๒๓
ไฟไหม้โรงสีของไทย ที่คลองผดุงกรุงเกษม

พฤศจิกายน ที่ ๒๙
หมอฮอลันดา ชื่อ โฮเคนสตระเตน ที่รักษาตาเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ กลับมาอิกครั้ง ๑

พฤศจิกายน ที่ ๒๙
เสร็จการที่เกิดโต้แย้งกับกงสุลฝรั่งเศสคนใหม่ ในเรื่องกิริยาที่จะเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์น

พฤศจิกายน ที่ ๓๐
กงสุลฝรั่งเศสเข้าเฝ้า ถวายพระราชสาส์น ของสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอนะโปเลียน ที่ ๓

ธันวาคม ที่ ๑๐
กรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จไปตรวจหัวเมืองชายทเลตวันออก ๑๖ วัน กลับมาถึง

ธันวาคม ที่ ๑๑
ช้างด่าง (คือ พระเสวตรวรวรรณ) ลงมาจากเมืองเชียงใหม่ คนตื่นกันไปดูมาก

ธันวาคม ที่ ๑๗
พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาพลเทพ (หลง) ที่วัดแจ้ง

หน้า ๗๕

ธันวาคม ที่ ๒๓
ผู้สำเร็จราชการทำบุญอายุ ๖๒

ธันวาคม ที่ ๓๐
พระราชทานเพลิงศพพระพิมลธรรม (ยิ้ม)

๑๘๗๐ มกราคม ที่ ๑๐
ซินยอ บัลโซต์ ราชทูตสเปน เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี

มกราคม ที่ ๒๑
กัปตันกอปเค กงสุลเดนมาร์ค ถวายพระราชสาส์น

มกราคม ที่ ๒๒
ก่อฤกษ์วัดราชบพิธ

กุมภาพันธ์ ที่ ๓
เรือเมล์ ชื่อ บางกอก แรกเข้ามาถึง

กุมภาพันธ์ ที่ ๖
เจ้าพระยามุขมนตรี ถึงอสัญกรรม

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๗
พระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าหญิงยี่สุ่น

กุมภาพันธ์ ที่ ๒๓
ทำ หนังสือ สัญญา ระหว่างกรุงสยามกับสเปน

มีนาคม ที่ ๔
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ พระเจ้าเชียงใหม่ลงมาในงานพระบรมศพ มาถึง

มีนาคม ที่ ๑๒
แห่พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสู่พระเมรุ

มีนาคม ที่ ๑๘
ถวายพระเพลิงพระบรมศพ

มีนาคม ที่ ๒๑
เสร็จงานพระบรมศพ

มีนาคม ที่ ๒๑
ไฟไหม้ปากคลองบางกอกน้อย

มีนาคม ที่ ๒๒
ไฟไหม้ใหญ่ปากคลองบางลำภู


ปีมเมียจุลศักราช ๑๒๓๒ พ. ศ. ๒๔๑๓

เมษายน ที่ ๗
เรือรบ ชื่อ พิทยัมรณยุทธ มาถึง เรือลำ

หน้า ๗๖

นี้เปนเรือเหล็ก ต่อที่สกอตแลนด์ เดิมชื่อเรือโลตัศ รัฐบาลสยามซื้อ เปลี่ยนชื่อว่า ริเยนต์ให้เปนเกียรติยศแก่ท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

เมษายน ที่ ๒๕
ซินยอเวียนา กงสุลเยเนราลโปจุเกต ขึ้นไปดูจับช้างที่กรุงเก่า จมน้ำตาย

พฤษภาคม ที่ ๒๑
เสด็จไป (ยกยอด) พระปฐมเจดีย์

มิถุนายน ที่ ๑๒
เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ พิราไลย

มิถุนายน ที่ ๒๔
เรือพิทยัมรณยุทธ รับพระยาราชวรานุกูล ( ภายหลังได้เปนเจ้าพระยารัตนบดินทร กับพระยาจ่าแสน เดช แต่ยังเปนพระยาราชเสนา )
ออกไปเมืองไซ่ง่อน ( ด้วยเรื่องปฤกษาสัญญาเขตรแดนทางทเลสาบ )

มิถุนายน ที่ ๒๙
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ พระเจ้าเชียงใหม่ป่วยไปแต่กรุงเทพ ฯ ไปอิก ๓ วัน จะถึงเมืองเชียงใหม่ ถึงพิราไลย

กรกฎาคม ที่ ๒๙
รัฐบาลสยามให้พระยาอินทราธิบดีสีหราช รองเมืองไปเมืองสิงคโปร์ ไปตรวจการเรือนจำ และโรงพยาบาล เพื่อจะสร้างคุกใหม่ในกรุงเทพ ฯ

กรกฎาคม ที่ ๓๑
เรือไฟชื่อกลาโหมเข้ามาถึง ได้ข่าวว่าประกาศสงครามในระหว่างฝรั่งเศสกับปรูเซีย เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม

หน้า ๗๗

สิงหาคม ที่ ๔
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ รับพระสุพรรณบัตร

สิงหาคม ที่ ๓๐
พระยาเพ็ชรบุรี ( บัว ) ถึงอนิจกรรม

กันยายน ที่ ๔
ตั้งกฏหมายคลอง

กันยายน ที่ ๗
พระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยาทิพากรวงษ์

กันยายน ที่ ๑๑
สมโภชช้าง ( พระเสวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ )

กันยายน ที่ ๒๑
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชัณษา ๑๗ มีการแต่งประทีปทั่วไป เจ้าพระยาภาณุวงษ์ เชิญฝรั่งไปเต้นรำ

พฤศจิกายน ที่ ๓๐
เครื่องจักรโรงหีบอ้อยของฝรั่ง ( เรียกชื่อ โรงหีบว่า อินโดจีน ซึ่งตั้งที่แม่น้ำท่าจีน ) เข้ามาถึง

ธันวาคม ที่ ๘
นายเนตรได้เปนพระยาสมุทบุรานุรักษ์ แทนบิดา

ธันวาคม ที่ ๒๑
คอมมันเดอร์ตอ คารโล รักเกีย ราชทูตอิตาลี เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี

ธันวาคม ที่ ๒๓
ท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทำบุญอายุ ๖๓ มีคนไปช่วยมาก ได้พระราชทานเงิน ๑๙๒๐๐ เหรียญเปนของขวัญในวันเกิด

หน้า ๗๘

๑๘๗๑ มกราคม ที่ ๗
ปลงศพมารดาพระยากระสาปน์ ที่วัดกัลยาณมิตร

กุมภาพันธ์ ที่ ๕
เซอร์ เบนสัน แมกสเวล อธิบดีผู้พิพากษาเมืองสิงคโปร์ เข้ามากรุงเทพ ฯ

กุมภาพันธ์ ที่ ๖
บาญชีสินค้าที่เฃ้ามาจากเมืองลอนดอน ลงพิมพ์ครั้งแรกเปนที่พิศวงกันมาก

มีนาคม ที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพิทยัมรณยุทธ ออกจากกรุงเทพ ฯ ไปประพาศเมืองสิงคโปร์ แลเบตาเวีย (ครั้งแรก)


ปีมแมจุลศักราช ๑๒๓๓ พ. ศ. ๒๔๑๔

เมษายน ที่ ๑๕
เสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ

เมษายน ที่ ๑๙
จุดประทีปมีงานมโหรศพ รื่นเริงในการเสด็จกลับ

เมษายน ที่ ๒๑
ลครม้าอเมริกันเข้ามาถึง (ได้ยินว่าเคยมีเข้ามาในรัชกาลที่ ๔ ครั้ง ๑ แต่เห็นจะไม่ใช่เซอร์คัสๆ ที่เข้ามาครั้งนี้ เปนครั้งแรก)

พฤษภาคม ที่ ๓
รับพระราชสาส์นเยอรมันเอมเปรอครั้งแรก

มิถุนายน ที่ ๑๔
พระราชทานเพลิงพระศพ กรมหมื่นภูบดีราชหฤไทย กับกรมหมื่นมนตรีรักษา ที่วัดอรุณ

มิถุนายน ที่ ๒๘
ส่งผู้มีสกุลไปเรียนวิชาในยุโรปหลายคน (เข้าใจว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ๑ หม่อมเจ้าเจ๊ก
๗๙
ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ๑ พระยาไชยสุรินทร ม.ร.ว.เทวหนึ่ง ๑)

กรกฎาคม ที่ ๑
ข้าราชการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเปนอย่างใหม่ (คือ สวมถุงเท้ารองเท้าเข้าเฝ้า ฯ แลยืนเฝ้า ฯ เวลาเสด็จออกไปรเวต )

กรกฎคม ที่ ๑๕
รัฐบาลซื้อเรือกลไฟ ชื่อบางกอก ราคา ๗๕๐๐๐ เหรียญ เพื่อแต่งเปนเรือพระที่นั่งเสด็จอินเดีย

สิงหาคม ที่ ๕
มีงานใหญ่ตั้งนายทหารมหาดเล็ก

สิงหาคม ที่ ๑๕
รับอักษรสาส์น เคาวเนอเยเนราลอินเดียอังกฤษ (เข้าใจว่าเปนอักษรสาส์นที่เชิญเสด็จประพาศอินเดีย)

กันยายน ที่ ๒๑
เฉลิมพระชัณษา ๑๘ ตามประทีป แลมี มโหรศพเปนการใหญ่

ตุลาคม ที่ ๑
วันนี้พเอิญให้แม่น้ำว่าง ไม่มีเรือพ่อค้าต่างประเทศ

พฤศจิกายน ที่ ๑๔
น้ำมากท่วมตลิ่งทั้ง ๒ ฝั่ง

พฤศจิกายน ที่ ๑๗
เรือไฟ ชื่อ โปสต์ ของนายฟอค แรกเดินในระหว่างกรุงเทพ ฯ จนถึงที่ทอดเรือกำปั่นที่สันดอน

ธันวาคม ที่ ๗
พระราชทานเพลิงพระศพ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ที่วัดอรุณ ฯ

ธันวาคม ที่ ๑๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือบางกอก ไปประพาศอินเดีย

หน้า ๘๐

๑๘๗๒ มกราคม ที่ ๘
หมอปิเตอร์ เกาแวน เข้ามาอยู่กับหมอแคมป์เบล (หมอเกาแวนนี้ ต่อมาเข้ารับราชการได้เปนหมอประจำพระองค์)

มกราคม ที่ ๒๐
เจ้าคุณแข (เรียกกันว่า เจ้าคุณตำหนักใหม่) น้องหญิงท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินถึงอสัญกรรม

กุมภาพันธ์
รัฐบาลไทยให้อังกฤษ ชื่อ นายไตวต์ เปนผู้ชำนาญการแร่ ไปตรวจบ่อทองที่เมืองกระบินทร์บุรี

กุมภาพันธ์ ที่ ๑๓
ซินยอ เปเรรา ราชทูตสเปนเข้ามาถึง


ปีวอกจุลศักราช ๑๒๓๔ พ. ศ. ๒๔๑๕

มีนาคม ที่ ๑๓
นายน๊อกส์ กงสุลเยเนราลอังกฤษไปตามเสด็จเมืองกัลกัตตา กลับมาถึง

มีนาคม ที่ ๑๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาศอินเดีย ๔ เดือน กลับมาถึง

มีนาคม ที่ ๑๙
มีการเลี้ยงโต๊ะ เปนการใหญ่ที่บ้านท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เปนการสมโภช เสด็จกลับจากอินเดีย

มีนาคม ที่ ๒๔
รัฐบาลขายเรือบางกอก (ซึ่งซื้อมาเปนเรือพระที่นั่งเมื่อเสด็จอินเดีย) ให้นะกุด่าอิสมัยสุละมันยี (อยู่ที่น่าวัดเกาะ) เดินเปนเรือเมล์ต่อไป

หน้า ๘๑

เมษายน ที่ ๕
พระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าสายสมร

เมษายน ที่ ๑๐
ไฟไหม้ที่บ้านทวาย

เมษายน ที่ ๒๑
พวกผู้ชำนาญแร่ ซึ่งรัฐบาลให้ไปตรวจบ่อแร่ที่เมืองกาญจนบุรี ไป ๔๖ วัน กลับมาถึง

เมษายน ที่ ๒๑
เชิอาเลีย คาลิซ ราชทูตออสเตรีย เข้ามาถึง

เมษายน ที่ ๒๘
เรือไฟ ชื่อ แดนยุบ มาเดินเมล์ แลรับสินค้าในระหว่างกรุงเทพ ฯ กับเมืองฮ่องกง เปนครั้งแรก

พฤษภาคม ที่ ๑
พวกหกคะเมนยี่ปุ่น เข้ามาเล่น

พฤษภาคม ที่ ๑
นายร๊อก เปนชาวสวิเด็น พาขุนนางไทยหลายคนไปดูบ่อถ่านหิน ซึ่งอ้างว่าเขาพบที่เมืองเหนือ

พฤษภาคม ที่ ๒๓
พระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณตำหนักใหม่

มิถุนายน ที่ ๔
เสด็จกรุงเก่า

มิถุนายน ที่ ๑๑
กัปตันฮัสสี นายเรือไฟอเมริกัน ชื่อมอตัน เชิญกรมพระราชวังบวร ฯ กับพวกผู้ดีไทยฝรั่งเที่ยวล่องแม่น้ำลงไป

มิถุนายน ที่ ๑๖
มองสิเออ คาร์เนีย กงสุลฝรั่งเศสมาถึง

กรกฎาคม ที่ ๒
แห่พระศพพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอิศรวงษ์ เครื่องแต่งตัวแลเครื่องแห่ เปนทำนองไว้ทุกข์อย่างฝรั่ง

หน้า ๘๒

กรกฎาคม ที่ ๓
นายเฮนรี อาลบาสเตอ ไปยุโรป ๒ ปี กลับเข้ามาถึง
(นายอาลบาสเตอนี้ แต่เดิมรับราชการอังกฤษ จนได้เปนผู้แทนกงสุลครั้งที่ ๑ วิวาทกับนายน๊อกส์กงสุล ฯ จึงออกจากราชการกลับเข้ามาคราวนี้แล้วไม่ช้า ก็เข้ารับราชการไทยอยู่จนถึงอนิจกรรม)

กรกฎาคม ที่ ๒๓
กัปตัน แอดัมส์ เปนทูตเชิญอักษรสาส์นของประธานาธิบดีอเมริกัน เข้ามาถวาย

สิงหาคม ที่ ๔
ไฟไหม้เหนือวัดเกาะ

กันยายน ที่ ๕
ห้างแรมเซเวกฟีลด์ เข้ามาจากกัลกัตตาแรกมาตั้งในกรุงเทพ ฯ (ห้างนี้เปนห้างเดิมของห้างแบดแมน)

กันยายน ที่ ๑๖
ไฟไหม้บ้านหม้อ

กันยายน ที่ ๒๑
เฉลิมพระชัณษา ๑๙ มีแต่งประทีป แลเต้นรำที่บ้านเสนาบดีว่าการต่างประเทศ

ตุลาคม ที่ ๑
ราชทูตฮอลันดา ชื่อ โอเคิเฟน เข้ามาถึง

ตุลาคม ที่ ๑๓
เปิดคลองเปรมประชากร

ตุลาคม ที่ ๑๘
อัฐตะกั่ว ลดราคาลงใช้เพียงอันละ ๑๐ เบี้ย

ตุลาคม ที่ ๒๔
เวลา ๔ ทุ่ม เกิดลมใต้ฝุ่นในอ่าวสยาม

พฤศจิกายน ที่ ๑๓
เสด็จไปประพาศเมืองลพบุรี กลับมาถึง

พฤศจิกายน ที่ ๒๕
เจ้าอุปราชเชียงใหม่ ลงมารับพระราชทาน

หน้า ๘๓

สัญญาบัตรเปนเจ้าเชียงใหม่ (คือ พระเจ้าอินท วิชยานนท์)

ธันวาคม ที่ ๕
นะกุด่าอิสมัยสุละมันยี หัวน่าพ่อค้าแขกตาย

ธันวาคม ที่ ๑๐
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ถูกขังด้วยเรื่องให้เข้าไปจับคนในวังเจ้า

ธันวาคม ที่ ๑๑
พระราชทานเพลิงพระศพ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ

ธันวาคม ที่ ๒๓
กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ สิ้นพระชนม์

ธันวาคม ที่ ๒๕
ไฟไหม้ใหญ่ ที่สพานหัน