ข้ามไปเนื้อหา

จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรฯ/อธิบายประกอบ

จาก วิกิซอร์ซ

บุคคล

[แก้ไข]

สถานที่

[แก้ไข]

วัน

[แก้ไข]
  • วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2411[8]
  • วันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2411[9]
  • วันปวารณา — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
  • วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
  • วันพุธ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2411[9]
  • วันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2411[11]
  • วันพุธ แรม 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2411[9]
  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 — ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347[12]
  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411[13] เป็นวันมหาปวารณาในปีนั้น
  • วันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1233 — คำนวณได้ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2414 แต่เป็นวันอังคาร[1]
  • วันเพ็ญ ขึ้นสิบห้าค่ำ วันนี้ — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
  • วันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ด — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
  • วันมหาปวารณา — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
  • วันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2411
  • วันอังคาร ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2411[11]
  • วันอังคาร แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2411[8]
  • วันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
  • วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
  • วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2411[9]

เวลา

[แก้ไข]
  • เช้าสองโมง — ได้แก่ 8 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • เช้าสามโมงเศษ — ได้แก่ 9 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • เช้าสี่โมงเศษ — ได้แก่ 10 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • เช้าห้าโมงเศษ — ได้แก่ 11 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • เต็มปฐมยาม — ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง[14]
  • ทุ่มเศษ — ได้แก่ 19 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • บ่ายห้าโมงเศษ — ได้แก่ 17 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • ยามหนึ่ง — ได้แก่ 18–21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง, ในกรณีที่หมายถึงเวลาสวรรคต ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง[14]
  • สองยาม — ได้แก่ 21–24 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
  • สี่ทุ่มเศษ — ได้แก่ 22 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง

อื่น ๆ

[แก้ไข]
  • นกตุ๊ด — อาจหมายถึง นกในนาฬิกากุ๊กกู (cuckoo clock) ในข้อความว่า "นกตุ๊ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่ง"
  • พระพุทธบุศยรัตนจักรพรรดิพมลมณีมัย — ได้แก่ พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย พระพุทธรูปในพระบรมมหาราชวัง
  • พระแสงองค์ใหญ่องค์เล็ก — ได้แก่ พระแสงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ถวายใน พ.ศ. 2410 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4[15] ว่า เป็นพระแสงกระบี่องค์หนึ่ง (คือ "องค์ใหญ่" ตามจดหมายเหตุนี้) ถวายรัชกาลที่ 4 กับพระแสงกระเบาองค์หนึ่ง (คือ "องค์เล็ก" ตามจดหมายเหตุนี้) ถวายพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีการถวายในวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ นพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เก่า นอกจากนี้ ปรามินทร์ เครือทอง[6] ว่า พระแสงองค์ใหญ่มีจารึกว่า "ของเอมปเรอฝรั่งเศสถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม" และองค์เล็กมีจารึกว่า "ของยุพราชกุมารฝรั่งเศสถวายพระยุพราชกุมารสยาม"
  • เรือเจ้าพระยา — ได้แก่ เรือหลวงเจ้าพระยาลำแรก
  • อนาถปิณฑิโกวาทะ — ได้แก่ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร พระสูตรในพระไตรปิฎก

เชิงอรรถ

[แก้ไข]

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 40)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 44)
  3. ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 41)
  4. 4.0 4.1 4.2 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 42)
  5. ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43–44)
  6. 6.0 6.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43)
  7. มหาวิทยาลัยศิลปากร (2558)
  8. 8.0 8.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 321)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 320)
  10. 10.0 10.1 10.2 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 323)
  11. 11.0 11.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 324)
  12. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. (5))
  13. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 327)
  14. 14.0 14.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 45)
  15. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 239)

บรรณานุกรม

[แก้ไข]
  • ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2548). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ISBN 9749528115.
  • ปรามินทร์ เครือทอง (บรรณาธิการ). (2547). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 สวรรคต วันสุดท้ายของกษัตริย์นักปราชญ์. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743232036.
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำนักหอสมุดกลาง. (2558). ประตูในเขตพระบรมมหาราชวัง. สืบค้นจาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-05/2014-10-29-01-27-45/2015-10-15-04-25-28/2015-10-15-04-29-51