วิกิซอร์ซ:การอธิบายประกอบ
← นโยบายและแนวปฏิบัติ | การอธิบายประกอบ |
"การอธิบายประกอบ" คืออะไร
[แก้ไข]การอธิบายประกอบ (annotation) หมายถึง การที่ผู้ใช้วิกิซอร์ซเพิ่มข้อความหรือสิ่งอื่นเข้าไปในงานดั้งเดิม เพื่ออธิบายเกี่ยวกับงานนั้น หรือเพื่ออธิบายเกี่ยวกับข้อความหรือถ้อยคำในงานนั้น เป็นต้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของงานดั้งเดิม เช่น ในตัวงาน หรือในเชิงอรรถ
ตัวอย่าง
- การใส่ข้อความอธิบายหรือแปลความหมายของถ้อยคำ
- การใส่วิกิลิงก์บางแบบ
- การใส่รูปภาพประกอบซึ่งไม่ได้มีอยู่แล้วในงานดั้งดิม
- ฯลฯ
วิธีการอธิบายประกอบ ดูที่ วิธีใช้:การอธิบายประกอบ
นอกจากนี้ มีคำแนะนำว่า ถ้าต้องการอธิบายประกอบงานใด ๆ อย่างเต็มที่หรืออย่างวิจิตรพิสดาร อาจทำเป็นคำอธิบายเอกเทศไว้ที่โครงการวิกิตำรา
หลักการธิบายประกอบ
[แก้ไข]การแยกส่วนอย่างชัดแจ้ง
[แก้ไข]การอธิบายประกอบ จะต้องแสดงอย่างชัดแจ้งว่า ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานดั้งเดิม เช่น อาจทำหัวข้อต่างหากว่า เป็น "เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ" หรืออาจด้วยการสร้างหน้าใหม่ต่างหาก แต่พึงกระทบกระเทือนรูปลักษณ์หรือสภาพดั้งเดิมของงานให้น้อยที่สุด
วิกิซอร์ซบางภาษากำหนดให้การอธิบายประกอบต้องทำเป็นหน้าใหม่ต่างหากจากงานดั้งเดิม และต้องตั้งชื่อหน้าแสดงอย่างชัดแจ้งถึงการอธิบายประกอบ เช่น ตั้งชื่อหน้าว่า "งาน ก (ฉบับอธิบายประกอบ)" แต่วิกิซอร์ซภาษาไทยยังไม่มีข้อกำหนดถึงเพียงนั้น
ความเป็นวัตถุวิสัย
[แก้ไข]การอธิบายประกอบต้องเป็น "วัตถุวิสัย" (objective) หมายความว่า จะใส่ความคิดหรือความรู้สึก เช่น การตีความ การวิพากษ์ การวิจารณ์ ฯลฯ ลงไปมิได้ กรณีนั้นเรียกว่า "อัตวิสัย" (subjective) เว้นแต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง (fair and neutral)
นอกจากนี้ การอธิบายประกอบต้องพิสูจน์ความถูกต้องได้ (verifiable) เช่น มีแหล่งอ้างอิงรองรับ
อะไรที่ไม่ถือเป็น "การอธิบายประกอบ"
[แก้ไข]สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการอธิบายประกอบ และจึงไม่อยู่ในข้อบังคับของกฎเกณฑ์ในหน้านี้
- การทำวิกิลิงก์ ตามที่ระบุในวิกิซอร์ซ:วิกิลิงก์
- การใช้ แม่แบบ:หัวเรื่อง (รวมถึง การกรอกข้อความลงในแม่แบบนั้น เช่น การทำคำอธิบายในช่องหมายเหตุ โดยที่เห็นได้ชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานดั้งเดิม)
- การใช้แม่แบบบางอย่างที่เป็นแต่การนำทางหรือเชื่อมโยงลิงก์ เช่น แม่แบบ:สารบัญช่วย ฯลฯ
- การใช้แม่แบบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือการบำรุงรักษา (เช่น ติดป้ายแสดงสถานะลิขสิทธิ์ หรือติดป้ายแจ้งว่า ขาดหัวเรื่อง หรือขาดแหล่งที่มา)
- การลงความเห็นแบบ HTML (เช่น "<!--ความเห็น-->") เพื่อประโยชน์สำหรับบุคคลอื่นที่จะมาพัฒนางานนั้นต่อ
- การใช้แม่แบบเกี่ยวกับคุณภาพของงาน (เช่น แม่แบบ:อ่านไม่ออก, แม่แบบ:ขาดตาราง, แม่แบบ:ขาดรูป, แม่แบบ:ปะติดปะต่อขึ้นใหม่, แม่แบบ:ขาดภาษาจีน, แม่แบบ:ตามต้นฉบับ ฯลฯ)
อะไรที่ห้ามทำ
[แก้ไข]สิ่งต่อไปนี้ จะทำมิได้
- การสร้างหน้าคู่ขนานหรือหน้าต่อเนื่องกัน เพื่อเปรียบเทียบหรือแสดงความแตกต่างของแต่ละฉบับ
- การใช้รูปภาพหรือสื่ออื่นเพียงเพื่อประดับตกแต่ง เช่น การใส่ภาพประกอบมากเกิน (extra-illustration)
- สิ่งที่เป็นเชิงอัตวิสัย ดูเพิ่มที่หัวข้อ "ความเป็นวัตถุวิสัย" ข้างต้น
การถอดสิ่งอธิบายประกอบ
[แก้ไข]งานที่เผยแพร่โดยมีการอธิบายประกอบมาแต่ดั้งเดิมแล้ว เมื่อนำมาลงวิกิซอร์ซ อาจนำสิ่งอธิบายประกอบนั้นออกก็ได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ไม่มีฉบับที่ปราศจากการอธิบายประกอบอยู่ก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้ามีอยู่แล้ว อย่าสร้างซ้ำซ้อน
- สิ่งอธิบายประกอบ จะนำออก ก็ต้องนำออกให้หมด ห้ามนำออกเพียงบางส่วน
- ฉบับที่นำสิ่งอธิบายประกอบออกนี้ ต้องสร้างเป็นหน้าต่างหากจากฉบับดั้งเดิม และแสดงให้ชัดเจนในชื่อหน้าว่า มีการถอดสิ่งอธิบายประกอบออก เช่น อาจโดยทำเป็นหน้าย่อยชื่อว่า "งาน ก/ฉบับถอดสิ่งอธิบายประกอบ" หรือตั้งชื่อว่า "งาน ก (ฉบับถอดสิ่งอธิบายประกอบ)"
ขั้นตอนเช่นนี้ เรียกว่า การถอดสิ่งอธิบายประกอบ (deannotation) ซึ่งจะทำให้เกิดงานที่มีแต่เนื้อหาหลัก