ข้ามไปเนื้อหา

ตำนานพระปริตรและพระปริตร/ตำนานที่ 10

จาก วิกิซอร์ซ
ขัดตำนาน โพชฌังคปริตร

สํสาเร สํสรนฺตานํ สพฺพทุกฺขวินาสเน
สตฺต ธมฺเม จ โพชฺฌงฺเค มารเสนปฺปมทฺทิโน
พุชฺฌิตฺวา เยปิเม สตฺตา ติภวามุตฺตกุตฺตมา
อชาตึ อชราพฺยาธึ อมตํ นิพฺภยํ คตา
เอวมาทิคุณูปเปตํ อเนกคุณสงฺคหํ
โอสถญฺจ อิมํ มนฺตํ โพชฺฌงฺคนฺตมฺภณาม เห.
ตำนานที่สิบ โพชฌังคปริตร

พระปริตรบทนี้มีเนื้อความตามในคาถาที่สวดนั้นเป็น ๓ ตำนานหรือ ๓ พระสูตรด้วยกัน แต่เอามารวมสวดเสียบทเดียวกัน ตำนานทั้ง ๓ นั้นมีเนื้อควมดังจะกล่าวต่อไปนี้:—

ตำนานที่ ๑ มหากัสสปโพชฌังคสูตร

ความว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคสถิตณเวฬุวันมหาวิหารใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ครั้งนั้น พระมหากัสสปอาศัยอยู่ในปิปผลิคูหา บังเกิดโรคาพาธแรงกล้า อาการหนักลงทุกวัน ๆ พระผู้มีพระภาคได้พรงพระมหากรุณาแด่พระมหากัสสป เมื่อพระองค์เสด็จออกจากที่เร้น คือ ผลสมาบัติ ได้เสด็จไปประทานพระธรรมเทศนาโพชฌงค์ทั้ง ๗ แด่พระมหากัสสป เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระมหากัสสปมีความโสมนัสในพระธรรมเทศนา ก็ลุกขึ้นได้ หายจากโรคาพาธ

ตำนานที่ ๒ มหาโมคคัลลานโพชฌังคสูตร

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ณเวฬุวันมหาวิหารใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลาน์อาศัยอยู่ในเขาคิชฌกูฏ บังเกิดโรคาพาธ มีอาการหนักลงทุกวัน ๆ พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาแด่พระมหาโมคคัลลาน์ เมื่อเสด็จออกจากที่เร้น คือ ผลสมาบัติ ได้เสด็จไปประทานพระธรรมเทศนาโพชฌงค์ทั้ง ๗ แด่พระมหาโมคคัลลาน์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระมหาโมคคัลลาน์มีความโสมนัสในพระธรรมเทศนามาก ก็ลุกขึ้นได้ หายจากโรคาพาธ

ตำนานที่ ๓ มหาจุนทโพชฌังคสูตร

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ณเวฬุวันวนารามใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงประชวรพระโรค ให้เจ็บพระนาภีเป็นกำลัง และอาพาธหนักลงทุกวัน ๆ ครั้งนั้น พระจุนทเถระผู้มีอายุออกจากที่เร้น คือ ผลสมาบัติ ก็ไปถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงมีพระพุทธฎีกาให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย พระจุนทเถระจึงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ พร้อมด้วยอานิสงส์ว่า โพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาว่า เป็นไปเพื่อจะให้ตรัสรู้พระจตุราริยสัจทั้ง ๔ และยกตนออกจากตัณหา เมื่อพระจุนทเถระกล่าวซึ่งพระสูตรนี้จบลงแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพระโสมนัส หายจากโรคาพาธ เสด็จลุกขึ้นจากที่พระบรรทมได้.

เนื้อความที่กล่าวมาแล้วนี้มีอยู่ในพระคาถาที่สวดโดยย่อ พระคาถาที่สวดมนต์และคำแปลดังต่อไปนี้:—

โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้นตรัสไว้ชอบแล้ว
ธมฺมานํ วิจโย ตถา
วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ
โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร
สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา
สตฺเตเต สพฺพทสฺสินา
มุนินา สมฺมทกฺขาตา
ภาวิตา พหุลีกตา อันบุคคลมาเจริญทำให้มากแล้ว
สํวตฺตนฺติ อภิญฺญาย ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
นิพฺพานาย จ โพธิยา เพื่อความดับกิเลส และเพื่อความตรัสรู้
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกสฺมึ สมเย นาโถ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า
โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสํป ทอดพระเนตรพระโมคคัลนานะและพระกัสสปกำลังเป็นไข้
ถึงทุกขเวทนาแล้ว
คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา
โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสสิ ทรงแสดงโพชฌงค์เจ็ดประการ
เต จ ตํ อภินนฺทิตฺวา ท่านทั้งสองนั้นก็เพลิดเพลินภาษิตนั้น
โรคา มุจฺจึสุ ตํขเณ หายโรคในขณะนั้น
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกทา ธมฺมราชาปิ ในกาลบางคราว แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระราชาในธรรม
เคลญฺเญนาภิปีฬิโต อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว
จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว รับสั่งให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์นั่นแหละโดยเอื้อเฟื้อ
ภณาเปตฺวาน สาทรํ
สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ก็ทรงบันเทิงพระทัย หายความประชวรนั้นไปโดยขณะนั้น
ตมฺหา วุฏฺฐาสิ ฐานโส
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ปหินา เต จ อาพาธา ก็อาพาธทั้งหลายนั้น อันพระอริยบุคคลผู้แสวงหาคุณธรรม
อันใหญ่ แม้ทั้งสามละได้แล้ว
ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ
มคฺคาหตกิเลสาว ถึงแล้วซึ่งความเป็น คือ ความไม่บังเกิดเป็นธรรมดุจกิเลส อัน
พระอริยเจ้ากำจัดเสียด้วยพระอริยมรรค
ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยความกล่าวสัตว์นี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ