ตำนานหนังสือสามก๊ก/๑๒/๑
๑. เรื่องไซ่ฮั่น แปลเมื่อก่อน[1] พ.ศ. ๒๓๔๙ เป็นหนังสือสามสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นสมุดสองเล่ม
๒. เรื่องสามก๊ก แปลเมื่อก่อน[1] พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นหนังสือเก้าสิบห้าเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นสมุดสี่เล่ม
๓. เรื่องเลียดก๊ก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ เป็นหนังสือหนึ่งร้อยห้าสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นสมุดห้าเล่ม
๔. เรื่องห้องสิน สันนิษฐานว่า แปลเมื่อรัชกาลที่ ๒ เป็นหนังสือสี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นสมุดสองเล่ม
๕. เรื่องตั้งฮั่น สันนิษฐานว่า แปลในรัชกาลที่ ๒ เป็นหนังสือสามสิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๖. เรื่องไซ่จิ้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นหนังสือสามสิบห้าเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นสมุดสองเล่ม
๗. เรื่องตั้งจิ้น สันนิษฐานว่า จะแปลเนื่องกันกับเรื่องไซ่จิ้น เป็นหนังสือสามสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เป็นสมุดสองเล่ม
๘. เรื่องน่ำซ้อง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเป็นหนังสือห้าสิบสี่สมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๙. เรื่องซุยถัง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ให้จีนบั้นกิมกับจีนเพงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ กล่าวกันว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี) วัดประยุรวงศาวาส เป็นผู้แต่งภาษาไทย เป็นหนังสือหกสิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอสมิธพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดสามเล่ม
๑๐. เรื่องน่ำปักซ้อง หลวงพิศาลศุภผลให้จีนบั้นกิมแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นหนังสือยี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๑. เรื่องหงอโต้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นหนังสือยี่สิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๒. เรื่องบ้วนฮ่วยเหลา สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (คราวเดียวกับเรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ) เป็นหนังสือสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๓. เรื่องโหงวโฮ้วเพงไซ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (คราวเดียวกับเรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ) เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๔. เรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นหนังสือหกเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๕. เรื่องซวยงัก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตกับจีนแสอินบั้นอั๋นแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นหนังสือสามสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นสมุดสามเล่ม
๑๖. เรื่องซ้องกั๋ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นหนังสือแปดสิบสองเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดห้าเล่ม
๑๗. เรื่องเม่งเฉียว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (เมื่อปีใดไม่ปรากฏ) เป็นหนังสือสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๑๘. เรื่องไคเภ็ก เจ้าพระยาภานุวงศฯ ให้หลวงพิพิธภัณฑวิจารณ์[2] แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๙. เรื่องส้วยถัง ใครแปลหาทราบไม่ เป็นหนังสือยี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์ศิริเจริญพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๐. เรื่องเสาปัก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นสมุดสามเล่ม
๒๑. เรื่องซิยินกุ้ยเจงตัง สินนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (ในคราวเดียวกับเรื่อง ซิเตงซันเจงไซ) เป็นหนังสือสิบสองเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๒. เรื่องซิเตงซันเจงไซ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๓. เรื่องเองเลียดต้วน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือยี่สิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๔. เรื่องอิวกังหนำ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๕. เรื่องไต้อั้งเผ่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นหนังสือยี่สิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๖. เรื่องเซียวอั้งเผ่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์อุดมกิจเจริญพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๗. เรื่องเนียหนำอิดซือ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเป็นหนังสือยี่สิบหกเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๘. เรื่องเม่งมวดเชงฌ้อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๙. เรื่องไซอิ๋ว พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะสิริ) ให้นายตีนแปล แลนายเทียนวรรณาโภเรียบเรียง เป็นหนังสือหกสิบห้าเล่มสมุดไทย
๓๐. เรื่องเปาเล่งถูกงอั้น นายหยองอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่แปล นายเทียนวรรณาโภเรียบเรียง เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นสมุดสองเล่ม
๓๑. เรื่องเชงเฉียว พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะสิริ) ให้ขุนจีนภาคบริวัตร (โซวคึนจือ) แปล พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา) เรียบเรียง (ประมาณขนาดสิบสองเล่มสมุดไทย) โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๓๒. เรื่องง่วนเฉียว นายซุ่มเทียม ตันเวชกุล แปล (ประมาณขนาดสี่สิบหกเล่มสมุดไทย) โรงพิมพ์เดลิเมล์พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๓๓. เรื่องบูเช็กเทียน คณะหนังสือพิมพ์สยามแปล (ประมาณขนาดสิบแปดเล่มสมุดไทย) แลพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๓๔. เรื่องโหงวโฮ้วเพ็งปัก แปลพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ (ประมาณขนาดสิบแปดเล่มสมุดไทย) แลคณะหนังสือพิมพ์ศรีกรุงรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นสมุดสองเล่ม[3]
- ↑ 1.0 1.1 กรมพระราชวังหลังทิวงคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘
- ↑ พระยาโชดึก (ฟัก) เคยเป็นหลวงพิพิธภัณฑพิจารณ์ แลเป็นผู้ชำนาญภาษาจีน บางทีจะเป็นผู้แปลหนังสือเรื่องไคเภ็ก
- ↑ ยังมีหนังสือพิมพ์เรื่องจีนซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทยลงพิมพ์อีกหลายเรื่อง แต่เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดชั่วแต่อ้างพงศาวดาร มิใช่เอาเรื่องพงศาวดารจีนมาแต่งอย่างทำนองสามก๊ก จึงมิได้กล่าวถึง