ข้ามไปเนื้อหา

นิทานชาดก

จาก วิกิซอร์ซ

มิตรบูชา
คาถาของพระเตมิยโพธิสัตวสอนสารถี
เมื่อกำลังขุดหลุมจะฝังพระองค์

สกฺก ตฺวา สกฺกโต โหติ ครุ โหติ สคารโว
วณฺณกิตฺติภโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ ฯ
คนไม่ประทุษฏร้ายมิตร ย่อมสักการท่าน ท่านย่อมสักการตอบ
คารพท่าน ท่านย่อมคารพตอบ มีผู้นำคุณแลเกียรติไปพรรณนา ฯ
ปูชิโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ
ยโส กิตฺติญฺจ ปปฺโปติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ ฯ
คนไม่ประทุษฏร้ายมิตร บูชาท่าน ย่อมได้บูชาตอบ
ไหว้ท่าน ย่อมได้ไหว้ตอบ แลได้อิศรยยศเกียรติยศ ฯ

๑ – เตมิยชาดก
พ.ศ. ๒๔๖๗
 
ใบ้เบิกเสียงสอน

วาทะ
พระมหาชนกโพธิสัตว์
ตรัสโต้ตอบกับนางมณีเมขลา

เมขลา โกยํ มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ ธปฺปสฺสนฺตีรมายุเห
กึ ตวํ อตฺถวสํ ญตฺวา เอวํ วายามเส ภุสํ ฯ
นี่ใคร เมื่อไม่แลเหนฝั่ง ยังอุตสาหว่ายอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร
ท่านรู้สึกอำนาจประโยชนอไรฤๅ จึงพยายามเปนหนักหนาอย่างนี้ ฯ
ชนก นิสมฺม วตฺต โลกสฺส วายามสฺส จ เทวเต
ตสฺมา มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ อปฺปสฺสมฺตีรมายุเห ฯ
ฃ้าแต่เทพดา ก็เพราะพิจารณาเหนอำนาจแห่งความพยายามว่า
เปนวัตต์ (ที่ควรประพฤติ) ของโลก เหตุนั้น ถึงไม่แลเหนฝั่ง
ก็ควรอุตสาหว่ายไปในท่ามกลางมหาสมุทร ฯ
เมขลา คมฺภีเร อปฺปเมยฺยสมึ ตีรํ ยสฺส น ทิสฺสติ
โมโฆ เต ปุริสวายาโม อปฺปตฺวาว มริสฺสสิ ฯ
ท่านย่อมไม่เหนฝั่งในมหาสมุทรอันลึกไม่มีใครประมาณได้
ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านเหลวเปล่า ท่านไม่ถึงแน่
จักต้องตาย ฯ
ชนก อมโณ ญาตีนํ โหติ เทวานํ ปิตุนญฺจ โส
กรํ ปุริสกิจฺจานิ น จ ปจฺฉานุตปฺปติ ฯ
ผู้ใดกำลังทำกิจของลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมไม่เป็นลูกหนี้ฃองญาติ สมมติเทพ แลบิดามาดา

๒ – ชนกชาดก
พ.ศ. ๒๔๖๘
 
เพียรกล้า

วาทะ
พระสุวรรณสามโพธิสัตว
ตรัสโต้ตอบกับพญากบิลยักษ พระเจ้ากรุงกาสี

สาม อิชนมฺหิ หญฺญเต ทีปิ นาโค ทนฺเตสุ หญฺญเต
อถ เกน นุ วณฺเณน วิทฺเธยฺยํ มํ อมญฺญถ ฯ
เสือที่ถูกฆ่าก็เพราะหนัง ช้างที่ถูกฆ่าก็เพราะงา
ส่วนตัวฃ้าที่ท่านมาสำคัญว่าควรฆ่า เพราะเหตุดังฤๅ ฯ
กบิล มิโค อุปฏฺฐิโต อาสิ อาคโต อุสุปาตนํ
ตํ ทิสฺวา อุพฺพิชฺฌิ สาม เตน โกโธ มมาวิสิ ฯ
แน่ะ เจ้าสาม เนื้อยืนอยู่ใกล้มาถึงที่ยิงด้วยศร
แต่พอเหนเจ้าก็วิ่งหนีไปเสีย เพราะเหตุนั้น ฃ้าจึ่งโกรธเจ้า ฯ
สาม ยโต สรามิ อตฺตานํ ยโต ปตฺโตสฺมิ วิญฺญุตํ
น มํ มิคา อุตฺภสนฺติ อรญฺเญ สาปทานิปิ
ฃ้ายังนึกได้ถึงตัวฃ้าว่า ตั้งแต่เล็กจนคุ้มใหญ่มา
ฝูงเนื้อกับทั้งสัตวร้ายในป่า หาสดุ้งกลัวฃ้าไม่
(ด้วยอานุภาพแห่งจิตต์เมตตา)
กบิล น ตทฺทส มิโค สาม กิมฺตาหํ อลิกํ ภเณ
โกธโลภาภิภูตาหํ อุสุํ เต ตํ อวสฺสชึ ฯ
แน่ะ เจ้าสาม เนื้อเหนเจ้าแล้วหนีไปหามิได้
ฃ้าจะพูดมุสาต่อเจ้าไปไยเล่า
ที่จริงฃ้าถูกความโกรธแลความโลภครอบงำแล้ว
จึ่งปล่อยศรไปให้ถูกเจ้า ฯ

๓ – สุวรรณสามชาดก
พ.ศ. ๒๔๖๘
 
เมตตา

พระเนมิราช
ตรัสถามพระมาตลิเทวบุตร
ปุจฺฉามิ ตํ มาตลิ เทวสารถิ
อิเมนุ มจฺจ กิมกํสุ ปาปํ
เยเม ชนา เวตรณี ปตนฺติ ฯ
ดูก่อน มาตลิเทพสารถี ข้าขอถามท่าน
สัตวเหล่านี้ทำบาปอะไรฤๅ
สัตวเหล่านี้จึ่งตกนรกชื่อเวตรณี ฯ
พระมาตลิทูลพระเนมิราช
เย ทุพฺพเล พลวนฺเต ชวโลเก
หึเสนฺติ โรเสนฺติ สุปาปกมฺมา
เต ลุทฺทกมฺมา ปสเวตฺว ปาปํ
เตเม ชนา เวตรณี ปตนฺติ ฯ
ชนเหล่าใดมีกรรมเป็นบาปหนัก
มีกำลังมาก ย่อมข่มเหงรบกวนคนมีกำลังน้อย
ในโลกเมื่อกำลังมีชีวิตอยู่
ชนเหล่านั้น่มีกรรมอันลามก ย่อมรับผล
อันเป็นบาปนั้นเอง
ชนเหล่านี้จึ่งตกนรกชื่อเวตรณี ฯ

๔ – เนมิชาดก
พ.ศ. ๒๔๗๐
 
แรงอธิษฐาน

  • อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ
  • ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ

มโหสธชาดก ปางประตูอุมงค์

ราชา อุมฺมงฺคํ โอโลเกนฺโต พญาจุลนีพรหมทัต จอมกษัตริยอุตตรปัญจาลราษฎร์ เสด็จยุรยาตรไปเบื้องหน้า ชมมหาอุมงครจิต พระมโหสธบัณฑิตติดตามไปเบื้องหลัง สพรั่งพร้อมด้วยเสนา อุมฺมงฺคโต นิกฺขมิ พระราชาเสด็จออกพ้นอุมงคทวาร พระมโหสธธก็ปิดประตูเหยียบดาลมิให้คนอื่นตามออกไป ทฺวารานิ ประตูยนตร์หมดทั้งน้อยใหญ่ก็ลั่นปิด โลกนฺตนิรโยวิย ในอุมงค์นั้นมืดมิดราวกับโลกันตนรก มหาชเน ภีตติสโต มหาชนต่างตระนกอกสั่นรัวกลัวตาย อโหสิ ก็มีอยู่ภาคภายในอุมงค์นั้นแล ฯ

มหาสตฺโต พระมโหสธมหาสัตว เอื้อมพระหัดถ์ลงควักเอาพระขรรค์ อันหมกซายซ่อนไว้ แล้วสำแดงเดชโดดขึ้นไปในอากาศ ครั้นพระบาทกลับหยั่งลงถึงพื้นยืนถนัด ก็ฉวยเอาฃ้อพระหัดถ์พระราชา เงื้อศัสตราประหนึ่งจะประหาร เปนอาการคุกคาม พลันตรัสถามว่าดั่งนี้

สกลชมฺพูทีปรชฺชํ กสฺส สมบัติทั่วทั้งชมพูทวีปเปนของใครพระเจ้าฃ้า

ตุยฺหํ เปนของเจ้า เจ้าจงให้อภัยแก่ฃ้าเถิด

นาหนฺตํ มาเรตุกามตาย อย่าตกพระหฤทัยเลยพระเจ้าฃ้า ฃ้าพระองค์จับศัสตรา จะหมายฆ่าพระองค์นั้นหามิได้ จับด้วยจงใจจะแสดงปัญญานุภาพแห่งฃ้าพระองค์ ขคฺคํ รญฺโญ หตฺเถ อทาสิ แล้วส่งพระขรรค์ถวายในพระหัดถ์พระราชา

ปณฺฑิต แน่ะ บัณฑิต ท่านสมบูรณ์ด้วยกำลังปัญญาถึงเพียงนี้ไส้ ทำไมไม่ชิงเอาราชสมบัติเล่า

มหาราช ฃ้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าฃ้าพระองค์อยากได้ ก็ต้องฆ่าพระราชาในชมพูทวีปหมด ปรํ มาเตฺวา ยสคฺคหณํ ปน ปณฺฑิเตหิ นปฺปสฏฺฐํ การฆ่าคนอื่นแล้วชิงเอายศ บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ ฯ

๕ – มโหสธชาดก
พ.ศ. ๒๔๗๑
 
ปัญญาเลิศ

ภูริทัตตชาดก ปางจำศีล

มหาสตฺโต องค์พระมหาสัตว คือ พระภูริทัตตนาคราช เนสาทํ ทิสฺวา ลืมพระเนตรเหนนายเนสาทเสือกสนมา ก็ทรงพระจินตนาในพระหทัยว่า อุโปสถสฺส เม อนฺตรายํ กเรยฺย อุโบสถแห่งเราไซ้จะถึงซึ่งอันตราย อิมํ นาคภวนํ เนตวา อันพนายเนสาทผู้นี้ อาตมาเคยพา เบิกคงคาไปภพพ์นาค มหาสมฺปตฺติยํ ปติฏฐเปสิ แบ่งสมบัติมากให้ครอบครอง มณึ คณฺหิตุํ น อิจฺฉติ ให้แก้วฃองประเสริฐศรี ควรจะยินดีก็มิอยากรับ อหิตุณฺฑิกํ คเหตฺวา บัดนี้กลับก่อกรรม ทำหมองูจู่มา มิตฺตทุพฺภิโน ภุชฺเฌยฺยํ ผิแลอาตมโกรตมันผู้ประทุษมิตรเล่า สีลํ เม ขณฺทํ ศีลแห่งเราก็จะฃาดหมด จตุรงฺคสมนฺนาคโต อุโปสโถ อธิฏฺฐิโต อันอุโบสถพร้อมด้วยองค์สี่ประการ ซึ่งอาตมอธิษฐานแต่ประถมนั้น จงตั้งมั่นอยู่ตามเดิมอย่ารู้สลาย อาลมฺพายโน หากอาลัมพายน์จะตัดจะต้มจะแกง จะทิ่มแทงประหารด้วยเหล็กแหลมก็ตามที เรานี้จะมิโกรธมิฃึ้ง จินฺเตตฺวา นึกหรือหนึ่งหากกู ดูหมองูนี้ด้วยฉุนเฉียว บัดเดี๋ยวก็จะเปนจุณไป แต่ช่างเถอะจะอดใจไม่โกรธมัน อกฺขีนิ นิมมิลิตวา พลันหลับเนตรสำรวมใจ กระทำให้เปนไปในเบื้องหน้า ด้วยอธิษฐานบารมีมิได้หวั่นไหว ซุกพระเศียรเฃ้าไปในหว่างขนดเน่งนอนแล

๖ – ภูริทัตต์ชาดก
พ.ศ. ๒๔๗๒
 
คงแก่ศีล

จันทกุมารชาดก

มีราวเรื่องว่า พระยาเอกราชา เจ้าเมืองปุปผวดี ทรงพระสุบินว่า ได้ขึ้นสวรรค์ ครั้นตื่นบรรทม มีพระหฤทัยใคร่จะไปจริง ๆ จึ่งตรัสปรึกษากัณฑหาลพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตว่า มีทางจะไปสวรรค์แต่ภพนี้ได้อย่างไรบ้าง กัณฑหาลพราหมณ์เห็นได้ช่องที่จะทำลายล้างพระจันทกุมารโพธิสัตว ผู้เปนพระโอรสองค์ใหญ่ในพระยาเอกราชา ด้วยเป็นผู้กีดขวางมิให้ได้พิพากษาความกินสินบน จึ่งกราบทูลว่า มีทางที่จะเสด็จไปสู่สวรรค์ได้ด้วยฆ่าคน มีต้นพระราชบุตรกับทั้งสัตวสิ่งละสี่ ประกอบการบูชายัญ พระราชาก็ตกลงปลงพระหฤทัยที่จะทำตาม ตรัสสั่งให้จับพระราชบุตร มีพระจันทกุมารเปนต้น กับทั้งคนอื่นอีก พันธนาการเพื่อฆ่าบูชายัญ

ฝ่ายกัณฑหาลพราหมณ์ก็ตกแต่งสถาน เชิญเสด็จพระราชา พาบุคคลอันจะฆ่าไปสู่ที่บูชายัญ ให้พระจันทกุมารนั่งก้มพระศอในหลุม แล้วกัณฑหาลพราหมณ์ถือถาดทองเพื่อรองโลหิตมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งจับเอาดาบเพื่อจะตัดพระศอ

พระนางจันทา ชายาพระจันทกุมาร ไม่ทนได้ จึ่งประนมหัดถ์ตั้งสัจจาธิษฐานขอแรงอมนุษย์ช่วย ท้าวสักกเทวราชก็ฉวยค้อนเหล็กอันโพลง (คือ วชิราวุธ) เหาะลงมาคุกคามพระราชาว่า ถ้าไม่ปล่อยคนทั้งนั้น จะสังหารเสียด้วยค้อนเหล็ก พระราชามีความกลัว จึงสั่งปลดเครื่องพันธนาการ และในขณะเดียวนั้น ฝูงชนอันมาประชุมอยู่ก็ทุ่มกัณฑหาลพราหมณ์ด้วยก้อนดินถึงแก่ความตาย

สมเด็จพระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

สพฺเพ ปตนฺติ นิรยํ ยถา ตํ ปาปกมฺมํ กตฺวา
นหิ ปาปกมฺมํ กตฺวา ลพฺภา สุคติ ธิโต คนฺตุนฺติ ฯ
สัตว์ทั้งหลายทำบาปกรรมไว้อย่างไร ย่อมตกนรกหมด
สัตว์ทั้งหลายไม่ทำบาปกรรมเลย ไปจากโลกนี้ ย่อมได้สุขคติ ฯ

๗ – จันทกุมารชาดก
พ.ศ. ๒๔๗๓
 

  • สตวสฺสา จ อายุ จ
  • ชีวสิทธี ภวนฺตุ เต

นารทชาดก

เมื่อพระพรหมนารทโพธิสัตวเสด็จเหิรลงสู่จันทกปราสาทในมิถิลามหานคร ทรงทรมานพญาอังคติราชผู้เห็นผิดไปว่า เทวดาไม่มี บิดาก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มี ตั้งต้นด้วยคำถามคำตอบ ดั่งนี้:

พระราชา ปุจฺฉามิ ตํ นารท เอตมตฺถํ ข้าแต่พระนารท
ปุฏฺโฐ จ เม นารท มา มุสา ภณิ ท่านอย่าปด ข้าขอถาม
อตฺถิ นุ เทวา ปิโร นุ อตฺถิ โลกหน้า เทพ พ่อ ตาม
โลโก ปโร อตฺถิ ชโน ยมาห ฯ เขาว่านั้นมีหรือนา ฯ
พระนารท อตฺเถว เทวา ปิตโร จ อตฺถิ บิดา สุธาสี
โลโก ปโร อตฺถิ ชโน ยมาห โลกหน้ามีอย่างเขาว่า
กาเมุสุ คิทฺธา จ นรา ปมุฬฺหา คนหลงในกามา
โลกํ ปรํ น วิทู โมหยุตฺตา ฯ โลกหน้านั้นย่อมไม่รู้ ฯ
พระราชา อตฺถีติ เจ นารท สทฺทาหาสิ ท่านเชื่อว่ามีไซ้
นิเวสนํ ปรโลเก มตานํ คนตายไปมีบ้านอยู่
อิเธว เม ปญฺจสตานิ เทหิ ของทองห้าร้อยกู้
ทสฺสามิ เต ปรโลเก สหฺสสํ ฯ โลกหน้าข้าเพิ่มพันใช้ ฯ
พระนารท ทชฺเชมุ โข ปญฺจสตานิ โภโต หากไท้ทรงศีลทาน
ชญฺญาม เจ สีลวนฺตํ วทญฺญุํ ทองห้าร้อยจักถวายได้
ลุทฺทนฺต๊ โภนฺตํ นิรเย วสนฺตํ ไท้หยาบใครจักไป
โก โจทเย ปรโลเก สหสฺสํ ในนรกทวงทองพัน
อิเธว โย โหติ อธมฺมสีโล ใครคร้านทำลามก
ปาปาจาโร อลโส ลุทฺทกมฺโม บัณฑิตยกยั้งกู้กัน
น ปณฺฑิตา ตสฺมึ อิณํ ททนฺติ เพราะคนชะนิดนั้น
น หิ อาคโม โหติ ตถาวิธมฺหา ย่อมให้ทรัพยคืนไม่ได้
ทกฺขญฺจ โปสํ มนุชา วิทิตฺวา ใครหมั่นทานศีลสรรพ
อุฏฺฐานกํ สีลวนฺตํ วทญฺญุํ ชนให้ทรัพยด้วยเต็มใจ
สยเมว โภเคหิ นิมนฺตยนฺติ เพราะคนอย่างนั้นไซ้
กมฺมํ กริตฺวา ปุนมาหเรสิ ฯ ใช้ทรัพยคืนเมื่อเสร็จงาน ฯ
xxx

๘ – นารทชาดก
พ.ศ. ๒๔๗๔
 

บรรณานุกรม

[แก้ไข]
  • นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (ม.ป.ป.). นิทานชาดก. ม.ป.ท.

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก