ข้ามไปเนื้อหา

นิทานโบรานคดี/นิทานที่ 13

จาก วิกิซอร์ซ


เมื่อพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวซงพระกรุนาโปรดไห้ฉันเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทยแล้ว ต่อมาโปรดไห้โอนราชการพลเรือนตามหัวเมืองซึ่งแต่ก่อนแยกกันขึ้นหยู่ไนกะซวงมหาดไทย กลาโหม กรมท่า มารวมขึ้นกะซวงมหาดไทยแต่กะซวงเดียว และรวมหัวเมืองไห้เปนมนทลเทสาภิบาล จัดการปกครองท้องที่เปนระเบียบเรียบร้อย แล้วซงพระราชปรารภว่า กะซวงเสนาบดีอื่น ๆ กำลังจัดระเบียบการกะซวงที่ไนกรุงเทพฯ ยังไม่สามาถจะจัดการแผนกกะซวงนั้น ๆ ออกไปถึงหัวเมืองได้ แต่ซงพระราชดำหริเห็นว่า ไม่ควนจะรอการทำนุบำรุงหัวเมืองไว้ จนกว่ากะซวงการแผนกนั้น ๆ จะสามาถออกไปจัดการได้เอง จึงดำหรัดสั่งว่า การทำนุบำรุงหย่างไดซึ่งควนจะจัดตามหัวเมืองได้ ไห้กะซวงมหาดไทยลงมือจัดการนั้นไปทีเดียว อันนี้เปนเหตุไห้หน้าที่จัดการบำรุงอนามัยตามหัวเมืองมาตกหยู่ไนกะซวงมหาดไทย เพราะกรมพยาบาลไนกะซวงธัมการเพิ่งตั้งขึ้นไหม่ดังได้เล่าไว้ไนนิทานเรื่องตั้งโรงพยาบาล ยังไม่สามาถจะขยายออกไปถึงหัวเมืองได้

ตามประเพนีที่จัดขึ้นไหม่ไนกะซวงมหาดไทย มีการประชุมสมุหเทสาภิบาลไนกรุงเทพฯ ทุกปี จึงปรึกสาจัดการอนามัยตามหัวเมืองไนที่ประชุมนั้น มีความเห็นว่า จะจัดการตามหย่างไนกรุงเทพฯ ไม่ได้ เพราะหัวเมืองไม่มีทุนและไม่มีคนจะไช้มากเหมือนหย่างไนกรุงเทพฯ จะต้องคิดหาทางหย่างอื่น และทางที่จะจัดนั้นเห็นว่า ควนเอาลักสนะการตามที่เปนหยู่ตามหัวเมืองแล้วตั้งเปนหลักคิดแก้ไขไห้ดียิ่งขึ้นโดยลำดับไป ก็ลักสนะการอนามัยที่เปนหยู่ตามหัวเมืองทั้งปวงนั้น ถ้าพิจารนาแยกกัน ก็มี 3 หย่าง ดังนี้ คือ

หย่างที่หนึ่ง คือ ยาสำหรับรักสาไข้เจ็บเปนของมีไช้หยู่ไนพื้นเมืองแล้ว ความบกพร่องไนเรื่องยาหยู่ที่ไม่รู้จักหรือไม่มียาดีกว่าที่จะไช้เปนสำคัน

หย่างที่สอง คือ ความรู้ที่จะไช้ยาและรักสาพยาบาลไข้เจ็บก็รู้กันแพร่หลายหยู่แล้ว ไครรู้มากก็เรียกว่า "หมอ" มีหยู่ทั่วไปไนพื้นเมือง ความบกพร่องไนเรื่องไช้ยาและรักสาพยาบาลไข้เจ็บหยู่ที่หมอมีความรู้น้อยเพราะไม่ได้เรียนตำรับตำรา อาสัยแต่ความคุ้นเคยเปนสำคัน ไครเคยรักสาไข้มากก็รู้มาก ไครเคยรักสาไข้น้อยก็มีความรู้น้อย ถึงกะนั้น ก็ยังสามาถรักสาไข้ที่ไม่เหลือความรู้ไห้หายได้

หย่างที่สาม คือ ธัมดาคนเจ็บไข้ย่อมกลัวภัยแก่ชีวิตของตน เพราะฉะนั้น ถ้าเชื่อว่าไครจะช่วยชีวิตได้ ก็ไห้คนนั้นมารักสา ถึงผู้อื่นจะบอกว่าหมอคนไหนดีหรือยาขนานไหนดี ถ้าตัวคนไข้ หรือผู้ปกครอง เช่นพ่อแม่ของคนไข้ ไม่เชื่อถือ ก็ไม่ยอมกินยาของหมอคนนั้น จะบังคับขืนไจไม่ได้

เมื่อความจิงเปนหยู่ดังกล่าวมา จึงเห็นว่า การบำรุงอนามัยควนจะอนุโลมลักสนะที่เปนหยู่จึงจะสำเหร็ดประโยชน์ กะซวงมหาดไทยกับเทสาภิบาลจึงจัดการบำรุงอนามัยตามหัวเมืองโดยทางที่กล่าวมาเปนการหลายหย่าง ดังจะพรรนนาต่อไป

เรื่องตั้งหมอตำบนเปนความคิดของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิถสักดิ์ (เชย กัลยานมิตร) เมื่อยังเปนที่พระยาสรีสุริยราชวรานุวัติ สมุหเทสาภิบาลมนทลพิสนุโลก เห็นว่า ควนอาสัยพระราชบัญญัติลักสนะปกครองท้องที่ซึ่งกำหนด 10 บ้านเปนหมู่บ้าน 1 ไห้ราสดรเลือกกันเปนผู้ไหย่บ้านหมู่ละคน รวม 10 หมู่บ้านเปนตำบน 1 ไห้พวกผู้ไหย่บ้านเลือกกันเปนกำนันนายตำบนคน 1 นั้น ประกอบกับความคิดไนเรื่องบำรุงอนามัย คือ ไห้กำนันผู้ไหย่บ้านเลือกหมอไนตำบนนั้นคน 1 ซึ่งเห็นว่าดีกว่าเพื่อน แล้วรัถบาลตั้งเปนหมอประจำตำบน มีสักดิ์เท่ากับผู้ไหย่บ้าน สำหรับเปนพนักงานไนการอนามัยมีหยู่ทุกตำบน รัถบาลหยากรู้อะไรไนเรื่องอนามัยตำบนนั้นจะได้ไถ่ถาม หรือจะชี้แจงอะไรไนเรื่องอนามัยแก่ราสดร ก็จะได้ไห้หมอตำบนเปนผู้ชี้แจงต่อลงไป ตัวหมอที่ได้รับความยกย่องเช่นนั้น ราสดรไนตำบนก็คงมีความเชื่อถือไห้รักสาไข้ได้ผลประโยชน์ขวันข้าวค่ายามากขึ้น คงมีผู้สมัครับตำแหน่งหมอตำบนไม่รังเกียจ ที่ประชุมเห็นชอบด้วย ไห้จัดการดังว่ามาสำเหร็ดได้หย่างหนึ่ง จึงมีตำแหน่งหมอตำบนขึ้นแต่นั้นมา

ความคิดที่จะไห้มียาดีสำหรับรักสาไข้เจ็บแพร่หลายไปถึงราสดรตามหัวเมืองนั้น เห็นพร้อมกันไนที่ประชุมว่า ต้องมีพนักงานทำยาที่ไนกรุงเทพฯ แล้วจ่ายออกไปตามหัวเมือง จึงมอบไห้เปนหน้าที่ของกะซวงมหาดไทย คือ เปนหน้าที่ของตัวฉันจะต้องจัดการเรื่องนั้น คิดดูมีปัญหาที่จะต้องตัดสิน 2 ข้อ คือ

ข้อ1ว่า จะควนทำยารักสาโรคอะไรบ้าง ข้อนี้เห็นว่า ที่จะทำยารักสาโรคทุกหย่างนั้นเปนพ้นวิสัย จะต้องเลือกทำแต่ยาบางขนานสำหรับรักสาความไข้เจ็บซึ่งชาวเมืองมักเปนกันชุกชุม เช่นยาแก้ไข้จับและแก้โรคบิดเปนต้น และต้องปรึกสาหมอไห้เปนผู้กะว่าควนจะทำยาแก้โรคอะไรบ้าง

ข้อ2ว่า ยาที่จะทำนั้นจะไช้ยาตามตำราฝรั่งดี หรือจะไช้ยาตามตำราไทยดี ไนสมัยนั้นที่ไนกรุงเทพฯ บุคคลพวกสมัยไหม่ แม้จนหมอที่รักสาไข้ด้วยยาไทย เชื่อคุนยาฝรั่งมีขึ้นมากแล้ว ฉันคิดเห็นว่า ยาที่จะทำจ่ายไปตามหัวเมือง ทำยาฝรั่งดีกว่ายาไทย เพราะเหตุได ฉันจะขอยืมคำอธิบายของนายชื่น พุทธิแพทย์ (พระยาดำรงแพทยาคุน) กล่าวไว้ไนหนังสือดุสิตสมิทเมื่อ พ.ส. 2466 มาลงไว้ไนที่นี้ไห้เข้าไจชัดเจน ดีกว่าอธิบายความเห็นของฉันเองซึ่งคิดขึ้นไนสมัยนั้น

"แพทย์ยาไทย ไช้ยาที่เปนพรรนไม้ตามพื้นเมืองมากกว่าหย่างอื่น รวมกันหลายหย่างทั้งกากด้วย และต้องกินเปนจำนวนมาก ๆ นำเข้าร่างกายฉเพาะทางปากทางเดียวเท่านั้น ซึ่งกินเวลาอันนานตั้งชั่วโมงกว่ายานั้นจะออกริทธิ์ ถ้าคนไข้ที่กินยาทางปากไม่ได้แล้ว ก็เปนอันหมดหนทางที่จะไห้ยารักสา

ส่วนแพทย์ฝรั่ง ไช้ยาที่เปนโลหะธาตุมากกว่าที่เปนพรรนไม้ และไช้ฉเพาะสิ่งที่ต้องการ คือ หัวยาเท่านั้น ไม่มีกากเลย ขนาดกินก็เปนจำนวนน้อยและเก็บไว้ได้นาน อาดไห้ยาทางปากก็ได้ ทางทวารก็ได้ ทางผิวหนังก็ได้ ทางหลอดโลหิตก็ได้ ซึ่งอาดจะทำไห้ยาออกริทธิ์ได้พายไนสองสามนาที คล้ายคนเดินทางโดยรถไฟและเครื่องบิน อาดถึงที่มุ่งหมายได้สมประสงค์ทันไจ"

นอกจากเห็นว่ายาฝรั่งรักสาโรคชะงัดกว่ายาไทยโดยอธิบายดังกล่าวมา การทำยาสำหรับแจกจ่ายไห้แพร่หลาย ทำยาฝรั่งสดวกกว่าทำยาไทยด้วย เพราะอาดจะทำเปนยาเม็ดเล็ก ๆ บันจุลงกลักหรือไส่ห่อส่งไปตามที่ต่าง ๆ ได้ง่าย และคนไข้กินเพียงเม็ดหนึ่งหรือสองเม็ดก็เห็นคุน อีกประการหนึ่ง ยาไทยก็มีไช้กันไนพื้นเมืองหยู่แล้ว แต่ยาฝรั่ง เช่นยาควินินแก้ไข้จับเปนต้น ตามหัวเมืองยังหายาก จึงตกลงว่าจะทำยาฝรั่ง

แต่ความลำบากยังมีหยู่อีกหย่างหนึ่ง ด้วยยาฝรั่ง แม้เปนยารักสาโรคอันเดียวกัน หมอต่างคนไช้วิธีผสมเครื่องยาต่างกัน หมอฝรั่งที่มารักสาไข้เจ็บหยู่ไนเมืองไทยไนเวลานั้น มีทั้งหมออังกริด ฝรั่งเสส อเมริกัน เยอรมัน และชาติอื่นก็มีอีก ถ้าปรึกสาแต่คนไดคนหนึ่ง คนอื่นก็อาดจะโต้แย้ง จึงเห็นว่า การที่จะทำยาของรัถบาลดังกล่าวมา เปนสาธารนประโยชน์สำหรับบ้านเมือง ถ้าบอกบุญแก่หมอฝรั่งทุกคนขอไห้ร่วมมือกันช่วยรัถบาลไนการนั้นได้ เห็นจะเปนการดี ฉันลองทาบทามดู หมอฝรั่งก็รับจะช่วยด้วยยินดี จึงเชินพวกหมอฝรั่งทุกชาติมาประชุมพร้อมกันที่สาลาลูกขุนกะซวงมหาดไทยวันหนึ่ง ตัวฉันนั่งเปนนายกไนที่ประชุมเอง บอกพวกหมอฝรั่งไห้ซาบพระราชประสงค์ที่จะบำรุงอนามัยไนบ้านเมือง และกะซวงมหาดไทยหยากจะได้ตำรายาฝรั่งบางขนานสำหรับรักสาไข้เจ็บที่ราสดรมักเปนกันชุกชุม ทำส่งไปจำหน่ายตามหัวเมือง จะขอไห้หมอที่มาประชุมกันนั้นช่วยไนการ 2 หย่าง คือ ไห้ปรึกสากันว่า ควนทำยาแก้โรคอะไรบ้าง เปนยาสักกี่ขนาน หย่างหนึ่ง เมื่อเห็นว่าควนจะทำยาสักกี่ขนานแล้ว ขอไห้จดเครื่องยาและส่วนที่จะผสมยานั้น ๆ ไห้ทุกขนาน หย่างหนึ่ง เขาจะรับช่วยได้หรือไม่ พวกหมอพร้อมกันรับจะช่วยทำไห้ตามประสงค์ของรัถบาล ฉันจึงไห้เขาประชุมปรึกสากันโดยลำพังพวกหมอต่อไป เขาตกลงกันแนะนำไห้รัถบาลทำยาต่าง ๆ 10 ขนาน (หรือ 12 ขนาน จำไม่ได้แน่) และกำหนดเครื่องยากับทั้งส่วนที่จะผสม Pres-cription ยานั้น ๆ ทุกขนาน เขียนเปนมติลงชื่อด้วยกันทุกคนเปนสำคัน ไห้ตำรายานั้นเปนสมบัติของรัถบาล ฉันรับและขอบคุนเขาทุกคนแล้ว ก็เปนอันสำเหร็ดกิจส่วนหาตำรายา ส่วนการที่จะทำยานั้น หมออะดัมสัน Hans Adamson (พายหลังได้เปนพระบำบัดสรรพโรค) เปนเชื้อมอญ ไม่ไช่อเมริกัน มีแก่ไจรับจะทำไห้ไนชั้นแรกนะสำนักงานของเขาที่สี่แยกจเรินกรุง จะเรียกราคาเพียงเท่าทุน และจะหัดคนที่จะผสมยาไห้ด้วย จนกว่ากะซวงมหาดไทยจะตั้งที่ทำยาเองต่างหาก การที่เลือกและทำยาสำหรับส่งไปตามหัวเมืองก็สำเหร็ดได้ด้วยประการฉะนี้ แต่ยังไม่สิ้นความลำบาก

ความลำบากยังมีไนการที่จะไห้คนนิยมไช้ยาที่ทำนั้น เพราะเปนยาฝรั่ง ไนสมัยนั้นผู้ที่เชื่อถือยาฝรั่งยังมีน้อย แม้ที่ไนกรุงเทพฯ คนก็ยังรังเกียดยาฝรั่งหยู่แทบทั่วไป

มีเรื่องเล่ากันมาแต่ก่อนว่า เมื่อแรกยาควินินมีเข้ามาถึงเมืองไทยไนรัชกาลที่ 3 กรมหลวงวงสาธิราชสนิทซึ่งรอบรู้วิชาแพทย์ไทยซงทดลองและเลื่อมไสก่อนผู้อื่น แต่ก็ไม่อาดไช้โดยเปิดเผย เมื่อฉันบวดเปนสามเนร เคยได้ยินกรมสมเด็ดพระปวเรสวริยาลงกรน์ตรัดว่า ยาเม็ดแก้ไข้ของกรมหลวงวงสาฯ ที่นับถือกันนั้น เมื่อผ่าออกดูมี "ยาขาวฝรั่ง" (คือยาควินิน) หยู่ข้างไนทุกเม็ด ประหลาดที่การปลอมไช้ยาควินินยังเปนหยู่จนเมื่อฉันคิดทำยานั้น ฉันเคยถามหมอไทยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งซึ่งฉันรู้ว่าลอบไช้ยาควินินว่า ไฉนจึงต้องทำเช่นนั้น แกกะซิบตอบตามตรงว่า "ยาควินินดีกว่ายาไทย แต่คนไข้ไม่ยอมกิน จะทำหย่างไร ก็ได้แต่ต้องปลอมไห้กินเปนยาไทย สุดแต่ไห้ไข้หายเปนประมาน" ถ้ามีไครทูนถามกรมหลวงวงสาฯ ก็เห็นจะตรัดตอบหย่างเดียวกัน

การที่กะซวงมหาดไทยทำยาตามตำราฝรั่ง สำหรับจ่ายไปตามหัวเมือง จึงต้องคิดอุบายแก้ไขความรังเกียจด้วยไห้เรียกชื่อยาที่ทำขึ้นไหม่ว่า "ยาโอสถสาลา" แต่ละขนานไส่กลักเล็ก ๆ กลักละ (ดูเหมือน) 20 เม็ด พิมพ์หนังสือปิดข้างนอกกลัก เอาแต่ชื่อโรคเรียก เช่นว่า "ยาแก้ไข้จับ, ยาแก้ลงท้อง, ยาแก้บิด" เปนต้น ข้างไนกลักมีกะดาดไบปลิวบอกวิธีที่จะไช้ยานั้น แล้วรวมกลักยาห่อเปนชุด ๆ มีไบปลิวโคสนาคุนของยาโอสถสาลาสอดไปด้วย ส่งไปไห้หมอตำบนเปนผู้จำหน่าย (ดูเหมือน) ราคากลักละ 10 สตางค์ จำหน่ายได้เงินเท่าได ไห้ค่าขายแก่หมอตำบนเปนส่วนลดร้อยละ 10 แม้ไช้อุบายกันคนรังเกียดหย่างนั้นแล้ว กว่าจะได้ผลดังประสงค์ก็ยังนาน เพราะเปนของแปลก แม้หมอตำบนเองก็รับไว้จำหน่ายด้วยเกรงไจโดยมาก ตัวเองยังชอบไช้ยาสมุนไพรหยู่ตามเคย ต่อบางคนจึงทดลองไช้ยาโอสถสาลา แต่ต่อมาก็ปรากตคุนขึ้นโดยลำดับ เมื่อยาโอสถสาลาจำหน่ายได้แพร่หลายจนเห็นว่าจะทำจำหน่ายได้ยั่งยืนต่อไป กะซวงมหาดไทยจึงได้ตั้งสถานโอสถสาลาที่โรงพยาบาลเทพสิรินทร์ แล้วรัถบาลทำยาโอสถสาลาจำหน่ายเองสืบมา

แต่ก่อนมา เจ้าเมืองกรมการมักเปนชาวเมืองนั้นเอง เจ็บไข้ก็ไช้หมอไนพื้นเมืองที่เคยรักสากันมาเปนปรกติ ครั้นเมื่อจัดหัวเมืองเปนมนทลเทสาภิบาล ส่งข้าราชการไนกรุงเทพฯ ออกไปรับราชการประจำหยู่ตามหัวเมืองมากขึ้นเปนลำดับมา ต้องปรารภถึงความปลอดภัยของข้าราชการที่ไปหยู่แปลกถิ่นตามหัวเมือง จึงไห้มีหมอหลวงประจำเมืองขึ้นจังหวัดละคนหนึ่ง ไห้สมุหเทสาภิบาลเลือกหาหมอที่มีความรู้พอวางไจได้ตั้งเปนแพทย์ประจำเมือง มีหน้าที่สำหรับรักสาข้าราชการตลอดจนครอบครัวไนเวลาป่วยเจ็บหย่างหนึ่ง ตรวดอนามัยและรักสาไข้เจ็บไห้นักโทสไนเรือนจำหย่างหนึ่ง ทำกิจการพิเสสอันเกิดขึ้นเนื่องกับอนามัยหย่างหนึ่ง เปนหย่างนั้นมาจนถึง พ.ส. 2441 มีเหตุเกิดขึ้นเมื่อฉันไปตรวดราชการมนทลพายัพ ฉันไปครั้งนั้นเลือกข้าราชการหนุ่ม ๆ ที่กำลังเปนนักเรียนสึกสาการปกครองเอาไปไช้ 4 คน เพื่อจะไห้รู้เห็นการปกครองตามหัวเมือง เวลานั้นยังไม่มีทางรถไฟสายเหนือ จึงลงเรือพ่วงเรือไฟไปจากกรุงเทพฯ จนถึงเมืองอุตรดิถ พวกนักเรียน 4 คนนั้นไปไนเรือลำเดียวกัน เมื่อพ้นเมืองพิสนุโลกขึ้นไปแผ่นดินดอนพอเดินบกได้ เขาจึงชวนกันหาคนนำทางขึ้นเดินบกแต่เวลาเช้า เที่ยวเล่นและยิงนกไปพลาง จนบ่ายจึงไปดักทางลงเรือ เพราะเรือไปทางลำน้ำอ้อมค้อมมาก เที่ยวเล่นเช่นนั้นมาหลายวัน วันจะถึงเมืองอุตรดิถ เมื่อพวกนักเรียน 4 คนกลับลงเรือแล้ว ต่างคนต่างล้างปืนตามเคย ปืนของนักเรียนคนหนึ่งยังมีปัสตันหยู่ไนลำกล้องนัด 1 เจ้าของสำคันว่าได้เอาออกหมดแล้ว ทำปืนลั่นถูกขาเพื่อนนักเรียนอีกคนหนึ่งไกล้ ๆ ลูกปรายเข้าไปจมเนื้อหยู่ไนขาทั้งหมด พอเรือไปถึง ฉันรู้ก็ตกไจจะหาหมอรักสา พระประสิทธิวิทยา (สร เทสะแพทย์) หมอสำหรับตัวฉัน เปนหมอมีชื่อเสียง ก็รักสาได้แต่ทางยา ไม่ได้หัดรักสาบาดเจ็บ สืบถามหาหมออื่นก็ได้ความว่า ทั้งเมืองอุตรดิถไม่มีไครจะรักสาได้ เขาบอกว่า หมอรักสาบาดเจ็บได้ มีแต่หมอมิชชันเนรีอเมริกันหยู่ที่เมืองพิสนุโลก ฉันต้องไห้จัดเรือลำหนึ่งมีคนแจว 2 ผลัดรีบพาคนเจ็บล่องจากเมืองอุตรดิถแจวลงมาตลอดคืนจึงถึงหมอ แต่เดชะบุญหมอรักสาหายได้ไม่เปนอันตราย เหตุครั้งนั้นทำไห้ฉันเห็นประจักส์ไจว่า คนตามหัวเมืองที่ตายด้วยบาดเจ็บเพราะไม่มีหมอรู้จักรักสาเห็นจะมีมาก จำจะต้องไห้มีหมอหลวงสำหรับรักสาบาดเจ็บขึ้นตามหัวเมือง ถึงคราวประชุมเทสาภิบาล ฉันจึงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่า แพทย์ประจำเมืองต่อไปควนต้องไห้รู้จักรักสาบาดเจ็บด้วยทั้งนั้น แต่จะไห้เปนเช่นนั้นโดยเร็วไม่ได้ เพราะหมอไทยที่รู้วิชาตัดผ่ารักสาบาดเจ็บยังมีน้อย และหมอยาที่เปนตำแหน่งแพทย์ประจำเมืองทำการดีหยู่ จะไล่ออกก็ไม่ควน จึงเห็นควนจะกำหนดแต่หย่างหนึ่งว่า ผู้จะเปนแพทย์ประจำเมืองต่อไปต้องรู้วิชาตัดผ่าด้วย เช่นแพทย์ประกาสนียบัตรของโรงเรียนแพทย์ไนกรมพยาบาล จึงจะเปนได้ ที่ประชุมเทสาภิบาลเห็นชอบด้วย ลงมติดังว่านั้น แต่นั้นมา กะซวงมหาดไทยก็หาหมอประกาสนียบัตรที่เรียนตลอดหลักสูตรไนโรงเรียนแพทย์มาตั้งเปนแพทย์ประจำเมือง เปนเหตุไห้พวกหมอประกาสนียบัตรที่ต้องไปหากินด้วยการอื่นกลับหาตำแหน่งไนราชการได้โดยวิชาหมอ มีคนสมัคเรียนวิชาแพทย์มากขึ้น เลยเปนปัจจัยไห้โรงเรียนแพทย์กลับรุ่งเรืองดังกล่าวมาแล้ว

ได้เล่ามาแล้วว่า การปลูกฝีดาดไนเมืองไทย เดิมไช้พรรนหนองส่งมาแต่อเมริกาถึงเมืองไทยปีละครั้งหนึ่ง ต่อมาไช้พรรนหนองส่งมาแต่ยุโรป 2 เดือนมาถึงครั้งหนึ่ง ถึงกะนั้นพรรนหนองที่ได้มาแต่ยุโรปก็มักเสียกลางทาง ไช้ได้แต่คราวละสักครึ่งหนึ่ง จึงต้องเอาหนองคนที่ปลูกฝีขึ้นงามปลูกกันต่อไป ต่อมาไนรัชกาลที่ 5 นั้น ฝรั่งเสสมาตั้งสาขาปาสตุรสถานทำหนองปลูกฝีดาดและสิรัมรักสาโรคอื่นขึ้นที่เมืองไซ่ง่อน เมืองไทยก็ซื้อพรรนหนองปลูกฝีมาแต่เมืองไซ่ง่อน เพราะอาดจะส่งมาได้พายไน 15 วัน หนองก็ไม่เสียไนกลางทาง แต่ได้พรรนหนองก็ยังไม่พอไช้ ที่โรงพยาบาลก็ยังเลิกวิธีปลูกต่อกันไม่ได้ กะซวงมหาดไทยหยากจะทำพรรนหนองปลูกฝีไนเมืองไทยเอง หมออะดัมสัน (พายหลังได้เปนพระบำบัดสรรพโรค) แพทย์ไนมิชชันเนรีอเมริกัน รับจะทำ จึงไห้ตั้งที่ทำหนองปลูกฝีขึ้นนะสำนักงานของหมออะดัมสันที่สี่กั๊ก ถนนจเรินกรุง เมื่อราว พ.ส. 2444 ทำได้ แต่พรรนหนองยังไม่สู้ดีเหมือนหย่างที่ส่งมาจากต่างประเทส และยังได้น้อยไม่พอไช้ เพราะที่ทำการคับแคบนัก ถึง พ.ส. 2445 กะซวงมหาดไทยได้หมอมาโนส์ฝรั่งเสส ซึ่งเปนผู้ชำนาญการทำหนองฝีดาด เข้ามารับราชการ จึงไห้ย้ายที่ทำพรรนหนองปลูกฝีออกไปตั้งที่เมืองนครปถมเมื่อ พ.ส. 2446 ไห้หมอมาโนส์เปนผู้จัดการ แต่นั้นก็ทำพรรนหนองปลูกฝีดาดไนเมืองไทยได้พอต้องการ และดีเสมอหนองที่ทำไนต่างประเทส ไม่ต้องซื้อหามาจากที่อื่นและไม่ต้องปลูกฝีต่อกันดังแต่ก่อน การปลูกฝีก็แพร่หลายไปตามหัวเมือง ด้วยจ่ายพรรนหนองออกไปไห้แพทย์ประจำเมืองเปนพนักงานปลูกฝีด้วย

ถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ส. 2455 เกิดโรคฝีดาดชุกชุม คล้ายกับเปนโรคระบาด และไนสมัยนั้นการบำรุงอนามัยได้โอนจากกะซวงธัมการไปเปนหน้าที่กะซวงปกครองท้องที่ คือ กะซวงนครบาล บำรุงอนามัยไนมนทลกรุงเทพฯ กะซวงมหาดไทย บำรุงอนามัยตามหัวเมืองมนทลอื่น ๆ กรมพยาบาลคงเปนแต่จัดการโรงเรียนแพทย์กับโรงพยาบาลสิริราชซึ่งเปนที่ฝึกสอนนักเรียนแพทย์ เปนเช่นนั้นมาแต่ไนรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดโรคฝีดาดชุกชุมขึ้น พระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัวจึงดำหรัดสั่งไห้เสนาบดีกะซวงมหาดไทยกับเสนาบดีกะซวงนครบาลปรึกสากันจัดการป้องกันโรคระบาดด้วยปลูกฝีชาวเมืองไห้มากเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากจะต้องไช้เงินเกินกว่าที่มีหยู่ จะซงพระกรุนาโปรดพระราชทานเงินส่วนพระองค์ช่วยจนพอแก่การมิไห้ติดขัด เมื่อปรึกสาถึงวิธีที่จะจัดการปลูกฝีตามรับสั่ง กะซวงนครบาลเห็นว่า จะต้องตั้งข้อบังคับไห้พลเมืองที่ยังไม่ออกฝีดาดปลูกฝีทุกคน แล้วประกาสเรียกพลเมืองมาปลูกฝีตามข้อบังคับนั้น กะซวงมหาดไทยเห็นว่า การตั้งข้อบังคับพลเมืองนั้นจำต้องกำหนดโทสผู้ขัดขืน แม้หย่างต่ำเพียงปรับไหมก็เปนความเดือดร้อน จะทำไห้คนเกิดหวาดหวั่นเสียแต่แรก ก็การปลูกฝีนั้นที่จิงเปนการช่วยชีวิตของผู้ที่มาไห้ปลูกนั้นเอง ซ้ำพระเจ้าหยู่หัวซงพระกรุนาโปรดไห้หมอหลวงออกไปปลูกฝีไห้เปนทาน ก็เปนบุญของราสดร มีแต่เปนคุนแก่ราสดรหย่างเดียว ข้อสำคันหยู่ที่จะต้องทำหย่างไรไห้ราสดรรู้ความจิง ก็จะพากันมาปลูกฝีด้วยความยินดี หาต้องบังคับปรับไหมไห้เดือดร้อนไม่ กะซวงนครบาลไม่เห็นชอบด้วย คงเห็นหยู่ว่า ถ้าไม่ตั้งข้อบังคับ การปลูกฝีก็ไม่สำเหร็ดได้ ฉันตอบว่า โดยฉันจะเห็นพ้องกับกะซวงนครบาล กะซวงมหาดไทยก็ไม่สามาถจะจัดการได้ตามความคิดหย่างนั้น เพราะภูมิลำเนาของราสดรตามหัวเมืองหยู่กะจัดกะจายกัน ราสดรชาวหัวเมืองความรู้น้อยกว่าชาวกรุงเทพฯ ถ้ามีประกาสคาดโทส คนก็เห็นจะพากันตื่น ตหำรวดภูธรตามหัวเมืองก็ไม่มีมากพอจะไปเที่ยวตรวดตราราสดรตามบ้านช่องได้ทั่วถึงเหมือนพวกกองตระเวนของกะซวงนครบาลไนกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้น ต่างกะซวงต่างทำตามที่เห็นว่าจะทำได้ไนท้องที่ของตนจะดีกว่า เอาแต่ไห้สำเหร็ดตามพระราชประสงค์เปนประมาน ก็ตกลงกันหย่างนั้น กะซวงนครบาลจะจัดการหย่างไร ฉันไม่ได้เอาไจไส่สืบสวน จะเล่าแต่กะบวนการที่กะซวงมหาดไทยจัดครั้งนั้น คือ

1.แต่งประกาสพิมพ์เปนไบปลิว ความว่า พระเจ้าหยู่หัวซงซาบว่าเกิดโรคฝีดาดขึ้นชุกชุม ซงพระวิตกเกรงว่าราสดรจะพากันล้มตาย ซงพระราชดำหริว่า โรคฝีดาดนั้นอาดจะป้องกันได้ด้วยปลูกฝี ถ้าไครปลูกแล้วก็หาออกฝีดาดไม่ แต่การปลูกฝียังไม่แพร่หลายออกไปถึงหัวเมือง คนจึงออกฝีดาดล้มตายกันมาก

จึงซงพระกรุนาโปรดไห้หมอหลวงออกมาปลูกฝีพระราชทานแก่ราสดรมิไห้ล้มตายด้วยโรคฝีดาด หมอหลวงไปถึงที่ไหน ก็ไห้ราสดรไปปลูกฝีเถิด จะได้ป้องกันอันตรายมิไห้มีแก่ตน

2.แล้วจัดพนักงานปลูกฝีเปน 4 พวก ไห้แยกกันไปปลูกฝีตามหัวเมืองมนทลที่เกิดโรคฝีดาดชุกชุมไนเวลานั้น คือ มนทลนครชัยสรีพวกหนึ่ง มนทลราชบุรีพวกหนึ่ง มนทลปราจีนพวกหนึ่ง มนทลนครราชสีมาพวกหนึ่ง มนทลอื่นที่ฝีดาดไม่ชุกชุม แพทย์ประจำเมืองก็คงปลูกฝีหยู่หย่างปรกติ

3.วิธีที่ไปปลูกฝีนั้น ไห้ไปปลูกทีละอำเพอเปนลำดับไป เมื่อพนักงานปลูกฝีไปถึงอำเพอไหน ไห้กรมการอำเพอเรียกกำนันผู้ไหย่บ้านมาชี้แจงแล้วแจกประกาสไบปลิวไห้เอาไปประกาสแก่ราสดร และปิดไว้ตามวัดอันเปนที่ประชุมชน และไห้ปรึกสากันกะที่ที่จะไปปลูกฝีตามตำบนไนอำเพอนั้นกี่แห่ง แล้วกำหนดวันว่าจะไปปลูกฝีที่ตำบนไหนวันไหน ไห้กำนันผู้ไหย่บ้านไปนัดราสดร เมื่อถึงวันนัด พนักงานไปตั้งทำการที่วัดแห่งหนึ่งไนตำบนนั้น กำนันผู้ไหย่บ้านพาราสดรมาไห้ปลูกฝี เมื่อปลูกตำบนหนึ่งแล้ว ก็ย้ายไปปลูกตำบนอื่น อำเพออื่น และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปโดยทำนองเดียวกันทุกพวก เมื่อพวกปลูกฝีปลูกแล้ว ไห้มีสารวัตตามไปพายหลังราว 7 วัน ไปตรวดการที่พวกปลูกฝีได้ทำไว้ว่าปลูกฝีได้มากหรือขึ้นดีหรือหย่างไร และพวกชาวบ้านสันเสินหรือติเตียนหย่างไร ด้วยมีสัญญาแก่พวกพนักงานที่ไปปลูกฝีว่า เมื่อทำการเส็ดแล้ว จะไห้รางวัลตามลำดับเปนชั้นกันโดยความดีที่ได้ทำ คือ จำนวนคนที่ได้ปลูกฝีหย่างหนึ่ง ส่วนที่ปลูกฝีขึ้นงามหย่างหนึ่ง ได้รับความชมเชยของชาวบ้านหย่างหนึ่ง ผสมกันเปนคะแนนตัดสิน

ปลูกฝีเปนการพิเสสครั้งนั้นเปนการสดวกดีทั้ง 4 ทาง มีปรากตไนรายงานประชุมเทสาภิบาล พ.ส. 2456 ว่า จำนวนคนที่ได้ปลูกฝีถึง 78,768 คน ทำได้โดยมิต้องตั้งข้อบังคับปรับไหมหย่างไร

เรื่องนี้มีกรนีเกิดขึ้นไนครัวเรือนของตัวฉันเองเปนมูลเหตุ ไนรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ส. 2455 พระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัวสเด็ดออกไปประทับหยู่ที่พระราชวังจันท์นะพระปถมเจดีย์ ฉันยังเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย ตามสเด็ดไปหยู่ที่เรือนบังกะโลที่พักของฉันตามเคย วันหนึ่งเวลาบ่าย พวกลูกเด็ก ๆ ลงไปเล่นกันหยู่ที่สนามหย้าหน้าเรือน มีหมาบ้าตัวหนึ่งวิ่งเข้ามาไนบ้าน พวกเด็กพากันวิ่งหนี แต่ลูกหยิงบันลุสิริสาร (เรียกกันว่าหยิงเภา) หกล้ม ถูกหมาบ้ากัดเอาที่ขาเปนรอยเขี้ยว 2 แผล ตัวเองไม่รู้สึกเจ็บปวดเท่าไดนัก แต่พวกผู้ไหย่ตกไจ ฉันก็สั่งไห้เที่ยวสืบหาหมอที่ชำนาญการรักสาพิสหมาบ้าแต่ไนเวลานั้น พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวได้ซงซาบ ตรัดแนะนำไห้ฉันส่งไปรักสานะสถานปาสเตอร์ที่เมืองไซ่ง่อน ฉันก็เห็นชอบด้วยพระราชดำหริ แต่ไห้สืบถึงเรือที่จะรับไปได้ความว่าเรือเพิ่งออกไปเสียเมื่อวันก่อน จะต้องรอคอยเรืออีก 15 วันจึงจะไปได้ ก็ต้องไห้หมอซึ่งหามาได้คนหนึ่งรักสาตามวิธีไทย ไห้กินยา ทายา รักสาไม่กี่วันแผลก็หาย ตัวเด็กก็สบาย แจ่มไสเหมือนแต่ก่อน จนเชื่อกันว่าหมอคนนั้นสามาถรักสาหายแล้ว เมื่อกลับมาหยู่กรุงเทพฯ ก็เปนปรกติดีมาสัก 3 เดือน จนเกือบลืมเรื่องที่เทอถูกหมาบ้ากัด หยู่มาวันหนึ่งหยิงเภาตื่นนอนขึ้นเช้าตัวร้อน ก็สำคันกันว่าเปนไข้ ไห้กินยาตามเคย แต่มีอาการแปลกหย่างหนึ่งไนเวลาเมื่อเทอรับถ้วยยาหรือถ้วยน้ำจะกินมือสั่นทั้งสองข้าง ต่อเมื่อวางถ้วยแล้วมือจึงหายสั่น อาการเช่นนั้น ทั้งตัวฉันและไคร ๆ ที่หยู่ด้วยไม่มีไครเคยเห็น แต่ก็ยังไม่ตกไจ ด้วยอาการหย่างอื่นไม่ผิดกับไข้สามัญ ครั้นสายเข้าเวลาจะกินยาหรือกินน้ำมือยิ่งสั่นหนักขึ้นจนถึงตัวสั่น ฉันก็แปลกไจ จึงไห้รับหมอปัว (ซึ่งพายหลังได้เปนพระยาอัสวินอำนวยเวช) มาดู พอหมอปัวเห็นอาการก็หน้าเสีย เรียกฉันไปนั่งด้วยกันไห้ห่างคนอื่น แล้วบอกว่าเปนโรคกลัวน้ำด้วยพิสหมาบ้า ไม่มีทางที่จะรักสาไห้หายเสียแล้ว ฉันได้ฟังยังไม่หยากเชื่อ ด้วยเวลานั้นอาการคนไข้ซุดลงเพียงต้องลงนอนยังพูดจาได้ แต่อาการที่ฉันไม่เคยเห็นเปนกิริยาโรคกลัวน้ำตรงกับตำราฝรั่งหย่างหมอปัวว่าก็จนไจ ฉันบอกผู้อื่นเพียงว่าเปนโรคเกิดจากพิสหมาบ้ากัด มิได้ไห้ไครรู้ว่าจะไม่รอด เพราะเกรงจะเกิดโสกสัลพาไห้คนไข้ไจเสียเพิ่มทุขเวทนาหนักขึ้น แต่อาการโรคซุดเร็ว พอถึงเวลาดึกค่ำวันนั้นหยิงเพาก็สิ้นชีพ เจ็บหยู่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ไม่มีอาการเช่นเคยได้ยินเขาเล่ากันว่าคนจะตายด้วยพิสหมาบ้ามักร้องเปนเสียงเห่าหอนหรือน้ำลายฟอดฟูมปากหย่างหนึ่งหย่างได

เมื่อหยิงเพาถูกหมาบ้ากัดที่พระปถมเจดีย์ เปนเวลาไปตามสเด็ด คนรู้กันมาก ครั้นเทอสิ้นชีพจึงมีคนสงสาร จนเปนเรื่องโจดกันกันแพร่หลาย มีมิตรของฉันคนหนึ่ง เข้าไจว่าตัวหมอมาโนส์ฝรั่งเสสซึ่งเปนผู้ทำหนองปลูกฝีดาด มาพูดแก่ฉันว่า ที่จิงหยิงเพาไม่ควนตาย เพราะหมอปาสเตอร์พบวิธีรักสาโรคกลัวน้ำได้แล้ว ถ้าหยิงเพาหยู่ไนยุโรป หรือแม้เพียงหยู่ที่เมืองไซ่ง่อนอันมีสถานปาสเตอร์ ก็จะรักสาหายได้โดยง่าย ที่ต้องตายเพราะไม่มียาไนกรุงเทพฯ เท่านั้น เขาเห็นว่า ถ้าหากฉันคิดตั้งสถานปาสเตอร์ที่ไนกรุงเทพฯ ด้วยเหตุที่ลูกตายครั้งนั้น คงจะสำเหร็ดได้เพราะคนสงสารมีมาก คนที่หวาดหวั่นเกรงจะเปนเช่นเดียวกันไนครอบครัวของเขาก็มี และการที่จะตั้งสถานปาสเตอร์ก็ไม่ยากหรือจะต้องสิ้นเปลืองเท่าไดนัก ถ้าฉันบอกบุยเรี่ยไรไนเวลานั้นคงจะได้เงินพอแก่การ ฉันเห็นชอบด้วย เพราะเมื่อฉันไปยุโรปครั้งแรกไน พ.ส. 2434 ได้เคยไปดูสถานปาสเตอร์ที่เมืองปารีสซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นไม่ช้านัก ตัวหมอปาสเตอร์เองเปนผู้นำฉันเที่ยวดูทั่วทั้งสถาน และไห้ดูวิธีทำสิรัมตั้งแต่เจาะหัวกะต่าย เอาพิสหมาบ้าฉีดลงไนสมอง ไห้พิสเกิดไนตัวกะต่ายก่อน เมื่อกะต่ายตายด้วยพิสนั้นแล้ว เอาเอ็นไนซากกะต่ายมาผสมยาทำเปนสิรัม และไห้ฉีดยารักสาเด็กคนหนึ่งซึ่งถูกหมาบ้ากัดไห้ฉันดู ฉันได้เคยเห็นแล้วดังว่ามา และตัวหมอมาโนส์เองก็ได้เคยไปสึกสาไนปาสเตอร์สถานที่เมืองปารีส รู้วิธีทำสิรัมไม่ต้องหาไครมาไหม่ คิดดูการที่จะตั้งสถานปาสเตอร์ไนกรุงเทพฯ มีเพียงหาที่ตั้งหย่างหนึ่ง หาเครื่องไช้หย่างหนึ่ง ส่วนคนที่เปนลูกมือทำการก็อาดจะไช้พวกทำพรรนหนองปลูกฝีดาดได้ ด้วยรวมการทำสิรัมทั้งสองหย่างเข้าด้วยกัน ไม่ต้องเพิ่มเติมผู้คนขึ้นเท่าไดนัก ฉันจึงกราบบังคมทูนขอพระบรมราชานุญาต แล้วประกาสบอกบุญเรี่ยไรเงินทุนที่จะตั้งสถานปาสเตอร์ที่ไนกรุงเทพฯ ก็มีผู้สัทธาช่วยกันมากทั้งไทยและพวกชาวต่างประเทส ฉันได้อาสัยพระยามหาอำมาตย์ (เสง วิริยสิริ) กับหมอมาโนส์เปนกำลังไนครั้งนั้น ไนไม่ช้าก็ได้เงินพอแก่การ จึงตั้งปาสเตอร์สถานขึ้นที่ตึกของกะซวงมหาดไทยที่ริมโรงเลี้ยงเด็ก และย้ายสถานทำพรรนหนองปลูกฝีดาดนะพระปถมเจดีย์เข้ารวมกัน เมื่อจัดการเตรียมพร้อมแล้ว ได้เชินสเด็ดพระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวสเด็ดไปซงทำพิธีเปิดสถานปาสเตอร์ (เวลานั้นเรียกว่าปัสตุรสภา) เมื่อวันที่ 26 เมสายน พ.ส. 2456 ต่อมาหมอมาโนส์เกิดอาการป่วยเจ็บต้องลาออก แต่ก็ได้หมอโรแบต์ฝรั่งเสสมาแทน ซงคุนวุทธิและมีไจรักงานเช่นเดียวกับหมอมาโนส์ ก็อาดรักสาโรคพิสหมาบ้าสำเหร็ดประโยชน์ได้ไนเมืองไทยแต่นั้นมา และสถานปาสเตอร์นั้นต่อมาพายหลังโอนไปขึ้นหยู่ไนสภากาชาด หมอโรแบต์ก็ย้ายตามไปทำการเปนประโยชน์ยิ่งขึ้นโดยลำดับมาจนขยายไหย่โตเปนสถานเสาวภาหยู่บัดนี้

ที่สถานเสาวภามีรูปหม่อมเจ้าหยิงบันลุสิริสารหย่างปั้นครึ่งตัวหล่อด้วยทองสัมริทธิ์ตั้งหยู่รูปหนึ่ง เปนอนุสรน์ซึ่งเทอเปนมูลเหตุไห้เกิดสถานปาสเตอร์ไนเมืองไทย ฉันไปเห็นรูปนั้นเมื่อไดก็นึกว่าเทอคงไปสู่สุคติภูมิ เพราะชีวิตของเทอช่วยชีวิตเพื่อนมนุสไนเมืองไทยได้มาก

เมื่อคราวประชุมเทสาภิบาลไน พ.ส. 2456 ที่ประชุมปรึกสาตกลงกันว่าจะตั้งโอสถสาลา (เวลานั้นเรียกโอสถสถาน) ขึ้นตามหัวเมือง ความคิดที่จะตั้งโอสถสาลานั้น ไนบริเวนเมืองหนึ่งจะไห้มีโอสถสาลาแห่งหนึ่ง มีเรือนที่หยู่ของหมอ มีห้องรักสาคนไข้ และมีร้านขายยาต่าง ๆ รวมหยู่ด้วยกัน ส้างด้วยเงินบอกบุญเรี่ยไร ไห้หมอหลวงประจำเมืองเปนผู้จัดการโอสถสาลานั้น และไห้ได้ส่วนกำไรเปนประโยชน์ของตนด้วยไนการบางหย่างที่รัถบาลอนุญาต

การรักสาไข้ที่โอสถสาลานั้น ไห้หมอหลวงไช้เวลานอกหน้าที่ คือ ที่ต้องไปตรวดเรือนจำและรักสาข้าราชการเปนต้น รับรักสาไข้เจ็บไห้ราสดรที่ไปยังโอสถสาลาแต่เวลา 3 โมงเช้า (9 นาลิกา) จนเที่ยงวันทุกวัน แล้วแต่ไครจะขอไห้ตรวดและรักสาโรค หรือรักสาบาดเจ็บ และไห้ปลูกฝี ไห้หมอทำไห้เปนทาน

ยารักสาโรคต่าง ๆ นั้นไห้เปนของตัวหมอขายเอง รัถบาลขายเชื่อยาโอสถสาลาไห้หมอเพียงเท่าทุน และหมอจะหายาอื่นไปขายด้วยก็ได้ ไห้หมอบอกบุญเรี่ยไรค่ายาสำหรับรักสาคนอนาถาด้วยอีกส่วนหนึ่ง

การตั้งโอสถสาลาสำเหร็ดช้า ด้วยต้องบอกบุญเรี่ยไรหาทุนไห้พอก่อนจึงตั้งได้ จะจัดได้กี่แห่งไนสมัยเมื่อฉันเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย ฉันไม่ซาบแน่ จำได้แต่ที่พระปถมเจดียแห่งหนึ่ง ก็สำเหร็ดประโยชน์ดี

การบำรุงอนามัยตามหัวเมืองที่ฉันได้เคยมีหน้าที่เกี่ยวข้อง จำได้ตามที่เล่ามา ถึง พ.ส. 2458 ฉันเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทยมาได้ 23 ปี ถอยกำลังลง ทนงานไม่ไหว เกิดอาการป่วยเจ็บ ก็ต้องถวายเวนคืนตำแหน่ง เปนสิ้นหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปกครองหัวเมืองแต่เพียงนั้น.