นิทานโบรานคดี (2487)/นิทานที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ ห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ
นิทานที่ 4
เรื่อง ห้ามไม่ไห้เจ้าไปเมืองสุพรรน

มีคติโบรานถือกันมาแต่ก่อนว่า ห้ามมิไห้เจ้านายสเด็ดไปเมืองสุพรรนบุรี จะห้ามมาแต่เมื่อได ห้ามเพราะเหตุได ถ้าเจ้านายขืนสเด็ดไปจะเปนหย่างไร สืบสวนก็ไม่ได้ความเปนหลักถาน เปนแต่อ้างกันต่าง ๆ ว่า เพราะเทพารักส์หลักเมืองสุพรรนไม่ชอบเจ้า เกรงจะทำอันตรายบ้าง ว่า มีอะไรเปนอัปมงคลหยู่ที่เมืองสุพรรน เคยทำไห้เจ้านายที่สเด็ดไปเสียพระจริตบ้าง แต่เมื่อมีคติโบรานห้ามหยู่หย่างนั้น เจ้านายก็ไม่สเด็ดไปเมืองสุพรรน เพราะไม่อยากฝ่าฝืนคติโบราน หรือไม่กล้าทูนลาด้วยเกรงพระเจ้าหยู่หัวจะไม่พระราชทานอนุญาตไห้ไป หย่างไรก็ตาม ไม่ปรากตว่า เจ้านายพระองค์ไหนได้เคยสเด็ดไปเมืองสุพรรน จนมาตกเปนหน้าที่ของฉันที่จะเปนผู้เพิกถอนคตินั้น ดูก็ประหลาดหยู่

เมื่อ พ.ส. 2435 พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวทรงพระกรุนาโปรดไห้ฉันเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย ไนปีนี้ ฉันออกไปตรวจหัวเมืองต่าง ๆ ทางฝ่ายเหนือตั้งแต่กรุงสรีอยุธยาขึ้นไปถึงเมืองพิสนุโลก สวรรคโลก สุโขทัย เมืองตาก แล้วกลับมาทางเมืองกำแพงเพชร มาประจบทางขาขึ้นที่เมืองนครสวรรค แล้วล่องลงมาถึงเมืองอ่างทอง หยุดพักหยู่ 2 วัน สั่งเจ้าเมืองกรมการไห้หาม้าพาหนะกับคนหาบหามสิ่งของเพื่อจะเดินทางบกไปเมืองสุพรรนบุรี เวลานั้น พระยาอินทรวิชิต (เถียร) เปนผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง แกได้รับราชการไนกรมมหาดเล็กแต่ไนรัชกาลที่ 4 เคยอุ้มฉันมาเมื่อยังเปนเด็ก จึงคุ้นกันสนิธกว่าขุนนางที่เปนชาวหัวเมือง แต่สังเกตดู แกไม่เต็มไจจะไห้ฉันไปเมืองสุพรรน บอกว่า หนทางไกล ไม่มีที่จะพักแรม และท้องทุ่งที่จะเดินทางไปก็ยังเปนน้ำเปนโคลน ถ้าฉันไป เกรงจะลำบากนัก ฉันตอบว่า เมื่อขึ้นไปเมืองเหนือ ได้เคยเดินบกทางไกล ๆ มาหลายแห่งแล้ว เห็นพอจะทนได้ ไม่เปนไรดอก ทั้งได้สั่งไห้เรือไปคอยรับหยู่ที่เมืองสุพรรน พวกเมืองสุพรรนรู้กันหยู่หมดว่า ฉันจะไป ถ้าไม่ไป ก็อายเขา แกได้ฟังตอบก็ไม่ว่ากะไรต่อไป แต่แกไม่นิ่ง ออกจากฉัน แกไปหาพระยาวรพุทธิโพคัยซึ่งเปนผู้ไหย่ไนราชการที่กับฉัน ไปถามว่า "นี่ไนกรมท่านไม่ซงซาบหรือว่า เขาห้ามไม่ไห้เจ้านายสเด็ดไปเมืองสุพรรน ทำไมเจ้าคุนไม่ทูนห้ามปราม" พระยาวรพุทธิฯ ก็เห็นจะออกตกไจ มาบอกฉันตามคำที่พระยาอ่างทองว่า ฉันสั่งพระยาวรพุทธิฯ ไห้กลับไปถามพระยาอ่างทองว่า ห้ามเพราะเหตุได แกรู้หรือไม่ พระยาอ่างทองบอกมาว่า "เขาว่า เทพารักส์หลักเมืองสุพรรนไม่ชอบเจ้านาย ถ้าสเด็ดไป มักทำไห้เกิดภัยอันตราย" ฉันได้ฟังก็เข้าไจไนขนะนั้นว่า เหตุที่พระยาอ่างทองไม่อยากไห้ฉันไปเมืองสุพรรน คงเปนเพราะแกมีความภักดีต่อพระราชวงส์ เกรงว่า จะเกิดภัยอันตรายแก่ฉัน จึงห้ามปราม ถ้าเปนเจ้านายพระองค์อื่น ก็เห็นจะคิดอุบายบอกปัดไม่จัดพาหนะถวาย แต่ตัวฉันเผอิญเปนทั้งเจ้าและเปนนายของแกไนตำแหน่งราชการ ไม่กล้าบอกปัด จึงพยายามห้ามหย่างนั้น ฉันสั่งพระยาวรพุทธิฯ ไห้ไปชี้แจงแก่พระยาอ่างทองว่า ฉันเคยได้ยินมาแล้วว่า ไม่ไห้เจ้านายสเด็ดไปเมืองสุพรรน แต่ยังไม่รู้ว่า ห้ามเพราะเหตุได เมื่อได้คำอธิบายของพระยาอ่างทองว่า เพราะเทพารักส์หลักเมืองสุพรรนไม่ชอบเจ้านาย ฉันคิดว่า เทพารักส์มีริทธิ์เดชถึงสามารถจะไห้ร้ายดีแก่ผู้อื่นได้ จะต้องได้ส้างบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ผลบุญจึงบันดาลไห้มาเปนเทพารักส์สักดิสิทธิถึงเพียงนั้น ก็การส้างบารมีนั้นจำต้องประกอบด้วยสีลธัมความดี ถ้าปราสจากสีลธัม ก็หาอาจจะเปนเทพารักส์สักดิสิทธิได้ไม่ เพราะฉะนั้น ฉันเห็นว่า เทพารักส์หลักเมืองสุพรรนคงหยู่ไนสีลธัม รู้ว่า ฉันไปเมืองสุพรรนเพื่อจะทำนุบำรุงบ้านเมืองไห้ราสดรหยู่เย็นเปนสุขยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน คงจะกลับยินดีอนุโมทนาด้วยเสียอีก ไม่เห็นว่า น่าวิตกหย่างไร พระยาอ่างทองจนถ้อยคำสำนวน ก็ไม่ขัดขวางต่อไป

ฉันออกจากเมืองอ่างทองแต่พอรุ่งเช้า ต้องลองเรือข้ามลำน้ำน้อยที่ตั้งเมืองวิเสสชัยชาญแต่ก่อน แล้วขี่ม้าต่อไป ท้องที่ไนระหว่างเมืองอ่างทองกับเมืองสุพรรนเปนทุ่งตลอดทาง เวลานั้นเปนต้นรึดูแล้ง บางแห่งแผ่นดินแห้งพอขี่ม้าควบได้ บางแห่งยังไม่แห้งสนิธ ได้แต่ขี่สบัดย่าง บางแห่งก็เปนน้ำเปนโคลน ต้องไห้ม้าเดินลุยน้ำไปแต่ที่เปนนา มีหมู่บ้านราสดรเปนระยะออกไป จนไกล้จะต่อแดนเมืองสุพรรน จึงเปนป่าพงที่ว่างหยู่ตอนหนึ่งเรียกว่า "ย่านสาวร้องไห้" ชื่อนี้เคยได้ยินเรียกหลายแห่ง หมายความเหมือนกันหมดว่า ที่ตอนนั้น เมื่อถึงรึดูแล้งแห้งผาก คนเดินทางหาน้ำกินไม่ได้ ฉันขี่ม้าไปตั้งแต่เช้าจนสาย ออกจะหิว เหลียวหาคนพวกหาบอาหารก็ตามไม่ทัน ถึงบ้านชาวนาแห่งหนึ่ง มีพวกชาวบ้านพากันออกมานั่งคอยรับและมีแก่ไจหาสำรับกับข้าวตั้งเรียงไว้ที่หน้าบ้านเตรียมเลี้ยงพวกฉันที่จะผ่านไป ฉันลงจากม้าไปปราสัยแล้วเปิดฝาชีสำรับดู เห็นเขาหุงข้าวแดงแต่เปนข้าวไหม่ไนปีนั้นมาเลี้ยงกับปลาแห้งปีไหม่นั้นเหมือนกัน นอกจากนั้น มีกับข้าวหย่างอื่นอีกสองสามสิ่งซึ่งไม่น่ากิน เห็นแต่ข้าวไหม่กับปลาแห้งก็อยากกินด้วยกำลังหิว เลยหยุดพักกินข้าวที่ชาวบ้านเลี้ยง อร่อยพิลึก ยังไม่ลืมจนบัดนี้ สังเกตดูชาวบ้านเห็นพวกเรากินเอร็ดอร่อยก็พากันยินดี ข้าวปลาบกพร่องก็เอามาเพิ่มเติมจนกินอิ่มกันหมด คงรู้สึกว่า หามาไม่เสียแรงเปล่า เมื่อกินอิ่มแล้ว ฉันวางเงินปลีกไห้เปนบำเหน็ดทุกสำรับ

ตรงนี้จะเล่าถึงเรื่องชาวบ้านเลี้ยงคนเดินทางเลยไปอีกสักหน่อย เคยสังเกตมา ดูเหมือนชาวเมืองไทย ไม่เลือกว่า หยู่หัวเมืองไหน ๆ ถ้ามีแขกไปถึงบ้าน ชอบเลี้ยงอาหารด้วยความอารี มิได้ปราถนาจะเรียกค่าตอบแทนหย่างไร จะว่า เปนธัมดาของชนชาติไทย ก็เห็นจะได้ ฉันเคยได้ยินคนไปเที่ยวตามหัวเมือง แม้จนฝรั่ง มาเล่าและชมเช่นนั้นเปนปากเดียวกันหมด ฉันได้เคยเห็นเปนหย่างประหลาดครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ด "ประพาสต้น" (คือ มิไห้ไครรู้จัก) เวลาเย็นวันหนึ่ง ซงเรือพายไปไนทุ่งทางคลองดำเนินสดวก ไปถึงบ้านชาวไร่แห่งหนึ่ง เจ้าของบ้านเปนผู้หยิง กำลังตั้งสำรับไว้จะกินอาหารเย็นกับลูกหลาน พอแลเห็นพระองค์ แกสำคันว่า เปนข้าราชการที่ตามสเด็ด เชินไห้เสวยอาหารที่แกตั้งไว้ สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงซงเห็นสนุก ก็รับเชิน แล้วตรัดชวนพวกที่ตามสเด็ดเข้านั่งล้อมกินด้วยกัน แต่ไนขนะเมื่อกำลังเสวยหยู่นั้น ลูกชายเจ้าของบ้านซึ่งเปนผู้ปติบัติ มันนั่งแล ๆ หยู่สักครู่หนึ่ง ออกปากว่า "เหมือนนัก" แล้วว่า "แน่แล้ว" ลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบไนทันที พวกเราถามว่า เหมือนอะไร มันบอกว่า "เหมือนรูปเจ้าชีวิตที่เขาตั้งไว้ตามเครื่องบูชา" เลยฮากันทั้งวง เจ้าของบ้านได้พระราชทานเงินตอบแทนกว่าค่าอาหารหลายเท่า เวลาตัวฉันเองไปตรวดราชการตามหัวเมือง ไปพักร้อนหรือพักแรมไกล้หมู่บ้านที่ไหน พวกชาวบ้านก็มักหาสำรับกับข้าวมาไห้โดยมิได้มีผู้ไดสั่งเสีย แม้ขบวนสเด็ดพระราชดำเนินก็ทำเช่นนั้น โดยประสงค์จะเลี้ยงพวกบริพาร พระเจ้าหยู่หัวโปรดพระราชทานเงินปลีกวางไว้สำรับตอบแทนเสมอเปนนิจ ฉันเองก็ทำเช่นนั้นเพื่อรักสาประเพนีที่ดีของไทยไว้มิไห้เกิดท้อถอย เพราะเห็นว่า ทำคุนไม่ได้รับความขอบไจ เปรียบเหมือนเลี้ยงพระไม่สวดยถาสัพพี แต่คนเดินทางที่เปนสาธุชนเขาก็ตอบแทนหย่างไรหย่างหนึ่งเหมือนกัน ยังมีอนุสนธิต่อจากการกินไปถึงที่พักนอนของคนเดินทาง ไนเมืองไทยนี้ดีอีกหย่างหนึ่งที่มีวัดหยู่ทั่วทุกหนแห่ง บันดาคนเดินทาง ถ้าไปโดยสุภาพ ก็เปนที่หวังไจได้ว่า จะอาสัยพักแรมที่วัดไหน พระสงค์ก็มีความอารีต้อนรับไห้พักที่วัดนั้นเหมือนกันหมดทุกแห่ง การเดินทางไนเมืองไทยจึงสดวกด้วยประการฉะนี้

พ้นทุ่งนาไนแขวงเมืองอ่างทอง ต้องฝ่าพงย่านสาวร้องไห้ไปสักชั่วนาลิกาหนึ่ง ก็ออกท้องทุ่งไนแขวงเมืองสุพรรนบุรี เมื่อไกล้จะถึงชานเมือง แลเห็นต้นตาลเปนป่าไหย่คล้ายกับที่เมืองเพชรบุรี นึกขึ้นถึงนิทานที่ได้เคยฟังเขาเล่าเมื่อตามสเด็ดไปเมืองเพชรบุรีแต่ฉันยังเปนทหานมหาดเล็กซึ่งอ้างเปนมูลของภาสิตว่า "เมืองสุพรรนมีต้นตาลน้อยกว่าเมืองเพชรบุรีต้นเดียว" ดูก็ขันหยู่ นิทานนั้นว่า มีชายชาวสุพรรน 2 คนไปยังเมืองเพชรบุรี วันหนึ่ง เพื่อนฝูงชาวเมืองเพชรหลายคนชวนไห้ไปกินเหล้าที่โรงสุรา พอกินเหล้าเมา ตึงตัวเข้าด้วยกัน ก็คุยอวดอ้างกันไปต่าง ๆ ตามประสาขี้เมา คนที่เปนชาวเมืองเพชรคนหนึ่งอวดขึ้นว่า ที่เมืองไหน ๆ ไม่มีต้นตาลมากเหมือนเมืองเพชรบุรี คนที่เปนชาวสุพรรนขัดคอว่า ที่เมืองสุพรรนมีต้นตาลมากกว่าเมืองเพชรเปนไหน ๆ คนชาวเมืองเพชรออกเคืองว่า เมืองสุพรรนเล็กขี้ประติ๋ว เมืองอื่นที่ไหย่กว่าเมืองสุพรรนก็ไม่มีต้นตาลมากเท่าเมืองเพชรบุรี คนชาวเมืองสุพรรนขัดไจ ตอบว่า อะไร ๆ ที่เมืองสุพรรนมีดีกว่าเมืองเพชรถมไป ทำไมต้นตาลจะมีมากกว่าไม่ได้ เลยเถียงกันจนเกิดโทสะทั้งสองฝ่าย เกือบจะชกกันขึ้น คนชาวสุพรรนเห็นพวกเมืองเพชรมากกว่า ก็รู้สึกตัว ยอมรับว่า "เอาเถอะ ต้นตาลเมืองสุพรรนมีน้อยกว่าเมืองเพชรต้นหนึ่ง" พวกชาวเมืองเพชรก็พอไจ เลยดีกันหย่างเดิม เขาเล่ามาดังนี้

ทางจากเมืองอ่างทองไปเมืองสุพรรนเปนทางไกล และไนเวลานั้นยังไปลำบากสมดังพระยาอ่างทองว่า ขี่ม้าไปตั้งแต่เช้าจนเย็น ฉันเองรู้สึกเพลีย ถึงออกปากถามคนขี่ม้านำทางว่า เมื่อไรจะถึง หลายหน จนจวนพลบค่ำจึงไปถึงทำเนียบที่พักนะเมืองสุพรรนบุรี แต่พอถึงก็รู้เรื่องแปลกประหลาด ด้วยพวกกรมการเมืองที่คอยรับหยู่มีแต่พระชัยราชรักสา ปลัด เปนหัวหน้า หาเห็นตัวพระยาสุนทรสงคราม เจ้าเมือง ไม่ ฉันถามพระปลัดว่า พระยาสุพรรนเจ็บหรือ เขาบอกว่า เข้าไปกรุงเทพฯ ฉันแปลกไจ ถามต่อไปว่า ไปแต่เมื่อไร เขาบอกว่า ไปเมื่อสักสองสามวันนี้เอง ก็ยิ่งประหลาดไจว่า ตัวฉันเปนเสนาบดีไปตรวดราชการครั้งแรก ชอบที่เจ้าเมืองจะคอยรับเหมือนหย่างเมืองอื่น ๆ ที่ได้ไปแล้ว นี่หย่างไรพระยาสุพรรนจึงหลบหน้าไปเช่นนั้น ไนส่วนตัวพระยาสุพรรนคนนั้นเคยรู้จักกับฉันมาแต่ก่อน และมิได้มีเหตุที่จะรังเกียดกันหย่างไร นึกว่า น่าจะมีเหตุอะไรสักหย่างหนึ่งที่ทำไห้แกไม่หยู่สู้หน้าฉัน พอรุ่งขึ้นวันหลังก็รู้เหตุ ด้วยราสดรพากันมายื่นเรื่องราวกล่าวโทสพระยาสุพรรนหลายพวกว่า กดขี่ไห้เดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ แต่รวมความก็หยู่ไนว่า ลงเอาเงินแก่ราสดร ไม่ถึงเปนคดีอุกฉกัน เห็นเรื่องราวเหล่านั้นฉันก็เข้าไจว่า เหตุไดพระยาสุพรรนจึงไม่หยู่สู้หน้า คงเปนเพราะแกรู้ว่า จะถูกราสดรฟ้อง และรู้ตัวว่า คงจะต้องถูกเอาออกจากตำแหน่ง แต่เกรงว่า ฉันจะชำระโทสที่เมืองสุพรรนไห้ได้ความอัปยสอดสู จึงหลบเข้าไปกรุงเทพฯ เหมือนหย่างว่า "หนีไปตายเอาดาบหน้า" โดยจะชำระสะสางก็ไห้เปนไนกรุงเทพฯ หย่าไห้อับอายชาวเมืองสุพรรนเท่านั้นเอง แต่ฉันไปตรวดหัวเมืองครั้งนั้น ตั้งไจแต่จะไปหาความรู้ กับจะดูว่า มีคนดี ๆ หยู่ที่ไหนบ้าง มิได้ปราถนาจะไปเที่ยวค้นคว้าหาความผิดของเจ้าเมืองกรมการสมัยนั้น ไปตามเมืองอื่นก็มิได้ผลัดเปลี่ยนเจ้าเมืองกรมการ จนมาถึงเมืองสุพรรนอันเปนที่สุดทาง มามีเหตุเจ้าเมืองหลบหนี ก็มีความจำเปนจะต้องทำหย่างไรหย่างหนึ่งไห้เด็ดขาด มิฉะนั้น จะถูกดูหมิ่น ฉันจึงสั่งไห้ถือเปนยุติว่า พระยาสุพรรนไม่ได้เปนเจ้าเมืองต่อไปแล้ว ส่วนคดีที่ราสดรยื่นเรื่องราว ก็ไห้เปนแล้วกันไป ด้วยพระยาสุพรรนถูกเอาออกจากตำแหน่งนั้นแล้ว ฉันรับกับราสดรว่า จะหาเจ้าเมืองที่ดีส่งไป มิไห้เบียดเบียนไห้เดือดร้อน พวกที่ยื่นเรื่องราวก็พอไจ

เมื่อฉันพักหยู่ที่เมืองสุพรรนครั้งนั้น มีเวลาไปเพียงที่เจดียวัตถุที่สำคัน เช่น วัดมหาธาตุ และวัดพระป่าเลไล สะน้ำสงราชาภิเสก และไปทำพลีกัมที่สาลเทพารักส์หลักเมือง ซึ่งไนเวลานั้นยังเปนสาลไม้เก่าคร่ำคร่า มีเทวรูปพระพิสนุแบบเก่ามากจำหลักสิลาตั้งหยู่ 2 องค์ ฉันรับเปนหัวหน้าชักชวนพวกชาวเมืองสุพรรนไห้ช่วยกันส้างสาลาไหม่ไห้เปนตึกก่ออิถถือปูนและก่อเขื่อนถมดินเปนชานรอบสาล พวกพ่อค้าจีนช่วยกันแขงแรงทั้งไนการบริจาคทรัพย์และจัดการรักสา ดูเหมือนจะเริ่มมีเฮียกงประจำสาลตั้งแต่นั้นมา

เมืองสุพรรนเปนเมืองสำคันเมืองหนึ่งไนทางโบรานคดี แต่จะรอเรื่องนั้นไว้พรรนนาไนนิทานเรื่องอื่น จะพรรนนาว่าแต่ด้วยของบางหย่างอันมีที่เมืองสุพรรนแปลกกับเมืองอื่น ๆ บันดาที่ได้เคยเห็นมาแต่ก่อน คือ หย่างหนึ่ง มีสาลเจ้ามากกว่าไหน ๆ หมด จะไปทางไหน ๆ ไนบริเวนเมือง เปนแลเห็นสาลเจ้าไม่ขาดสายตา เปนสาลขนาดย่อม ๆ ทำด้วยไม้แก่นมุงกะเบื้องก็มี ทำแต่ด้วยไม้ไผ่มุงจากก็มี ล้วนมีผ้าแดงหรือผีสีชมพูห้อยไว้เปนเครื่องหมาย สังเกตเพียงตรงที่จวนเจ้าเมืองมีสาลเจ้ารายรอบถึงสี่สาล อาการส่อว่า ชาวเมืองสุพรรนเห็นจะกลัวเกรงเจ้าผีเปนนิสัยสืบกันมาช้านาน ที่เรียกว่า เจ้าผี นั้น ต่างกับเทพารักส์ บอกอธิบายไห้เข้าไจง่าย ๆ เทพารักส์ คือ เทวดาที่บุญพามาหยู่ประจำพิทักส์รักสาอานาเขตแห่งไดแห่งหนึ่งไห้หยู่เย็นเปนสุข แต่เจ้าผีนั้น คือ มนุสที่สิ้นชีพไปแล้ว ผลกัมทำไห้ต้องท่องเที่ยวเปนผีหยู่ ยังไม่สามารถไปถือกำเหนิดเกิดไหม่ได้ ถ้าผีไม่ชอบไจไคร ก็อาจทำร้ายไห้เดือดร้อนรำคาน เพราะฉะนั้น คนจึงกลัวผี ถ้าเชื่อว่า แห่งไดเปนที่มีผีสิงหยู่ ก็ต้องเอาไจผี เช่น ปลูกสาลไห้สำนัก และเส้นวักเรียกว่า "เจ้า" มิไห้ผีเบียดเบียน บางทีที่กล่าวกันว่า เทพารักส์หลักเมืองสุพรรนดุร้าย จะเกิดแต่ชาวสุพรรนเอาคติเจ้าผีไปปนกับเทพารักส์ก็เปนได้

เมืองสุพรรนทำไห้จับไจผิดกับที่อื่นอีกหย่างหนึ่ง ที่เปนเมืองเนื่องกับนิทานเรื่องขุนช้างขุนแผนอันคนชอบกันแพร่หลายด้วยได้ฟังขับเสภาและจำเรื่องได้ยิ่งกว่านิทานเรื่องอื่น ๆ ตามที่กล่าวไนเรื่องนิทานว่า ขุนสรีวิชัย กับนางเทพทอง พ่อแม่ขุนช้าง ตั้งบ้านเรือนหยู่ที่ตำบนท่าสิบเบี้ยก็ดี ว่า บ้านพันสรโยธา กับนางสรีประจัน พ่อแม่ของนางพิมพ์ หยู่ที่ตำบนท่าพี่เลี้ยงก็ดี ที่ว่า ขุนช้างไปครองบ้านหมื่นแผ้ว พ่อตา หยู่ที่ตำบนบ้านรั้วไหย่ก็ดี ที่ว่า ขุนช้าง พลายแก้ว กับนางพิมพ์ เมื่อยังเปนเด็ก เคยไปเล่นด้วยกันที่สวนข้างวัดเขาไหย่ก็ดี ที่ว่า เนรแก้วหยู่วัดพระป่าเลไล แล้วหนีไปหยู่วัดแคก็ดี ตำบนบ้านและวัดเหล่านั้นยังหยู่จนทุกวันนี้ ฉันได้เคยไปถึงทุกแห่ง นอกจากนั้น ไนเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนพานางวันทองหนี ออกชื่อตำบนต่าง ๆ ไนทางที่ไปว่า ออกทางประตูตาจอม ผ่านวัดตะล่มโปง โคกกำยาน นาแปลกแม่ ข้ามลำน้ำบ้านพลับ ถึงบ้านกล้วย ยุ้งทลาย ผ่านเขาถ้ำพระ ตำบนต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังมีหยู่ทั้งนั้น ไครเคยชอบอ่านเรื่องขุนช้างขุนแผน ไปถึงเมืองสุพรรน ก็ออกสนุกที่ได้ไปดูเมืองขุนช้างขุนแผนด้วยอีกหย่างหนึ่ง

ตั้งแต่ฉันไปเมืองสุพรรนครั้งนั้นแล้ว เจ้านายก็เริ่มสเด็ดไปเที่ยวเมืองสุพรรน แม้ตัวฉันเอง ต่อมาก็ชอบไปเมืองสุพรรน ได้ไปอีกหลายครั้ง เมื่อรัชกาลที่ 5 ฉันได้รับราชการเปนตำแหน่งผู้จัดการสเด็ดประพาสมาแต่ยังเปนอธิบดีกะซวงธัมการ เมื่อมาเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย ได้บังคับบันชาการตามหัวเมือง หน้าที่นั้นก็ยิ่งสำคันขึ้น เพราะสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงไคร่จะทอดพระเนตรการปกครองหัวเมืองที่จัดไหม่ ต้องคิดหาที่สเด็ดประพาสถวายทุกปี ปีหนึ่ง ฉันกราบทูนเชินสเด็ดประพาสเมืองสุพรรนบุรี ตรัดว่า "ฉันก็นึกอยากไป แต่ว่าไม่บ้านะ" ฉันกราบทูนว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไปเมืองสุพรรนหลายปีแล้ว ก็ยังรับราชการสนองพระเดชพระคุนหยู่ได้" ซงพระสวน ตรัดว่า "ไปซิ"

เมื่อ พ.ส. 2447 สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดประพาสเมืองสุพรรนครั้งแรก ครั้งนั้น ฉันไปล่วงหน้าวันหนึ่งเพื่อจะตรวดทางและที่ประทับ ไปคอยรับสเด็ดหยู่ที่อำเพอสองพี่น้อง วันที่ฉันไปถึงนั้น เวลาค่ำ พอกินอาหารแล้ว ฉันนั่งพูดหยู่กับพวกกรมการ พอสักยามหนึ่ง (21 นาลิกา) ได้ยินเสียงปืนนัด 1 ฉันจึงสั่งกรมการว่า พรุ่งนี้ไห้ไปบอกพวกชาวบ้านเสียว่า เวลาพระเจ้าหยู่หัวสเด็ดประทับหยู่ที่นี่ หย่าไห้ยิงปืน พูดยังไม่ทันขาดคำ ได้ยินเสียงปืนยิงซ้ำอีกสองสามนัด เห็นผิดสังเกต พวกกรมการดูก็พากันฉงน ฉันว่า "เกิดปล้นกันดอกกะมัง นี่หย่างไร ดูราวกับจะปล้นรับสเด็ด" สั่งไห้กรมการกับตำหรวดภูธรรีบไปไนขนะนั้น กำชับไห้จับตัวผู้ร้ายไห้ได้ พวกกรมการไปได้สักประเดี๋ยว คนหนึ่งกลับมาบอกว่า "มิไช่ผู้ร้ายปล้น หามิได้ เปนแต่พวกชาวบ้านยิงปืนจันท์อังคาด" ฉันแหงนแลดูดวงพระจันท์ ก็เห็นแหว่งจิงดังว่า มีเสียงปืนยิงอีกสักครู่หนึ่งก็เงียบไป คงเปนเพราะพวกกรมการกับตำหรวดภูธรไปห้าม

ไทยเราเข้าไจกันมาแต่ดึกดำบรรพว่า ที่เกิดจันท์อังคาดเปนเพราะพระราหูเข้าจับจะกินพระจันท์ รู้กันเช่นนั้นจนกะทั่งลูกเด็กเล็กแดง พอเห็นจันท์อังคาดก็พอไจส่งเสียงอะไรแปลก ๆ ขึ้นไปบนฟ้า หวังจะไห้พระราหูตกไจทิ้งพระจันท์ ทำนองเดียวกับขับนกไห้ทิ้งข้าวไนท้องนา ที่จิงมิไช่กลัวว่าว่า พระจันท์จะล้มตาย เปนแต่จะช่วยไห้พ้นความรำคานเท่านั้น ยังเชื่อกันต่อไปว่า พระราหูมีแต่ครึ่งตัว เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นดวงจันท์ผ่านพ้นเงามืดเฉียงไป ก็เข้าไจว่า พระราหูต้อง "คาย" พระจันท์ ถ้าเห็นดวงจันท์มุดเงามืดตรงไป ก็เข้าไจว่า พระจันท์หลุดเลยออกไปทางท้องพระราหู จึงมักถามกันว่า "ขี้หรือคาย" และประสงค์จะไห้พระราหูต้องคายพระจันท์ เมื่อมีจันท์อังคาดแล้ว ต่อไปถึงวันหลัง พอพระจันท์ขึ้น ก็มักทำขวัญพระจันท์ด้วย เมื่อตัวฉันยังเปนเด็กหยู่ไนพระบรมมหาราชวัง เวลามีจันท์อังคาด เคยเห็นเขาเอาเชี่ยนขันตีช่วยพระจันท์ เคยช่วยเขาตี เปนการสนุกหย่างหนึ่ง เขาบอกว่า ถึงไม่มีอะไรจะตี เพียงดีดเล็บมือไห้มีเสียงก็อาดช่วยพระจันท์ได้ ดูพิลึก แต่เวลาฉันไปหัวเมือง เพิ่งจะไปพ้องกับจันท์อังคาดเมื่อวันนั้น พึงเห็นได้ว่า ความเชื่อเช่นกล่าวมาคงจะมีมาเก่าแก่ทีเดียว ไนอินเดียถือคติต่างออกไปอีกหย่างหนึ่งว่า เวลามีจันท์อังคาด ถ้าไครลงน้ำดำหัว เปนสวัสดิมงคลยิ่งนัก พวกพราหมน์พาคตินั้นเข้ามาเมืองไทยแต่โบรานเหมือนกัน จึงมีประเพนีที่พระเจ้าแผ่นดินสงมุรธาภิเสกเมื่อเวลาจันท์อังคาดเปนนิจ เพิ่งเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5

สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปเมืองสุพรรนครั้งแรก สเด็ดขึ้นไปทางทำลำน้ำนครชัยสรี ประพาสอำเพอสองพี่น้องก่อน แล้วสเด็ดขึ้นไปยังเมืองสุพรรนบุรี ทอดพระเนตรสถานที่โบรานต่าง ๆ ทุกแห่ง เมื่อสเด็ดไปทำพิธีพลีกัมที่สาลเทพารักส์หลักเมือง โปรดพระราชทานเงินไห้ส้างกำแพงแก้วกับสาลาที่พัก ขยายบริเวนสาลานั้นไห้กว้างออกไปอีก ประพาสเมืองสุพรรนแล้ว สเด็ดกลับทางคลองจรเข้ไหย่ มาออกบ้านผักไห่ตาลานไนจังหวัดอยุธยา แล้วเลยมาขึ้นรถไฟที่บางปอินกลับกรุงเทพฯ ต่อมาถึง พ.ส. 2452 เมื่อสเด็ดกลับจากยุโรปครั้งหลังแล้ว สเด็ดไปประพาสเมืองสุพรรนบุรีอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ สเด็ดขึ้นไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงเมืองชัยนาท แล้วกลับล่องทางคลองมะขามเถ้า เข้าปากน้ำเมืองสุพรรนข้างเหนือ ประพาสอำเพอเดิมบางนางบวด ลงมาจนเมืองสุพรรน แล้วสเด็ดไปขึ้นรถไฟที่สถานีงิ้วรายมากรุงเทพฯ

ตั้งแต่สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดประพาสเมืองสุพรรนแล้ว ก็ไม่มีไครพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิไห้สเด็ดไปเมืองสุพรรน เดี๋ยวนี้ คนที่รู้ว่า เคยมีคติเช่นนั้น ก็เห็นจะมีน้อยตัวแล้ว จึงเขียนนิทานรักสาโบรานคดีเรื่องนี้ไว้มิไห้สูญไปเสีย